ถ่ายสำเนา : ก. ถ่ายข้อความหรือภาพเป็นต้นจากต้นแบบหรือต้นฉบับ ด้วยเครื่องถ่ายเอกสาร.
ถ่าย : ก. เอาออกจากที่หนึ่งไปใส่อีกที่หนึ่ง เช่น ถ่ายรถ ถ่ายเรือ, เอาสิ่ง หนึ่งออกแล้วเอาอีกสิ่งหนึ่งใส่เข้าไปแทนที่ เช่น ถ่ายนํ้า ถ่ายเลือด; รุ เช่น ถ่ายยา. ว. ฝ่าย, ท่า, เช่น ถ่ายเดียว.
ถ่ายเดียว : ว. ฝ่ายเดียว เช่น เอาแต่ได้ถ่ายเดียว เห็นแต่ประโยชน์ ถ่ายเดียว.
ถ่ายทุกข์ : ก. ขี้, ถ่ายอุจจาระ.
ถ่ายแบบ : ก. เอาแบบอย่าง; ถอดแบบ, ถอดลักษณะหรือนิสัยใจคอ มา, เช่น ถ่ายแบบพ่อ ถ่ายแบบแม่.
ถ่ายภาพยนตร์ : ก. บันทึกภาพให้ต่อเนื่องกันบนฟิล์มแถบยาว ๆ เมื่อฉายด้วยเครื่องฉายไปบนจอ จะมองเห็นภาพนั้นเคลื่อนไหวได้ เหมือนจริง, (ปาก) ถ่ายหนัง.
ถ่ายรูป : ก. บันทึกภาพโดยวิธีให้แสงจากสิ่งที่จะถ่ายไปลงบนแผ่น วัสดุใสเช่นฟิล์มกระจกถ่ายรูป, ชักรูป ก็ว่า.
ถ่ายอุจจาระ : ก. ขี้, ถ่ายทุกข์ ก็ว่า.
ถ่ายปัสสาวะ : ก. เยี่ยว.
ข่าง ๓ : (ถิ่น-พายัพ) ก. ระบาย, ถ่าย, เช่น ข่างนํ้า ว่า ระบายนํ้า.
ยาถ่าย : น. ยาที่กินเพื่อให้ถ่ายอุจจาระ.
ขับถ่าย : ก. รุหรือระบายสิ่งที่ไม่ต้องการออกจากร่างกาย.
คัดสำเนา : ก. ลอกข้อความเป็นต้นจากต้นแบบหรือต้นฉบับ.
รูปถ่าย : น. ภาพที่บันทึกไว้ด้วยวิธีให้แสงผ่านฟิล์มรูปเป็นต้นลงบน แผ่นวัสดุไวแสง เช่น กระดาษอัดรูป แล้วนำไปล้างตามกรรมวิธีเพื่อ ให้รูปปรากฏ.
อัดสำเนา : ก. พิมพ์อัดกระดาษไขที่พิมพ์ เขียน เจาะปรุ หรือทําแบบ ลวดลายแล้ว ด้วยเครื่องพิมพ์ชนิดหนึ่ง เพื่อให้ได้สําเนาจํานวนมาก ตามต้องการ, เรียกเครื่องพิมพ์ชนิดนั้นว่า เครื่องอัดสําเนา.
ถอด : ก. เอาออก เช่น ถอดเสื้อ ถอดรองเท้า ถอดยศ; ถ่าย เช่น ถอดแบบ มาจากพ่อจากแม่; หลุดออก เช่น เล็บถอด.
กล้อง ๑ : [กฺล้อง] น. วัตถุลักษณะยาวกลวงตลอด, เรียกของใช้บางอย่างที่มี ลักษณะเช่นนั้น เช่น กล้องเป่าแล่น กล้องส่อง; เครื่องที่มีรูปร่างต่าง ๆ ประกอบด้วยเลนส์สําหรับถ่ายภาพหรือขยายภาพ เช่น กล้องถ่ายรูป กล้องจุลทรรศน์; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) หลอด เช่น กล้องเกียง ว่า หลอดตะเกียง.
กล้องสำรวจ : น. กล้องที่ใช้ในงานรังวัดและสํารวจทําแผนที่ มีหลายชนิด เช่น กล้องระดับ กล้องวัดมุม กล้องถ่ายรูปทางอากาศ.
การนำ : (ไฟฟ้า) น. การเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าผ่านตัวนํา หรือฉนวน; (ความร้อน) การส่งถ่ายพลังงานความร้อนผ่านเทหวัตถุ โดยวิธีการซึ่งโมเลกุลของเทหวัตถุนั้นกระทบกระแทกกันเนื่องจาก โมเลกุลสั่นสะเทือนอย่างรวดเร็วมาก.
การแผ่รังสี : (ความร้อน) น. การส่งถ่ายพลังงานความร้อนใน ลักษณะเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากับ ความเร็วของแสง เมื่อเทหวัตถุใดดูดกลืนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้น ไว้ได้ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าก็จะแปรสภาพเป็นพลังงานความร้อนเป็น ผลให้เทหวัตถุนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าเดิม.
การพา : (ความร้อน) น. การส่งถ่ายพลังงานความร้อนผ่านของเหลว หรือแก๊สโดยวิธีการซึ่งโมเลกุลของของเหลวหรือแก๊สเคลื่อนที่ไป. การเมือง น. (๑) งานที่เกี่ยวกับรัฐหรือแผ่นดิน เช่น วิชาการเมือง ได้แก่วิชาว่าด้วยรัฐ การจัดส่วนแห่งรัฐ และการดําเนินการแห่งรัฐ. (๒) การบริหารประเทศเฉพาะที่เกี่ยวกับนโยบายในการบริหาร ประเทศ เช่น การเมืองระหว่างประเทศ ได้แก่การดําเนินนโยบาย ระหว่างประเทศ. (๓) กิจการอํานวยหรือควบคุมการบริหาร ราชการแผ่นดิน เช่น ตําแหน่งการเมือง ได้แก่ตําแหน่งซึ่งมีหน้าที่ อํานวย (คณะรัฐมนตรี) หรือควบคุม (สภาผู้แทนราษฎร) การบริหารแผ่นดิน. (ปาก) ว. มีเงื่อนงํา, มีการกระทําอันมีเจตนาอื่น แอบแฝงอยู่, เช่น ป่วยการเมือง.
ขัดเบา : ก. ถ่ายปัสสาวะไม่ค่อยออก.
ขัดลำกล้อง : (ปาก) ก. ถ่ายปัสสาวะไม่ค่อยออก (ใช้แก่ผู้ชาย).
ขัดหนัก : ก. ถ่ายอุจจาระไม่ค่อยออก.
ขี้ : ก. กิริยาที่ถ่ายกากอาหารออกทางทวารหนัก, ถ่ายอุจจาระ, ราชาศัพท์ว่า ลงพระบังคนหนัก. น. กากอาหารที่ร่างกายไม่ต้องการแล้วขับถ่ายออก ทางทวารหนัก, อุจจาระ, สิ่งที่ร่างกายขับถ่ายออกมาเกรอะกรังอยู่ เช่น ขี้ไคล ขี้รังแค ขี้หู ขี้ตา, โดยปริยายหมายความถึงสิ่งที่ไม่ต้องการ เช่น ขี้ตะกั่ว, เศษหรือกากที่ออกมาจากสิ่งนั้น ๆ เช่น ขี้กบ ขี้เลื่อย. ว. ใช้ ประกอบหน้าคําที่แสดงความหมายในทางที่ไม่ดี เช่น ขี้เกียจ ขี้เหนียว, หรือมักเป็นเช่นนั้น เช่น ขี้หัวเราะ ขี้ขอ.
ขึ้น ๒ : ว. ใช้ประกอบคําอื่นเพื่อเน้นความให้เด่นหรือให้ชัดแจ้งกว่าเดิม เช่น เกิดขึ้น เป็นขึ้น สวยขึ้น สูงขึ้น; เป็นคําประกอบท้าย หมายความว่า มากกว่าเดิม เช่น ดีขึ้น เร็วขึ้น อ้วนขึ้น; เป็นไปตามคําที่ยอหรือยุเป็นต้น เช่น ยกขึ้น ยุขึ้น หนุนขึ้น; ดูสวยกว่าตัวจริง เช่น แต่งตัวขึ้น ถ่ายรูปขึ้น; มีเหตุผลสมควร เช่น ฟังขึ้น, ถ้าใช้ในความปฏิเสธ เช่น เถียงไม่ขึ้น หมายความว่า เถียงไม่ชนะ.
คาวปลา : ว. เรียกของเหลวที่มีลักษณะคล้ายนํ้าเหลืองที่ขับถ่ายจาก ช่องคลอดภายหลังทารกคลอดแล้ว ปรกติมีกลิ่นคาวเล็กน้อยว่า นํ้าคาวปลา.
เครื่องกล : น. เครื่องมือที่ประกอบด้วยส่วนที่อยู่กับที่และส่วนที่ เคลื่อนที่ได้ สามารถปรับเปลี่ยนและส่งถ่ายพลังงานกลไปยังจุดอื่น ในรูปที่เป็นประโยชน์มากขึ้น เช่น รอก คาน ลิ่ม. (อ. machine).
เครื่องอังทราย : (วิทยา) น. อุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยถาดบรรจุ ทราย ใช้สําหรับส่งถ่ายความร้อนให้แก่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยวิธีตั้งสิ่งนั้น บนถาดทราย แล้วเผาก้นถาดให้ร้อนจัด. (อ. sand bath).
เครื่องอังน้ำ : (วิทยา) น. อุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยหม้อต้มนํ้า ทําด้วยโลหะ มีฝาเป็นแผ่นวงแหวนขนาดต่างกันหลาย ๆ วงวางซ้อน เหลื่อมกัน ใช้สําหรับส่งถ่ายความร้อนให้แก่สิ่งใดสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดย วิธีตั้งสิ่งนั้นบนช่องว่างของแผ่นฝา แล้วต้มนํ้าให้ร้อนเพื่อให้ไอนํ้าร้อน ส่งถ่ายความร้อนให้สิ่งนั้น. (อ. water bath).
จำลอง ๑ : ก. ถ่ายแบบ เช่น จําลองจากของจริง. ว. แทน เช่น พระพุทธชินราชจําลอง, ที่ทําให้เหมือนของจริง เช่น ท้องฟ้าจําลอง.
ฉายาลักษณ์ : (ราชา) น. รูปถ่าย.
ฉี่ : (ปาก) ก. ถ่ายปัสสาวะ. น. ปัสสาวะ. ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงของที่ ทอดน้ำมัน; อย่างยิ่ง เช่น เงียบฉี่ ร้อนฉี่.
ชักโครก : [โคฺรก] น. ที่นั่งถ่ายอุจจาระมีที่เปิดนํ้าขับล้างได้.
ชักรูป : ก. บันทึกภาพโดยวิธีให้แสงจากสิ่งที่จะถ่ายไป ลงบนแผ่นวัสดุใสเช่นฟิล์ม กระจกถ่ายรูป, ถ่ายรูป ก็ว่า.
ชั่วเบา : (โบ) ว. ชั่วระยะเวลานานตราบที่ยังไม่ได้ถ่าย ปัสสาวะ.
เซลลูโลส : น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตประเภทโพลีแซ็กคาไรด์ชนิดที่ ซับซ้อน มีสูตรเคมี (C6H10O5)n ประกอบด้วยโมเลกุลของกลูโคส มากมายเชื่อมโยงกัน เซลลูโลสเป็นองค์ประกอบสําคัญของเนื้อไม้ ฝ้าย ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมพลาสติก กระดาษ ไหมเทียม ดินระเบิด ฟิล์มภาพยนตร์ หรือฟิล์มถ่ายรูปชนิดไม่ไวไฟ เป็นต้น. (อ. cellulose).
โซเดียมซัลเฟต : น. เกลือปรกติชนิดหนึ่ง มีสูตร Na2SO4 เมื่อเป็นผลึก มีสูตร Na2SO410H2O ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ละลายนํ้าได้ มีสมบัติ เป็นยาถ่าย ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทําสบู่ ผงซักฟอก สีย้อม แก้ว กระดาษ. (อ. sodium sulphate).
ฐานราก : น. โครงสร้างตอนล่างสุดที่รองรับอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง; (กฎ) ส่วนของอาคารที่ใช้ถ่ายนํ้าหนักอาคารลงสู่ดิน.
ดาย : ก. ใช้มีดหรือจอบเป็นต้นถากต้นหญ้าเพื่อให้เตียน. ว. ดะไป, ตะลุย, เช่น กินดาย; เพิกเฉย, ไม่เอาใจใส่, เช่น ดูดาย; ทีเดียว, เท่านั้น, เช่น เดียวดาย เปล่าดาย พู้นมาดาย. (จารึกสยาม); ง่าย เช่น สะดวกดาย; โดด, เดี่ยว, เลย, ถ่ายเดียว, (มักใช้ในที่สุดประโยค).
ดีเกลือ : น. เกลือชนิดหนึ่ง เม็ดละเอียดสีขาว มีรสเค็มจัดจนขม เกิดอยู่ ใต้เกลือในนาเกลือ ใช้เป็นยาระบายหรือยาถ่าย.
ตา ๒ : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่เป็นเครื่องดูรูป; ส่วนหนึ่ง ของต้นไม้ตรงที่แตกกิ่ง, รอยของต้นไม้ตรงที่เคยแตกกิ่ง; ช่องที่เกิดจาก การถัก สาน หรือลากเส้นผ่านกัน เช่น ตาร่างแห ตาตะแกรง ตาตาราง; คราว เช่น ตานี้ ถึงตาฉันบ้างละนะ; เรียกลายที่เป็นตาตามรูปต่าง ๆ ตามลักษณะ ของสิ่งของ เช่น ตาสมุก ตาราชวัติ ตาเมล็ดงา ตาเม็ดบัว ตาหมากรุก. ตากบ ๑ ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบตาเขียด ก็เรียก. ตากบตาเขียด ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบ ก็เรียก. ตากล้อง (ปาก) น. ผู้ทําหน้าที่ถ่ายภาพ. ตากลับ ว. ลักษณะที่ตาเหลือกขึ้นจนไม่แลเห็นตาดํา; ลักษณะที่สายตาคน มีอายุกลับเห็นชัดเจนขึ้น. ตากล้า น. พื้นดินที่ยกเป็นคันแบ่งเป็นช่อง ๆ สําหรับตกกล้า, ตาตกกล้า ก็ว่า. ตากุ้ง ว. สีเหมือนตาของกุ้ง, สีม่วงอมเทา. ตาโก้ง น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอเป็นตาโต ๆ. ตาไก่ น. ชื่อเครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายตาไก่ ดังนี้ ๏ ในหนังสือเก่า สําหรับเขียนขึ้นต้นวรรคหรือต้นบรรทัด, ฟองมัน ก็เรียก; โลหะที่ทําเป็นรู ใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกันช่องสึก, ถ้าขนาดใหญ่เรียกว่า ตางัว. ตาขวาง ว. เริ่มแสดงอาการคลั่ง; ขุ่นเคือง, ไม่พอใจ. ตาขอ น. ไม้หรือเหล็กที่งอ ๆ สําหรับชัก เกี่ยว แขวน หรือสับ, ขอ หรือ ตะขอ ก็ว่า. ตาข่าย น. เครื่องดักสัตว์มีนกหรือกระต่ายเป็นต้น ถักเป็นตาร่างแห, เรียก ลวดหรือด้ายที่ถักเป็นตา ๆ อย่างข่ายว่า ลวดตาข่าย ฯลฯ. ตาขาว ว. แสดงอาการขลาดกลัว. ตาขุ่นตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาเขียว ก็ว่า. ตาเข น. ตาเหล่น้อย. ตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาขุ่นตาเขียว ก็ว่า. ตาแข็ง ว. ไม่ง่วง, ไม่กะพริบง่าย. ตาคม น. ตาที่มีลักษณะอย่างของมีคม อาจบาดหรือแทงใจได้. ตาค้าง ว. อาการที่ตาเหลือกขึ้นและไม่กลับลงมาตามเดิม, อาการที่นอนหลับ หรือตายลืมตา, อาการที่ตาไม่กะพริบ. ตางัว ๑ น. ชื่อโคมชนิดหนึ่ง; โลหะที่ทําเป็นรูใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกัน ช่องสึก, ถ้าขนาดเล็กเรียกว่า ตาไก่. ตาจระเข้ น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์จิตรา มี ๑ ดวง, ดาวไต้ไฟ ดาวเสือ หรือ ดาวต่อมนํ้า ก็เรียก; ตาคนที่มีรูปยาวเหมือนตาของจระเข้. ตาเจ้าชู้ (สำ) น. ตาที่แสดงอาการกรุ้มกริ่มเป็นเชิงทอดไมตรีในทางชู้สาว. ตาชั่ง น. เครื่องชั่งสําหรับชั่งสิ่งของต่าง ๆ มีหลายชนิด เช่น ตราชู ชั่งจีน ชั่งสปริง. ตาแดง น. โรคเยื่อหุ้มลูกตาอักเสบ. ตาตกกล้า น. ตากล้า. ตาตั๊กแตน ๑ ว. มีลักษณะที่ใสแจ๋ว. ตาตั้ง ว. อาการที่ตาแข็งและเหลือกในเวลาชัก. ตาตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาราง ก็ว่า. ตาตี่ น. ตาที่หนังตาบนตกลงมาจนเกือบปิด ทําให้เบิกตากว้างไม่ได้. ตาตุ่ม ๑ น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลม ๆ ที่ข้อเท้าทั้ง ๒ ข้าง. ตาเต็ง น. เครื่องชั่งหรือตาชั่งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีถาดห้อยอยู่ทางหัวคัน ที่เป็นไม้หรืองาช้าง มีตุ้มถ่วงห้อยเลื่อนไปมาตามคันได้ เดิมใช้สําหรับ ชั่งทอง เงิน เพชร และพลอย, เต็ง ก็เรียก. (เทียบ จ. เต็ง). ตาโต ๑ (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดง อาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาพอง ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาถั่ว น. ตาที่มีจุดขาวมัว ๆ อยู่กลางตาดํา ทําให้มองไม่ค่อยเห็น, โดยปริยาย หมายความว่า เซ่อ เช่น ของวางอยู่ตรงหน้า ไม่เห็นก็ตาถั่วแล้ว. ตาทัพ น. ทางที่กองทัพเดิน ซึ่งเปรียบด้วยตาหรือแต้มหมากรุก. ตาทิพย์ น. ตาที่สามารถดูอะไรเห็นได้หมด. ตานกแก้ว น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลมที่ข้อมือทั้ง ๒ ข้าง. ตาน้ำ น. ทางนํ้าใต้ดินที่มีนํ้าไหลไม่ขาดสาย. ตาบอด น. ตามืด, ตามองไม่เห็น, โดยปริยายหมายถึงหลงผิดไปชั่วคราว ไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เพราะความรักเลยทำให้เขาตาบอดไปชั่ว ระยะหนึ่ง. ตาบอดคลำช้าง (สํา) น. คนที่รู้อะไรด้านเดียวหรือนัยเดียวแล้วเข้าใจว่า สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น. ตาบอดได้แว่น (สํา) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ หัวล้านได้หวี เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น. ตาบอดตาใส น. ตาบอดอย่างที่ตาดูเหมือนเป็นปรกติ แต่มองไม่เห็น. ตาบอดสอดตาเห็น (สํา) อวดรู้ในเรื่องที่ตนไม่รู้. ตาบอดสี น. ตาที่มองเห็นสีผิดไปจากสีที่เป็นจริง เนื่องจากประสาทตาที่ รับรู้สีพิการหรือเจริญไม่เต็มที่. ตาปลา น. เนื้อซึ่งด้านเป็นไตแข็งคล้ายตาของปลา มักเป็นที่ฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้า. ตาปลาดุก น. ตาที่มีลักษณะเล็กเรียว. ตาปู น. ตะปู. ตาเป็นมัน (สํา) ว. อาการที่จับตามองจ้องดูสิ่งที่ต้องใจอย่างจดจ่อ. ตาเป็นสับปะรด (สํา) ว. มีพรรคพวกที่คอยสอดส่องเหตุการณ์ให้อยู่รอบข้าง. ตาโป่ง น. ตาหมากรุกที่เดินผิดกติกา โดยเดินทแยง ๔๕ องศาไป ๓ ตาตาราง (มักใช้แก่การเดินหมากม้าในหมากรุกไทย). ตาฝาด ว. เห็นผิดพลาดไป, เห็นคลาดเคลื่อนไปจากของเดิม. ตาพร่า ว. อาการที่เห็นไม่ชัดเจน. ตาพอง ๑ น. ตาที่มีลักษณะโป่งโตขึ้นมา. (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะ อยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาโพลง ว. เบิกตากว้าง เช่น ตกใจลืมตาโพลง. ตาฟาง น. ตาที่มองอะไรเห็นไม่ชัดเจน. ตาฟางไก่ น. ตาที่มองเห็นเฉพาะในเวลากลางวัน ในเวลากลางคืนมอง อะไรไม่เห็น. ตาเฟื้องตาสลึง (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว). ตามด น. รูเล็ก ๆ ที่นํ้าซึมออกได้อย่างรูรั่วตามก้นหม้อเป็นต้น. ตาแมว น. ชื่อชันชนิดหนึ่ง เรียกว่า ชันตาแมว; คดที่ได้จากตาแมว; แก้ว มีค่าชนิดหนึ่ง เรียกว่าเพชรตาแมว; แก้วสะท้อนแสงชนิดหนึ่งที่ฝังไว้ ตาไม่มีแวว (สำ) ว. ไม่รู้จักของดี เช่น เขาเป็นคนตาไม่มีแวว มีของดีมา ให้เลือกยังไม่ยอมเลือก. ตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาตาราง ก็ว่า; ใช้เป็นคํานําหน้าคํามาตราวัดที่เป็นหน่วยมาตรฐาน หมายความว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ตารางวา หมายความว่า วาสี่เหลี่ยมจัตุรัส. ตารางสอน น. ตารางที่บรรจุรายการสอนว่า วันใด เวลาใด สอนวิชาใด. ตารางเหลี่ยม (เลิก) น. ชื่อมาตราวัดพื้นผิวที่เป็นหน่วยมาตรฐาน คือพื้นที่ กําหนดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ๑ เมตรตารางเหลี่ยม เท่ากับ กว้าง ๑ เมตร ยาว ๑ เมตร หรือ ๑ ตารางเมตร. ตาร้าย น. เรียกผู้ที่มองดูคนอื่นแล้วถือว่าให้โทษแก่คนนั้น, ดูร้าย ก็ว่า; ที่ เดือดร้อน ในคําว่า เข้าตาร้าย. ตาริ้ว น. แถวซึ่งตั้งเป็น ๒ แถวหรือ ๔ แถวขนานกัน เช่นแถวกระบวนแห่ เป็นต้น. ตาเริด ว. อาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับ. ตาลม น. โรคตาชนิดหนึ่ง. ตาลอ น. ตาถั่ว. ตาลอย ว. อาการที่ตาเหม่อ. ตาลาย ว. อาการที่มองเห็นอะไรไม่ชัดพร่าลายไปหมด. ตาลีตาเหลือก ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาเหลือก ก็ว่า. ตาลุก ๑ ก. ลืมตาโพลงด้วยความสนใจ. ตาลุก ๒, ตาลุกตาชัน (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อ เห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต หรือ ตาพอง ก็ว่า. ตาเล็กตาน้อย (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว), ตาที่แสดงอาการประจบประแจง (มักใช้แก่เด็ก). ตาวาว ว. อาการที่จ้องมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความอยากได้ เช่น พอเห็น เงินก็ตาวาว เด็ก ๆ พอเห็นขนมก็ตาวาว. ตาแวว ว. ลักษณะของตาที่มีความไวในการเห็นภัยอันตราย, หวาดระแวง, เช่น กาตาแววเห็นธนู. ตาไว ว. ลักษณะของตาที่เห็นอะไรได้รวดเร็ว เช่น ตาไวเห็นคนรู้จักนั่งรถ ผ่านไป. ตาโศก น. ตามีลักษณะเศร้า ชวนให้เอ็นดู. ตาสว่าง น. ตามองเห็นชัดเจน เช่น พอหยอดยา ก็รู้สึกว่าตาสว่างขึ้น; ไม่ง่วง งัวเงีย, นอนต่อไม่หลับ, เช่น ตื่นขึ้นมากลางดึก เลยตาสว่าง นอนไม่หลับอีก; โดยปริยายหมายความว่า เข้าใจแล้วว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เดี๋ยวนี้เขา ตาสว่างแล้วหลังจากที่หลงผิดมานาน. ตาส่อน น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่ตามปรกติ. ตาสำเภา น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตัวโค ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตาหมากรุก น. เรียกผ้าที่มีลายเป็นตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบบกระดาน หมากรุกมีสีสลับกันว่าผ้าตาหมากรุก. ตาหยี น. ตาหรี่, ตาที่แคบเรียวเล็ก. ตาหวาน ๑ น. ตาที่มีแววน่ารักน่าเอ็นดู, ตาแสดงอาการน่ารักน่าเอ็นดู. ตาเหล่ น. ตาเขมาก. ตาเหลือก ๑ น. ตาที่เบิกกว้าง, ตาที่กลอกขึ้น, ตาที่ตาดําอยู่ข้างบน. ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาลีตาเหลือก ก็ว่า. ตาเหลือกตาพอง ว. อาการที่แสดงความตกใจกลัว. ตาแหลม ว. มีสายตาคมพอมองเห็นก็รู้ทันทีว่าอะไรดีมีคุณค่า เช่น ผู้หญิง คนนี้ตาแหลมพอมองเห็นหัวแหวนก็รู้ว่าเป็นเพชรแท้หรือเพชรเทียม. ตาแหวน น. ตาที่มีเส้นสีขาวหรือสีงาช้างเวียนรอบขอบตาดํา (มักใช้แก่ ม้า วัว ควาย). ตาอ้อย น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง. ตาเอก น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่.
ถ่ายยา : ก. กินยาถ่าย.
โถส้วม : น. สุขภัณฑ์ชนิดหนึ่งสําหรับนั่งถ่ายอุจจาระ.
ท้องเดิน : ว. อาการที่ถ่ายอุจจาระเหลวมากบ่อย ๆ.
ท้องผูก : ว. อาการที่อุจจาระแข็งถ่ายออกลําบาก.
ท้องเสีย : ว. อาการที่เกิดจากเครื่องย่อยอาหารไม่ทําหน้าที่ตาม ปรกติทําให้ถ่ายอุจจาระกะปริบกะปรอย.
ทับศัพท์ : ว. ที่รับเอาคําของภาษาหนึ่งมาใช้ในอีกภาษาหนึ่งโดยวิธี ถ่ายเสียงและถอดอักษร เช่น เขียนทับศัพท์ แปลทับศัพท์.
ท่าเดียว : (ปาก) ว. อย่างเดียว, ประการเดียว, ถ่ายเดียว, เช่น จะกินท่าเดียว.
ท่าเรือ : น. ที่จอดเรือ; (กฎ) สถานที่สําหรับให้บริการแก่เรือในการ จอดเทียบบรรทุก หรือขนถ่ายของ.