กระดานโต้คลื่น : น. กระดานที่มีลักษณะแคบและยาว ใช้เล่นบนคลื่น โดยผู้เล่นยืนทรงตัวบนแผ่นกระดานแล้วให้คลื่นหนุนเคลื่อนไป. (อ. surfboard), เรียกการเล่นเช่นนั้นว่า การเล่นกระดานโต้คลื่น. (อ. surf-riding).
กะปวกกะเปียก : ว. อ่อนกําลังจนแทบไม่อาจทรงตัวได้ตามลําพัง, ปวกเปียก ก็ว่า.
คอพับ : น. เรียกเสื้อชั้นนอกที่คอพับลงมาว่า เสื้อคอพับ. ว. อาการที่ คอตกพับลงเพราะสิ้นกำลังทรงตัวเป็นต้น.
จิงโจ้ ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Macropodidae ขาคู่หน้าสั้น คู่หลังยาวและแข็งแรง ใช้กระโดดได้ไกล ๆ หางยาวและแข็งแรง ใช้เป็นอวัยวะช่วยในการทรงตัว ตัวเมียออกลูกเป็นตัวไม่มีรกติดออกมา มีถุงที่หน้าท้องสําหรับใส่ลูก มีหลายชนิด เช่น ชนิด Macropus rufus, M. giganteus มีถิ่นกําเนิดในทวีปออสเตรเลีย.
เซ : ว. อาการที่ขาดความทรงตัวจนโอนเอนไปข้างใดข้างหนึ่ง เช่น เดินเซ, ลักษณะที่โย้ไปข้างใดข้างหนึ่ง เช่น เรือนเซ.
โซเซ : ว. เซไปมา, ทรงตัวไม่ใคร่อยู่, กระโซกระเซ ก็ว่า.
ตั้ง : ก. ชูตัว, ชูตัวหรือทําให้ทรงตัวในลักษณะที่ไม่ใช่นอนหรือล้ม, เช่น ขนตั้งชัน ต้นข้าว เอนแล้วกลับตั้งขึ้น ตั้งขวด ตั้งตุ๊กตา; ทรง, ดํารง, เช่น ตั้งอยู่ในคลองธรรม ตั้งอยู่ในศีลในธรรม; ทําให้มีขึ้น, สร้างให้มีขึ้น, เช่น ตั้งตําแหน่งใหม่ ตั้งบ้านตั้งเรือน; ยกฐานะให้สูงขึ้น เช่น ตั้งพระราชาคณะ ตั้ง เปรียญ; กําหนด เช่น ตั้งราคา; วาง เช่น ตั้งสํารับ; วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น ตั้งหนังสือเป็นกองสูง; เริ่ม, เริ่มมี, เช่น ตั้งครรภ์ ตั้งเค้า ตั้งท้อง. บ. คําแสดงความหมายว่า มาก หรือ นาน เช่น เสียตั้งชั่ง ไปตั้งปี. น. ลักษณนามเรียกของที่วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น หนังสือตั้งหนึ่ง หนังสือ ๒ ตั้ง, ครั้ง เช่น มาลองกันดูสักตั้ง. ตั้งกรม ก. สถาปนาเจ้านายขึ้นทรงกรม. ตั้งเข็ม, ตั้งเป้าหมาย ก. ตั้งความมุ่งหมาย, กําหนดจุดมุ่งหมาย. ตั้งไข่ ก. สอนยืน (ใช้แก่เด็ก). ตั้งเค้า ก. เริ่มแสดงท่าทีให้รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เช่น ฝนตั้งเค้า. ตั้งแง่ ก. ทําชั้นเชิง, ไม่ตรงไปตรงมา, คอยหาเรื่องจับผิด. ตั้งใจ, ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดใจจ่อ. ตั้งต้น ก. เริ่มทํา, ขึ้นต้น. ตั้งตัว ก. ตั้งฐานะหรือตั้งหลักฐาน; ยกย่องตัว, สถาปนาตัว, เช่น ตั้งตัวเป็นหัวหน้า ตั้ง ตัวเป็นใหญ่. ตั้งตาคอย ก. เฝ้าคอย. ตั้งแต่ บ. นับจากเวลาหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งเป็นต้นไป (มักใช้เข้าคู่กับคำ จนถึง หรือ จน กระทั่ง). ตั้งแต่ง ก. ยกขึ้น, สถาปนา. ตั้งโต๊ะ ก. จัดโต๊ะอาหาร; จัดโต๊ะหมู่บูชา. ตั้งท้อง ว. เรียกข้าวที่มีรวงอ่อน ๆ ว่า ข้าวตั้งท้อง. ตั้งท่า ก. วางท่า; เตรียมตัวพร้อม, คอยทีอยู่. ตั้งธาตุ ก. จัดระบบการย่อยอาหารให้เป็นปรกติ. ตั้งนาฬิกา ก. เทียบนาฬิกาให้ตรงเวลา. ตั้งนาฬิกาปลุก ก. ตั้งเวลาให้นาฬิกาปลุกตามที่ต้องการ. ตั้งหน้า, ตั้งหน้าตั้งตา ก. มุ่งหน้า; ตั้งใจทํา, ทําอย่างจริงจัง, มุ่งมั่น. ตั้งหัวเรือ ก. ทําให้เรืออยู่ในแนว ไม่ให้หัวเรือส่ายไปมา. ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดจ่อ, ตั้งใจ ก็ว่า.
ทรง : [ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จํา เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์ มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคําที่ตาม หลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคํา เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้า นามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรง ครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นําหน้าคํากริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นําหน้าคํานามราชาศัพท์ ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระ ประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชา สามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่นิยมใช้คําว่า ทรง นําหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวาง แล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.
เท้าแขน : น. ตัวไม้สําหรับคํ้ายันของหนักเช่นกันสาดให้มีกําลัง ทรงตัวอยู่ได้; ส่วนของเก้าอี้สําหรับวางแขน. ว. เรียกอาการที่ นั่งพับเพียบเอาแขนเท้าพื้นว่า นั่งเท้าแขน.
ประคอง : ก. พยุงให้ทรงตัวอยู่ เช่น ประคองตัวเอง, ช่วยพยุงไม่ให้เซไม่ให้ล้ม เป็นต้น เช่น ประคองคนเจ็บให้ลุก ประคองคนแก่เดิน, ระมัดระวัง ไม่ให้หกหรือพลั้งพลาด เช่น ประคองชามแกงให้ดี, โอบรัดเบา ๆ เช่น หนุ่มสาวเดินประคองกันไป; โดยปริยายหมายถึงอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประคองสถานการณ์บ้านเมืองไว้ให้ดี.
ปวกเปียก : ว. อ่อนกําลังจนแทบไม่อาจจะทรงตัวได้ตามลําพัง, กะปวกกะเปียก ก็ว่า.
ปะหงับปะง่อน : ว. อาการที่โงนเงนทรงตัวไม่อยู่เพราะเจ็บป่วย เป็นต้น, ปะงับปะง่อน ก็ว่า.
ปั้วเปี้ย : ว. อ่อนกําลังจนแทบจะทรงตัวไม่ได้.
พยุง : [พะยุง] ก. ประคองให้ทรงตัวอยู่, ประคองให้อยู่ในสภาพปรกติ, เช่น พยุงตัวลุกขึ้นพยุงตัวไม่ให้จมน้ำ, ระวังไม่ให้ล้มไม่ให้ซวนเซ เป็นต้น เช่น พยุงลุก พยุงนั่ง พยุงคนไข้ พยุงฐานะ, (ปาก) พยุพยุง ก็ว่า.
พับ : น. เรียกลักษณะผ้าหรือกระดาษที่พับไว้ เช่น ซื้อผ้าในพับ. ก. ทบ เช่น พับผ้า พับกระดาษ, หักทบ เช่น พับมีด, คู้เข้า เช่น นั่งพับขา; สิ้นกําลังทรงตัว เช่น คอพับ; ตัดบัญชีเป็นสูญ เช่น เป็นพับไป. ว. ที่ทบหรือหักทบเข้าด้วยกัน เช่น ผ้าพับ มีดพับ.
โย้ : ว. เอนเพราะไม่ตั้งตรงทรงตัวตามธรรมดาที่ควรเป็น เช่น เรือนโย้ เขียน หนังสือโย้; ยื่นออกกว่าปรกติ เช่น ท้องโย้ พุงโย้.
ล่ม : ก. กิริยาที่ทรงตัวไม่อยู่ เอียงจนตะแคง คว่ำ หรือจม เช่น เรือล่ม เกวียนล่ม, ทำให้ตะแคง คว่ำ หรือจม เช่น ล่มเรือ; ได้รับความ เสียหายมากเพราะน้ำท่วมหรือพายุพัดเป็นต้น เช่น นาล่ม สวนล่ม โป๊ะล่ม; ไม่สำเร็จ, ไม่รอดฝั่ง, เช่น โครงการล่ม.
ลอย : ก. ทรงตัวอยู่ในอากาศ เช่น บัลลูนลอย ว่าวลอย; เด่นขึ้น, นูนขึ้น, เช่น รูปปลาที่วาดบนพัดมองเหมือนลอยออกมา; ไม่อยู่เป็นหลัก แหล่ง, ไม่มีตําแหน่งหรือหน้าที่การงานเป็นหลักแหล่ง, เช่น เป็น พ่อพวงมาลัยลอยไปลอยมา; ไม่จม เช่น เรือลอย ซุงลอย; อยู่บน ผิวน้ำ เช่น จอกแหนลอย; ปล่อยให้ไปตามน้ำหรืออากาศ เช่น ลอยกระทง ปล่อยลูกโป่งให้ลอยในพิธีเปิดงาน. ว. ไม่มีอะไรคุ้ม หรือผูกไว้ (ใช้ในการเล่นหมากรุก) เช่น โคนลอย ม้าลอย.
เลี้ยง : ก. ดูแล, เอาใจใส่, บํารุง, เช่น เลี้ยงกล้วยไม้, ปรนปรือด้วยอาหาร การกินเป็นต้น เช่น เลี้ยงสัตว์เลี้ยงลูก, เลี้ยงดู ก็ว่า, ประคับประคอง ให้ทรงตัวอยู่ได้ เช่น เลี้ยงชีพ เลี้ยงตะกร้อไว้ได้นาน ๆ, กินร่วมกัน เพื่อความรื่นเริงหรือความสามัคคีเป็นต้น เช่น เลี้ยงเพื่อน เลี้ยงรุ่น เลี้ยงสังสรรค์(ปาก) เป็นเจ้ามือจ่ายค่าอาหารหรือค่าบันเทิงเป็นต้น เช่น เลี้ยงโต๊ะจีน เลี้ยงหนัง.
หกล้ม : ก. ล้มลง, ทรุดตัวลงเพราะเสียการทรงตัว.
แอ๋ : ว. อาการที่เมาเหล้ามากจนพูดลิ้นไก่สั้นหรือทรงตัวไม่อยู่ เรียกว่า เมาแอ๋.