Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ทษ , then ทศ, ทษ, ทส .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ทษ, 33 found, display 1-33
  1. ทศ ๑, ทศ- : [ทด, ทดสะ-] น. เรียกเหรียญทองสมัยรัชกาลที่ ๔ ชนิดหนึ่ง มีค่า เท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่ง = ๘ บาท ว่า ทองทศ. ว. สิบ, มักใช้เป็น ส่วนหน้าสมาส.
  2. ทศ ๒, ทศา : [ทด, ทะสา] (แบบ) น. ชายผ้า, ชายครุย. (ส.).
  3. ทศกัณฐ์ : น. ''ผู้มีสิบคอ'' คือ ท้าวราพณ์ในเรื่องรามเกียรติ์.
  4. ทศเบญจกูล : น. เครื่องเผ็ดร้อน ๑๐ อย่างตามตําราแพทย์แผนโบราณ.
  5. วงศ์ทศกัณฐ์ : (ปาก) น. เรียกญาติพี่น้องมากว่า วงศ์ทศกัณฐ์.
  6. กรกช : [กอระกด] (กลอน) น. ''ดอกบัวคือมือ'' คือ กระพุ่มมือ เช่น ธก็ยอกรกชประนม. (ลอ). ก. ไหว้ เช่น เอกภูธรกรกช ทศนัขสมุชลิต. (ยวนพ่าย). (ดู กช).
  7. งอมพระราม : (สํา) ว. มีความทุกข์ยากลําบากเต็มที่ เช่น ทศกัณฐ์จะ งอมพระรามที่ไหน เกรงพระรามจะงอมพระรามไปเองเสียอีก. (ลักวิทยา).
  8. จุทสะ : [จุดทะสะ] (แบบ) ว. สิบสี่. (ป. จุทฺทส; ส. จตุรทศ). จุทสมสุรทิน น. วันที่ ๑๔ ทางสุริยคติ.
  9. ด้าม : น. ส่วนของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ใช้ถือใช้จับ เช่น ด้ามมีด ด้ามขวาน, ลักษณนาม เรียกของบางอย่างที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า ด้าม เช่น ปากกาด้ามหนึ่ง ปากกา ๒ ด้าม; ต้น, ทาง, เช่น โดยด้ามอาทิสวคนธ์. (ม. คําหลวง จุลพน), ผู้เผด็จ ด้ามตัณหา. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์), โดยด้ามอาทิทศธรรมสนท้าว. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), แลราชผู้มีอยู่ในด้ามมารคธรรม. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  10. ตบะ : น. พิธีข่มกิเลสโดยทรมานตัว; การบําเพ็ญเพื่อให้กิเลสเบาบาง, การข่มกิเลส, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม). (ป., ส. ตป ว่า ความ เพียรเครื่องเผาผลาญกิเลส).
  11. ตรีทศ : น. เทวดา ๓๓ องค์ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มิได้แยกว่าใครเป็นใคร หมายถึง พระอินทร์และบริวารพระอินทร์ ๓๒ องค์, ไตรทศ ก็เรียก. (ส. ตฺริทศ ว่า สามสิบ).
  12. ทร- : [ทอระ-] คําอุปสรรค แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, น้อย, ไม่มี, เช่น ทรชน ทรลักษณ์ ทรพล. (ป. ทุ, ทุรฺ; ส. ทุสฺ).
  13. ทศพล : น. ผู้มีกําลัง ๑๐ เป็นพระนามของพระพุทธเจ้า. ทศพิธราชธรรม น. จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็น หลักธรรมประจําพระองค์ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง มี ๑๐ ประการ ได้แก่ ๑. ทาน - การให้ ๒. ศีล - การรักษากายวาจา ให้เรียบร้อย ๓. บริจาค - ความเสียสละ ๔. อาชชวะ - ความซื่อตรง ๕. มัททวะ - ความอ่อนโยน ๖. ตบะ - การข่มกิเลส ๗. อักโกธะ - ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา - ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ - ความ อดทน ๑๐. อวิโรธนะ - ความไม่คลาดจากธรรม.
  14. ทาน ๑, ทาน- : ทานะ-, ทานนะ-] น. การให้, มักใช้ประกอบท้ายคำอื่น เช่น ธรรมทาน วิทยาทาน; สิ่งที่ให้ มักหมายถึงเงินหรือสิ่งของที่คน ให้แก่คนยากจน, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป., ส.).
  15. ทุ ๑ : ว. คําอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทําได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป., ส. เดิม เป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคําอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและ สันสกฤต กําหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะ คําหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคําหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษร กลางก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรต่ำ ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคําหลังเป็น อักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคํา ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.
  16. นัข : (กลอน) น. เล็บ, นิ้วมือ เช่น ทศนัข. (ป., ส. นข).
  17. บทวเรศ : [บดทะวะเรด] (แบบ) น. เท้า เช่น ถวายทศนัขประณต บทวเรศราชชนนี. (ม. ร่ายยาว ฉกษัตริย์).
  18. บริจาค : [บอริจาก] ก. สละให้, เสียสละ. น. การสละ, การให้, การแจก, ความ เสียสละ, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป. ปริจฺจาค).
  19. บารมี : [-ระมี] น. คุณความดีที่ควรบําเพ็ญมี ๑๐ อย่าง คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ (การออกจากกาม คือ บวช) ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา เรียกว่า ทศบารมี; คุณความดีที่ ได้บําเพ็ญมา, คุณสมบัติที่ทําให้ยิ่งใหญ่, เช่นว่า ชมพระบารมี พระบารมีปกเกล้าฯ พ่ายแพ้แก่บารมี. (ป. ปารมี).
  20. มัททวะ : น. ความอ่อนโยน, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม).
  21. ราชธรรม : น. จริยวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินพึงประพฤติ, คุณธรรมของ ผู้ปกครองบ้านเมือง, มี ๑๐ ประการ เรียกว่า ทศพิธราชธรรม ได้แก่ ๑. ทาน–การให้ ๒. ศีล–ความประพฤติดีงาม ๓. ปริจจาคะ–การบริจาค, ความเสียสละ ๔. อาชชวะ–ความซื่อตรง ๕. มัททวะ–ความอ่อนโยน ๖. ตปะ–ความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลสตัณหา ๗. อักโกธะ–ความ ไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา–ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ–ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ–ความไม่คลาดธรรม. (ส.).
  22. ราพณ์ : [ราบ] น. ชื่อเรียกทศกัณฐ์; ยักษ์. (ส. ราวณ).
  23. รามเกียรติ์ : [รามมะเกียน] น. ชื่อวรรณคดีเรื่องหนึ่ง ว่าด้วยพระรามทําศึก กับทศกัณฐ์เพื่อชิงนางสีดา.
  24. รุทระ : [รุดทฺระ] ว. น่ากลัวยิ่งนัก. น. เทวดาหมู่หนึ่งมี ๑๑ องค์ รวมเรียกว่า เอกาทศรุทร, ชื่อเทพสําคัญองค์หนึ่งในพระเวท ซึ่งพวกฮินดูถือว่าเป็น องค์เดียวกับพระศิวะ. (ส.; ป. รุทฺท).
  25. ลงกา : น. ชื่อเมืองของทศกัณฐ์ในเรื่องรามเกียรติ์.
  26. เลื่อม : น. วัสดุสำหรับปักลวดลายลงบนผ้า มักมีลักษณะบางเป็นรูปกลม แบนเล็ก ๆ ตรงกลางมีรู เป็นเงามันสำหรับใช้ปักลวดลาย เช่นเสื้อ โขนตัวทศกัณฐ์ พระราม พระลักษมณ์ เป็นต้น. ว. เป็นเงามัน.
  27. ศีล : [สีน] น. ข้อบัญญัติทางพระพุทธศาสนาที่กําหนดการปฏิบัติกาย และวาจา เช่น ศีล ๕ ศีล ๘, การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, เป็น ธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม; (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม)พิธีกรรมบางอย่างทางศาสนา เช่น ศีลจุ่ม ศีลมหาสนิท. (ส. ศีล ว่า ความประพฤติที่ดี, ป. สีล).
  28. เศียร : [เสียน] น. หัว เช่น เศียรพระพุทธรูป ทศกัณฐ์มีสิบเศียรยี่สิบกร, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระเศียร. (ส. ศิร;ป. สิร); เรียกไพ่ตอง ๓ ใบ พวกเดียวกัน แต่ไม่เหมือนกัน เช่น ๓ คน ๓ นก ๓ ตา ว่า ๑ เศียร.
  29. สั่ง ๑ : ก. บอกไว้เพื่อให้ทําหรือให้ปฏิบัติเป็นต้น เช่น ครูสั่งให้นักเรียนทำ การบ้าน แม่สั่งให้ถูบ้าน; บอกไว้อาลัยในการที่จะจากไป เช่น ฝนสั่งฟ้า ทศกัณฐ์สั่งเมือง อิเหนาสั่งถ้ำ สิ้นเสียงก็สิ้นสั่ง ตายไม่ทันสั่ง.
  30. อวิโรธน์, อวิโรธนะ : [อะวิโรด, อะวิโรทะนะ] น. ความไม่ประพฤติผิดธรรม, ความ ไม่คลาดจากธรรม, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม). (ป., ส.).
  31. อวิหิงสา : น. ความไม่เบียดเบียน, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม).
  32. อักโกธะ : น. ความไม่โกรธ, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป.).
  33. อาชวะ : [อาดชะวะ] น. ความซื่อตรง, ความตรงไปตรงมา, ความมีสัตย์, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป. อาชฺชว, ส. อารฺชว).
  34. [1-33]

(0.0688 sec)