พราน : [พฺราน] น. ผู้หากินในทางล่าสัตว์เป็นต้น, ผู้ชำนาญป่า, เช่น พรานนก พรานป่า.
ทหาร : [ทะหาน] น. ผู้มีหน้าที่ในเรื่องรบ, นักรบ. (อะหม หาน ว่า นักรบ).
ถเมิน : [ถะเมิน] น. พวก, ทหาร, เหล่า, พรานป่า. (เทียบ ข. เถมิร ว่า ผู้เดิน).
ทเมิน : [ทะ-] น. พวก, ทหาร, เหล่า, พรานป่า. (ข. เถฺมิร).
ทหารกองเกิน : (กฎ) น. ชายที่มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ ๑๘ ปีบริบูรณ์ และยังไม่ถึง ๓๐ ปีบริบูรณ์ ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกิน หรือผู้ที่มี อายุยังไม่ถึง ๔๖ ปีบริบูรณ์ และยังมิได้ลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอ พร้อมกับคนชั้นปีเดียวกันเพราะเหตุใด ๆ ก็ดี ซึ่งได้ลงบัญชีทหาร กองเกินตามหลักเกณฑ์ วิธีการและแบบที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่า ด้วยการรับราชการทหารแล้ว.
ทหารกองประจำการ : (กฎ) น. ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและ ได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด, (ปาก) ทหารเกณฑ์.
ทหารเกณฑ์ : (ปาก) น. ทหารกองประจำการ.
ทหารเลว : (โบ) น. พลทหาร.
หัวหอก : น. บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่นำผู้อื่นไปก่อนในการต่อสู้ หรือการพัฒนาสังคมเป็นต้น เช่น ส่งทหารพรานเป็นหัวหอกไปค้นหา ผู้ก่อการร้าย.
เกณฑ์ทหาร : (ปาก) ก. เรียกบุคคลมาตรวจเลือกเข้ารับ ราชการทหารกองประจำการในยามปรกติ.
ขึ้นทะเบียนทหาร : ก. แสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินเมื่อมีอายุ ย่างเข้า ๑๘ ปี, ผู้ที่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินแล้ว ถือว่าเป็นทหารกองเกิน.
เขนงนายพราน : [ขะเหฺนง-] น. ชื่อไม้เถาล้มลุกชนิด Nepenthes mirabilis (Lour.) Druce ในวงศ์ Nepenthaceae ชอบขึ้นตามพงหญ้าบนดินทรายที่ชุ่มแฉะ ปลาย ใบเปลี่ยนเป็นรูปคล้ายกระบอก มีฝาปิด ใช้ดักจับแมลง, กระดึงพระราม แล่งพระราม เหนงนายพราน หรือ ลึงค์นายพราน ก็เรียก.
ลึงค์นายพราน : ดู เขนงนายพราน.
ไล่ทหาร : (ปาก) ก. เข้ารับการคัดเลือกเพื่อรับราชการทหารตาม หมายเกณฑ์.
ศาลทหาร : (กฎ) น. ศาลในสังกัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีอํานาจ พิจารณาพิพากษาวางบทลงโทษผู้กระทําผิดต่อกฎหมายทหาร หรือกฎหมายอื่นในทางอาญา ในคดีซึ่งผู้กระทําผิดเป็นบุคคลที่ อยู่ในอํานาจศาลทหารในขณะกระทําผิด และมีอํานาจสั่งลงโทษ บุคคลใด ๆ ที่กระทําผิดฐานละเมิดอํานาจศาลตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.
เหนงนายพราน : [เหฺนง-] ดู เขนงนายพราน.
สโมสรทหารบก. : ก. ร่วมชุมนุมกัน เช่น ไปร่วมสโมสร. (ป. สโมสรณ; ส. สมวสรณ).
พล, พล : [พน, พนละ, พะละ] น. กําลัง, มักใช้ประกอบคําอื่น เช่น พระทศพล อันเป็นพระนามพระพุทธเจ้า หมายความว่า ทรงมีพระญาณอันเป็น กำลัง ๑๐ ประการ มี ฐานาฐานญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและสิ่งที่มิใช่ ฐานะเป็นต้น; ทหาร เช่น กองพล ตรวจพล ยกพลขึ้นบก; สามัญ, ธรรมดา ๆ, พื้น ๆ, เช่น ของพล ๆ; ยศทหารและตํารวจสัญญาบัตร รองจากจอมพล (เดิมใช้ว่า นายพล). (ป., ส.).
กองทัพ : น. หน่วยทหารที่ประกอบด้วย ทหาร ๓ กองพล และมีทหารหน่วยอื่น ๆ เช่น หน่วยทหารช่าง หน่วยทหารสื่อสาร หน่วยทหารรถถัง หน่วยทหารปืนใหญ่ เป็นส่วนประกอบ มีแม่ทัพเป็นผู้บังคับบัญชา.
ทกล้า, ทแกล้ว : [ทะกฺล้า, ทะแกฺล้ว] น. ผู้กล้า, ทหาร.
ทัณฑ-, ทัณฑ์ : [ทันดะ-, ทันทะ-, ทัน] น. โทษที่เนื่องด้วยความผิด; (กฎ) โทษ ทางวินัยสถานหนึ่งที่ใช้แก่ข้าราชการบางจําพวก เช่น ทหาร ตํารวจ. (ป., ส.).
นักรบ : น. ผู้ชํานาญในการรบ, ทหาร.
เพิง : น. สิ่งปลูกสร้างมีทั้งชนิดชั่วคราวขนาดเล็ก และชนิดถาวรประกอบ ด้วยหลังคาปีกเดียว, ถ้าเอียงลาด เรียกว่า เพิงหมาแหงน, ถ้ามีแขนนาง คํ้าตอนหน้า เรียกว่าเพิงแขนนาง, ถ้าปลายข้างหนึ่งพิงอยู่กับสิ่ง ก่อสร้างหลัก เรียกว่า เพิงพะ หรือ พะเพิง, ส่วนเพิงพะที่ใช้เป็นที่พัก ทหาร เรียกว่า เพิงพล.
โยธ, โยธา ๑ : [ทะ] น. พลรบ, ทหาร. (ป., ส.).
โยธิน : น. นักรบ, ทหาร. (ส.).
แรงงาน : น. คนงาน, ผู้ใช้แรงในการทำงาน, เช่น การพัฒนาชนบทต้อง อาศัยแรงงานจากท้องถิ่น งานก่อสร้างต้องการแรงงานเพิ่ม, ประชากร ในวัยทํางาน ไม่รวมถึงคนพิการ คนวิกลจริต นักเรียน นักศึกษา แม่บ้าน นักบวช ทหาร ผู้ต้องขัง และผู้ประกอบกิจการเพื่อหากําไร เช่น วัน แรงงาน, แรงที่ใช้ในการทำงาน เช่น ถนนนี้สร้างสำเร็จด้วยแรงงานของ ชาวบ้าน; ความสามารถในการทํางานเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ, กิจการที่คนงานทําในการผลิตเศรษฐทรัพย์.
หมวด : [หฺมวด] น. กลุ่มที่ประกอบด้วยหลายหมู่ เช่น หมวดหนังสือวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยหมู่หนังสือเคมี หมู่หนังสือฟิสิกส์ เป็นต้น; กำลังพลของ ทหาร ตำรวจ เป็นต้น มีจำนวนไม่เกิน ๔ หมู่ มีหัวหน้าเรียกว่า ผู้บังคับ หมวด หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้หมวด, ถ้าเป็นทหารบกหรือตำรวจจะต้อง มียศเป็นร้อยตรี ร้อยโท หรือร้อยตำรวจตรี ร้อยตำรวจโท, ถ้าเป็นทหารเรือ หรือทหารอากาศจะต้องมียศเป็นเรือตรี เรือโท; เรียกสิ่งที่ขมวดไว้เป็น จุกเดียวกัน.
กฎยุทธวินัย : (กฎ; เลิก) น. ชื่อย่อของกฎว่าด้วยยุทธวินัย และการลงอาญาทหารบกฐานละเมิดยุทธวินัย.
กฎอัยการศึก : (กฎ) น. กฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นไว้สําหรับประกาศใช้ เมื่อมีเหตุจําเป็น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น ในกรณีเกิดสงคราม การจลาจล ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอํานาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ์ การระงับปราบปราม หรือการรักษา ความสงบเรียบร้อย และศาลทหารมีอํานาจพิจารณาพิพากษา คดีอาญาบางอย่างที่ประกาศระบุไว้แทนศาลพลเรือน.
กรม ๓ : [กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของ แผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้ เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรม ขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรม สูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมาย กลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็น กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.
กระดึงพระราม : ดู เขนงนายพราน.
กระติก : น. ภาชนะสําหรับใส่น้ำติดตัวในเวลาเดินทาง เช่น กระติกของทหารหรือลูกเสือ, ภาชนะสำหรับใส่น้ำ เพื่อเก็บความร้อนหรือรักษาความเย็นเป็นต้น, ถ้าใช้ใส่น้ำร้อน เรียกว่า กระติกน้ำร้อน, ถ้าใช้ใส่น้ำแข็ง เรียกว่า กระติกน้ำแข็ง.
กระเบียน :
น. (๑) กระเบากลัก. (ดู กระเบา๑). (๒) ชื่อไม้ต้นผลัดใบ ขนาดเล็กชนิด Gardenia turgida Roxb. ในวงศ์ Rubiaceae ขึ้นในป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ ต้นมีหนามห่าง ๆ เปลือกเรียบ ดอกเมื่อแรกบานสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็น สีเหลืองอ่อน ผลคล้ายละมุดฝรั่ง แต่สุกแล้วแข็ง, กระดานพน มะกอกพราน หมุยขาว หรือ หัวโล้น ก็เรียก.
กอง ๑ : ก. ทําให้รวมสุมกันไว้, สุมกันไว้. น. สิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันไว้เช่นนั้น เช่น กองมะม่วง กองฟืน, สิ่งต่าง ๆ ที่สุมกันไว้ เช่น กองขยะ; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น จำนวน ๔ หมวด เรียกว่า กองร้อย, ถ้าเป็นทหารหรือตำรวจหัวหน้าจะต้องมียศร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก หรือร้อยตำรวจเอก เรียกว่า ผู้บังคับกองร้อย หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้กอง เฉพาะตำรวจนิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สารวัตร; ส่วนราชการที่รองจากกรม. ว. ถ้ามีคํา เป็น ประกอบหน้า หมายความว่า มาก เช่น โตขึ้นเป็นกอง มากกว่าเป็นกอง.
กองเกิน : น. ผู้ขึ้นทะเบียนรับราชการทหาร แต่ทางการยังไม่เรียก เข้ารับราชการ.
กองเกียรติยศ : น. กองทหารหรือตํารวจเป็นต้น ที่จัดขึ้นเพื่อให้ เป็นเกียรติแก่ประมุขของประเทศ บุคคลสําคัญ ศพทหารตํารวจ หรือสิ่งอื่น ๆ เช่น ธงชัยเฉลิมพล.
กองทัพน้อย : น. หน่วยทหารที่ประกอบด้วยทหารหลายกองพล มีจํานวนไม่แน่นอน เป็นการจัดตั้งขึ้นเฉพาะกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง มีแม่ทัพน้อยเป็นผู้บังคับบัญชา.
กองพล : น. หน่วยทหารซึ่งมีทหารราบ ๓ กรม เป็นหลัก มีทหารหน่วยอื่น ๆ เช่น หน่วยทหารปืนใหญ่ หน่วยทหารรถถัง หน่วยทหารซึ่งมีทหารราบ ทหารขนส่ง หน่วยทหารสารวัตร เป็นส่วนประกอบ มีผู้บัญชาการกองพลเป็นผู้บังคับบัญชา.
กองพัน : น. หน่วยทหารซึ่งประกอบด้วยทหาร ๔ กองร้อย มีผู้บังคับกองพันเป็นผู้บังคับบัญชา.
กองร้อย : น. หน่วยทหารที่ประกอบด้วยทหาร ๔ หมวด มีผู้บังคับกองร้อยเป็นผู้บังคับบัญชา.
กองหนุน :
น. ทหารที่ปลดออกจากประจําการหรือที่ปลดจาก กองเกินเมื่ออายุครบกําหนด, ทหารที่จัดไว้เพื่อเพิ่มเติมหรือ สับเปลี่ยนแนวหน้า. ดู รกฟ้า.(ถิ่น-พายัพ) น. ถนน, ทางเดิน, เช่น กางกอง ว่า กลางถนน. น. เครื่องประดับหน้าอก, ชื่อแผ่นผ้าที่ปิดอกหญิงคล้ายเต่า ที่หญิงรุ่นสาวใช้. ว. สุกใส, สว่าง, งาม. น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ใช้ในจังหวัดหนองคาย ทําด้วยตาข่าย ซึ่งด้านหนึ่งติดกับลําไม้ไผ่คล้ายธง ทิ้งชายด้านหนึ่งลงไปในน้ำ มุมหนึ่งถ่วงด้วยหิน และ อีกมุมหนึ่งมีเชือกโยงมาบนเรือ ลากติดไปกับเรือ พอรู้ว่าปลาติดตาข่ายก็สาวเชือกขึ้นมา. น. ไม้ชนิดหนึ่ง ผลคล้ายลางสาด แต่เปลือกหนา. (พจน. ๒๔๙๓). ว. ดังมากอย่างเสียงในที่จํากัดเช่นในโบสถ์, ดังไปได้ไกล เช่น เขาตะโกนก้องมาจากที่สูง. น. บรรณาการ ในคำว่า จิ้มก้อง. (จ.). น. ผีชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีตีนเดียว ไม่มีสะบ้าหัวเข่า จึงต้องเดินเขย่งเกงกอย ชอบออกมาดูดเลือดที่หัวแม่เท้า ของคนที่นอนหลับพักแรมในป่า. น. เรียกผ้าบาง โปร่ง ที่ใช้ปิดแผลหรือพันแผลว่า ผ้าก๊อซ. (อ. gauze). ก. โอบไว้ในวงแขน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น.
กองหนุน : น. ทหารที่ปลดออกจากประจําการหรือที่ปลดจาก กองเกินเมื่ออายุครบกําหนด, ทหารที่จัดไว้เพื่อเพิ่มเติมหรือ สับเปลี่ยนแนวหน้า.
ก้อร่อก้อติก : ว. แสดงอาการเจ้าชู้, ทําเป็นเจ้าชู้. น. ชนชาวเขาพวกหนึ่ง ในตระกูลทิเบต-พม่า มีอยู่ทาง แถบเหนือของไทย คล้ายพวกมูเซอ, อีก้อ ก็เรียก. (ถิ่น-พายัพ) น. ทับทิม เช่น ต้นก๊อ ว่า ต้นทับทิม. (พจน. ๒๔๙๓). ก. ดูดเลือด หนอง หรือลมออกจากร่างกายหรือดูดเอาน้ำนม ออกจากเต้านมโดยใช้ถ้วย กระบอก ฯลฯ เป็นเครื่องดูด. น. มะกอก. น. เครื่องเปิดปิดน้ำจากท่อหรือภาชนะ, หัวก๊อก ก็เรียก. (อ. cock). น. เรียกเปลือกต้นก่อชนิด Quercus suber L. ในวงศ์ Fagaceae ที่ใช้ทําจุกขวดและอื่น ๆ ว่า ไม้ก๊อก. ก. เกาะแกะ เช่น อย่ากอแกชาววังหลังจะลาย. ก. ทําให้รวมสุมกันไว้, สุมกันไว้. น. สิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันไว้เช่นนั้น เช่น กองมะม่วง กองฟืน, สิ่งต่าง ๆ ที่สุมกันไว้ เช่น กองขยะ; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น จำนวน ๔ หมวด เรียกว่า กองร้อย, ถ้าเป็นทหารหรือตำรวจหัวหน้าจะต้องมียศร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก หรือร้อยตำรวจเอก เรียกว่า ผู้บังคับกองร้อย หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้กอง เฉพาะตำรวจนิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สารวัตร; ส่วนราชการที่รองจากกรม. ว. ถ้ามีคํา เป็น ประกอบหน้า หมายความว่า มาก เช่น โตขึ้นเป็นกอง มากกว่าเป็นกอง.
กะลาสี : น. ลูกเรือ. ว. อย่างเครื่องแต่งกายกะลาสีสมัยโบราณหรือ พลทหารเรือปัจจุบัน เช่น หมวกกะลาสี เงื่อนกะลาสี คอเสื้อกะลาสี. (มลายู กะลาสิ จากคำอิหร่าน ขะลาสิ).
กาย, กาย- : [กายยะ-] น. ตัว เช่น ไม่มีผ้าพันกาย, และมักใช้เข้าคู่กับคํา ร่าง เป็น ร่างกาย, ใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส หมายความว่า หมู่, พวก, เช่น พลกาย = หมู่ทหาร. (ป., ส.).
กำหนด : [-หฺนด] ก. หมายไว้, ตราไว้. น. การหมายไว้, การตราไว้; (เลิก) บทบริหารบัญญัติคล้ายพระราชกฤษฎีกา โดยมากเป็นบัญญัติที่เกี่ยวกับบุคคลหรือข้าราชการ บางจําพวก เช่น พระราชกําหนดเครื่องแบบแต่งกาย ข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน.
กุฏไต : (แบบ) น. เสื้อชนิดหนึ่ง เช่น ห่มกุฏไตขอหง้า, โกตไต ก็ว่า เช่น ห่มโกตไตอวดอ้าง. (พยุหยาตรา). (เทียบอิหร่าน และ ตุรกี ว่า เสื้อกั๊กสําหรับทหาร).
เกณฑ์หัด : น. ทหารลูกหมู่เลกสมที่ให้หัดตามแบบทหารสมัยใหม่.
เกวัฏ : [เกวัด] (แบบ) น. ชาวประมง, พรานเบ็ด, พรานแห, พรานปลา. (ป. เกวฏฺฏ).