Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ทองคำเปลว, ทองคำ, เปลว , then ทองคำ, ทองคำเปลว, ปลว, เปลว, เปฺลว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ทองคำเปลว, 61 found, display 1-50
  1. ทองคำเปลว : น. ทองคําที่ตีแผ่ให้บางที่สุด ตัดใส่แผ่นกระดาษ ใช้สําหรับปิดบนสิ่งที่ลงรักเช่นพระพุทธรูป.
  2. เปลว : [เปฺลว] น. เรียกไฟที่ลุกแลบออกมาหรือพวยพุ่งขึ้นว่า เปลวไฟ, เรียกควันที่พลุ่ง ๆ ขึ้นไปว่า เปลวควัน, เรียกช่องอยู่เหนือถํ้าที่แลบ ทะลุขึ้นไปเบื้องบนว่า ช่องเปลว หรือ เปลวปล่อง, เรียกสิ่งที่เป็น แผ่นบางอันมีลักษณะคล้ายเปลวไฟ เช่น ทองคําเปลว, เรียกมัน ของสัตว์ที่ไม่ได้ติดอยู่กับหนัง ว่า มันเปลว, คู่กับ มันแข็ง; ชื่อลาย จําพวกหนึ่งมีปลายสะบัดอ่อนไหวคล้ายเปลวไฟ เช่น กระหนกเปลว.
  3. ทองคำ : น. ธาตุลําดับที่ ๗๙ สัญลักษณ์ Au เป็นโลหะ ลักษณะเป็น ของแข็งสีเหลือง หลอมละลายที่ ๑๐๖๓?ซ. เนื้ออ่อนมาก บุให้เป็น แผ่นจนมีความหนาน้อยกว่า ๐.๐๐๐๑ มิลลิเมตรได้ ใช้ทํารูปพรรณ ต่าง ๆ และทําเงินตรา ปัจจุบันกําหนดความบริสุทธิ์ของทองคําด้วย หน่วยกะรัต โดยกําหนดว่า ทองคํา ๒๔ กะรัตเป็นทองคําบริสุทธิ์ที่สุด, โบราณกําหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัด ราคาตามเนื้อทอง เช่น ทองเนื้อหก คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๖ บาท ทองเนื้อเก้า คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท. (ประกาศ ร. ๔), ทองเนื้อเก้านี้เป็นทองแท้เป็นทองบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือบางทีเรียกว่า ทองชมพูนุท เช่นว่า ดังทองชมพูนุทเนื้อเก้า. (สังข์ทอง ตอนตีคลี). (อ. gold).
  4. ไขว่ : [ไขฺว่] ก. ไขว้ เช่น ไขว่ชะลอม, ก่ายกัน. ว. อาการที่เคลื่อนไหวไปมา อย่างสับสน เช่น เดินไขว่ โบกมือไขว่. น. เรียกแผ่นกระดาษที่รองรับ แผ่นทองคำเปลวสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ จำนวน ๒๐ แผ่นว่า ๑ ไขว่.
  5. ทองเอก : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง เคี่ยวน้ำกะทิกับน้ำตาลจนเหนียว ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วใส่ไข่แดง แป้งสาลี ตั้งไฟกวนจนแป้งร่อน อัด ใส่พิมพ์เป็นรูปต่าง ๆ แต่งหน้าด้วยทองคำเปลวแผ่นเล็ก ๆ.
  6. ไม้ค้อน : น. ไม้ที่ทำจากเหง้าไม้ไผ่ ใช้ตีระฆังเป็นต้น; เครื่องมือโลหะรูปร่าง คล้ายตะลุมพุก แต่เล็กกว่ามาก สำหรับตีทองคำให้เป็นแผ่นทองคำเปลว, เครื่องมือ ทำด้วยไม้รูปร่างคล้ายตะลุมพุก สำหรับเคาะกระดาษสาเป็นต้นให้เป็นแผ่นเพื่อใช้ เป็นใบซับทองคำเปลว. (รูปภาพ ไม้ค้อน)
  7. รง ๒ : น. ชื่อยางไม้ที่ได้จากไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Garcinia วงศ์ Guttiferae คือ มะพูด (G. dulcis Kurz) และ รง (G. hanburyi Hook.f.) ชนิดแรกให้ยาง สีเขียว ๆ อมเหลืองเรียก รงกา ชนิดหลังให้ยางสีเหลืองเรียก รง ใช้ทำยา และเขียนหนังสือหรือระบายสีรงนั้นถ้าใช้ทองคำเปลวผสมเขียนตัว หนังสือหรือลวดลายต่าง ๆ เรียกว่า รงทอง.
  8. รักเช็ด : น. น้ำรักที่เคี่ยวให้งวดและเหนียว ใช้ทาสำหรับปิดทองคำเปลว.
  9. ลอนทอง : ก. ตัดทองคำใบให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อตีแผ่ทําเป็น ทองคําเปลว.
  10. มันเปลว : น. มันที่ติดอยู่ที่พุงและลำไส้.
  11. หินดาน : น. หินแข็งหรือหินผุที่รองรับดิน ทราย กรวด มีแร่เช่นดีบุก ทองคำ รวมอยู่ด้วย.
  12. กระหนก ๑ : น. ชื่อแบบลายไทยประเภทหนึ่ง ใช้ผูกเขียนเป็นลวดลาย มีทั้งระบายสี ปิดทองรดน้ำ ปั้น หรือแกะสลักเป็นต้น มีหลายชนิด เช่น กระหนกเปลว กระหนกก้านขด กระหนกเครือ, เดิมเขียนเป็น กนก ก็มี.
  13. กรุ่ม : [กฺรุ่ม] ก. ขันบ่อย ๆ (ปรกติใช้แก่นกเขา แต่ใช้แก่นกอื่นก็มีบ้าง) เช่น บางพวกจับเป็นคู่คูขันกันโดยธรรมดาเวลากรุ่มกําลังที่ตั้งขึ้น ตามฤดู. (ม. ร. ๔ วนปเวสน์); โดยปริยายหมายความว่า สบายเรื่อย ๆ ไป เช่น มีเงินตรากินกรุ่มเป็นภูมิฐาน. (นิ. เดือน); รุ่มร้อน, ระอุ, เช่น นรกเท่ากรุ่ม เปลวร้อนเหมือนไฟ. (สุบิน).
  14. กำรู : (โบ) ก. กรู, รวมหมู่กันเข้ามา, ประดังกันเข้ามา, เช่น กํารูคลื่นเป็นเปลว. (แช่งน้ำ).
  15. กุบ : น. ซองหนังชนิดหนึ่ง เมื่อตัดทองคําใบชิ้นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สอดในกระดาษแก้วหนาแผ่นเล็กซ้อนกันเป็นตั้งแล้วใส่ใน ซองหนังนั้น ตีซองแผ่ทองคำให้บางออกไป; ชาวภาคพายัพบางถิ่น และพวกเงี้ยวเรียกหมวกชนิดต่าง ๆ ว่า กุบ; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) กลัก, กล่อง.
  16. ขา ๒ : น. พวก, ฝ่าย, เช่น ขานักเลง ขาเจ้าชู้; เรียกผู้ร่วมเล่นการพนันเช่นไพ่ ว่า ขา; คราว, เที่ยว, เช่น ขากลับ ขาเข้า ขาออก; (โบ) สลึง, ใช้เฉพาะ ราคาทองคำที่คิดเป็นราคาเงินบาท เศษที่เป็นสลึงเรียกว่า ขา เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท ๒ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปด สองขา ถ้าเป็นราคาเงิน ๘ บาท ๓ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปดสามขา
  17. ขาดกัน : ก. แยกจากกัน ไม่คบค้าสมาคมกันต่อไป เช่น แม้นมิยก พลไกรไปช่วย ถึงเราม้วยก็อย่ามาดูผี อย่าดูทั้งเปลวอัคคี แต่วันนี้ ขาดกันจนบรรลัย. (อิเหนา).
  18. ค่า : น. มูลค่าหรือราคาของสิ่งใด ๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ที่มีประโยชน์ในทางใช้สอย แลกเปลี่ยน หรือทางจิตใจเป็นต้น บางอย่างก็ประเมินเป็นเงินได้ บางอย่างก็ประเมินเป็นเงินไม่ได้ เช่น ทองคำเป็นของมีค่า เวลามีค่ามาก; จำนวนเงินที่เป็นราคาสิ่งของหรือบริการ เป็นต้น เช่น ค่าจ้าง ค่าเช่า ค่าโดยสาร ค่าอาหาร; (คณิต) จำนวนหรือ ตัวเลขที่ระบุปริมาณหรือขนาดของตัวแปร; (สำ) เรียกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่มีคุณค่ามากจนไม่อาจประเมินเป็นเงินได้ว่า เป็นสิ่งที่หาค่ามิได้.
  19. จมูกวัว : น. ท่อที่ต่อจากสูบไปเป่าเปลวไฟไปท่วมเบ้า.
  20. ชวัก : [ชะ] (กลอน) ก. ชัก เช่น เคล้าฟ้าเคลือกเปลวลาม พระราม พระลักษณชวักอร. (แช่งน้ำ).
  21. ชวาล : [ชะ] (แบบ) น. ความรุ่งเรือง, เปลวไฟ, โคมไฟ; ความสว่าง. ว. ซึ่งลุกโพลง, สว่างโพลง. (ส. ชฺวาล; ป. ชาลา).
  22. ชาลา ๑ : น. ความรุ่งเรือง, เปลวไฟ, โคมไฟ, แสงสว่าง. (ส. ชฺวาลา).
  23. ตระบอง : [ตฺระ-] น. ตะบอง เช่น ครั้นพ้นขึ้นมาเปนเปรตถือตระบองเหลกลุกเปนเปลว เพลิง. (สามดวง), กระบอง ก็ว่า.
  24. ทองทึบ : ว. มีพื้นเป็นทองทึบทั้งหมด. ทองธรรมชาติ ๑ น. ทองคำเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์, ทองเนื้อเก้า ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.
  25. ทองนพคุณ : น. ทองคำเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์ โบราณกำหนด ราคาตามคุณภาพของเนื้อทอง หนัก ๑ บาท เป็นเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้าน้ำ, เรียกสั้น ๆ ว่า ทองนพคุณ, ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.
  26. ทองเนื้อเก้า : น. ทองคำบริสุทธิ์ โบราณกำหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัดราคาตามเนื้อทอง คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท, ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.
  27. ทองเนื้อแท้ : น. ทองคำเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์, ทองเนื้อเก้า ทองธรรมชาติ ทองนพคุณ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.
  28. นท : [นด] (แบบ) น. ผู้บันลือ, ผู้ร้อง, ผู้ลั่น; แม่นํ้า, ลํานํ้า, เช่น ชมพูนท (แปลว่าเกิดในแม่น้ำชมพูนที คือ ทองคำบริสุทธิ์). (ป., ส.).
  29. เนื้อ ๑ : น. ส่วนของร่างกายคนและสัตว์อยู่ถัดหนังเข้าไป; เนื้อวัวหรือเนื้อควาย ที่ใช้เป็นอาหาร เช่น แกงเนื้อ; สิ่งที่เป็นลักษณะประจําตัวของสิ่งต่าง ๆ เช่น เนื้อไม้ เนื้อเงิน เนื้อทอง; ส่วนที่อยู่ถัดเปลือกของผลไม้ต่าง ๆ เช่น เนื้อมะม่วง เนื้อทุเรียน; สิ่งที่ประกอบกันเป็นตัวอาหาร, คู่กับ นํ้า เช่น แกงมีแต่นํ้าไม่มีเนื้อ เอาแต่เนื้อ ๆ; สาระสําคัญ เช่น เนื้อเรื่อง; คุณสมบัติ ของเนื้อทองคําและเงินเป็นต้น เช่น ทองเนื้อเก้า เงินเนื้อบริสุทธิ์; (โบ) ราคาทองคำเป็นเงินบาทตามคุณภาพของเนื้อทอง เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท เรียกว่า ทองเนื้อแปด, ถ้าเป็นราคาเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้าน้ำ; โดยปริยาย หมายความว่า ทุนเดิม, เงิน, ทรัพย์, เช่น เข้าเนื้อ ชักเนื้อควักเนื้อตัวเอง.
  30. เบญจโลห : ะ น. โลหะ ๕ ชนิด คือ เหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ และทองคำ ๑, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ เจ้า ๑ (เป็นคำตัดมา จาก ''เจ้าน้ำเงิน'' ว่าเป็นแร่ชนิดหนึ่งสีเขียวเป็นสีน้ำเงิน) และ สังกะสี ๑ เรียกว่า สัตโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ ชิน ๑ และ บริสุทธิ์ ๑ (คือ ทองแดงบริสุทธิ์) เรียกว่า นวโลหะ. (ตำราสร้าง พระพุทธรูป).
  31. เบิกพระโอษฐ์ : (ราชา) น. พิธีป้อนนํ้าโดยใช้ช้อนทองคำตักน้ำ พระมหาสังข์ใส่พระโอษฐ์พระราชกุมารหรือพระราชกุมารีเป็น ครั้งแรกในพระราชพิธีสมโภช ๓ วัน.
  32. ประทากล้อง : [ปฺระทากฺล้อง] น. ทองคําเปลวอย่างหนาและเนื้อดี เหมือนทอง ของหลวง, ใช้ว่า ประทาศี ก็มี, เรียกให้เต็มว่า ทองประทากล้อง ทองประทาศี.
  33. ประทีป : น. ไฟที่มีเปลวสว่าง (หมายเอาตะเกียง ไฟเทียน เป็นต้น), ตะเกียง, โคม. (ส. ปฺรทีป; ป. ปทีป).
  34. เผาหัว : ก. ใช้เปลวไฟพ่นเผาหัวสูบของเครื่องยนต์ประเภทกึ่งดีเซล ซึ่งใช้นํ้ามันขี้โล้เป็นเชื้อเพลิง จนหัวสูบร้อนจัดก่อนติดเครื่อง, เรียกเครื่องยนต์ประเภทนี้ว่า เครื่องยนต์เผาหัว.
  35. พระสนม : น. เจ้าจอมมารดาหรือเจ้าจอมอยู่งานซึ่งทรงพระเมตตา ยกย่องขึ้นเป็นชั้นสูง โดยได้รับพระราชทานหีบหมากทองคำลงยา ราชาวดี.
  36. พระสนมเอก : น. เจ้าจอมมารดาที่ได้รับพระราชทานพานทองเพิ่ม จากหีบหมากทองคำลงยาราชาวดี ในสมัยโบราณมี ๔ ตำแหน่ง คือท้าวอินสุเรนทร์ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ท้าวอินทรเทวี และท้าว ศรีจุฬาลักษณ์.
  37. พานพระขันหมาก, พระขันหมาก : (โบ; ราชา) น. พานมีรูปทรง คล้ายพานแว่นฟ้า ทำด้วยทองคำ จำหลักลวดลายลงยาสี เป็นเครื่อง ราชูปโภค ใช้เฉพาะพระเจ้าแผ่นดินในพานประกอบด้วย ตลับพู่ใส่ ขี้ผึ้ง ๑ มังสี ๒ สำหรับใส่หมากเจียน ๑ หมากทั้งลูก ๑ซองพลู ๒ สำหรับใส่พลูจีบ ๑ พลูทั้งใบ ๑ ตลับใส่กระวาน ๑ ตลับใส่ยาฝอย ๑ และพระแสงกรรบิด ๑, พานพระศรี ก็ว่า.
  38. ฟู่ : ว. เสียงดังเช่นนั้น. น. เรียกเตาที่ใช้สูบลมพ่นน้ำมันให้ขึ้นไปถูก ไฟลุกเป็นเปลวว่า เตาฟู่.
  39. ไฟ : น. ชื่อธาตุอย่างหนึ่งในธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม; ผลจาก ปฏิกิริยาเคมีซึ่งก่อให้เกิดความร้อน แสงสว่าง และเปลว คือ กลุ่มแก๊สที่กําลังลุกไหม้ ทําให้ไหม้สิ่งต่าง ๆ ได้; ผ่านการอยู่ไฟมาแล้ว เช่น สามไฟ คือ อยู่ไฟมาแล้ว ๓ ครั้ง; ไฟฟ้า เช่น ไฟสว่าง, โดยปริยายหมายถึงความเดือดร้อน เช่น ตอนนี้บ้านเมืองกำลังเป็นไฟ.
  40. ไฟแช็ก : น. เครื่องขีดไฟชนิดหนึ่ง เวลาใช้ต้องทําให้จักรโลหะ ครูดกับถ่านไฟแช็ก เกิดประกายไฟติดไส้ที่ชุ่มด้วยนํ้ามันหรือแก๊ส ที่บรรจุอยู่ลุกเป็นเปลวไฟขึ้น.
  41. มัสดุ, มัสตุ : [มัดสะดุ, -ตุ] น. มัน, เปลวมัน; เนยเหลว. (ส. มสฺตุ; ป. มตฺถุ).
  42. แมกนีเซียม : น. ธาตุลําดับที่ ๑๒ สัญลักษณ์ Mg เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเงิน หลอมละลายที่ ๖๕๐?ซ. เมื่อจุดให้ติดไฟในอากาศจะได้เปลวสีขาว สว่างจัด ใช้ประโยชน์ในการถ่ายรูป ทําระเบิดเพลิง นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะ เจือชนิดนํ้าหนักเบา เป็นต้น. (อ. magnesium).
  43. ยิบ ๆ : ว. อาการที่รู้สึกคันทั่วไปตามผิวหนังเพราะเป็นผดหรือถูกละออง เป็นต้น เช่น คันผดยิบ ๆ; อาการกะพริบตาถี่ ๆ เช่น ทำตายิบ ๆ; เป็น ประกายอย่างเปลวแดด เช่น เห็นแดดยิบ ๆ.
  44. รัดเกล้า : น. เครื่องประดับศีรษะสตรีสูงศักดิ์ในราชสํานักแต่โบราณ และประดับศีรษะนางละครแต่งยืนเครื่องซึ่งเลียนแบบสตรีสูงศักดิ์ มี ๒ แบบ คือ รัดเกล้ายอด มีปลายยอดทรงกรวยแหลม สําหรับกษัตรี และรัดเกล้าเปลว มียอดปักช่อกระหนกเปลวสําหรับพระสนม.
  45. แร่ ๑ : น. ธาตุหรือสารประกอบอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีสูตรเคมีและ สมบัติอื่น ๆ ที่แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้ในวงจำกัดและนำมาถลุงได้ เช่น แร่ดีบุกนำมาถลุงได้โลหะดีบุก แร่ทองคำนำมาถลุงได้โลหะทองคำ; (กฎ) ทรัพยากรธรณีที่เป็นอนินทรียวัตถุ มีส่วนประกอบทางเคมีกับ ลักษณะทางฟิสิกส์แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้เล็กน้อยไม่ว่าจะต้อง ถลุงหรือหลอมก่อนใช้หรือไม่ และหมายความรวมตลอดถึงถ่านหิน หินนํ้ามัน หินอ่อน โลหะและตะกรันที่ได้จากโลหกรรม นํ้าเกลือใต้ดิน หินซึ่งกฎกระทรวงกําหนดเป็นหินประดับหรือหินอุตสาหกรรม และ ดินหรือทรายซึ่งกฎกระทรวงกําหนดเป็นดินอุตสาหกรรมหรือทราย อุตสาหกรรม แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงนํ้าเกลือสินเธาว์ ลูกรัง หิน ดิน หรือทราย. แร่ธาตุ น. แร่.
  46. ละครเพลง : น. ละครที่ผู้แสดงร้องเพลงดำเนินเรื่องตลอดทั้งเรื่อง ใช้เพลงและดนตรีสากลประกอบ ไม่มีลูกคู่ จัดฉากและแต่งกาย แบบสมัยนิยมตามเนื้อเรื่อง เช่น ละครเพลงเรื่องราชินีบอด เรื่อง เปลวสุริยา.
  47. ลามเลีย : ก. อาการที่เปลวไฟแลบลามไปที่อื่น.
  48. เลีย : ก. แลบลิ้นกวาดบนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เลียริมฝีปาก หมาเลียแผล แมวเลียขน; เรียกอาการของความร้อนหรือสิ่งที่เป็นเปลวเช่นไฟ ที่แลบออกมากระทบสิ่งใดแล้วทำให้สิ่งนั้นไหม้ แห้ง หรือซีดเผือด ไป เช่น ผ้าถูกแดดเลียสี ฝาบ้านถูกไฟเลียเป็นรอยไหม้; เรียกผม ตอนเหนือท้ายทอยของเด็กอ่อนที่นอนพลิกตะแคงตัวยังไม่ได้ มีลักษณะแหว่งเป็นแถบยาวตามขวาง คล้ายมีอะไรมากัดแทะไป ว่า ถูกผ้าอ้อมเลีย หรือ ผ้าอ้อมกัด; (ปาก) โดยปริยายเรียกกิริยา ประจบประแจงด้วยอาการดูประหนึ่งว่าเป็นอย่างสุนัขเลียแข้ง เลียขาเพื่อให้นายรัก.
  49. เลียง ๓ : ก. ไล่สิ่งไม่บริสุทธิ์ออก เช่น เลียงทอง, เรียกทองคำที่ไล่สิ่งไม่ บริสุทธิ์ออกแล้วว่า ทองคำเลียง.
  50. ศิขา : น. จุก; หงอน; เปลวไฟ. (ส.; ป. สิข).
  51. [1-50] | 51-61

(0.1158 sec)