ทน : ก. อดกลั้นได้, ทานอยู่ได้, เช่น ทนด่า ทนทุกข์ ทนหนาว, ไม่แตกหัก หรือบุบสลายง่าย เช่น ของดีใช้ทน ไม้สักทนกว่าไม้ยาง. ว. แข็งแรง, มั่นคง, เช่น ฟันทน, อึด เช่น วิ่งทน ดํานํ้าทน.
ทะนุ, ทะนุก : ก. อุดหนุน (มักใช้ควบกับคําอื่น).
อินทรธนู : [อินทะนู] น. รุ้ง (แถบสีโค้งบนท้องฟ้า); เครื่องประดับ บ่าอย่างหนึ่งเพื่อแสดงยศเป็นต้น; ชื่อลายขอบที่เป็นกระหนก.
ทนตกาษฐ์ : [-กาด] น. ไม้สีฟัน คือท่อนไม้เล็ก ๆ สําหรับถูฟัน ให้สะอาด ทําจากต้นไม้ต่าง ๆ เช่น ไม้คนทา. (ส. ทนฺต + กาษฺ?).
เหลือทน : ว. สุดที่จะทนได้, ยิ่งนัก, เช่น ขี้เกียจเหลือทน ร้ายเหลือทน.
ทุ่น : น. สิ่งที่ลอยนํ้าสําหรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือเพื่อพยุงสิ่งอื่นให้ลอยนํ้า เช่น ทุ่นแพ ทุ่นทอดสะพาน หรือสําหรับเป็นที่ผูกจอดเรือ เช่น ทุ่นสมอ หรือสําหรับเป็นเครื่องหมายในการเดินเรือ เช่น ทุ่นนําร่อง, โดยปริยายหมายถึงพยัญชนะ อ ที่เป็นทุ่นให้สระเกาะ เช่น อา อี อู. ก. ผ่อนหรือช่วยให้สิ้นเปลืองน้อยลง เช่น ทุ่นแรง ทุ่นเวลา ทุ่นสตางค์.
แท่น : น. ที่นั่งที่นอนเป็นต้นคล้ายเตียง แต่ไม่มีขารองรับ, ยกพื้น เช่น แท่นรับความเคารพ, ที่รองซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น
น้ำอดน้ำทน : น. ความอดทน.
วิ่งทน : ก. วิ่งแข่งระยะทางไกล กำหนดระยะทางตามมาตรฐานการ แข่งขันโอลิมปิก คือ ๒๖ ไมล์ ๓๘๕ หลา หรือ ๔๑.๘ กิโลเมตร, วิ่งมาราธอน ก็ว่า.
หน้าด้าน, หน้าทน, หน้าหนา : ว. มีสีหน้าไม่สลดทั้งที่ควรจะอายแต่ก็ ไม่อาย, โดยปริยายหมายความว่า ไม่มีความรู้สึกอายในสิ่งที่ควรอาย.
เหลืออด, เหลืออดเหลือทน : ว. สุดที่จะกลั้นได้, สุดที่จะอดทนได้, สุดที่จะ ระงับอารมณ์ได้.
อดรนทนไม่ได้, อดรนทนไม่ไหว : ก. ไม่สามารถจะอดทนต่อไปได้.
โอทน, โอทนะ : [โอทะนะ] น. ข้าวสุก, ข้าวสวย. (ป.).
กุณฑล : [-ทน] น. ตุ้มหู. (ป., ส.).
ทนต-, ทนต์ : [ทนตะ-, ทน] (แบบ) น. ฟัน, งาช้าง. (ป., ส. ทนฺต).
ทล : [ทน] (แบบ) น. ใบไม้, กลีบดอกไม้. (ป., ส.).
ทำนุ : ก. บํารุง, อุดหนุน. (แผลงมาจาก ทะนุ).
อด : ก. กลั้น เช่น เหลืออด, งดเว้น เช่น อดฝิ่น อดอาหาร; ไม่ได้, ไม่ สมหวัง, เช่น อดรับรางวัล อดดู; ไม่มีอะไรกิน เช่น อดอยู่ทั้งวัน. ว. ทน เช่น ดํานํ้าอด.
ทลบม : [ทนละบม] (กลอน) ก. ประพรม, ลูบไล้, ฉาบทา, เช่น ทลบมด้วย รัตจันทน์.
ทลอึง : [ทนละ-] (กลอน) ก. ตั้งมั่น, มั่นคง.
ธน, ธน- : [ทน, ทะนะ] น. ทรัพย์สิน. (ป., ส.).
ธนุรมารค : [ทะนุระมาก] น. ทางโค้งเหมือนธนู. (ส.).
ธนุรวิทยา, ธนุรเวท :
[ทะนุระ] น. วิชายิงธนูและการใช้อาวุธอื่น ๆ. (ส.). (ดู อุปเวทประกอบ).
ก้มหน้า : (สํา) ก. จําทน เช่น ต้องก้มหน้าทําตามประสายาก.
กระสับกระส่าย : ว. เร่าร้อนใจทนนิ่งเป็นปรกติไม่ได้, กระวนกระวาย, ทุรนทุราย.
กรุกกรัก : ก. ขลุกขลัก เช่น กรุกกรักประดักประเดิดเปิดฝาลุ้ง. (คาวี). ว. เสียงดังกุกกัก เช่น ได้ยินเสียงกรุกกรักก็ทักถาม. (ม. ร่ายยาว ชูชก). ว. เสียงนกเขาขันคู, จุ๊กกรู๊ ก็ว่า. [กฺรุง] น. เมืองหลวง, เมืองซึ่งเป็นที่ตั้งรัฐบาลกลาง, แต่ก่อนหมายถึงประเทศก็ได้ เช่น กรุงสยาม กรุงจีน; (โบ) กษัตริย์ เช่น จึ่งกรุงสุทโธทนเห็นอัศจรรย์ก็ทูลพลันด่งงนี้ฯ. (ม. คำหลวง ทศพร). [กฺรุ้งกฺริ่ง] ก. แสดงสีหน้า แววตา และท่าทางเจ้าชู้, กรุ้มกริ่ม ก็ว่า. [กฺรุงขะเหฺมา] น. ชื่อไม้เถาชนิด Cissampelos pareira L. var. hirsuta (Buch. ex DC.) Forman ในวงศ์ Menispermaceae ใบรูปสามเหลี่ยมปลายมน ผลกลม เมื่อสุกสีแดง.
กรุง : [กฺรุง] น. เมืองหลวง, เมืองซึ่งเป็นที่ตั้งรัฐบาลกลาง, แต่ก่อนหมายถึงประเทศก็ได้ เช่น กรุงสยาม กรุงจีน; (โบ) กษัตริย์ เช่น จึ่งกรุงสุทโธทนเห็นอัศจรรย์ก็ทูลพลันด่งงนี้ฯ. (ม. คำหลวง ทศพร).
กินเหล็กกินไหล : (สํา) ว. ทนต่อความเหน็ดเหนื่อย หรือความเจ็บปวดได้อย่างผิดปรกติ.
แกร่ว : [แกฺร่ว] ว. ทนรอหรือทนอยู่กับที่เป็นเวลานาน.
ขอยืม : ก. ขอสิ่งของ เงิน เป็นต้นมาใช้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วคืนให้ หรือใช้คืน, นำของของผู้อื่นมาใช้เป็นของของตน เช่น ขอยืมคำในภาษา บาลีมาใช้ ขอยืมวัฒนธรรมตะวันตกมาใช้ ขอยืมความคิด, (คณิต) ในการ ลบเลข ถ้าเลขตัวตั้งในหลักใดน้อยกว่าเลขที่จะนำมาลบ ให้นำเลขจาก หลักสูงถัดไปมาเพิ่มเลขตัวตั้งเพื่อให้มากพอที่จะลบได้ เช่น ๔๓ - ๕ ใน ที่นี้ ๕ ลบจาก ๓ ไม่ได้ ๓ ต้องขอยืม ๔ ซึ่งเป็นหลักสิบมา ๑ รวมเป็น ๑๓ แล้วลบออกเสีย ๕ เหลือ ๘ ๔ เมื่อถูกขอยืมไป ๑ ก็เหลือ ๓ ผลลัพธ์ ๓๘, ยืม ก็ว่า.
คอแข็ง : ว. อาการที่นิ่งอั้นเพราะเถียงไม่ขึ้นเป็นต้น; ทนต่อรสอันเข้ม หรือรุนแรงของเหล้าได้, ตรงข้ามกับ คออ่อน.
คออ่อน ๑ : ว. ทนต่อรสอันเข้มหรือรุนแรงของเหล้าไม่ได้, ตรงข้ามกับ คอแข็ง.
คับแคบแอบใจ : ว. อึดอัดใจเต็มทน.
คาร์โบรันดัม : น. สารสีดําแข็งมาก ชื่อเคมีว่า ซิลิคอนคาร์ไบด์ มีสูตร SiC ใช้ประโยชน์ ทําหินสำหรับขัด ใช้ผสมกับคอนกรีตเพื่อทําขั้นบันไดตึก ใช้ทําวัสดุทนไฟ. (อ. carborundum).
คู่เวรคู่กรรม : น. สามีภรรยาที่ต้องทนอยู่ร่วมกันด้วยความทุกข์ความ เดือดร้อนโดยเชื่อกันว่าเป็นเพราะเวรกรรมที่เขาได้เคยกระทำร่วมกัน มาแต่ชาติก่อน.
จัดจอง : (โบ) น. ทุ่น, แพ, เรือน้อย, สัดจอง ก็ว่า. (ข. สาต่ ว่า ลอย, จง ว่า ผูก).
ตบะแตก : ก. บำเพ็ญตบะต่อไปไม่ได้เพราะทนต่อสิ่งเย้ายวนไม่ไหว, หมด ความอดกลั้น, สิ้นความอดทน.
ตรีธารทิพย์ : น. ของทิพย์ที่ทน ๓ อย่าง คือ รากไทรย้อย รากราชพฤกษ์ ราก มะขามเทศ.
ถูไถ : ก. แก้ข้อขัดข้องพอให้ลุล่วงไปได้ เช่น พอถูไถไปได้, ยังใช้ได้ ก็ทนใช้ไป เช่น ยังใช้ถูไถไปได้ ใช้ถูไถมานาน.
ทรมาทรกรรม : [ทอระมาทอระกํา] (ปาก) ก. ทําให้ทนทุกข์ทรมานไม่รู้จักจบจักสิ้น, ทําให้ทนทุกข์ทรมานอย่างยืดเยื้อ.
ทายาด : ว. ยวดยิ่ง, ยิ่งยวด, เช่น ทนทายาด, พระญาณสมเด็จทรง ทายาด. (ยวนพ่าย).
ทู่ซี้ : (ปาก) ก. ทนไปจนกว่าจะตาย.
นกกะปูด : (ปาก) น. คนที่ทนเก็บความลับไว้ไม่ได้, คนที่ชอบพูดเปิดเผย ความลับของผู้อื่น.
นภมณฑล : [ [นบพะมนทน] น. ท้องฟ้า. (ส. นโภมณฺฑล).
ไนโอเบียม : น. ธาตุลําดับที่ ๔๑ สัญลักษณ์ Nb เป็นโลหะหายาก ลักษณะเป็นของแข็ง สีเทา หลอมละลายที่ ๒๔๖๘?ซ. ใช้ประโยชน์นําไปเจือเหล็กกล้าไม่เป็น สนิม เพื่อทําให้มีสมบัติคงทนต่อการผุกร่อน และทนต่ออุณหภูมิสูง ๆ ได้ดี. (อ. niobium).
บาง ๑ : น. ทางนํ้าเล็ก ๆ, ทางนํ้าเล็กที่ไหลขึ้นลงตามระดับนํ้าในแม่นํ้า ลําคลอง หรือทะเล; ตําบลบ้านที่อยู่หรือเคยอยู่ริมบางหรือใน บริเวณที่เคยเป็นบางมาก่อน, โดยปริยายหมายถึงทั้งหมู่ เช่น ฆ่าล้างบาง ย้ายล้างบาง. ว. มีส่วนสูงน้อยจากผิวพื้น, ไม่หนา, มีความหนาน้อย, เช่น มีดบาง ผ้าบาง, โดยปริยายหมายถึง ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผสมสุราแต่น้อย ๆ ไม่เข้มข้น เรียกว่า ผสมแต่บาง ๆ, แทงลูกบิลเลียดไปถูกอีกลูกหนึ่งเพียงผิว ๆ เรียกว่า แทงบางไป, เรียกผู้ที่มีผมน้อยกว่าปรกติว่า ผมบาง, เรียกผู้ ที่อายง่ายกว่าปรกติ คือไม่ควรละอาย กลับอายว่า หน้าบาง, ตรงข้าม กับ หน้าหนา, เรียกผู้ที่มีรูปร่างอ้อนแอ้นสะโอดสะองว่า เอวเล็ก เอวบาง หรือเอวบางร่างน้อย, เรียกคนอ่อนแอทนความลําบากไม่ได้ เพราะไม่เคยชินว่า คนผิวบาง.
บานไม่รู้โรย : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Gomphrena globosa L. ในวงศ์ Amaranthaceae ลําต้นค่อนข้างแข็งแตกแขนงเป็นพุ่มเล็ก ๆ ใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ดอกกลม ๆ สีขาว ชมพู หรือม่วงแดง ดอกทนอยู่ได้นาน.
ประดา ๒ : ก. ดําทน เช่น ประดานํ้า ประดาดิน.
ปริมณฑล : [ปะริมนทน] น. วงรอบ; ความเรียบร้อย เช่น นุ่งห่มให้เป็นปริมณฑล. (ป.).
ปริมัท : [ปะริมัด] ก. นวด, บีบ, ขยํา. (ป.; ส. ปริมรฺทน, ปริมรฺท).