ทันใด : ว. เดี๋ยวนั้น, บัดนั้น.
กระบัด ๑ : (กลอน) ว. บัดใจ, ทันใด, เช่น อาวุธกับศรก็ตกกระบัดเหอรหาย. (สมุทรโฆษ), ตระบัด ก็ใช้.
ตระบัด ๑ : [ตฺระ-] ว. ประเดี๋ยว, บัดใจ, ทันใด, กระบัด ก็ใช้. ก. พลันไป.
สหัสา : [สะหัดสา] ว. โดยเร็ว, ทันใด, โดยตรง; ยิ่งนัก. (ป., ส. สหสา).
บัด : น. เวลา, เมื่อ, ครั้ง, คราว; ทันใด.
บัดใจ : ว. ประเดี๋ยว, ทันใด.
กะทันหัน : ว. ทันใด, ปัจจุบันทันด่วน, จวนแจ.
ขมีขมัน : [ขะหฺมีขะหฺมัน] ว. รีบเร่งในทันทีทันใด. (ข. ขฺมี; ต. ขมัน).
ขุก ๑ : ว. พลัน, ทันทีทันใด, เช่น ขุกเข็ญ ว่า เกิดความลําบากขึ้นทันที. ก. คิดขึ้นได้ทันที, เกิดขึ้นในปัจจุบันทันด่วน, เช่น อาวุธอย่าวางไกล ขุกคํ่า คืนแฮ. (โลกนิติ).
เข่าอ่อน : ก. อาการที่เข่าหมดกําลังทรุดลง, โดยปริยายหมายถึงอาการ หมดแรงเพราะรู้เรื่องที่ทำให้เสียใจเป็นต้นในทันทีทันใด.
จาม ๒ : ก. อาการของลมที่พุ่งออกมาทางจมูกและปาก มักจะเป็นห้วง ๆ ใน ทันทีทันใดโดยไม่ตั้งใจ เพราะเกิดระคายเคืองในจมูก; ฟันลงไปเต็มที่ เช่น เอาขวานจามหัว.
ฉบัด : [ฉะ-] (กลอน) ว. ชัด, สันทัด, ทันทีทันใด, เช่น เจ้าช้างจึ่งรู้ฉบัด. (ลอ), เร่งยอมนุญาตเยาวฉบัด. (สรรพสิทธิ์). (ข. จฺบาส่).
ฉับพลัน : ว. ทันทีทันใด, ทันทีทันควัน.
ชะตา : น. ลักษณะหรืออัธยาศัยบางอย่างที่ทําให้รู้สึกชอบหรือ ไม่ชอบในทันทีทันใด เช่น ถูกชะตากัน ไม่ถูกชะตากัน, ลักษณะที่บังเกิดสําแดงเหตุดีและร้าย เช่น ชะตาดีชะตาร้าย; แบบรูปราศีที่บอกดาวพระเคราะห์เดินถึงราศีนั้น ๆ ในเวลา เกิดของคนหรือเวลาสร้างสิ่งสําคัญเช่นบ้านเมืองเป็นต้นที่ โหรคํานวณไว้ โดยแบ่งเป็น ๑๒ ราศีเรียกว่า ดวงชะตา หรือ ดวง, ชาตา ก็ว่า.
ชิงทรัพย์ : (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานลักทรัพย์โดยใช้ กําลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กําลัง ประทุษร้าย เพื่อ (๑) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือ การพาทรัพย์นั้นไป (๒) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น (๓) ยึดถือ เอาทรัพย์นั้นไว้ (๔) ปกปิดการกระทําความผิดนั้น หรือ (๕) ให้พ้นจากการจับกุม.
ถับ, ถับ ๆ : ว. ทันใด, เร็ว, พลัน.
ทันควัน : ว. ทันทีทันใด, ฉับพลัน.
ทันที : ว. ในขณะนั้นเอง, ทันทีทันใด หรือ ทันใดนั้น ก็ว่า.
บัดดล : ว. ทันใดนั้น.
ปัจจุบัน : น. เวลาเดี๋ยวนี้, ทันที, เวลาไม่ใช่อดีต ไม่ใช่อนาคต เช่น เวลาปัจจุบัน, สมัยใหม่ เช่น แพทย์แผนปัจจุบัน; เรียกโรคภัยที่เกิดขึ้นในทันที ทันใดว่า โรคปัจจุบัน เช่น โรคลมปัจจุบัน. (ป. ปจฺจุปฺปนฺน).
ปับ : ว. เสียงดังอย่างเสียงถูกชกหรือต่อย; อาการที่เป็นไปอย่างฉับไว, ทันทีทันใด, เช่น วางปับ หยิบปับ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปุบ เป็น ปุบปับ.
ปั๊บ : ว. อาการที่เป็นไปอย่างฉับไว, ทันทีทันใด, เช่น วางปั๊บ หยิบปั๊บ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปุ๊บ เป็น ปุ๊บปั๊บ.
ปุบ : ว. อาการที่เป็นไปอย่างฉับไว, ทันทีทันใด, เช่น ฉวยปุบ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปับ เป็น ปุบปับ.
ปุ๊บ : ว. อาการที่เป็นไปอย่างฉับไว, ทันทีทันใด, เช่น วางปุ๊บ เปิดปุ๊บ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปั๊บ เป็น ปุ๊บปั๊บ.
ปุบปับ, ปุ๊บปั๊บ : ว. เสียงซึ่งเกิดจากอาการรีบร้อนลุกลนหรือเสียงที่แสดงอาการเช่นนั้น; อาการที่ทำโดยรีบร้อนทันทีทันใด, อาการที่เป็นไปโดยกะทันหัน เช่น ปุบปับก็ตาย.
ผลึ่ง : [ผฺลึ่ง] ก. บวมขึ้น, พองขึ้น. ว. เสียงดังอย่างเสียงของหนัก ๆ ตกลงที่พื้น, อาการที่ล้มหงายไปทันทีทันใด ในคําว่า ล้มผลึ่ง หงายผลึ่ง.
ผลุนผลัน : [ผฺลัน] ว. หุนหัน, ทันทีทันใดโดยไม่ยับยั้งรั้งรอ.
ผับ, ผับ ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้น (ใช้ในลักษณะรวดเร็วทันทีทันใด) เช่น เตะผับ วิ่งผับ ๆ.
ผึง : ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น เชือกขาดดังผึง; อาการที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันทีทันใด เช่น ขาดผึง ดีดผึง; ใช้ประกอบคำ แห้ง ว่า แห้งผึง หมายความว่า แห้งสนิท เช่น ปลักควายแห้งผึง.
พริบ : ก. กะพริบ ในคำว่า พริบตา. ว. ฉับพลัน, ทันทีทันใด, ในความว่า ชั่วพริบตาเดียว ในพริบตาเดียว.
พรึบ, พรึ่บ : ว. กิริยาที่ทําพร้อม ๆ กันในทันทีทันใด เช่น ทหารเดินแถวตบเท้าพรึบ ดอกไม้บานพร้อมกันพรึ่บ.
พึ่บ, พึ่บพั่บ : ว. ทันทีทันใด เช่น ไฟลุกพึ่บ ลุกกันพึ่บพั่บ; เสียงดังเช่นนั้นอย่าง เสียงนกกระพือปีกเป็นต้น.
ฟุ่บ : ว. เสียงดังอย่างเสียงดินปืนที่จุดแล้วลุกไหม้ทันทีทันใด.
โภคยทรัพย์ : [โพกคะยะ] (กฎ; เลิก) น. สังหาริมทรัพย์ซึ่งเมื่อใช้ย่อม เสียภาวะเสื่อมสลายไปในทันใดเพราะการใช้นั้น หรือซึ่งใช้ไปในที่สุด ย่อมสิ้นเปลืองหมดไป.
มืออ่อนตีนอ่อน : ว. มีอาการหมดแรงเพราะรู้สึกตกใจ เสียใจ หรือเสียกําลังใจ เป็นต้น อย่างแรงและทันทีทันใด.
ไม่พูดพร่ำทำเพลง : (สํา) ว. ไม่รอให้ชักช้า, ทันทีทันใด.
เย็นวาบ : ว. อาการที่รู้สึกเย็นในทันทีทันใดแล้วก็หายไป เช่น ลมพัด กระโชกเข้ามารู้สึกเย็นวาบ.
รา ๔ : (กลอน) ส. เราทั้งคู่, เขาทั้งคู่, ในคําว่า สองรา, ต่อมาใช้หมายถึงเกิน ๒ ก็ได้ เช่น เร่งหาประกันมาทันใด ผู้คุมเหวยรับไว้ทั้งสามรา. (ขุนช้าง ขุนแผน).
ลม ๆ : ว. ไม่เป็นแก่น, ไม่เป็นสาระ; อาการเป็นไปแห่งจิตใน ขณะหนึ่ง ๆ บางทีก็ดี บางทีก็ร้าย. ลมกรด น. กระแสลมแรงจัดในบรรยากาศชั้นบนในระดับสูง ตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐-๑๕,๐๐๐ เมตร มีลักษณะเป็นลําคล้ายท่อรูปรี ขนาดใหญ่, โดยปริยายหมายความว่า เร็วมาก เช่น นักวิ่งลมกรด. ลมกระโชก น. ลมแรงที่เกิดในทันทีทันใดชั่วขณะหนึ่ง, ลมที่พัด แรงเป็นพัก ๆ.
ล้มทั้งยืน : ก. ล้มขณะที่ยืนอยู่ เช่น ถูกเตะล้มทั้งยืน เป็นลมล้มทั้งยืน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่สิ้นเนื้อประดาตัวหรือผิดหวังอย่าง รุนแรงโดยไม่เคยคาดค ทันทีทันใดโดยไม่เคยคาดคิดมาก่อน เช่น พอ รู้ว่าลูกถูกรถทับตายเลยเสียใจแทบล้มทั้งยืน.
เลือดเดือด : ว. โมโหฉุนเฉียวขึ้นมาทันทีทันใด.
วับ : ว. ฉับพลัน, ฉับไว, ใช้ประกอบอาการของแสงหรือสิ่งมีรูปร่าง ซึ่งปรากฏให้เห็น แล้วหมดสิ้นหรือลับหายไปอย่างรวดเร็วใน ทันทีทันใด เช่น แสงหายวับ พูดขาดคําก็หายตัววับลับตาไป, บางทีก็เป็นคําซ้อน เพื่อเน้นหรือเพื่อความไพเราะ เป็น หายวับ ไปฉับพลัน หายวับไปกับตา เป็นต้น.
วับ ๆ, วับวาบ, วับวาม, วับแวบ : ว. ระยับตา เป็นอาการของแสง หรือเงาที่ปรากฏแล้วหายลับไปทันทีทันใดต่อเนื่องกัน เช่น แสงเพชรเป็นประกายวับ ๆ.
วุบ : ว. ฉับพลัน, ฉับไว, ใช้ประกอบอาการของแสงหรือสิ่งที่มีรูปร่าง ที่ปรากฏให้เห็นแล้วหมดสิ้นหรือลับหายไปอย่างรวดเร็วใน ทันทีทันใด เช่น หายวุบ.
วูบวาบ : ว. ระยับตา เป็นอาการของแสงหรือเงามันที่ปรากฏแล้ว หายลับไปทันทีทันใดต่อเนื่องกัน เช่น เสื้อปักเลื่อมดูวูบวาบไป ทั้งตัว.
สะอึก : ก. อาการที่หายใจชะงักเนื่องจากกะบังลมหดตัว และช่องสายเสียง ก็ปิดตามมาทันทีทันใดในเวลาเดียวกัน; โดยปริยายหมายความว่า ชะงักงัน เช่น พอถูกถามปัญหาแทงใจดำเข้าก็สะอึกทันที.
หก ๑ : ก. อาการที่ส่วนเบื้องสูงของร่างกาย ของภาชนะ หรือของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เอียงลง เทลง ในทันใดจากที่เดิม เช่น หกต่ำหกสูง น้ำหก ข้าวหก, โดย ปริยายเรียกอาการเช่นนั้น เช่น กระดานหก.
อึกอัก : ว. อาการที่พูดไม่ออก ติดกึกกักอยู่ในคอเพราะกลัวหรือประหม่า เป็นต้น, กระอึกกระอัก หรือ อึก ๆ อัก ๆ ก็ว่า; เสียงอย่างเสียง ทุบกัน; ทันทีทันใด, ปุบปับ, ไม่ทันไตร่ตรอง, ไม่บอกกล่าวเล่าแจ้ง, เช่น อึกอักก็ไป อึกอักก็ด่า, เอะอะ ก็ว่า.
เอะอะ : ก. อึกทึก, ทําเสียงดังโวยวาย; ทันทีทันใด, ปุบปับ, ไม่ทันไตร่ตรอง, ไม่บอกกล่าวเล่าแจ้ง, เช่น เอะอะก็ไป เอะอะก็ด่า, อึกอัก ก็ว่า.