Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ทัน , then ทน, ทนฺ, ทัน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ทัน, 185 found, display 1-50
  1. ทัน : ว. เป็นไปตามเวลาที่กําหนด, เป็นไปพอดีกับเวลาที่กําหนด, เช่น ทันกาล ทันเวลา; ตามไปถึง เช่น เรียนทัน วิ่งทัน; เท่า, เทียมถึง, เช่น รู้ทันคน; เสมอด้วย เช่น อันว่าผู้จะทำนายฝนนแลจะทัน พระศรีสรรเพชญ์เสด็จภูมีบาลในสงสารภพนี้ก็บมี โสดแล. (ม. คำหลวง กุมาร).
  2. ทัน : (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. ต้นพุทรา. (ดู พุทรา).
  3. ทันธ-, ทันธ์ : [ทันทะ-] (แบบ) ว. ช้า ๆ, เงื่อง, เกียจคร้าน; หนัก; เขลา เช่น ทันธปัญญา คือ ปัญญาเขลา. (ป.).
  4. ทันท่วงที : ว. ทันต่อเหตุการณ์พอดิบพอดี.
  5. ทันควัน : ว. ทันทีทันใด, ฉับพลัน.
  6. ทันสมัย : ว. ตามสมัยที่นิยมกัน.
  7. จับได้ไล่ทัน : (สำ) ก. รู้เท่าทัน เช่น เขาจับได้ไล่ทันว่าเป็นเรื่องไม่จริง.
  8. ทันน้ำทันฝน : ว. ให้ทันหน้านํ้าหน้าฝน, ให้ทันฤดูกาล.
  9. อาธรรม, อาธรรม์, อาธรรมิก, อาธรรมึก : [ทํา, ทัน, ทันมิก, ทันมึก] ว. ชั่ว, ไม่เป็นธรรม, ไม่เที่ยงธรรม, ไม่ยุติธรรม. (ส. อาธรฺมิก; ป. อธมฺมิก).
  10. ทน : ก. อดกลั้นได้, ทานอยู่ได้, เช่น ทนด่า ทนทุกข์ ทนหนาว, ไม่แตกหัก หรือบุบสลายง่าย เช่น ของดีใช้ทน ไม้สักทนกว่าไม้ยาง. ว. แข็งแรง, มั่นคง, เช่น ฟันทน, อึด เช่น วิ่งทน ดํานํ้าทน.
  11. ทันติน, ทันตี : (แบบ) น. ช้าง. (ส. ทนฺตินฺ; ป. ทนฺตี).
  12. เท่าทัน : ว. เทียมถึง, เข้าใจถึง.
  13. ปัจจุบันทันด่วน : ว. กะทันหัน.
  14. หมากทัน : (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. ต้นพุทรา. (ดู พุทรา).
  15. ไหวทัน : ก. รู้ทัน.
  16. ทรรทึง ๑ : [ทัน-] (กลอน) ก. คอยท่า, ห่วงใย, ทรทึง ก็ใช้. (ข.).
  17. ทรรทึง ๒ : [ทัน-] (กลอน) ก. บ่น, บ่นถึง, ทรทึง ก็ใช้.
  18. ทัณฑ-, ทัณฑ์ : [ทันดะ-, ทันทะ-, ทัน] น. โทษที่เนื่องด้วยความผิด; (กฎ) โทษ ทางวินัยสถานหนึ่งที่ใช้แก่ข้าราชการบางจําพวก เช่น ทหาร ตํารวจ. (ป., ส.).
  19. เท่า ๑ : ว. เสมอกัน เช่น สูงเท่ากัน; ถึง เช่น ตราบเท่า; ทัน เช่น รู้เท่า; แค่, เพียง, เช่น สูงเท่าใด เก่งเท่าไหน ตัวเท่านี้. น. จํานวนที่เพิ่มขึ้น ตามส่วนของจํานวนเดิม เช่น ๓ เท่า คือจํานวนที่เพิ่มขึ้นเป็น ๓ ส่วนของจํานวนเดิม.
  20. ธัญ ๑ : [ทัน] (แบบ) ว. รุ่งเรือง, มั่งมี, มีโชค, ดี, เลิศ, เช่น ธัญลักษณ์ ว่า มีลักษณะดี. (ป. ธญฺ?; ส. ธนฺย).
  21. พุทรา : [พุดซา] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Ziziphus mauritiana Lam. ในวงศ์ Rhamnaceae กิ่งมีหนาม ผลมีทั้งกลมและรี, พายัพและอีสาน เรียก กะทัน ทัน หรือ หมากทัน. (ป., ส. พทร).
  22. ทัณฑกรรม : [ทันดะ-] น. การลงโทษ, โทษที่ลงแก่สามเณรที่ ประพฤติผิด; (กฎ) ทัณฑ์สถานหนึ่งตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร และกฎหมายว่าด้วยวินัยตํารวจคือ ให้ทํางานโยธา งานสุขาภิบาล หรืองานอื่นของราชการเพิ่มจากหน้าที่ประจําซึ่งตนจะต้องปฏิบัติ อยู่แล้ว หรือปรับให้อยู่เวรยามนอกจากหน้าที่ประจํา. (ส.).
  23. ทัณฑฆาต : [ทันทะ-] น. ชื่อเครื่องหมายสําหรับฆ่าอักษรที่ไม่ต้องการ ออกเสียง มีรูปดังนี้ ?.
  24. ทัณฑนิคม : [ทันทะ-] (กฎ) น. สถานที่ควบคุมและฝึกอบรมนักโทษ เด็ดขาดในขั้นต่อจากเรือนจํา.
  25. ทัณฑวิทยา : [ทันทะ-] น. วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิธีลงโทษผู้กระทําผิด ทางอาญา. (อ. penology).
  26. ทัณฑสถาน : [ทันทะ-] (กฎ) น. เรือนจําพิเศษประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้ เป็นที่ควบคุมกักขังผู้ต้องขังเฉพาะแต่ละประเภทให้เหมาะสมกับ ประเภทผู้ต้องขังนั้น ๆ เช่น ทัณฑสถานวัยหนุ่ม เป็นสถานที่ควบคุม กักขังและฝึกอาชีพแก่ผู้ต้องขังที่อยู่ในวัยหนุ่ม.
  27. ทัณฑะ : [ทันดะ] น. มาตราโบราณสําหรับวัดความยาว ๑ ทัณฑะ เท่ากับ ๒ ศอก.
  28. ทัณฑิกา : [ทันทิ-] น. ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง มีกลอนสัมผัสกันคล้ายกาพย์ สุรางคนางค์. (ชุมนุมตํารากลอน).
  29. ทัณฑิมา : [ทันทิ-] น. ชื่อนกในพวกสัตว์หิมพานต์ รูปเป็นครุฑถือกระบอง.
  30. ทันตชะ : [ทันตะ-] (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มี เสียงเกิดจากฟัน ได้แก่ พยัญชนะวรรค ต คือ ต ถ ท ธ น และอักษร ล ส รวมทั้ง ฦ ฦๅ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. ทนฺตวฺย).
  31. ทันต-, ทันต์ ๑ : [ทันตะ-] (แบบ) น. ฟัน, งาช้าง เช่น เอกทันต์. (ป., ส.).
  32. ทันตแพทย์ : [ทันตะ-] น. แพทย์ผู้มีหน้าที่ตรวจรักษาโรคทางฟัน เหงือก ขากรรไกร และโรคภายในช่องปาก.
  33. ทัฬหะ, ทัฬหิ, ทัฬหี : [ทันหะ, ทันหิ, ทันฮี] ว. มั่นคง, แข็งแรง, แน่นหนา, จัด. (ป.; ส. ทฺฤฒ, ทฺฤฒี).
  34. ทัฬหิกรณ์ : [ทันหิกอน] น. เครื่องทําให้มั่น ได้แก่ข้อความที่ชัก มาอ้างเพื่อให้คําพูดของตนมั่นคง. (ป. ทฬฺหีกรณ).
  35. ทัฬหีกรรม : [ทันฮีกํา] น. การกระทําให้มั่นคงขึ้น ได้แก่การที่ทําซํ้า ลงไปเพื่อให้มั่นคงนกรณีที่การกระทําครั้งแรกไม่สมบูรณ์ มักใช้ใน พิธีสงฆ์ เช่น ทําทัฬหีกรรม สวดทัฬหีกรรม. (ป. ทฬฺหีกมฺม; ส. ทฺฤฒี + กรฺมนฺ).
  36. ธัญ ๒, ธัญญ : [ทัน, ทันยะ] น. ข้าวเปลือก. (ป. ธญฺ?; ส. ธานฺย).
  37. ธัญเบญจก : [ทันยะเบนจก] น. ธัญชาติทั้ง ๕ ได้แก่ ๑. ศาลิ ข้าวสาลี ๒. วฺรีหิ ข้าวเปลือก ๓. ศูก ลูกเดือย ๔. ศิมฺพี ถั่ว ๕. กฺษุทฺร ข้าวกษุทร. (ป. ปญฺจก).
  38. ธันยา : [ทันยา] (แบบ) น. นางพี่เลี้ยง. (ส.).
  39. ธันยาวาท : [ทันยาวาด] น. การทําพิธีบูชาขอบคุณเทพผู้ให้ความสมบูรณ์พูนผล. (ส.).
  40. กรม ๓ : [กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของ แผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้ เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรม ขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรม สูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมาย กลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็น กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.
  41. กรมธรรม์ : [กฺรมมะทัน] (กฎ; โบ) น. เอกสารซึ่งทาส ลูกหนี้ยินยอม ให้กรมการอำเภอทำให้ไว้แก่เจ้าหนี้นายเงิน, คำนี้เรียกเต็มว่า สารกรมธรรม์ หรือย่อว่า สารกรม, บางทีเรียกเพียงคำเดียวว่า กรม ก็มี เช่น กู้หนี้ถือสีนกันเข้าชื่อในกรมหลายคน. (สามดวง); กรมธรรม์ประกันภัย. (ส. กรฺม + ธรฺม).
  42. กรรซ้นน : [กันซั้น] (โบ) ก. ทัน, กระชั้น, เช่น พราหมณ์จะมากรรซ้นน. (ม. คําหลวง กุมาร).
  43. กรรม ๑, กรรม- ๑ : [กำ, กำมะ-] น. (๑) การ, การกระทำ, การงาน, กิจ, เช่น พลีกรรม ต่างกรรมต่างวาระ, เป็นการดีก็ได้ ชั่วก็ได้ เช่น กุศลกรรม อกุศลกรรม. (๒) การกระทำที่ส่งผลร้ายมา ยังปัจจุบัน หรือซึ่งจะส่งผลร้ายต่อไปในอนาคต เช่น บัดนี้ กรรมตามทันแล้ว ระวังกรรมจะตามทันนะ. (๓) บาป, เคราะห์, เช่น คนมีกรรม กรรมของฉันแท้ ๆ. (๔) ความตาย ในคำว่า ถึงแก่กรรม.
  44. กระกอง : (แบบ) ก. กอด, เกี่ยวพัน, เช่น เกษแก้วกระกองกลม แลกทดกทันงาม. (เสือโค).
  45. กระต่ายตื่นตูม : (สํา) น. ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการ ตื่นตกใจง่ายโดยไม่ทันสํารวจให้ถ่องแท้ก่อน.
  46. กวด : ก. ทําให้แน่น ให้ตึง หรือให้เขม็งยิ่งขึ้น เช่น กวดเชือก กวดตะปู, เร่งรัดให้ดียิ่งขึ้นหรือเพื่อให้ทัน เช่น กวดวิชา วิ่งกวด. น. เหล็กเครื่องมือสําหรับกวดเลี่ยมขอบภาชนะ เรียกว่า เหล็กกวด.
  47. กะทันหัน : ว. ทันใด, ปัจจุบันทันด่วน, จวนแจ.
  48. ก้าน ๒ : น. ก่าน, กล้า, เช่น รู้ไป่ทันแก่ก้าน กล่าวถ้อยกลางสนาม. (โลกนิติ).
  49. กำเลา : (แบบ) ว. โง่, อ่อน, ไม่รู้เท่าทัน, ไม่มีไหวพริบ, เช่น ดุจตักแตนเต้นเห็นไฟ บมิใฝ่หนีไกล กำเลากำเลาะหวังเขญ. (อนิรุทธ). (ข. กํเลา จาก เขฺลา).
  50. กินแกลบกินรำ : [-แกฺลบ-] (สํา) ว. โง่ เช่น ฉันไม่ได้กินแกลบกินรำนี่ จะได้ไม่รู้เท่าทันคุณ.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-185

(0.0600 sec)