Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ทั้งสิ้น, สิ้น, ทั้ง , then ทง, ทั้ง, ทั้งสิ้น, สน, สิ้น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ทั้งสิ้น, 1174 found, display 1-50
  1. ทั้งปวง, ทั้งผอง, ทั้งเพ, ทั้งมวล, ทั้งสิ้น, ทั้งหมด : ว. หมดด้วยกัน.
  2. ทั้ง : ว. ทั่ว เช่น ทั้งโลก ทั้งห้อง ทั้งตัว, รวมหมด เช่น ปลาทั้งตัว, พร้อม ด้วย เช่น ต้มทั้งกระดูก นอนทั้งรองเท้า, ตลอด เช่น ทั้งคืน ทั้งวัน ทั้งเดือน ทั้งปี, ครบตามที่กําหนด เช่น โกฐทั้ง ๕ ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง และโกฐจุฬาลัมพา, ชุมเห็ดทั้ง ๕ ได้แก่ ต้น ราก เปลือก ใบ และดอก ของต้นชุมเห็ด; ทั้งที่ เช่น ทําทั้งรู้ ๆ กินทั้งจืด ๆ ล้มทั้งยืน; มิหนําซํ้า เช่น ของนี้คุณภาพตํ่า ทั้งราคาก็แพง ยานี้จะทําให้ท้องผูกทั้งจะทําให้ใจสั่นอีกด้วย.
  3. ปวง : ว. ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น ปวงชน, มักใช้เข้าคู่กับคํา ทั้ง เป็น ทั้งปวง เช่น ชนทั้งปวง.
  4. ทั้งกลม : ว. ทั้งปวง, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น; เรียกหญิงที่ตายพร้อมกับลูก ที่อยู่ในท้องด้วยว่า ตายทั้งกลม คือ ตายทั้งหมด.
  5. โดยสิ้นเชิง, อย่างสิ้นเชิง : ว. ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น เขาพ้นข้อหาโดยสิ้นเชิง โครงการนี้ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง.
  6. ทั่ว : ว. ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทุกหนทุกแห่ง, เช่น ทั่วตัว ทั่วโลก ทั่วหน้า.
  7. มวล : [มวน] ว. ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทั้งปวง, เช่น มวลชน มวลมนุษย์, ทั้งมวล ก็ว่า.
  8. มูล ๒, มูล- : [มูน, มูนละ-] ว. มวล, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น จัดข้าวของไว้ให้โดยพร้อมมูล เตรียมเอกสารหลักฐานไว้ให้พร้อมมูล. (ป. มูล; ส. มูลฺย).
  9. ล้วนแต่ : ว. ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น ผู้เข้าประกวดนางงามล้วนแต่ สวย ๆ ทั้งนั้น.
  10. สากล : ว. ทั่วไป, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น สากลโลก สากลจักรวาล; เป็นที่นิยมทั่วไป เช่น เครื่องแต่งกายชุดสากล, สามัญหมายถึงแบบซึ่งเดิมเรียกว่า ฝรั่ง เช่น มวยฝรั่ง เรียก มวยสากล, ใช้แทนคํา ''ระหว่างประเทศ'' ก็มี เช่น สภา กาชาดสากล น่านน้ำสากล. (ป., ส. สกล).
  11. วิวาห, วิวาห์, วิวาหะ : [วิวาหะ] น. ''การพาออกไป'' หมายถึง การแต่งงานแบบหนึ่งที่ ฝ่ายชายจะต้องถูกนําไปอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิง เรียกว่า วิวาหมงคล, เป็นประเพณีแต่งงานที่นิยมปฏิบัติกันในประเทศอินเดียฝ่ายใต้, การแต่งงานตามประเพณีไทย ไม่ว่าฝ่ายหญิงจะไปอยู่ที่บ้านฝ่ายชาย หรือฝ่ายชายจะไปอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิง หรือจะแยกไปอยู่ตามลําพัง ก็เรียกว่า วิวาหะ หรือ วิวาหมงคล ทั้งสิ้น. (ป., ส.).
  12. หูหนวกตาบอด : (สำ) ว. ไม่รับรู้รับเห็นสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้น.
  13. กลม ๔ : [กฺลม] ว. (โบ) ปวง, หมด, สิ้น, เช่น ทั้งกลม คือ ทั้งปวง, จึ่งได้เมืองแก่กูทงงกลํ. (จารึกสยาม); เรียกหญิงที่ตายพร้อม กับลูกที่อยู่ในท้องว่า หญิงตายทั้งกลม หมายถึง ตายทั้งหมด คือ ตายทั้งแม่ทั้งลูก.
  14. วันจม : (โหร) น. วันเคราะห์ร้ายในเดือนทางจันทรคติ เป็นวันห้าม ทํากิจการใด ๆ ทั้งสิ้น, คู่กับ วันฟู หรือ วันลอย.
  15. วันมาฆบูชา : น. วันเพ็ญเดือน ๓ เป็นวันทำบุญพิเศษทาง พระพุทธศาสนาเพื่อระลึกถึงความสำคัญ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึง ดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ ส่วนในปีที่มีอธิกมาสจะตรงกับวันเพ็ญเดือน ๔) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมกันในวันนั้นล้วนเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้า ทรงบวชให้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งเรียกการบวชแบบนี้ว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา๔. พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ ทั้งสิ้น, วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก.
  16. หนักแน่น : ว. มั่นคง, ไม่ท้อถอย, เช่น เขามีใจหนักแน่นไม่ย่อท้อต่อ อุปสรรคใด ๆ ทั้งสิ้น; ไม่โกรธง่าย เช่น เขาเป็นคนใจคอหนักแน่น ไม่โกรธใครง่าย ๆ; ไม่หูเบา เช่น ต้องทำใจให้หนักแน่น อย่าเชื่อใครง่าย ๆ.
  17. ทั้งที่, ทั้ง ๆ ที่ : ว. ในขณะที่ เช่น เขาออกจากบ้านไปทั้งที่ฝนกำลังตก เขาลาออกทั้ง ๆ ที่หน้าที่การงานกําลังเจริญก้าวหน้า.
  18. ทั้ง...กับ, ทั้ง...และ : สัน. รวมทั้ง ๒ อย่าง เช่น ทั้งผักกับผลไม้ล้วนน่ากิน ทั้งผักและผลไม้ล้วนน่ากิน.
  19. ทั้ง...ทั้ง : ว. ด้วย เช่น ทั้งกินทั้งเล่น คือ กินด้วยเล่นด้วย ให้ทั้งข้าว ทั้งเงิน คือ ให้ข้าวด้วยเงินด้วย. สัน. และ เช่น ทั้งภูเก็ตทั้งเชียงใหม่ ล้วนน่าเที่ยว.
  20. ยัง : คำช่วยกริยาในประโยคคำถามปฏิเสธหรือประโยคปฏิเสธ โดยละกริยา นั้นไว้ให้เข้าใจเอาเอง เช่น ถามว่า จะไปหรือยัง ตอบว่า ยัง, ถ้าใช้นำหน้า คำกริยาเข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า กริยานั้นกำลังกระทำอยู่ เช่น เขายัง กินอยู่ เขายังนอนอยู่, ถ้าใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า ยังอยู่ในภาวะนั้น เช่น ยังเด็กอยู่ ยังสาวอยู่ ยังเช้าอยู่, ใช้ประกอบคำกริยา เชิงปฏิเสธที่เริ่มหรือกำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นลงไป เช่น ป่านนี้ยัง ไม่มา ทั้ง ๆ ที่น่าจะมาแล้ว, ใช้เข้าคู่กับคำอื่นเพื่อเชื่อมประโยคหน้ากับ ประโยคหลังที่มี ข้อความในลักษณะคล้ายคลึงกันให้เนื่องกัน เช่น นอกจาก โง่แล้วยัง หยิ่งอีกด้วย นอกจากสวยแล้วยังรวยอีกด้วย. ก. คงอยู่, มีอยู่, เช่น ถามว่า หมดแล้วหรือ ตอบว่า ยังมีอีก; กระทำให้ เช่น ยังชีวิตให้เป็นไป ยังใจให้ชุ่มชื่น. บ. ถึง เช่น แจ้งความมายังท่านทั้งหลาย, สู่ เช่น ไปยังบ้าน, ตลอด, ตลอดถึง, เช่น วันยังค่ำ คืนยังรุ่ง.
  21. ทั้งอย่างนั้น : ว. ทั้ง ๆ ที่เป็นอยู่ในลักษณะอาการเช่นนั้น.
  22. ร้อยทั้งร้อย : (ปาก) ว. หมดทั้งสิ้น, มีเท่าไรก็หมด.
  23. ล้มทั้งยืน : ก. ล้มขณะที่ยืนอยู่ เช่น ถูกเตะล้มทั้งยืน เป็นลมล้มทั้งยืน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่สิ้นเนื้อประดาตัวหรือผิดหวังอย่าง รุนแรงโดยไม่เคยคาดค ทันทีทันใดโดยไม่เคยคาดคิดมาก่อน เช่น พอ รู้ว่าลูกถูกรถทับตายเลยเสียใจแทบล้มทั้งยืน.
  24. ทั้งดุ้น : ว. ทั้งหมดโดยมิได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือตัดแบ่งเลย เช่น ลอกมาทั้งดุ้น.
  25. ทั้งนั้น : ว. ทั้งหมดโดยไม่ยกเว้น เช่น พระสงฆ์ทั้งนั้น ล้วนแต่ สาว ๆ สวย ๆ ทั้งนั้น.
  26. ทั้งหลาย : ว. หมดด้วยกัน เช่น คนทั้งหลายเกิดมาแล้วต้องตาย, มีจํานวนมาก เช่น คนทั้งหลายเขาพูดกันว่า.
  27. ทั้งขึ้นทั้งล่อง : (สํา) ว. มีความเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ไม่พ้นไปได้ (มักใช้ในทํานองไม่ดี).
  28. ทั้งเนื้อทั้งตัว : ว. ทั้งหมดเท่าที่มีติดตัวอยู่.
  29. ศาสน, ศาสนา : [สาสะนะ, สาดสะนะ, สาดสะหฺนา] น. ลัทธิความเชื่อถือ ของมนุษย์อันมีหลัก คือแสดงกําเนิดและความสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรม เกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อม ทั้งลัทธิพิธีที่กระทําตามความเห็นหรือตามคําสั่งสอนในความ เชื่อถือนั้น ๆ. (ส. ศาสน ว่า คําสอน, ข้อบังคับ; ป. สาสน).
  30. กระดาก ๒ : (กลอน) ก. กระเดาะ, กระดก, เช่น สิ้นทั้งพันปากกระดากลิ้น, สิบปากกระดากลิ้นเคี้ยวฟัน. (รามเกียรติ์ ร. ๑). (อะหม ตาก ว่า กระเดาะปาก).
  31. กระทรวง ๑ : [-ซวง] น. หมู่, พวก, เช่น ทุกหมวดทุกกระทรวงทรง ฤทธิเรื้อง. (ยอพระเกียรติกรุงธน), ชนิด, อย่าง, เช่น อนึ่งนั้นอุเบกขาว่าเพ่งเฉย คือแหวกเลยสุขทุกข์อาลัยห่วง ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขสิ้นทั้งปวง สามกระทรวงนี้เป็นชื่อเวทนา. (ปกีรณําพจนาดถ์), แบบ, อย่าง, กระบวน, เช่น ส่วนองค์พระอัยกาก็ทรงพาหนะหัสดินทร กรินทรราชเป็นทัพหลวงตามกระทรวงพยุหยาตรา. (ม. ร่ายยาว มหาราช), โดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป. (สามดวง), ผจญคนกลิ้งกลอกกลับหลอกลวง เอากระทรวงสัตย์ ซื่อให้เสื่อมเท็จ. (สุ. สอนเด็ก). (ดู กระซุง).
  32. ครุ ๒ : [คะรุ] ว. หนัก, ใช้ในตําราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวและสระเกินทั้ง ๔ คือ สระอำ ใอ ไอ เอา เช่น ตา ดำ (สระอำถือเป็น ครุ ก็ได้ ลหุ ก็ได้) และพยางค์ที่มี ตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น หัด เรียน ใช้เครื่องหมาย ?แทน, คู่กับ ลหุ ซึ่งใช้ เครื่องหมาย ? แทน. (ป. ครุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง; ส. คุรุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง).
  33. เคมีอนินทรีย์ : [-อะนินซี] น. วิชาเคมีแขนงที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับ ธาตุทั้งสิ้นและสารประกอบของธาตุเหล่านั้น ยกเว้นธาตุคาร์บอนซึ่ง ศึกษาแต่เพียงตัวธาตุคาร์บอน สารประกอบออกไซด์ สารประกอบซัลไฟด์ และโลหะคาร์บอเนตเท่านั้น. (อ. inorganic chemistry).
  34. เคมีอินทรีย์ : น. วิชาเคมีแขนงที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับสารประกอบ ทั้งสิ้นของธาตุคาร์บอน ยกเว้นเรื่องสารประกอบออกไซด์ สารประกอบ ซัลไฟด์ และโลหะคาร์บอเนต. (อ. organic chemistry).
  35. จาตุรงคสันนิบาต : น. การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันนั้น ดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อมฆา) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป ประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมวันนั้นล้วน ได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, นับเป็นวันสําคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา, คําสามัญว่า มาฆบูชา. (ป., ส.).
  36. บังคับครุ : น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มี เสียงหนัก คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวทั้งที่มีตัวสะกด และไม่มีตัวสะกด เช่น มา ดี ขาว สาย พยางค์ที่ประกอบด้วยสระ สั้นที่ออกเสียงอย่างมีตัวสะกดทั้ง ๔ คือ อํา ใอ ไอ เอา เช่น รํา ใจ และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น จัด เรียน.
  37. บังคับเอก : น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์หรือ คําที่มีรูปวรรณยุกต์เอก และบรรดาคําตายทั้งสิ้นในโคลงและร่ายใช้ แทนเอกได้.
  38. โพซิตรอน : [ตฺรอน] น. อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่ง มีมวลเท่ากับอิเล็กตรอน มีประจุไฟฟ้าเท่ากับประจุไฟฟ้าของอิเล็กตรอน แต่เป็นประจุไฟฟ้า บวก เมื่อโพซิตรอนและอิเล็กตรอนอย่างละ ๑ อนุภาคมากระทบกัน ทั้งคู่จะทําลายล้างกันสูญหายไปด้วยกันทั้งสิ้น และให้พลังงาน มากมายเกิดขึ้นในรูปของรังสีแกมมา, แอนติอิเล็กตรอน ก็เรียก. (อ. positron).
  39. มาฆบูชา : น. การทําบุญพิเศษทางพระพุทธศาสนาในวันเพ็ญ เดือน ๓ เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สําคัญซึ่งประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์ เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปประชุมกัน โดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมนั้นล้วนได้รับ เอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. ท่านเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, (วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก. ป. มาฆปูชา).
  40. เมืองลับแล : น. เมืองที่เร้นลับ ถือกันว่าจะพบได้ก็แต่โดยบังเอิญ ถ้าตั้งใจ ไปไม่พบ, บางทีก็เรียกว่า เมืองแม่ม่าย เพราะเชื่อกันว่าผู้หญิงที่อยู่ในเมืองนี้ ล้วนเป็นแม่ม่ายทั้งสิ้น.
  41. ลม ๑ : น. ธาตุอย่างหนึ่งในธาตุทั้ง ๔ ของร่างกาย คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ถ้าลมในร่างกายแปรปรวนไม่ปรกติจะทําให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้ เช่น เป็นลม; ลมหายใจ เช่น หมดลม สิ้นลม หมายความว่า ตาย; อากาศที่เคลื่อนที่; ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มีอาการหลายอย่าง เช่น วิงเวียน หน้ามืด คลื่นเหียน, ถ้าอาการรุนแรงอาจถึงแก่สิ้นสติ หรือตายได้ เช่น เขาเป็นลมแน่นิ่งไป.
  42. ล้างสมอง : ก. ทําให้บุคคลเปลี่ยนความคิดเห็นหรือความเชื่อถือ ของตนโดยเฉพาะในลัทธิการเมือง สังคม หรือศาสนาไปอย่าง สิ้นเชิง และยอมรับความคิดเห็นหรือความเชื่อใหม่โดยใช้วิธีการ ต่าง ๆ รวมทั้งอาจมีการทรมานจิตใจอย่างรุนแรง.
  43. วงเล็บ : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ( ) สําหรับใช้กันข้อความ ที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่น และข้อความในระหว่างวงเล็บ นั้นจะอ่านหรือเว้นเสียก็ได้ ไม่ทำให้เนื้อความนอกจากนั้นเสียไป เช่น จึงสรุปได้ว่ามนุษย์หรือขันธ์ ๕ นั้น ได้สร้างโลภะ(ความอยาก ได้) โทสะ(ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ให้แก่ตัวเองทั้งสิ้น, ใช้กันข้อความซึ่งบอกที่มาของคำหรือข้อความ เช่น สิลา น. หิน, ก้อนหิน. (ป.; ส. ศิลา); ใช้กันนามเต็มหรือบรรดาศักดิ์ที่เขียนใต้ ลายมือชื่อ เช่น ลายมือชื่อ (นายเสริม วินิจฉัยกุล) ลายมือชื่อ (กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์), ใช้กันตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็น หัวข้อหรือที่เป็นเลขหมายบอกเชิงอรรถ ส่วนตัวอักษรหรือตัวเลข ที่เป็นหัวข้ออาจใช้เพียงเครื่องหมายวงเล็บปิดก็ได้ เช่น วันรุ่งแรม สามค่ำเป็นสำคัญ(๑) อภิวันท์ลาบาทพระชินวร ข้อ (ก) ข้อ ๑), ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และสูตรทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นตัวเลขหรือ สัญลักษณ์ไว้เป็นกลุ่ม เช่น a2 b2 = (a + b)(a b), Al2(SO4)3, นขลิขิต ก็ว่า.
  44. วางวาย : ก. ตาย เช่น นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์. (กฤษณา), วายวาง ก็ว่า.
  45. สกล, สกล : [สะกน, สะกนละ] ว. สากล. (ป., ส.). สกลโลก น. ทั้งโลก, โลกทั้งสิ้น, ทั่วโลก.
  46. สน ๑ : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดหลายสกุลในหลายวงศ์ เช่น สนสองใบ หรือ เกี๊ยะเปลือกหนา (Pinus merkusii Jungh. de Vriese), สนสามใบ หรือ เกี๊ยะเปลือกบาง (P. kesiya Royle ex Gordon) ในวงศ์ Pinaceae, ทั้ง ๒ ชนิดนี้ สนเขา ก็เรียก, พายัพเรียก จ๋วง; สนหางกระรอก (Dacrydium elatum Blume) ในวงศ์ Cupressaceae; สนฉําฉา หรือ สนญี่ปุ่น [Podocarpus macrophyllus (Thunb.) D. Don] ในวงศ์ Podocarpaceae; สนทราย หรือ สนสร้อย (Baeckea frutescens L.) ในวงศ์ Myrtaceae; สนทะเล (Casuarina'' equisetifo lia J.R. et G. Forst.) ในวงศ์ Casuarinaceae.
  47. หย่า : ก. เลิกเป็นผัวเมียกัน; (กฎ) ทําให้การสมรสสิ้นสุดลงโดยความยินยอม ของคู่สมรสทั้ง ๒ ฝ่ายหรือโดยคําพิพากษาของศาล; เลิก เช่น หย่านม หย่าศึก.
  48. หินปูน : น. หินที่มีเนื้อสารเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตเกือบทั้งสิ้น สารประกอบ หินดังกล่าวเกิดจากการตกตะกอนเนื่องจากปฏิกิริยาเคมีก็มี และที่เกิดจาก การตกจมรวมตัวเป็นพืดใหญ่ของสัตว์ประเภทมีเปลือกหุ้มตัวเป็นแคลเซียม คาร์บอเนตก็มี.
  49. หูเข้าพรรษา : ว. ไม่รับรู้รับฟังสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้นมักใช้เป็นสำนวนเปรียบเทียบ เช่น ทำเป็นหูเข้าพรรษาไปได้.
  50. เหล็กพืด : น. เหล็กที่มีธาตุคาร์บอนเจือปนอยู่ประมาณร้อยละ ๐.๑๒- ๐.๒๕ และมีสิ่งเจือปนอื่น ๆ รวมกันทั้งสิ้นน้อยกว่าร้อยละ ๐.๕ เรียกเหล็กเหนียว หลอมละลายที่ ๑๔๐๐?ซ.-๑๕๐๐?ซ., เหล็กเหนียว ก็เรียก, เรียกชนิดหนึ่งที่ เป็นแผ่นยาวอย่างเหล็กทําปลอกถังว่า แถบเหล็กพืด.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1174

(0.2055 sec)