ทาน ๑, ทาน- : ทานะ-, ทานนะ-] น. การให้, มักใช้ประกอบท้ายคำอื่น เช่น ธรรมทาน วิทยาทาน; สิ่งที่ให้ มักหมายถึงเงินหรือสิ่งของที่คน ให้แก่คนยากจน, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป., ส.).
ทาน ๒ : ก. ยันหรือรับไว้, มักใช้เข้าคู่กับคํา ต้าน เป็น ต้านทาน.
ทาน ๓ : ก. สอบหนังสือให้ตรงกับต้นฉบับ.
ทานกัณฑ์ : [ทานนะ-] น. ชื่อกัณฑ์ที่ ๓ ในมหาชาติ.
บุคลิกทาน : [บุกคะลิกกะทาน] น. ทานที่ทายกให้จําเพาะตัวคน, คู่กับ สังฆทาน คือ ทานที่ให้แก่สงฆ์. (ตัดมาจาก ป. ปาฏิปุคฺคลิก ทาน).
กฐินทาน : [กะถินนะทาน] น. การทอดกฐิน.
ฉทานศาลา : [ฉ้อทานนะสาลา] น. ศาลาเป็นที่ทําทาน ๖ แห่ง, บางทีเขียนว่า ศาลาฉทาน.
ทักษิณาทาน : น. การให้ของทําบุญทําทาน.
ทิ้งทาน : ก. ให้ทานโดยวิธีหว่านหรือโปรยสตางค์หรือเหรียญ, โปรยทาน ก็ว่า.
โปรยทาน : ก. ให้ทานโดยวิธีหว่านหรือโปรยสตางค์หรือเหรียญ, ทิ้งทาน ก็ว่า.
ศาลาฉทาน : [ฉ้อทาน] น. สถานที่แจกจ่ายอาหารแก่คนทั่วไป เป็นการกุศล, ฉทานศาลา ก็เรียก.
กระยาทาน : น. เครื่องบริจาค. (จารึกสยาม).
ครัวทาน : (ถิ่น-พายัพ) น. ของถวายพระ.
จีวรทานสมัย : (แบบ) น. สมัยถวายจีวรในจีวรกาล. (ป.).
ท่าน : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคํากลาง ๆ หรือแสดงความเคารพ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความเคารพ เช่น ท่านไม่อยู่ คุณพ่อท่านหลับแล้ว หรือโดยไม่เจาะจง เช่น อย่า ลักทรัพย์ท่าน เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. น. คําที่ใช้ประกอบหน้า ชื่อบรรดาศักดิ์หรือตําแหน่งแสดงความยกย่อง เช่น ท่านขุน ท่านอาจารย์ ท่านเจ้าอาวาส.
ปัตติทาน : น. การให้ส่วนบุญ. (ป.).
โรงทาน : น. สถานที่แจกจ่ายอาหารแก่คนทั่วไปเป็นการกุศล.
สอบทาน : ก. ตรวจสอบหนังสือ ข้อความ หรือตัวเลข ให้ตรงกับต้นฉบับ หรือถ้อยคำที่บอกเป็นต้น.
อาตมทาน : น. การสละตัวเอง, การพลีตัว. (ส.).
ทานบารมี : [ทานนะ-] น. จรรยาอย่างเลิศ คือ ทาน. (ป. ทานปารมี; ส. ทานปารมิตา).
ธาร ๑ : [ทาน] น. การทรงไว้, การรับไว้, การหนุน, มักใช้เป็นบทหลังสมาส เช่น จุฑาธาร. (ป., ส.).
ธาร ๒ : [ทาน] น. นํ้า, ลําธาร, ห้วย, หยาดนํ้า, ท่อนํ้า. (ตัดมาจาก ธารา).
บรทาร : [-ทาน] (แบบ) น. เมียเขา. (ส.).
อาธาน : [ทาน] น. การตั้งไว้, การวางไว้, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น จิตกาธาน. (ส.).
อาธาร : [ทาน] น. เครื่องคํ้าจุน, ฐานที่รองรับ, เช่น ปัตตาธาร = เชิงบาตร, ตีนบาตร คุณาธาร = ฐานที่รองรับคุณความดี; การอุปถัมภ์; อ่าง, หม้อนํ้า, ที่ขังนํ้า, สระ. (ป., ส.).
อุทาร : [ทาน] ว. สูง, เลิศ, ประเสริฐ, ยิ่งใหญ่; ซื่อตรง, มีความจริงใจ; สุภาพ; ถูกต้อง. (ส.).
เอาทาร : [ทาน] ว. สูง, เลิศ, ประเสริฐ, ยิ่งใหญ่; ซื่อตรง, มีความจริงใจ; สุภาพ; ถูกต้อง. (แผลงมาจาก อุทาร).
เอาทารย์ : [ทาน] น. ความมีใจโอบอ้อม, ความเป็นคนใจบุญ, ความเผื่อแผ่. (ส. เอาทารฺย).
ทศพล : น. ผู้มีกําลัง ๑๐ เป็นพระนามของพระพุทธเจ้า. ทศพิธราชธรรม น. จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็น หลักธรรมประจําพระองค์ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง มี ๑๐ ประการ ได้แก่ ๑. ทาน - การให้ ๒. ศีล - การรักษากายวาจา ให้เรียบร้อย ๓. บริจาค - ความเสียสละ ๔. อาชชวะ - ความซื่อตรง ๕. มัททวะ - ความอ่อนโยน ๖. ตบะ - การข่มกิเลส ๗. อักโกธะ - ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา - ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ - ความ อดทน ๑๐. อวิโรธนะ - ความไม่คลาดจากธรรม.
ทานาธิบดี : น. เจ้าของทาน. (ป., ส. ทาน + อธิปติ).
บารมี : [-ระมี] น. คุณความดีที่ควรบําเพ็ญมี ๑๐ อย่าง คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ (การออกจากกาม คือ บวช) ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา เรียกว่า ทศบารมี; คุณความดีที่ ได้บําเพ็ญมา, คุณสมบัติที่ทําให้ยิ่งใหญ่, เช่นว่า ชมพระบารมี พระบารมีปกเกล้าฯ พ่ายแพ้แก่บารมี. (ป. ปารมี).
เบญจธรรม : น. ธรรมะ ๕ ประการ คือ เมตตา ทาน ความสํารวม ในกาม สัจจะ สติ, คู่กับ เบญจศีล.
ทานบดี : [ทานนะบอดี] น. เจ้าของทาน. (ป., ส. ทานปติ).
ทานมัย : [ทานนะไม] ว. สําเร็จด้วยทาน, แล้วไปด้วยทาน. (ป., ส.).
กกัลปพฤกษ์ : น. ลูกมะนาวหรือของที่บรรจุเงินปลีกเป็นต้นไว้ ข้างในสําหรับโปรยทาน, โดยปริยายเรียกสลากที่ห้อยไว้ตามต้นไม้ ให้คนสอยในงานกุศลหรืองานรื่นเริงเป็นต้น.
กณิกนันต์ : [กะนิกนัน] (แบบ) ว. ละเอียดยิ่ง เช่น ลวดหลายลายกณิกนันต์. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป. กณิก ว่า น้อย + อนนฺต ว่า ไม่มีที่สุด).
กณิการ์ : น. ไม้กรรณิการ์. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
ก่น ๑ : (โบ) ก. ตั้งหน้า, มุ่ง, เช่น อยู่เย็นยงงก่นเกอดพิจลการ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
กปณ : [กะปะนะ] ว. กําพร้า, อนาถา, ไร้ญาติ, ยากไร้, น่าสงสาร, (กลอน) เขียนเป็น กปนา ก็มี เช่น แม้มนุษยกปนาจํานง ขอสิ่งประสงค์ประสาททาน. (ม. คําหลวง มัทรี). (ป.).
กปณา : [กะปะนา] ว. อนาถา, ไร้ญาติ, น่าสงสาร, เขียนเป็น กปนา ก็มี เช่น แม้มนุษยกปนาจำนง ขอสิ่งประสงค์ประสาททาน. (ม. คำหลวง มัทรี). (ป. กปณ)
กรรแสง ๒ :
[กัน-] (โบ) น. ผ้าสไบ เช่น กรรแสงสวมคอหิ้ว ตายบทันลัดนิ้ว หนึ่งดี. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ดู กันแสง).
กราสิก : [กฺรา-] (โบ; กลอน) น. ผ้าด้ายแกมไหม เช่น พัสตรากราสิกศรี. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป. กาสิก; ส. กาศิก).
กฤดยาเกียรณ : [กฺริดดะยาเกียน] (แบบ) ว. พร้อมด้วยเกียรติยศ เช่น ความชอบกอปรกฤดยากยรณ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ส. กีรฺติ + อากีรฺณ).
กฤษฎา ๓, กฤษฎาญ, กฤษฎาญชลิต, กฤษฎาญชลี, กฤษฎาญชวลิตวา, กฤษฎาญชวลิศ, กฤษฎาญชวเลศ, กฤษฎาญชุลี : [กฺริดสะดา, -ดาน, -ดานชะลิด, -ดานชะลี, -ดานชะวะลิดตะวา, -ดานชะวะลิด, -ดานชะวะเลด,-ดานชุลี] (โบ; กลอน) แผลงมาจาก กฤดาญชลี เช่น ถวายอภิวันทกฤษฎาญ กฤษฎาการกราบเกล้า. (ม. คําหลวง มัทรี; ฉกษัตริย์), กฤษฎาญชลิตไหว้. (มาลัยคําหลวง), กฤษฎาญชลียะยุ่งแล. (ม. คําหลวง ทศพร), อันว่ากฤษฎาญชวลิตวา. (มาลัยคำหลวง), อนนว่าเจ้าสากลกฤษฎาญชวลิศท่านธแล้ว. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์), ถวายกฤษฎาญชวเลศ ทูลแถลงเหตุนุสนธ์. (เพชรมงกุฎ), กฤษฎาญชุลีน้อม. (ฉันทลักษณ์).
กฤษฎาธาร : [กฺริดสะดาทาน] น. พระที่นั่งที่ทําขึ้นสําหรับเกียรติยศ (?) เช่น พระมหาพิชัยราชรถกฤษฎาธาร. (เรื่องพระบรมศพ).
กลหาย : [กะละ-] (โบ; กลอน) ก. กระหาย เช่น อันว่าทวยท่ววทงงหลายหื่นกลหายสาหัส. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
กล่าว : [กฺล่าว] ก. บอก, แจ้ง, พูด, เช่น กล่าวคําเท็จ; แสดง เช่น กล่าวเกลาอรรถเอมอร. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์); ขับร้อง เช่น จะกล่าวกลอนแก้ไข. (อิเหนา); สู่ขอ เช่น ถึงจรกามากล่าวนางไว้. (อิเหนา); แต่งงาน เช่น ฝรั่งกล่าวแหม่ม. (ประเพณีของชาวคริสเตียน), คํานี้ใช้เป็นปรกติในภาษาเขียน แต่ใช้เป็นภาษาพูดก็มีในบางลักษณะ เช่น กล่าวสุนทรพจน์.
กษัตริยชาติ : [กะสัดตฺริยะชาด] น. ชาติกษัตริย์ เช่น รู้แน่ว่าเป็น กษัตริยชาติ. (ม. ร่ายยาว สักบรรพ). [กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ผู้หญิง เช่น สมเด็จพระแก้วกษัตรี. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์); เจ้าผู้หญิง เช่น สองกษัตรีเจ้าหล้า แกล้วกว่าแกล้วใจกล้า กว่ากล้ากลัวอาย. (ลอ); สตรี เช่น จักเสื่อมสวัสดิ์กษัตรี. (กฤษณา). [กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น พินทุทัตกษัตรีย์. (สมุทรโฆษ); เจ้าผู้หญิง เช่น อันว่าพระมหาสัตว์แลกษัตรีย์. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). [กะสัดตฺรีสูน] (กลอน) น. กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ เช่น เจ้าไตรภพโลกเมาลีเป็นกษัตรีศูร. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ส. กฺษตฺร + อีศฺวร). [กะไส, กะไสยะ-] น. การสิ้นไป, การหมดไป, การเสื่อมไป, การน้อยไป; ชื่อโรคตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้ร่างกาย ทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น, เขียนเป็น กระษัย ก็มี. (ส. กฺษย).
กษัตรี : [กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ผู้หญิง เช่น สมเด็จพระแก้วกษัตรี. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์); เจ้าผู้หญิง เช่น สองกษัตรีเจ้าหล้า แกล้วกว่าแกล้วใจกล้า กว่ากล้ากลัวอาย. (ลอ); สตรี เช่น จักเสื่อมสวัสดิ์กษัตรี. (กฤษณา).