Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ทำร้ายร่างกาย, ร่างกาย, ทำร้าย , then ทำร้าย, ทำรายรางกาย, ทำร้ายร่างกาย, รางกาย, ร่างกาย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ทำร้ายร่างกาย, 242 found, display 1-50
  1. ทำร้ายร่างกาย : (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็น เหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น เรียกว่า ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย.
  2. ร่างกาย : น. ตัวตน.
  3. ทำร้าย : ก. ทําให้บาดเจ็บหรือเสียหาย.
  4. กระสอบทราย : น. ถุงผ้าใบหรือหนัง ลักษณะคล้ายหมอนข้าง ขนาดใหญ่ เดิมบรรจุทราย ปัจจุบันบรรจุด้วยขี้เลื่อย เศษผ้า หรือฟองน้ำ อัดแน่น เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งในการฝึกซ้อมของ นักมวยเพื่อฝึกการชก เตะ ขึ้นเข่า เป็นต้น, (ปาก) ผู้ที่ถูกทำร้าย ร่างกายอย่างบอบช้ำ โดยที่ไม่มีทางหรือไม่กล้าต่อสู้ เช่น นักมวยฝ่ายน้ำเงินถูกนักมวยฝ่ายแดงถลุงเป็นกระสอบทราย.
  5. ล้างแค้น : ก. แก้แค้นโดยทำร้ายร่างกายหรือทำลายล้างชื่อเสียงของผู้ ที่ทำให้ตนแค้น.
  6. วิคหะ : [วิกคะ] น. การทะเลาะ, การโต้เถียง; ร่างกาย, รูปร่าง, ตัว; การแยกออกเป็นส่วน ๆ. (ป. วิคฺคห; ส. วิคฺรห).
  7. อาตม : [อาดตะมะ] น. ตน, ตัวตน. (ส. อาตฺมนฺ, อาตฺมา ว่า ตน, วิญญาณ, ร่างกาย; ป. อตฺต, อตฺตา).
  8. รูป, รูป– : [รูบ, รูบปะ–] น. สิ่งที่รับรู้ได้ด้วยตา เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ, ร่าง เช่น โครงรูป, ร่างกาย เช่น รูปตัวคน รูปตัวสัตว์, เค้าโครง เช่น ขึ้นรูป, แบบ เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปรี รูปไข่; ลักษณนามใช้เรียกพระภิกษุสามเณร เช่น พระรูปหนึ่ง สามเณร ๒ รูป. ส. คําใช้แทนตัวผู้พูดสําหรับพระภิกษุสามเณรพูดกับคฤหัสถ์, เป็น สรรพนามบุรุษที่ ๑. (ป., ส.).
  9. กรรโชก : [กัน-] ก. ขู่เอาด้วยกิริยาหรือวาจาให้กลัว, เขียนเป็น กันโชก หรือ กําโชก ก็มี. (แผลงมาจาก กระโชก). (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือ ยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็น ทรัพย์สิน โดยใช้กําลังประทุษร้ายหรือโดยขู่เข็ญว่าจะทํา อันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน ของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอม เช่นว่านั้น เรียกว่า ความผิดฐานกรรโชก.
  10. กรัชกาย : [กะรัดชะ-, กะหฺรัดชะ-, กฺรัดชะ-] (แบบ) น. ร่างกาย เช่น เจ้างามยามประจงจัดกรัชกาย. (กลบทบัวบานกลีบขยาย). [ป. ก (น้ำ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีในน้ำ (น้ำ หมายถึง น้ำกาม น้ำอสุจิ, ธุลีในน้ำ คือ ตัวสเปิร์มที่อยู่ ในน้ำอสุจิ), ก (สรีระ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีในสรีระ, กายอันบังเกิดด้วยดีด้วยธุลีเป็นไปในสรีระ (บาฬีลิปิกรม), ก (กุจฺฉิต = น่ารังเกียจ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีที่ น่ารังเกียจ, กร (การกระทำ) + ช (เกิด) + กาย = กายที่เกิดด้วยสันถวะ (ความเชยชิด) อันมารดาบิดากระทำแล้ว].
  11. ขู่เข็ญ : ก. ทําให้กลัวโดยบังคับ; (กฎ) แสดงกิริยาหรือวาจาให้ผู้อื่น ต้องกลัวว่าจะเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือ ทรัพย์สินของผู้นั้น หรือของบุคคลที่สาม.
  12. คิง : (ถิ่น) น. ร่างกาย เช่น รทวยรแถ้ง คิงคมกล้องแกล้ง. (สุธนู).
  13. เครื่องสำอาง : น. สิ่งเสริมแต่งหรือบํารุงใบหน้า ผิวพรรณ ผม ฯลฯ ให้ดูงาม เช่น แป้ง ลิปสติก ดินสอเขียนคิ้ว, ราชาศัพท์ว่า เครื่อง พระสําอาง; (กฎ) วัตถุที่มุ่งหมายสําหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทําด้วยวิธีอื่นใดต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของ ร่างกาย เพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือส่งเสริมให้เกิดความ สวยงาม และรวมตลอดทั้งเครื่องประทินผิวต่าง ๆ ด้วย.
  14. ซีก : น. ส่วนที่ผ่าครึ่ง, ส่วนของสิ่งบางอย่างเช่นไม้ไผ่หรือแตงโมที่ผ่าออก โดยปรกติตามยาว, โดยปริยายหมายความว่า ด้าน, ส่วน, เช่น ร่างกาย ตายไปซีกหนึ่ง ปลาทูซีกนี้; ลักษณนามเรียกส่วนที่แยกออกนั้น เช่น มะม่วงซีกหนึ่ง แตงโม ๒ ซีก; ใช้สําหรับมาตราเงินโบราณเท่ากับ (เศษ ๑ ส่วน ๒) ของเฟื้อง.
  15. เทห-, เทห์, เท่ห์ : [เทหะ-] น. ตัว. (ป., ส. เทห ว่า ร่างกาย).
  16. นก ๑ : น. ชื่อสัตว์มีกระดูกสันหลังเลือดอุ่น มี ๒ เท้า ๒ ปีก และมีขนปกคลุม ร่างกาย ออกลูกเป็นไข่ก่อนแล้วจึงฟักเป็นตัว.
  17. เนื้อตัว : น. ร่างกาย เช่น เนื้อตัวเหนอะหนะ.
  18. ละเมิด : ก. ล่วงเกินหรือฝ่าฝืนจารีตประเพณีหรือกฎหมายที่มีบัญญัติไว้; (กฎ) จงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทําต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย ให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิ.
  19. สมุนไพร : [สะหฺมุนไพฺร] น. ผลิตผลธรรมชาติ ได้จาก พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามตํารับยา เพื่อบําบัดโรค บํารุง ร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ เช่น กระเทียม นํ้าผึ้ง รากดิน (ไส้เดือน) เขากวางอ่อน กํามะถัน ยางน่อง โล่ติ๊น.
  20. กรชกาย : [กะระชะ-] (แบบ) น. ร่างกาย. (ดู กรัชกาย).
  21. นวทวาร : น. ช่องทั้ง ๙ แห่งร่างกาย คือ ตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารเบา ๑ ทวารหนัก ๑; ร่างกาย. (ส.).
  22. ผรณาปีติ : [ผะระ] น. ปีติที่เกิดแล้วทําให้รู้สึกซาบซ่านไปทั่ว ร่างกาย. (ป.).
  23. เล่น : ก. ทําเพื่อสนุกหรือผ่อนอารมณ์ เช่น เล่นเรือ เล่นดนตรี; แสดง เช่น เล่นโขน เล่นละคร เล่นงานเหมา; สาละวนหรือหมกมุ่นอยู่กับสิ่ง ใด ๆ ด้วยความเพลิดเพลินเป็นต้น เช่น เล่นกล้วยไม้; สะสมของเก่า พร้อมทั้งศึกษาหาความเพลิดเพลินไปด้วย เช่น เล่นเครื่องลายคราม เล่นพระเครื่อง เล่นแสตมป์; พนัน เช่น เล่นม้า เล่นมวย; ร่วมด้วย, เอาด้วย, เช่น งานนี้ขอเล่นด้วยคน เรื่องคอขาดบาดตาย เขาคงไม่เล่น ด้วย; (ปาก) ทำร้าย เช่น อวดดีนัก เล่นเสีย ๒ แผลเลย; กิน เช่น หิว มาก เลยเล่นข้าวเสีย ๓ จาน. ว. อาการที่ทำหรือพูดอย่างไม่เอาจริง เช่น กินเล่น พูดเล่น, เล่น ๆ ก็ว่า.
  24. เล่นงาน : ก. กระทำเอา (มักใช้ในทางไม่ดี เช่นถูกดุด่าว่ากล่าว ทำร้าย เป็นต้น) เช่น ไข้ป่าเล่นงานเสียงอมแงม เจ้านายเล่นงาน ลูกน้องแต่เช้า ถูกเขาเล่นงานจนอาน.
  25. วปุ : (แบบ) น. ตัว, ร่างกาย. (ป., ส.).
  26. สกนธ์ : [สะกน] น. ขันธ์, กอง, ส่วนร่างกาย, ร่างกาย. (ส.; ป. ขนฺธ).
  27. สรีร, สรีระ : [สะรีระ] น. ร่างกาย. (ป.; ส. ศรีร).
  28. อุปธิ : [อุปะทิ] น. กิเลส, ความพัวพัน, เหตุแห่งการเวียนเกิด; ขันธ์ ๕, ร่างกาย. (ป., ส.).
  29. กาย, กาย- : [กายยะ-] น. ตัว เช่น ไม่มีผ้าพันกาย, และมักใช้เข้าคู่กับคํา ร่าง เป็น ร่างกาย, ใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส หมายความว่า หมู่, พวก, เช่น พลกาย = หมู่ทหาร. (ป., ส.).
  30. มูรดี, มูรติ : [มูระ-] น. ร่างกาย, รูป. (ส. มูรฺติ).
  31. สังขาร, สังขาร : [ขาน, ขาระ, ขานระ] น. ร่างกาย, ตัวตน, สิ่งที่ประกอบและปรุง แต่งขึ้นเป็นร่างกายและจิตใจรวมกัน, เช่น สังขารร่วงโรย สังขารไม่เที่ยง; ความคิด เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. (ป.; ส. สํสฺการ). ก. ตาย เช่น ถึงซึ่งสังขาร, ในบทกลอนใช้ว่า สังขาร์ ก็มี.
  32. กระง่องกระแง่ง : ว. อาการที่ร่างกายไม่แข็งแรง ทําให้เดินหรือเคลื่อนไหวไม่ถนัด, กระย่องกระแย่ง หรือ ง่องแง่ง ก็ว่า.
  33. กระดูก ๑ : น. โครงร่างกายมีลักษณะแข็ง, ส่วนใดส่วนหนึ่งของโครงร่างกาย; เรียกผลไม้ที่มีเนื้อน้อยเช่น มะปรางว่า มะปรางกระดูก.
  34. กระดูกสันหลัง : น. กระดูกที่อยู่ในแนวกึ่งกลางทางด้านหลังของ ลําตัว เป็นแกนของร่างกาย มีลักษณะเป็นข้อ ๆ ต่อกันเป็นแนวตั้งแต่ บริเวณคอต่อจนถึงบริเวณด้านหลังของทวารหนัก ทําหน้าที่ป้องกัน อันตรายให้แก่ไขสันหลัง, โดยปริยายหมายถึงส่วนที่สําคัญ, ส่วนที่เป็นพลังค้าจุน, เช่น ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ.
  35. กระเบนเหน็บ : น. ส่วนของร่างกายด้านหลังระดับบั้นเอว ตรงที่เหน็บชายกระเบน.
  36. กระย่องกระแย่ง : ว. อาการที่ร่างกายไม่เข็งแรง ทำให้เดินหรือเคลื่อนไหวไม่ถนัด, กระง่องกระแง่ง หรือ ง่องแง่ง ก็ว่า.
  37. กระษัย : [-ไส] น. ชื่อโรคตามตําราแพทย์แผนโบราณว่า ทําให้ร่างกาย ทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น, กษัย ก็ว่า. (ส. กฺษย ว่า โรคซูบผอม).
  38. กระษัยกล่อน : [-ไสกฺล่อน] น. ชื่อโรคตามตําราแพทย์แผนโบราณ ทําให้ร่างกายผอมแห้ง เกิดจากโรคกล่อน.
  39. กลั้น : [กฺลั้น] ก. บังคับความรู้สึกหรือสิ่งที่อยู่ภายใน ร่างกายไม่ให้แสดงออกหรือหลุดออกมา.
  40. กษัตริยชาติ : [กะสัดตฺริยะชาด] น. ชาติกษัตริย์ เช่น รู้แน่ว่าเป็น กษัตริยชาติ. (ม. ร่ายยาว สักบรรพ). [กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ผู้หญิง เช่น สมเด็จพระแก้วกษัตรี. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์); เจ้าผู้หญิง เช่น สองกษัตรีเจ้าหล้า แกล้วกว่าแกล้วใจกล้า กว่ากล้ากลัวอาย. (ลอ); สตรี เช่น จักเสื่อมสวัสดิ์กษัตรี. (กฤษณา). [กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น พินทุทัตกษัตรีย์. (สมุทรโฆษ); เจ้าผู้หญิง เช่น อันว่าพระมหาสัตว์แลกษัตรีย์. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). [กะสัดตฺรีสูน] (กลอน) น. กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ เช่น เจ้าไตรภพโลกเมาลีเป็นกษัตรีศูร. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ส. กฺษตฺร + อีศฺวร). [กะไส, กะไสยะ-] น. การสิ้นไป, การหมดไป, การเสื่อมไป, การน้อยไป; ชื่อโรคตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้ร่างกาย ทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น, เขียนเป็น กระษัย ก็มี. (ส. กฺษย).
  41. กษัย, กษัย- : [กะไส, กะไสยะ-] น. การสิ้นไป, การหมดไป, การเสื่อมไป, การน้อยไป; ชื่อโรคตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้ร่างกาย ทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น, เขียนเป็น กระษัย ก็มี. (ส. กฺษย).
  42. กอก ๑ : ก. ดูดเลือด หนอง หรือลมออกจากร่างกายหรือดูดเอาน้ำนม ออกจากเต้านมโดยใช้ถ้วย กระบอก ฯลฯ เป็นเครื่องดูด.
  43. ก้อร่อก้อติก : ว. แสดงอาการเจ้าชู้, ทําเป็นเจ้าชู้. น. ชนชาวเขาพวกหนึ่ง ในตระกูลทิเบต-พม่า มีอยู่ทาง แถบเหนือของไทย คล้ายพวกมูเซอ, อีก้อ ก็เรียก. (ถิ่น-พายัพ) น. ทับทิม เช่น ต้นก๊อ ว่า ต้นทับทิม. (พจน. ๒๔๙๓). ก. ดูดเลือด หนอง หรือลมออกจากร่างกายหรือดูดเอาน้ำนม ออกจากเต้านมโดยใช้ถ้วย กระบอก ฯลฯ เป็นเครื่องดูด. น. มะกอก. น. เครื่องเปิดปิดน้ำจากท่อหรือภาชนะ, หัวก๊อก ก็เรียก. (อ. cock). น. เรียกเปลือกต้นก่อชนิด Quercus suber L. ในวงศ์ Fagaceae ที่ใช้ทําจุกขวดและอื่น ๆ ว่า ไม้ก๊อก. ก. เกาะแกะ เช่น อย่ากอแกชาววังหลังจะลาย. ก. ทําให้รวมสุมกันไว้, สุมกันไว้. น. สิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันไว้เช่นนั้น เช่น กองมะม่วง กองฟืน, สิ่งต่าง ๆ ที่สุมกันไว้ เช่น กองขยะ; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น จำนวน ๔ หมวด เรียกว่า กองร้อย, ถ้าเป็นทหารหรือตำรวจหัวหน้าจะต้องมียศร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก หรือร้อยตำรวจเอก เรียกว่า ผู้บังคับกองร้อย หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้กอง เฉพาะตำรวจนิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สารวัตร; ส่วนราชการที่รองจากกรม. ว. ถ้ามีคํา เป็น ประกอบหน้า หมายความว่า มาก เช่น โตขึ้นเป็นกอง มากกว่าเป็นกอง.
  44. กังฟู : น. ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแบบหนึ่งของจีน เน้นหนักไป ในทางฝึกสมาธิและความแข็งแกร่งว่องไวของร่างกาย.
  45. กายกรรม : น. การทําทางกาย; การดัดตนเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง, การเล่นห้อยโหนโยนตัวเป็นต้น. (ส. กาย + กรฺม; ป. กาย + กมฺม).
  46. กายบริหาร : [กายบอริหาน] น. การบริหารร่างกาย, การออกกำลังกาย.
  47. กายวิภาคศาสตร์ : [-วิพากคะสาด] น. วิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาหนึ่ง ว่าด้วยเรื่องโครงสร้างของร่างกายโดยศึกษาเป็นส่วน ๆ. (อ. anatomy).
  48. กายาพยพ : [กายาพะยบ] น. ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น มือ เท้า. (ป., ส. กาย + อวยว).
  49. กายินทรีย์, กาเยนทรีย์ : น. ร่างกายซึ่งเป็นใหญ่ในการรับสัมผัส. (ป. กาย + อินฺทฺริย).
  50. กาฬ, กาฬ- : [กาน, กาละ-, กานละ-] น. รอยดําหรือแดงที่ผุดตามร่างกายคนเมื่อตายแล้ว. ว. ดํา, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส. (ป.).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-242

(0.1310 sec)