ทำเอาเจ็บ : (ปาก) ก. ทำให้เดือดร้อนลำเค็ญ, ทำเจ็บ หรือ ทำเสียเจ็บ ก็ว่า.
เจ็บ : ก. ป่วยไข้, ราชาศัพท์ว่า ประชวร; รู้สึกทางกายเมื่อถูกทุบตีหรือ เป็นแผลเป็นต้น.
ทำเสียเจ็บ : (ปาก) ก. ทำให้เดือดร้อนลำเค็ญ, ทำเจ็บ หรือ ทำเอาเจ็บ ก็ว่า.
ทำเจ็บ : (ปาก) ก. ทําให้เดือดร้อนลําเค็ญ, ทำเสียเจ็บ หรือ ทำเอาเจ็บ ก็ว่า.
ทำให้, ทำเอา : ก. เป็นเหตุให้ เช่น ทําให้เขาได้ไปเมืองนอก ทําเอา เขายํ่าแย่ไป.
เจ็บไข้, เจ็บป่วย : ก. ไม่สบายเพราะโรคหรือความไข้หรือเหตุอื่นที่ทํา ให้รู้สึกเช่นนั้น, เจ็บไข้ได้ป่วย ก็ว่า.
เจ็บแค้น : ก. ผูกใจเจ็บ.
เจ็บท้อง : ก. อาการเจ็บท้องเวลาจะคลอดลูก.
เจ็บช้ำน้ำใจ : ก. เจ็บใจ, สะเทือนใจ.
เจ็บท้องข้องใจ : (โบ) ก. เดือดเนื้อร้อนใจ. (จารึกพ่อขุนรามคำแหง).
เจ็บปวด : ก. รู้สึกเจ็บใจเพราะผิดหวัง.
เจ็บร้อน : ก. เป็นเดือดเป็นแค้น.
เจ็บแสบ : ก. รู้สึกเจ็บใจอย่างเผ็ดร้อน.
บาดเจ็บ : ว. มีบาดแผลทําให้เจ็บปวด.
หยิกเล็บเจ็บเนื้อ : (สำ) เมื่อกระทำความเดือดร้อนให้แก่คนใกล้ชิดก็จะมีผล กระทบถึงตัวผู้กระทำหรือคนในพวกเดียวกันด้วย เช่น ฟ้องร้องพี่น้อง กันเองเป็นการหยิกเล็บเจ็บเนื้อ.
แผลริมอ่อน : น. แผลที่อวัยวะสืบพันธุ์เนื่องจากเชื้อกามโรคชนิด Haemophilus ducreyi จะเกิดเป็นตุ่มขึ้นก่อน แล้วแตกเป็นแผล ลักษณะขอบแผลอ่อนคล้ายแผลเปื่อย เลือดออกง่าย เจ็บ และ บางครั้งต่อมนํ้าเหลืองบริเวณขาหนีบจะบวมโต.
ออดแอด, ออด ๆ แอด ๆ : ว. อาการที่บ่นไม่รู้จักจบ; อาการที่ป่วย อยู่บ่อย ๆ ในความว่า เจ็บออดแอด หรือ เจ็บออด ๆ แอด ๆ.
จบ ๑ : น. การสิ้นสุดคราวหนึ่ง ๆ, ลักษณนามเรียกการสิ้นสุดเช่นนั้น เช่น สวดจบหนึ่ง ตั้งนโม ๓ จบ. ก. สิ้นสุดคราวหนึ่ง ๆ เช่น จบชั้นไหน.
กบเต้นสลักเพชร : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า เจ็บเรียมห่าง จางรักให้ใจเรียมหวน.
กบเต้นสามตอน : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า เจ็บคําจําคิดจิตขวย.
กรม ๑ : [กฺรม] ก. ระทม, เจ็บอยู่ภายในเรื่อยไป, เช่น กรมใจ; กลัด เช่น กรมหนอง. [ข. กฺรุํ (กฺรม) ว่า ลำบาก เช่น กฺรุํจิต = ลำบากใจ], ตรม ก็ว่า.
กรอม ๒ : [กฺรอม] ว. ระทม, เจ็บช้ำอยู่ภายในเรื่อยไป, เช่น กรอมใจ.
กระทำ ๒ : ก. ใช้เวทมนตร์ทําให้ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นไปตามต้องการของตน มีให้รักหรือให้ป่วยเจ็บเป็นต้น เช่นว่า กระทํายําเยีย, การถูกเวทมนตร์เช่นนี้เรียกว่า ถูกกระทํา.
กระหม่อมบาง : (สํา) ว. เจ็บป่วยง่าย เช่น เขาเป็นคนกระหม่อมบาง ถูกน้ำค้างหน่อยก็เป็นหวัด, ขม่อมบาง ก็ว่า.
กำ ๓, กำม : (โบ) น. กรรม เช่น ไข้เจ็บหมอตั้งกําไว้, ท่านว่าเป็นกํามของเขาเอง. (อัยการเบ็ดเสร็จ).
กินเหล็กกินไหล : (สํา) ว. ทนต่อความเหน็ดเหนื่อย หรือความเจ็บปวดได้อย่างผิดปรกติ.
แก้เผ็ด : ก. ทําตอบแก่ผู้ที่เคยทําความเจ็บปวดให้แก่ตัวไว้เพื่อให้สาสมกัน.
ขม่อมบาง : (สํา) ว. เจ็บป่วยง่าย เช่น เขาเป็นคนขม่อมบาง ถูกนํ้าค้างหน่อย ก็เป็นหวัด, กระหม่อมบาง ก็ว่า.
ขัดยอก : ก. เคล็ดและรู้สึกเจ็บปวด.
เขยก : [ขะเหฺยก] ก. อาการที่เดินหรือวิ่งด้วยปลายเท้าอย่างคนเท้าเจ็บ, อาการ ที่เดินหรือวิ่งเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งอย่างคนขาพิการ.
ไข้ : น. ความเจ็บป่วย เช่น ไข้จับสั่น ไข้ทรพิษ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่; อาการ ที่มีอุณหภูมิของร่างกายผิดจากระดับปรกติเนื่องจากความเจ็บป่วย. (อ. fever, pyrexia, pyrexy).
คนไข้ : น. ผู้ป่วย, ผู้บาดเจ็บ.
คราง ๑ : [คฺราง] ก. ร้องเบา ๆ เรื่อย ๆ ด้วยความเจ็บปวดหรือเสียใจ, มักใช้เข้าคู่ กับคำ ครวญ เป็น ครวญคราง; ร้องเสียงลากยาว ๆ อย่างเสียงฟ้าร้อง เช่น อัมพรอุทรคราง เรียมคร่ำ ครวญแม่. (นิ. นรินทร์).
ครุ่น : [คฺรุ่น] ว. บ่อย ๆ เช่น เจ็บปวดครุ่นไปไข้ชราถอยกำลังวังชาลงทุกปี. (สังข์ทอง), ซ้ำ ๆ, รํ่าไป, เช่น ครุ่นแค้น.
คลำป้อย : ก. อาการที่คลำและลูบแล้ว ๆ เล่า ๆ ตรงที่เจ็บ.
คางเหลือง : (สํา) ว. ป่วยหรือบาดเจ็บมากจนแทบเสียชีวิต, มักใช้ว่า ไม่ตายก็คางเหลือง.
ค่าทดแทน : (กฎ) น. เงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิ สำหรับ การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหายของลูกจ้าง.
คิลาน-, คิลานะ : [คิลานะ-] น. คนเจ็บ. (ป.).
คิลานปัจจัย : น. ปัจจัยสําหรับคนไข้, วัตถุเป็นเครื่องอาศัยของผู้เจ็บไข้, ยารักษาโรค. (ป.).
คุมแค้น : ก. ผูกใจเจ็บและคิดอยากแก้แค้น, เก็บเอาความแค้นเข้าไว้.
โคม่า : น. ภาวะหมดสติขั้นรุนแรง เกิดจากโรค การบาดเจ็บ ยาพิษ. (อ. coma).
งอมแงม : ว. เลิกได้ยาก เช่น ติดฝิ่นงอมแงม, แก้ได้ยาก, รักษาได้ยาก, เช่น เจ็บงอมแงม.
ง่ามถ่อ : น. ไม้ที่มีรูปร่างโค้งคล้ายง่ามมือที่เสียบปลายถ่อเอาไว้สำหรับให้ หัวไหล่ดันถ่อได้ถนัด มักจะใช้ผ้าพันเพื่อกันไม่ให้ไหล่เจ็บ, เหล็กที่มีรูปร่าง โค้งคล้ายเขาควาย มีปลอกอัดที่โคนถ่อ ใช้สำหรับตู๊เรือหรือสำหรับกดลง ในดินเพื่อไม่ให้โคนถ่อจมลึกลงไป, ลักษณะหัวที่มีผมเถิกเข้าไปเป็น ๒ แฉกเหมือนง่ามถ่อ.
จบ ๒ : ก. ยกของขึ้นหรือพนมมือเหนือหน้าผากเพื่อตั้งใจอุทิศให้เวลาทำบุญทำทาน; กิริยาที่ช้างชูงวงขึ้นเหนือหัวทําความเคารพ ในคำว่า ช้างจบ.
จบ ๓ : ก. ต่อกัน, พบกัน, เช่น จับปลายเชือก ๒ เส้นมาจบกัน.
จ๊อก : ว. เสียงร้องของไก่เมื่อเวลาเจ็บหรือใกล้จะตาย, เสียงร้องของไก่ชนตัวที่แพ้, โดยปริยายหมายความว่า ยอมแพ้, ใช้ตามสํานวนนักเลงไก่ เพราะไก่ตัวใด ร้องจ๊อก ก็แสดงว่าไก่ตัวนั้นแพ้; เสียงท้องร้องเวลาหิว, จ๊อก ๆ ก็ว่า.
จองล้างจองผลาญ : ก. ผูกใจเจ็บคิดจะทำการแก้แค้นให้ได้.
ใจแข็ง : ว. ไม่ยอมง่าย ๆ, ไม่รู้สึกสงสาร, อดกลั้นความเจ็บปวดหรือ ทุกข์โศกไว้ได้.
ชำงือ : (โบ) ก. คิดเป็นทุกข์, วิตก, ป่วย, เป็นไข้, เป็นโรค, เช่น ตาชุ่มชื่นชํางือใจ. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ข. ชํงื ว่า ความไข้, ออกจาก; ฌื ว่า เจ็บ, ไข้).
เซซัง : ว. อาการที่เดินซวนเซไปไม่ตรงเหมือนคนเจ็บหรือคนไร้ที่พึ่ง.