ทำไม : ว. เพราะเหตุไร, เพราะอะไร, เพื่ออะไร. ก. ทําอะไร เช่น ฉันจะทํา อย่างนี้ ใครจะทําไม.
กระไร : ว. อะไร เช่น เขาไม่ว่ากระไร, อย่างไร เช่น จะทำกระไรดี, เท่าไร เช่น ถูกปรับเพียง ๑๐๐ บาทก็ไม่กระไรนัก, ทำไม, ไฉน, เช่น ข้าแต่นเรศูรสมเด็จพระบิดาเจ้าข้าเอ่ย กระไรเลยไม่ปรานี. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
ไฉน ๑ : [ฉะไหฺน] ว. ฉันใด, เช่นไร, อย่างไร, เช่น เป็นไฉน, ทำไม, เหตุใด, เช่น ไฉนจึงไม่มาให้ทันเวลา.
ว่าไปทำไมมี : ก. พูดไปก็เสียเวลาเปล่า ๆ เช่น ว่าไปทำไมมี เมื่อก่อนก็ไม่มีสมบัติอะไรติดตัวอยู่แล้ว; ใช้เป็นคำขึ้นต้นประโยค หมายความว่า อันที่จริง เช่น ว่าไปทำไมมี เราคนกันเองทั้งนั้น.
กะเตง : ก. พาหรือเอาไปด้วย เช่น จะกะเตงกระเป๋าไปให้เกะกะทำไม กะเตงลูกไปตามหาพ่อ.
ควักค้อน : [คฺวัก-] (กลอน) ก. ค้อนจนหน้าควํ่า เช่น ขืนจะมาควักค้อนค่อนว่า เงาะของข้าเคยใส่ทำไมสิ. (สังข์ทอง), ค้อนควัก ก็ว่า.
พ่อเจ้าประคุณ : คำเรียกแสดงความรักใคร่หรือประชดประชัน แล้วแต่น้ำเสียง (ใช้แก่ผู้ชาย) เช่น โถ! พ่อเจ้าประคุณของย่า เจ็บไหม ทำไมไม่นอนที่โรงละครเลยล่ะพ่อเจ้าประคุณ.
มืด : ว. ขาดแสงสว่าง เช่น เดือนมืด, มีแสงสว่างน้อย เช่น ไม่ควรอ่าน หนังสือในที่มืด เพราะจะทำให้เสียสายตา, โดยปริยายหมายความว่า เหลือรู้เหลือเห็น เช่น มือมืด. น. เวลาใกล้ฟ้าสาง เช่น ตื่นแต่มืด; ค่ำ เช่น มืดแล้วทำไมไม่เปิดไฟ.
เยาะ : ก. พูดหรือแสดงกิริยาให้เจ็บใจชํ้าใจ โดยย้ำถึงความเสียเปรียบ ความ ด้อยกว่า หรือความผิดพลาด เช่น เยาะว่า ไหนว่าเก่งนัก ทำไมสอบตก.
รีรอ : ก. ชักช้า, ลังเลใจ, เช่น มัวรีรออยู่ทำไม กินโดยไม่รีรอ.
แล้วไปแล้ว : ว. สิ้นสุดแล้ว เช่น เรื่องมันแล้วไปแล้ว เอามาพูดทำไมอีก. แล้วไม่รู้จักแล้ว, แล้วไม่รู้แล้ว ว. ซ้ำ ๆ ซาก ๆ, ร่ำรี้ร่ำไร, เช่น พูดแล้ว ไม่รู้จักแล้ว บ่นอยู่นั่นแหละ แล้วไม่รู้แล้ว.
แล้ว
เล่า, แล้ว ๆ เล่า ๆ ว. ทําแล้วทําอีกอยู่นั่นเอง เช่น พูดแล้ว พูดเล่า กินแล้วกินเล่า ทําแล้ว ๆ เล่า ๆ ไม่รู้จักเสร็จ.
สะกิดสะเกา : ก. สะกิดบ่อย ๆ, โดยปริยายหมายถึงพูดหรือทำให้ กระทบใจบ่อย ๆ เช่น เรื่องนี้จบไปแล้วจะสะกิดสะเกาขึ้นมาทำไม.
อ้าขาผวาปีก, อ้าขาพวาปีก : (สำ) ก. หาเรื่องมาเป็นภาระของตนโดย ไม่จำเป็น เช่น เขามีฐานะยากจนอยู่แล้วยังจะอ้าขาผวาปีกไปขอเด็ก มาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรมอีก งานก็มากอยู่แล้ว ทำไมจะต้องอ้าขาพวาปีก ไปรับงานอื่นมาอีก.