Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ทิพ , then ทพ, ทิพ, ทิพา, ทิว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ทิพ, 29 found, display 1-29
  1. ทิพ, ทิพ- : [ทิบ, ทิบพะ-] น. สวรรค์, ชั้นฟ้า, เทวโลก; วัน. (ป., ส. ทิว). ว. เป็นของเทวดา เช่น ทิพสมบัติ. (ป. ทิพฺพ; ส. ทิวฺย).
  2. ทิพจักขุ : [ทิบพะจักขุ] น. ตาทิพย์ คือ จะดูอะไรเห็นได้ทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ป. ทิพฺพจกฺขุ; ส. ทิพฺยจกฺษุ).
  3. ทิพ : (แบบ) น. วัน.
  4. ทิพย-, ทิพย์ : [ทิบพะยะ-, ทิบ] ว. เป็นของเทวดา เช่น อาหารทิพย์, ดีวิเศษอย่าง เทวดา เช่น ตาทิพย์ หูทิพย์, ดีวิเศษเหนือปรกติธรรมดา เช่น เนื้อทิพย์, ใช้ว่า ทิพ ก็มี. (ส. ทิวฺย; ป. ทิพฺพ).
  5. ทิว- ๓, ทิวะ : [ทิวะ-] น. วัน; สวรรค์, ชั้นฟ้า, เทวโลก, เช่น ทิวงคต คือ ไปสู่ เทวโลก หมายถึง ตาย. (ป., ส.).
  6. กรัณฑ-, กรัณฑ์ : [กะรันทะ-, กะรัน] (แบบ) น. ตลับ, หีบ, หม้อ, เช่น รัตนกรัณฑ์ = ตลับเพชร. (สังโยคพิธาน), กรัณฑรัตน. (ยวนพ่าย), กรัณฑขลังขังน้าทิพมุรธา ภิเษกท่าน. (ราชาภิเษก ร. ๗). (ดู กรณฑ์๑).
  7. จระลิ่ง, จระลึง : [จะระ-] (กลอน) ก. ตะลึง เช่น จระลิ่งทางทิพห้อง แห่งองค์. (ทวาทศมาส).
  8. ฉิน ๒ : (กลอน) ว. ฉัน, เช่น, คล้าย, เหมือน, เช่น ทิพฉายฉวงฉินฉัตร ใบชรอัด อรชร. (ม. คำหลวง วนประเวสน์).
  9. ทิว ๑ : น. แถวหรือแนวแห่งสิ่งที่ติดเนื่องกันไปยาวยืด เช่น ทิวเขา ทิวไม้.
  10. วิชชา : [วิด] น. ความรู้แจ้ง เช่น วิชชา ๓ วิชชา ๘ ในพระพุทธศาสนา, วิชชา ๓ คือ ๑. บุพเพนิวาสานุสติญาณ (รู้จักระลึกชาติได้) ๒.จุตูปปาตญาณ(รู้จักกําหนดจุติและเกิด) ๓. อาสวักขยญาณ (รู้จักทํา อาสวะให้สิ้น), ส่วนวิชชา ๘ คือ ๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณอันนับเข้า ในวิปัสสนา) ๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) ๓. อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ได้) ๔. ทิพโสต (หูทิพย์) ๕. เจโตปริยญาณ (รู้จักกําหนดใจผู้อื่น) ๖. บุพเพนิวาสานุสติญาณ ๗. ทิพจักขุ (ตาทิพย์) ๘. อาสวักขยญาณ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).
  11. อภิญญา, อภิญญาณ : [อะพินยา, อะพินยาน] น. ''ความรู้ยิ่ง'' ในพระพุทธศาสนามี ๖ อย่าง คือ ๑. อิทธิวิธิ การแสดงฤทธิ์ได้ ๒. ทิพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ ญาณรู้จักกําหนดใจผู้อื่น ๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้ ๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ ญาณรู้จักทําอาสวะให้สิ้นไป. (ป.; ส. อภิชฺ?า, อภิชฺ?าน).
  12. ทิว ๒ : น. ชื่อธงที่มีรูปลักษณะคล้ายกระบอก, เทียว ก็ว่า.
  13. ทิวส-, ทิวสะ : [ทิวะสะ] (แบบ) น. วัน. (ป., ส.).
  14. ธงทิว, ธงเทียว : น. ธงที่มีรูปลักษณะคล้ายกระบอก.
  15. เทียว ๓ : น. ชื่อธงที่มีรูปลักษณะคล้ายกระบอก, ทิว ก็ว่า.
  16. ทิวทัศน์ : [ทิวทัด] น. ลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฏเห็นตามธรรมชาติ เช่น ทิวทัศน์ทุ่งนา ทิวทัศน์ป่าเขา ทิวทัศน์ทางทะเล, เรียกภาพเขียน หรือภาพถ่ายจากทิวทัศน์ว่า ภาพทิวทัศน์.
  17. จรลิ่ว : [จอระ-] (กลอน) ก. เที่ยวไปไกล, ลอยไป, เช่น เหลียวแลทางจรลิ่ว เหลียวแลทิวเทินป่า. (ลอ).
  18. ช่องเขา : น. เส้นทางที่ใช้เป็นทางข้ามจากทิวเขาด้านหนึ่งไป ยังอีกด้านหนึ่ง, ช่องที่อยู่ในระหว่างเขา ๒ ลูก.
  19. ตรีทิพ : น. สวรรค์ชั้นดาวดึงส์, สวรรค์ชั้นที่ ๒ หรือชั้นวิเศษสุด, สวรรค์ทั่วไป, เรียก ไตรทิพ หรือ ไตรทิพย์ ก็ได้. (ส. ตฺริทิว).
  20. แนวป่า : น. ชายป่าที่เห็นเป็นทิวยาวไป.
  21. บรรพตชาล : (แบบ) น. เทือกเขา, แนวเขา, ทิวเขา. (ส. ปรฺวต + ชาล).
  22. บรรพตมาลา : (แบบ) น. เทือกเขา, แนวเขา, ทิวเขา. (ส. ปรฺวต + มาลา).
  23. ประสิทธิภาพ : [ปฺระสิดทิพาบ] น. ความสามารถที่ทําให้เกิดผลในการงาน.
  24. พนขัณฑ์ : [พะนะ] น. ทิวไม้, แนวป่า, ราวป่า, ราวไพร. (ส.วนขณฺฑ; ป. วนสณฺฑ).
  25. พนาสณฑ์, พนาสัณฑ์ : น. ราวป่า, แนวป่า, ทิวไม้, ป่าสูง, ป่าดง, วนาสณฑ์ หรือ วนาสัณฑ์ ก็ว่า.
  26. ไร ๆ : ว. อาการที่มองเห็นอยู่ไกลลิบ ๆ ไม่ชัด เช่น เห็นทิวไม้อยู่ไร ๆ; เริ่ม นึกออกได้เล็กน้อย เช่น เรื่องที่มาปรึกษานึกเห็นทางออกได้ไร ๆ, รำไร ก็ว่า.
  27. วนาสณฑ์, วนาสัณฑ์ : น. ราวป่า, แนวป่า, ทิวไม้, ป่าสูง, ป่าดง, พนาสณฑ์ หรือ พนาสัณฑ์ ก็ว่า. (ป. วนสณฺฑ; ส. วน + ขณฺฑ, วน + ษณฺฑ).
  28. สันเขา : น. ส่วนสูงของภูเขาที่ยาวเป็นทิวพืดไป.
  29. สันปันน้ำ : น. แนวสันเขาหรือสันเนินซึ่งเป็นแนวเขตแบ่งระหว่างลุ่มน้ำ, สันเขาหรือบริเวณที่สูงซึ่งแบ่งนํ้าให้ไหลไปลงแม่นํ้าลําธารที่อยู่แต่ละ ด้านของสันเขาหรือบริเวณที่สูงนั้น มักปรากฏเป็นแนวตอนบนสุดของ ทิวเขาซึ่งแบ่งเขตระหว่างลุ่มนํ้าที่มีทิศทางการไหลตรงข้ามกัน.
  30. [1-29]

(0.0642 sec)