ทุก ๑, ทุก ๆ : ว. แต่ละหน่วย ๆ ของจํานวนทั้งหมด, ทั้งหมดโดยหมายแยกเป็น หน่วย ๆ, เช่น คนที่เกิดมาแล้วมีปัญญาด้วยกันทุกคน แต่ทุกคนมี ปัญญาไม่เท่ากัน ทุก ๆ คนจะต้องช่วยเหลือกัน.
ทุก- ๓, ทุกะ : [ทุกะ-] (แบบ) น. หมวด ๒. (ป.).
ทุก ๒ : ดู ค้าว.
ทุกฏ : [ทุกกด] (แบบ) น. ความชั่ว; ชื่ออาบัติจําพวกหนึ่งในอาบัติ ทั้ง ๗. (ป. ทุกฺกฏ).
ทุกเมื่อ : ว. ทุกขณะ, ทุกเวลา, ตลอดเวลา, เสมอ, เมื่อใดก็ได้.
ทุกหย่อมหญ้า : ว. ทุกหนทุกแห่ง.
ทุกหัวระแหง : ว. ทุกแห่งหน.
ทุกเมื่อเชื่อวัน : ว. ตลอดเวลาไม่ว่างเว้น.
ทุกวันนี้ : ว. ขณะนี้, ในปัจจุบันนี้.
ทุกสิ่งทุกอย่าง : ว. ทั้งหมด.
ทั่วทุกสารทิศ, ทั่วทุกหัวระแหง : ว. ทั่วทุกหนทุกแห่ง.
ทุกวี่ทุกวัน : (ปาก) ว. ทุกวัน เช่น พูดกรอกหูอยู่ทุกวี่ทุกวัน.
ทุกหนทุกแห่ง, ทุกแห่ง : ว. ทุกที่ทุกทาง, ทุกตําบล.
บราทุกรา : [บะราทุกฺรา] (โบ; กลอน) น. รองเท้า. (ป., ส. ปาทุกา).
ปราทุกรา : [ปฺราทุกฺรา] (กลอน) น. ปาทุกา, รองเท้า. (ป., ส. ปาทุกา).
ทก ๑ : (โบ) ว. ทุก เช่น ทกพวก ทกพาย.
จตุรงคยมก : [จะตุรงคะยะมก] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ ทุก ๆ ๒ บทให้ใช้ภาษาบาลีแต่งวรรคแรกทั้งวรรค และวรรคที่ ๒ เฉพาะ จังหวะแรก ตัวอย่างว่า ภุมมาจายันตุเทวา ภุมมะจาเจ้าที่บดีสูร อารักษ์เรือง ฤทธิ์เดชเกษสกูล อันเรืองรูญรังษีระวีวร. (ชุมนุมตำรากลอน).
ทุกข-, ทุกข์ : [ทุกขะ-, ทุก] น. ความยากลําบาก, ความไม่สบายกายไม่สบายใจ. (ป.; ส. ทุะข).
สบ : ก. พบ, ปะ, เช่น สบโชค สบตา สบเหมาะ ฟันบนสบฟันล่าง, ถูก, ต้อง, เช่น สบใจ สบปาก สบอารมณ์. น. บริเวณที่แม่นํ้าตั้งแต่ ๒ สาย ขึ้นไปมาบรรจบกัน เช่น สามสบ คือบริเวณที่ แม่น้ำบีคี่ใหญ่ ห้วย ซองกะเลีย และแม่น้ำรันตี รวม ๓ สาย มาสบกัน แล้วไหลลงสู่แม่น้ำ แควน้อย. ว. ทุก ๆ, เสมอ, เช่น สบไถง ว่า ทุกวัน, สบสมัย ว่า ทุกสมัย. (ข.).
ทุกร- : [ทุกกะระ-] (แบบ) น. สิ่งที่ทําได้ยาก. (ป. ทุกฺกร).
ทุกษดร : [ทุกสะดอน] (โบ; กลอน) ว. ทุกข์ยิ่งกว่า. (ป. ทุกฺขตร).
ทุคตะ : [ทุกคะตะ] ว. ยากจน, เข็ญใจ. (ป. ทุคฺคต ว่า ถึงความยากแค้น).
ทุคติ : [ทุกคะติ] น. ภูมิที่ถือว่าไปเกิดแล้วมีความทุกข์ความลําบาก, นรก. (ป. ทุคฺคติ).
กฎ : [กด] (โบ) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปาก หลากคําไว้. (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชา ให้กฎเป็นตําราไว้. (อัยการเบ็ดเสร็จ), ''พระมหาธรรมราชาก็ตรัส ให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย.'' (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด). น. คําบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราช เจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทําตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ. (พ.ศ. ๑๑๓๖); (กฎ) ข้อกําหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น กฎกระทรวง กฎหมาย; (วิทยา) ข้อกําหนดในเรื่องธรรมชาติ ตามที่ค้นคว้าได้. (อ. law).
กรสาปน, กรสาปน์ : [กฺระสาบ] (แบบ) น. กระษาปณ์ เช่น แลพราหมณ์น้นนได้ทอง ร้อยกรสาปน เปนลาภด้วยเดอรขอทานทุกวันวารแก่มหาชน ทงงหลายบมิขาดเลย. (ม. คําหลวง ชูชก). (ส. การฺษาปณ).
กระโฉม : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Limnophila rugosa Merr. ในวงศ์ Scrophulariaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ลําต้นและกิ่งอวบน้ำ สีม่วง ใบรูปไข่ ค่อนข้างหนา ด้านล่างมีขนขอบหยักห่าง ๆ ก้านใบแบน ๆ โคนก้านโอบกิ่งหรือลําต้น ดอกเล็ก ๆ สีม่วงแกม ชมพู กลางเหลือง ออกเป็นกระจุกที่ง่ามใบหรือปลายกิ่ง ทุกส่วน ของไม้นี้มีกลิ่นหอม ใช้เป็นอาหาร และใช้ทํายาได้, ผักโฉม ก็เรียก เช่น ผักโฉมชื่อเพราะพร้อง เป็นโฉมน้องฤๅโฉมไหน. (เห่เรือ).
กระตร้อ : (โบ) น. เครื่องดับไฟสานเป็นรูปตะกร้อพันผ้าชุบน้ำ มีด้ามยาว สําหรับดับและคลึงลูกไฟที่มาติดหลังคา ผู้ดับนั่งบนอกไก่หลังคา เช่น ให้ตรวจเอาพร้าขอกระตร้อน้ำ จงทุกที่พนักงานให้สรัพไว้. (สามดวง), ตะกร้อ ก็เรียก.
กระทด : (โบ) ว. คด, ไม่ตรง, เช่น คอกระทดคดคอดหยัก รวดท้าย. (ตําราช้างคําโคลง), ไม้กระทดกระทําทอน ทุกที่ กงนา. (โลกนิติ).
กระทรวง ๑ :
[-ซวง] น. หมู่, พวก, เช่น ทุกหมวดทุกกระทรวงทรง ฤทธิเรื้อง. (ยอพระเกียรติกรุงธน), ชนิด, อย่าง, เช่น อนึ่งนั้นอุเบกขาว่าเพ่งเฉย คือแหวกเลยสุขทุกข์อาลัยห่วง ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขสิ้นทั้งปวง สามกระทรวงนี้เป็นชื่อเวทนา. (ปกีรณําพจนาดถ์), แบบ, อย่าง, กระบวน, เช่น ส่วนองค์พระอัยกาก็ทรงพาหนะหัสดินทร กรินทรราชเป็นทัพหลวงตามกระทรวงพยุหยาตรา. (ม. ร่ายยาว มหาราช), โดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป. (สามดวง), ผจญคนกลิ้งกลอกกลับหลอกลวง เอากระทรวงสัตย์ ซื่อให้เสื่อมเท็จ. (สุ. สอนเด็ก). (ดู กระซุง).
กระทุงเหว : น. ชื่อปลาผิวน้ำทุกชนิดในวงศ์ Belonidae และ Hemirhamphidae ลําตัวกลมยาวคล้ายปลาเข็ม กระดูกปากทั้งตอนบนและล่างหรือ เฉพาะตอนล่างยื่นยาวแหลม หางเป็นแฉก บ้างก็ตัดเฉียงลงมาก น้อยหรือกลมแล้วแต่ชนิดหรือสกุล บางชนิดพบอาศัยอยู่ในน้าจืด เช่น กระทุงเหวเมือง (Xenentodon cancila) ส่วนใหญ่พบใน เขตน้ำกร่อยหรือชายทะเล เช่น ชนิดในสกุล Hemirhamphus, Hyporhamphus, Rhynchorhamphus, Tylosurus, Strongylura และ Zenarchopterus ชนิดที่พบในทะเลห่างฝั่งและบริเวณรอบเกาะ คือ กระทุงเหวบั้ง (Ablennes hians) ซึ่งมีชุกชุมที่สุด, เข็ม ก็เรียก.
กระแบ่ : (โบ) น. กระบิ, ชิ้น, ส่วน, เช่น เราจะให้บั่นให้แล่ ทุกกระแบ่จงหนําใจ. (ลอ), ทุกกระแบ่เนื้อเห็นเปล่าเลย. (ม. คําหลวง กุมาร), กระแบะ ก็ว่า.
กระยา : น. เครื่อง, สิ่งของ, เครื่องกิน, เช่น เทียนธูปแลประทีปชวาลา เครื่องโภชนกระยา สังเวยประดับทุกพรรณ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง ของเก่า ครั้งกรุงเก่า), เขียนเป็น กรยา ก็มี เช่น พระไพรดมานโฉม นุบพิตรแลงผอง มนตรอัญสดุดิยฮอง กรยานุถกลทาบ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ขุนเทพกะวีแต่ง).
กระสง : น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Channa lucius ในวงศ์ Channidae รูปร่างคล้ายปลาช่อนซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่หัวแหลมกว่าและ แอ่นงอนขึ้นเล็กน้อย มีลายพาดขวางลําตัวข้างละ ๗-๑๒ แถบ ทุกครีบมีจุดประหรือริ้วสีดํา.
กระสาย : น. เครื่องแทรกยา เช่น น้ำเหล้า. (ส. กษาย ว่า ยาที่เคี่ยวเอาแต่ ๑ ใน ๔ ส่วน; ในทมิฬใช้ในความหมายว่า เป็นเครื่องแทรกยา ทุกชนิด ตามปรกติเป็นน้ำ). ว. ใช้เข้าคู่กับคำ กระเส็น เป็น กระเส็นกระสาย.
กระสือ ๒ : น. (๑) ชื่อเรียกเห็ดหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ที่เรืองแสง ได้ในเวลากลางคืน อาจเรืองแสงเฉพาะบางส่วนหรือทุกส่วน มีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด เช่น ชนิด chlorosplenium aeruginascens (Nyl.) Karst. เรืองแสงสีเขียวในระยะเกิดสปอร์. (๒) ชื่อว่าน ชนิดหนึ่ง ต้นและหัวคล้ายขมิ้นอ้อย สีขาว ฉุนร้อน ตามตํารากบิลว่านว่า เมื่อหัวแก่มีธาตุปรอทลงกิน มีพรายเป็นแสง แมงคาเรืองในเวลากลางคืน ถือกันว่ามีสรรพคุณอยู่คง แต่เป็นกายสิทธิ์ ชอบไปเที่ยวหากินของโสโครก และเข้าสิงกินคนดั่งกระสือ หรือปอบ แล้วบอกชื่อเจ้าของว่านที่ปลูกนั้นว่า เป็นตัวกระสือ หรือผีปอบ ทําให้ขายหน้าจึงไม่ค่อยมีใครกล้าปลูก.
กฤตยา ๒, กฤติยา : [กฺริดตะ-, กฺริดติ-] น. การใช้เวทมนตร์, เสน่ห์, อาถรรพณ์, เช่น มนตร์กฤตยานั้นซั้น เสื่อมสิ้นทุกอัน. (โลกนิติ), หาแม่มดถ้วนหน้า หมู่แก้ กฤติยา. (ลอ).
กะตัก : น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Encrasicholina และ Stolephorus ในวงศ์ Engraulidae รูปร่างยาว กลม หรือแบนข้างเล็กน้อยแล้วแต่ชนิด ปากกว้าง ที่สันท้องระหว่าง ครีบท้องและครีบก้นมีหนามแหลม ๒-๗ อัน ข้างลําตัวมีสีเด่นเป็น เพียงแถบสีเงินพาดตลอดตามยาว มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ฝั่ง อาจคละกันหลายชนิด, หัวอ่อน ไส้ตัน เส้นขนมจีน หัวไม้ขีด มะลิ เก๋ย เรียกปะปนกันระหว่างชนิด หรือต่างกันตามท้องถิ่นที่จับ.
กัจฉปะ : [กัดฉะปะ] (แบบ) น. เต่า เช่น หมู่มัจฉกัจฉปะทุกสิ่งสรรพ์. (ม. ร่ายยาว จุลพน). (ป., ส.).
การ์ตูน ๒ : น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Amphiprion วงศ์ Pomacentridae ลําตัวสั้นและแบนข้าง สีเหลือง แสด หรือแดง บางชนิดมีส่วนบนรวมทั้งครีบหลังดําคล้ำ มักมีแถบ สีขาวเด่นพาดขวางบนหัวและลําตัว ๑-๒ แนว แล้วแต่ชนิด หรือขนาด พบอาศัยตามแนวปะการัง โดยเฉพาะอยู่กับ ดอกไม้ทะเลในลักษณะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน.
การเวก ๒ : [การะ-] น. ชื่อนกในวงศ์ Paradisaeidae มีหลายสกุล หลายชนิด ทุกชนิดมีสีสันสวยงามพบเฉพาะในเกาะนิวกินี เกาะใกล้เคียง และตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย ที่รู้จักกันมากที่สุด คือ ชนิด Paradisaea apoda.
กำนัด : [กำหฺนัด] (โบ) ก. กําหนัด เช่น พิศเพี้ยนพระพนิดาทุกขานลกํานัด ดัดรัตนธารี มาดู. (สมุทรโฆษ).
กำลังใจ : น. สภาพของจิตใจที่มีความเชื่อมั่นและกระตือรือร้น พร้อมที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ทุกอย่าง.
กินแถว : ก. เอาตัวหมากออกจากกระดานตลอดทั้งแถว (ใช้เฉพาะการเล่นหมากแยก). ว. กระทบกระเทือนทุกคนในพวกนั้น, ถูกลงโทษทุกคนในพวกนั้น.
กุระ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Sapium indicum Willd. ในวงศ์ Euphorbiaceae ขึ้นตามที่ลุ่มน้ำขังและริมคลองน้ำกร่อย ทุกส่วนมียางขาว ผลกลม แก่จัดแยกออกเป็น ๓ ซีก, สมอทะเล ก็เรียก.
แก่ ๑ : ว. มีอายุมาก เช่น แก่ไปทุกวัน ไม้แก่ เด็กคนนี้แก่กว่าเด็กคนนั้น, อยู่ในวัยชรา เช่น คนแก่ หญิงแก่, จัด เช่น เหลืองแก่ แก่เปรี้ยว แก่หวาน; โดยปริยายหมายความว่า จัดเจน หนัก หรือยิ่งไปในทางนั้น เช่น แก่สังคม แก่วิชา แก่เหล้า แก่เล่น แก่ไฟ.
ข้างเงิน : น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Allanetta และ Stenatherina วงศ์ Atherinidae ลําตัวค่อนข้างกลมยาว หัวโต เกล็ดใหญ่และแข็ง ข้างลําตัวมีสีเด่นเป็นเพียงแถบสีเงินเหลือบนํ้าเงินพาดตลอดตามยาว อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ผิวนํ้าชายฝั่ง, หัวแข็ง หรือ หัวตะกั่ว ก็เรียก.
ขายหน้าวันละห้าเบี้ย : (สํา) ก. ทําให้ต้องอับอายขายหน้าอยู่ทุกวัน.
ข้าวข้า : น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดินชนิด Euphorbia sessiflora Roxb. ในวงศ์ Euphorbiaceae สูงประมาณ ๒๐ เซนติเมตรต้นและใบอวบนํ้า เส้น กลางใบด้านล่างเป็นสันแหลม ทุกส่วนมียางขาว หัวใช้ทํายาได้, ว่านพระฉิม ก็เรียก, เขียนเป็น เข้าค่า ก็มี.
ขี้ขม : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Osteochilus hasselti ในวงศ์ Cyprinidae เกล็ด ข้างตัวมีจุดสีดําจนเห็นเรียงกันเป็นลายตามยาว ๖-๘ เส้น ที่โคนครีบ หางมีจุดสีดําใหญ่ ครีบต่าง ๆ สีแดงส้ม เฉพาะครีบอกสีเขียวอ่อน พบทั้งในแหล่งนํ้านิ่งและนํ้าไหลทั่วทุกภาคของประเทศไทย ขนาดยาว ได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร, ซ่าสร้อยนกเขา นกเขา หรือ พรหมหัวเหม็น ก็เรียก.
ขี้คร้าน : ก. เชื่อว่าเป็นเช่นนั้น เช่น พอยอเข้าหน่อยขี้คร้านจะทำให้ทุกอย่าง.