Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ทุน , then ทน, ทุน, ทูน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ทุน, 137 found, display 1-50
  1. ทุน : น. ของเดิมหรือเงินเดิมที่มีไว้ ลงไว้ กําหนดไว้ จัดตั้งไว้ เพื่อ ประโยชน์ให้งอกงาม เช่น มีความรู้เป็นทุน มีเงินเป็นทุน; เงินหรือ ทรัพย์สินอื่น ๆ ที่ตั้งไว้สําหรับดําเนินกิจการเพื่อหาผลประโยชน์.
  2. ทุนทรัพย์ : [ทุนซับ, ทุนนะซับ] น. ทรัพย์ที่เป็นทุน, จํานวนทรัพย์
  3. ทุนจดทะเบียน : (กฎ) น. จํานวนเงินทุนของบริษัทที่ได้จดทะเบียน ไว้ตามกฎหมายและได้กําหนดไว้ในหนังสือบริคณฑ์สนธิของบริษัท โดยแยกออกเป็นหุ้นพร้อมทั้งระบุมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ และจํานวน สูงสุดของหุ้นที่จะออกจําหน่ายได้. (อ. authorized capital).
  4. ทุนเรือนหุ้น : (กฎ) น. ทุนจดทะเบียนของบริษัทซึ่งแบ่งออกเป็นหุ้น มีมูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กัน. (อ. capital stock).
  5. เข้าทุน : ก. รวมทุนกันเพื่อทํากิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
  6. บริษัทเงินทุน : (กฎ) น. บริษัทจำกัดที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบ ธุรกิจการจัดหามาซึ่งเงินทุน และใช้เงินทุนนั้นในการประกอบกิจการ อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การพาณิชย์ การพัฒนา การเคหะ.
  7. รับทุน : ก. รับเงินอุดหนุน เช่น รับทุนการศึกษา.
  8. ทน : ก. อดกลั้นได้, ทานอยู่ได้, เช่น ทนด่า ทนทุกข์ ทนหนาว, ไม่แตกหัก หรือบุบสลายง่าย เช่น ของดีใช้ทน ไม้สักทนกว่าไม้ยาง. ว. แข็งแรง, มั่นคง, เช่น ฟันทน, อึด เช่น วิ่งทน ดํานํ้าทน.
  9. กระทุน : ดู กะทุน.
  10. ที่ตั้งเป็นทุน : (กฎ) จํานวนเงินหรือราคาทรัพย์ที่เรียกร้องกันในคดี.
  11. เท่าทุน : ว. เสมอตัว, ไม่ได้ไม่เสีย, ไม่ได้กําไรไม่ขาดทุน.
  12. พิธุร : [ทุน] ว. ลําบาก, พรากกัน. (ป., ส. วิธุร).
  13. ทุนนิมิต : ทุนนิมิด] (แบบ) น. ลางร้าย; เครื่องหมายอันชั่วร้าย. (ป. ทุนฺนิมิตฺต).
  14. กระชุน : ดู กระทุน.
  15. กะทุน : น. ชื่อแมลงพวกแมลงปอ แมลงปอเข็ม และแมลงช้างตัวเต็มวัย ซึ่งมีลักษณะคล้ายแมลงปอ แต่มีหนวดยาว, ในบางจังหวัดเช่น นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ เรียก กระทุน กระชุน หรือ ปะทุน.
  16. กินดอก, กินดอกเบี้ย : ก. ได้รับผลประโยชน์ที่เกิดจากทุนหรือเงินให้กู้.
  17. เข้า ๑ : ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างในหรือทําให้เคลื่อนไปข้างใน เช่น เข้าบ้าน เข้าถํ้า เอาหนังสือเข้าตู้; เคลื่อนมาสู่ที่, มาถึง, เช่น รถด่วนเข้า ๑๐ โมง; ใส่, บรรจุ, เช่น เข้าหีบ; ประสม, แทรก, เช่น เข้ายาดำ; รวม เช่น เข้าหุ้น เข้าทุน; รวม เป็นพวก เช่น เข้าพรรค เข้าแถว เข้าข้าง; ถูกกัน, ลงรอยกัน, ทําให้ลงรอยกัน, เหมาะเจาะ, เช่น เสียงเข้ากัน สีเข้ากัน เข้าไม้; เคลื่อนมาสู่ เช่น พระศุกร์เข้า; สิง เช่น เจ้าเข้า ผีเข้า; เริ่ม เช่น เข้าเรียน, เริ่มทํางาน เช่น โรงเรียนเข้า; เริ่มอยู่ ในภาวะ เช่น เข้าโรงเรียน เข้าทํางาน. ว. ตรงข้ามกับ ออก เช่น ทางเข้า ขาเข้า; ใช้ประกอบคําอื่นแสดงความหมายเร่งรัดหรือเน้นความว่า มากขึ้น เช่น เร็วเข้า คิดเข้า หนักเข้า ดึกเข้า นานเข้า.
  18. เข้าหุ้น : ก. รวมทุนเข้าด้วยกันเพื่อหาผลประโยชน์.
  19. คดีมโนสาเร่ : (กฎ) น. คดีอันมีทุนทรัพย์หรือค่าเช่าจำนวนเล็กน้อย ซึ่งไม่เกินจำนวนที่กำหนดในกฎหมาย.
  20. คุ้ม ๑ : ก. กัน, ป้องกัน, เช่น คุ้มฝน; พอ, สม, พอสมควรกัน, เช่น คุ้มค่า คุ้มเหนื่อย; พอเท่ากัน เช่น คุ้มทุน. ว. มากพอสมควรกัน เช่น กินเสียคุ้ม.
  21. เค้า ๑ : น. สิ่งที่เป็นเครื่องกําหนดหมายบอกให้รู้ เช่น ฝนตั้งเค้า; สิ่งที่ส่อแสดง ให้รู้ได้ว่ามีลักษณะเหมือนสิ่งอื่น เช่น นาย ก มีเค้าหน้าเหมือนนาย ข; ต้นเงื่อน เช่น ต้นเค้า; รูปหรือรูปความโดยย่อ เช่น เขียนพอให้เห็นเป็น เค้า; ร่องรอย เช่น พอได้เค้า; เหง้า เช่น โคตรเค้าเหล่ากอ; ข้า. (อนันตวิภาค); ตัวเงินหรือวัตถุที่ใช้แทนตัวเงิน เช่นเมล็ดมะขามเป็นต้นที่เป็นทุนซึ่งตั้ง ไว้สําหรับเล่นในบ่อนการพนันบางชนิด, เรียกผู้ถือต้นทุนในการพนัน ว่า ถุงเค้า.
  22. จม : ก. หายลงไปหรืออยู่ใต้ผิวพื้น เช่น จมนํ้า จมดิน, โดยปริยายหมายความว่า เข้าลึก เช่น จมมีด จมเขี้ยว, หมกตัวหรือฝังตัวอยู่ เช่น จมอยู่ในห้องหนังสือ จมเลือด, ถอนทุนไม่ขึ้น เช่น ทุนจม, ยุบตัวลง เช่น สะบักจม; เรียกลวดลาย ที่ไม่เด่นว่า ลายจม. (ปาก) ว. มาก เช่น วันนี้มีการบ้านจมเลย.
  23. เจ๊ง : (ปาก) ก. เลิกล้มกิจการเพราะหมดทุน; สิ้นสุด. (จ.).
  24. ชักเนื้อ : ก. เอาทรัพย์หรือผลประโยชน์ของตนออกใช้ ทดแทน, ใช้เงินเกินกว่าจํานวนที่เขากําหนดไว้ แล้ว เรียกเอาส่วนเกินคืนไม่ได้, ชักทุนเดิม.
  25. ชิง ๑ : ก. แข่ง, แข่งขัน, เช่น ชิงรางวัล ชิงทุน, แย่ง เช่น ชิงอํานาจ.
  26. ต้นทุน : น. ทุนเดิมสําหรับทํากิจการค้าเป็นต้น.
  27. ต่อ ๒ : ก. เพิ่มให้ยืดออกไป เช่น ต่อเวลาออกไป ต่อหนังสือสัญญา, เพิ่มให้ยาว ออกไป เช่น; ต่อเชือก ทําให้ติดกันเป็นอันเดียว เช่น ต่อสะพาน, เชื่อมให้ ติดต่อกัน เช่น ต่อคำ ต่อความ; เอาวัตถุเช่นไม้มาประกอบเข้าเป็นรูป เช่น ต่อกรง ต่อเรือ, เรียกเรือชนิดที่ทําด้วยไม้กระดานโดยนํามาต่อขึ้นเป็นรูป เรืออาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิด ขึ้นตามส่วนเช่นเรือสําปั้น เรือบด เรืออีแปะ ว่า เรือต่อ; ทําให้ติดอย่างไฟ เช่น ต่อไฟ; ต่อเทียน; ขอลดราคาให้น้อยลง เช่น ต่อราคา ต่อของ; ท้าพนัน โดยยอมลดเปรียบให้ เช่น ต่อให้, ฝ่ายเห็นว่าได้เปรียบเป็นฝ่ายต่อ ฝ่าย เห็นว่าสู้ได้เป็นฝ่ายรอง; นําสัตว์เลี้ยงไปล่อสัตว์ป่าในคำว่า ต่อนก ต่อไก่. น. เท่าตัว, เท่าทุน, เช่น กิน ๒ ต่อ ใช้ ๒ ต่อ, ทอด เช่น ขึ้นรถ ๒ ต่อ. ว. ลูกตอด ก็ว่า. สืบไป, ติดต่อกันไป, เช่น ต่อนี้ไป ต่อไป อ่านต่อ วิ่งต่อ, เพิ่มขึ้น เช่น เรียนต่อ; เรียกสัตว์เลี้ยงที่นําไปล่อสัตว์ป่า เช่น ไก่ต่อ นกต่อ ช้างต่อ; เรียกสิ่งที่เชื่อม เข้าด้วยกัน เช่น คําต่อ (คือ คําบุรพบทและคําสันธาน) ข้อต่อ. บ. เฉพาะ, ประจันหน้า, เช่น ต่อหน้า ยื่นต่ออําเภอ; เมื่อถึง เช่น มาต่อปีหน้า; แต่ละ, undefined แก่ศิษย์เป็นการเฉพาะ เช่น ครูต่อหนังสือให้ นักเรียนเพลงต่อเพลงให้ศิษย์, เรียนวิชาบางอย่างจากครูเป็นการเฉพาะ เช่น นักเรียนไปต่อหนังสือกับครู ศิษย์ไปต่อเพลงกับครูเพลง.
  28. ถอนทุน : ก. ได้ทุนคืน, ทําอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อเอาทุนคืน.
  29. ทุนนอน : น. เงินทุนประจําที่ได้ดอกผลเสมอ.
  30. ทุนนิยม : น. ระบบเศรษฐกิจที่ยอมให้บุคคลมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและ ทรัพยากรที่เป็นทุนมีเสรีภาพในการผลิต และการค้า. (อ. capitalism).
  31. ทุนหมุนเวียน : (กฎ) น. ทุนที่ตั้งขึ้นเพื่อกิจการซึ่งอนุญาตให้นํา รายรับสมทบทุนไว้ใช้จ่ายได้.
  32. ธนธานี : [ทะนะ] น. สถานที่เก็บพัสดุมีค่า, คลัง, ที่เก็บสินค้า. (ป., ส.). ธนบดี [ทะนะบอ] น. เจ้าของทรัพย์, เศรษฐีผู้มีทรัพย์เป็นทุน, นายทุน. (ส. ธนปติ ว่า เจ้าแห่งทรัพย์ คือ พระอินทร์, ท้าวกุเวร).
  33. ธนัง : (แบบ; กลอน) น. ทรัพย์สิน เช่น มันก็ไม่รู้มั่งที่จะให้เกิดทุนธนัง. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  34. นายทุน : ( น. ผู้ที่เป็นเจ้าของทุนที่ใช้ในการผลิตสินค้า, ผู้ลงทุนประกอบ กิจการหรือออกทุนให้ผู้อื่นประกอบกิจการ.
  35. นิติบุคคล : (กฎ) น. กลุ่มบุคคล องค์กร หรือทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เป็น กองทุนเพื่อดําเนินกิจการอันใดอันหนึ่ง ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็น บุคคลอีกประเภทหนึ่งที่มิใช่บุคคลธรรมดา นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือ วัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับหรือ ตราสารจัดตั้ง นอกจากนั้น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียว กับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็น ได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น เช่น กระทรวง ทบวง กรม องค์การ บริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพ มหานคร เมืองพัทยา บริษัทจํากัด สมาคม มูลนิธิ.
  36. เนื้อ ๑ : น. ส่วนของร่างกายคนและสัตว์อยู่ถัดหนังเข้าไป; เนื้อวัวหรือเนื้อควาย ที่ใช้เป็นอาหาร เช่น แกงเนื้อ; สิ่งที่เป็นลักษณะประจําตัวของสิ่งต่าง ๆ เช่น เนื้อไม้ เนื้อเงิน เนื้อทอง; ส่วนที่อยู่ถัดเปลือกของผลไม้ต่าง ๆ เช่น เนื้อมะม่วง เนื้อทุเรียน; สิ่งที่ประกอบกันเป็นตัวอาหาร, คู่กับ นํ้า เช่น แกงมีแต่นํ้าไม่มีเนื้อ เอาแต่เนื้อ ๆ; สาระสําคัญ เช่น เนื้อเรื่อง; คุณสมบัติ ของเนื้อทองคําและเงินเป็นต้น เช่น ทองเนื้อเก้า เงินเนื้อบริสุทธิ์; (โบ) ราคาทองคำเป็นเงินบาทตามคุณภาพของเนื้อทอง เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท เรียกว่า ทองเนื้อแปด, ถ้าเป็นราคาเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้าน้ำ; โดยปริยาย หมายความว่า ทุนเดิม, เงิน, ทรัพย์, เช่น เข้าเนื้อ ชักเนื้อควักเนื้อตัวเอง.
  37. เนื้อเต่ายำเต่า : (สํา) ก. นําเอาทรัพย์สินส่วนที่เป็นกําไรหรือดอกเบี้ยกลับ ไปลงทุนต่อไปอีกโดยไม่ต้องใช้ทุนเดิม. เนื้อถ้อยกระทงความ น. ถ้อยคําที่ได้เรื่องได้ราวเข้าใจได้ชัดเจน, มักใช้ ในความปฏิเสธว่า ไม่ได้เนื้อถ้อยกระทงความ.
  38. บริษัทจำกัด : ( (กฎ) น. บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้น มีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจํากัดเพียงไม่เกินจํานวน เงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ.
  39. เปรียบเทียบ : ก. พิจารณาเทียบเคียงให้เห็นลักษณะที่เหมือนกันและ ต่างกัน. (กฎ) น. การที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม กฎหมายกําหนดค่าปรับผู้กระทําผิดในคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนด ให้เปรียบเทียบปรับได้ เมื่อผู้กระทําผิดยินยอมเสียค่าปรับแล้ว คดีอาญา เป็นอันเลิกกัน; การที่นายอําเภอเรียกผู้ถูกร้องมาไกล่เกลี่ยให้เลิกแล้ว ต่อกันในคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ซึ่งมูล คดีเกิดในอําเภอนั้น หรือผู้ถูกร้องมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอนั้น ตาม กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่.
  40. เปิดบัญชี : ก. บันทึกรายการทรัพย์สิน หนี้สิน และทุนไว้ในสมุด เมื่อเริ่มเปิดดําเนินกิจการ; ยกยอดสรุปที่ได้จากการปิดบัญชีมา เริ่มต้นใหม่; (ปาก) เปิดบัญชีเงินฝากที่ธนาคาร.
  41. มโนสาเร่ : น. เรื่องเบ็ดเตล็ดหยุมหยิม เช่น เรื่องมโนสาเร่, เรียกคดีอันมีทุนทรัพย์หรือค่าเช่า จำนวนเล็กน้อย ซึ่งไม่เกินจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่า คดีมโนสาเร่.
  42. ไม่ได้ไม่เสีย : ว. เสมอตัว, เท่าทุน.
  43. ระดม : ก. ทำพร้อม ๆ กัน เช่น ระดมยิง; รวบรวม, รวมเข้าด้วยกัน, เช่น ระดมทุน ระดมคนช่วยกันทำงาน.
  44. รัฐวิสาหกิจ : [รัดถะวิสาหะกิด, รัดวิสาหะกิด] น. กิจการที่รัฐเป็นผู้ลงทุน หรือถือหุ้นข้างมาก, (กฎ) องค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจซึ่งรัฐ เป็นเจ้าของ หรือกิจการของรัฐ หรือบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจของรัฐมีทุนรวม อยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละ ๕๐.
  45. ลงทุน : ก. นำเงินหรือทรัพย์สินเป็นทุนเพื่อประกอบธุรกิจ, โดย ปริยายหมายความว่า ยอมทำสิ่งที่ยากและไม่น่าจะทำได้ เช่น เขา ลงทุนโกนหัวแสดงละคร.
  46. สอบแข่งขัน : ก. สอบเพื่อพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับทุน หรือบรรจุในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งเป็นต้น.
  47. หด : ก. สั้นเข้า, ย่นเข้า, เช่น เสื้อหด, น้อยลง เช่น ทุนหายกำไรหด; ชักกลับ เช่น หดมือ หดเท้า, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กลัวจนหัวหด.
  48. หนุน : ก. รองให้สูงขึ้น เช่น เสื้อหนุนไหล่, ดันให้สูงขึ้น เช่น น้ำทะเลหนุน; ส่งเสริม เช่น หนุนให้สอบชิงทุนรัฐบาล, เพิ่มเติม เช่น หนุนทัพ; เอา สิ่งใดสิ่งหนึ่งรองหัว เช่น หนุนหมอน หนุนตัก หนุนขอนไม้. ว. ที่ เพิ่มเติม เช่น ทัพหนุน.
  49. หุ้น : น. ส่วนที่ลงทุนเท่ากันในการค้าขายเป็นต้น. (เทียบภาษาจีนแต้จิ๋ว หุ่ง ว่า หุ้น, ส่วน); (กฎ) หน่วยลงทุนแต่ละหน่วยที่มีมูลค่าเท่า ๆ กัน ซึ่งรวมกัน เป็นทุนเรือนหุ้นของบริษัทจํากัด. (อ. share).
  50. หุ้นส่วน : น. ทุนที่เข้ากันเพื่อทําการต่าง ๆ เช่น ค้าขายเป็นต้น; (ปาก) ผู้เป็น หุ้นส่วน.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-137

(0.0665 sec)