ท่อง : ก. เดินก้าวไปในนํ้า เช่น ท่องนํ้า; ว่าซํ้า ๆ ให้จําได้ เช่น ท่องหนังสือ.
ท่องสื่อ : น. ตําแหน่งล่ามจีนครั้งโบราณ เช่น ขุนพจนาพิจิตร ท่องสื่อใหญ่. (พงศ. ร. ๓). (เทียบ จ. ท่อง ว่า ติดต่อ, สื่อ ว่า ธุระ, การงาน).
ท่องเที่ยว : ก. เที่ยวไป.
นักท่องเที่ยว : (กฎ) น. บุคคลที่เดินทางจากท้องที่อันเป็นถิ่นที่อยู่โดย ปรกติของตนไปยังท้องที่อื่นเป็นการชั่วคราวด้วยความสมัครใจ และ ด้วยวัตถุประสงค์อันมิใช่เพื่อไปประกอบอาชีพหรือหารายได้.
ทอง ๑ : น. ธาตุแท้ชนิดหนึ่งเนื้อแน่นมาก สีเหลืองสุกปลั่ง เป็นโลหะมีค่า เช่น บ่อทอง เหรียญทอง ทองแท่ง ทองลิ่ม, เรียกเต็มว่า ทองคํา; เรียกสิ่งที่ทําด้วยทองเหลืองว่า ทอง ก็มี เช่น กระทะทอง หม้อทอง, โดยปริยายหมายถึงสีเหลือง ๆ อย่างสีทอง เช่น เนื้อทอง ผมทอง แสงทอง, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น ขนมทอง คือขนมชนิดหนึ่ง รูปวงกลม มีนํ้าตาลหยอดข้างบน, ปลาทอง คือปลาชนิดหนึ่ง ตัวสีเหลือง หรือแดงส้ม.
กามาพจร, กามาวจร : ว. ที่ยังข้องอยู่ในกาม, ที่ท่องเที่ยวอยู่ในกามภพ. (ป. กาม + อวจร).
กุณิ, กุณี : น. คนง่อย. (ป., ส.); กระเช้า เช่น แลมีมือกุ?กุณีแลขอขุดธงง ก็ท่องยงงไพรกันดาร เอามูลผลาหารในพนาลี. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
คณ-, คณะ : [คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อ การอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่า ซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะ อักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรอง แต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะแต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).
เงินได้กำบัง : (เศรษฐ) น. รายรับในดุลการชําระเงินระหว่างประเทศอันเกิด จากค่าบริการต่าง ๆ การใช้จ่ายเงินของนักท่องเที่ยว ค่าประกันภัย เป็นต้น.
จตุรภูมิ : [-พูม] น. ภูมิ ๔ คือ ๑. กามาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในกามภพ ๒. รูปาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในรูปภพ ๓. อรูปาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยว ในอรูปภพ ๔. โลกุตรภูมิภูมิอันพ้นจากโลก.
จาริก, จารึก ๑ : น. ผู้ท่องเที่ยวไปเพื่อสั่งสอนหรือแสวงบุญเป็นต้น. ก. ท่องเที่ยวไป เพื่อสั่งสอนหรือแสวงบุญเป็นต้น.
ทอง ๒ : น. ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดในสกุล Butea วงศ์ Leguminosae ชนิด B. monosperma (Lam.) Kuntze เป็นไม้ต้น ดอกสีแสด, ทองธรรมชาติ ก็เรียก, พายัพเรียก ทองกวาว, อีสานเรียก จาน; ชนิด B. superba Roxb. เป็นไม้เถา, ทองเครือ หรือ ตานจอมทอง ก็เรียก.
ทอง ๓ : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง เรียกว่า เพลงทอง และมีชนิดย่อยว่า ทองย่อน ทองย้อย.
ท่องจำ : ก. ท่องบ่นจนจําได้, ท่องบ่นจนขึ้นใจ.
ทัศนศึกษา : ก. ท่องเที่ยวเพื่อแสวงหาความรู้. น. การเรียนรู้ด้วย การดูการเห็น, การศึกษานอกสถานที่.
ทัศนาจร : ก. ท่องเที่ยว. น. การท่องเที่ยว, การไปเที่ยวชมภูมิประเทศ หรือโบราณสถานเป็นต้น.
เที่ยว ๒ : ก. กิริยาที่ไปที่โน่นที่นี่เรื่อยไป, มักใช้พูดประกอบกับกริยาอื่น เช่น เที่ยวหา เที่ยวพูด เที่ยวกิน เที่ยวนอน; ไปไหน ๆ เพื่อความเพลิดเพลิน ตามสบาย เช่น ไปเที่ยว เดินเที่ยว ท่องเที่ยว, เตร็ดเตร่ไปเพื่อหาความ สนุกเพลิดเพลินตามที่ต่าง ๆ เช่น เที่ยวงานกาชาด.
นัก ๑ : น. ใช้ประกอบหน้าคําอื่นหมายความว่า ผู้ เช่น นักเรียน, ผู้ชอบ เช่น นักดื่ม นักท่องเที่ยว, ผู้ชํานาญ เช่น นักเทศน์ นักดนตรี นักคํานวณ นักสืบ, ผู้มีอาชีพในทางนั้น ๆ เช่น นักกฎหมาย นักแสดง นักเขียน. (ข.).
บ่น : ก. พูดพรํ่าหรือว่ากล่าวซํ้า ๆ ซาก ๆ; กล่าวซํ้า ๆ กัน เช่น ท่องบ่น ภาวนา.
รถทัศนาจร : น. รถยนต์ขนาดใหญ่ที่รับผู้โดยสารไปท่องเที่ยว.
ร่ำเรียน : ก. ท่องบ่น, เพาะความรู้, หาความรู้ฝึกหัด.
เล่ามนตร์ : ก. ท่องบ่นมนตร์สาธยายมนตร์.
เล่าเรียน : ก. ท่องบ่น เช่น เล่าเรียนคาถาอาคม, ศึกษาหาความรู้ เช่น เขาเล่าเรียนมา อย่าไปเถียงเขา, เรียกเงินที่ต้องชำระเพื่อศึกษาหา ความรู้ว่า ค่าเล่าเรียน.
ไล่แบบ : ก. ให้นักเรียนท่องบทเรียนตามที่สั่งให้ฟัง เช่น ครูไล่ แบบนักเรียน.
ว่ายหล้า : (วรรณ) ก. ท่องเที่ยวไปในแผ่นดิน, เขียนเป็น หว้ายหล้า ก็มี เช่น เปนขุนยศยิ่งฟ้าฤๅบาปจำหว้ายหล้า หล่มล้มตนเดียวฯ. (ลอ).
สถานที่ : น. ที่ตั้ง, แหล่ง, เช่น สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่ตากอากาศ สถานที่พักผ่อนย่อนใจ.
สมน้ำหน้า : ว. คําแดกดันหรือซํ้าเติมว่าควรได้รับผลร้ายเช่นนั้น เช่น ขี้เกียจท่องหนังสือ สอบตกก็สมน้ำหน้า, (ปาก) สม ก็ว่า เช่น สมแล้ว ที่สอบตก เพราะขี้เกียจนัก.
สังวัธยาย : [วัดทะ] ก. ท่องบ่น, อ่านดัง ๆ เพื่อให้จําได้, สวดท่องให้จําได้. (ส. สฺวาธฺยาย; ป. สชฺฌาย).
อนุโลม : ก. ใช้แทนกันได้ตามความเหมาะสม, คล้อยตาม; (กฎ) นำมาใช้ โดยอาศัยหลักการอย่างเดียวกัน แต่ให้แก้ไขในรายละเอียดได้ ตามควรแก่กรณี. ว. ตามลําดับ เช่น ท่องแบบอนุโลม, คู่กับ ปฏิโลม คือ ย้อนลําดับ. (ป., ส.).
อัทธคู : น. ผู้เดินทาง, นักท่องเที่ยว. (ป.).
อันโทล : [โทน] ก. เวียนเกิดเวียนตาย, ท่องเที่ยวในสังสารวัฏ, เช่น หาก เที่ยวในสงสารภพอันโทลเกิดไปมาแล. (จารึกวัดศรีชุม), นางก็ อันโทลไปมาในพิทธยาภพนี้. (ม. คําหลวง ทศพร); ท่องเที่ยว เช่น อย่าดูถูกอันโทลไพร จะเยียไยแก่อกเจ้า. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์ กลบทเก่า). (ข.).
อาขยาน : [ขะหฺยาน, ขะยาน] น. บทท่องจํา; การเล่า, การบอก; การสวด; เรื่อง, นิทาน. (ส.; ป. อกฺขาน).
อุตสาหกรรม : [อุดสาหะกํา] น. กิจกรรมที่ใช้ทุนและแรงงานเพื่อผลิต สิ่งของหรือจัดให้มีบริการ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรม ท่องเที่ยว; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการอุตสาหกรรม การมาตรฐานเกี่ยวกับกิจการอุตสาหกรรม และทรัพยากรธรณี.
ทองธรรมชาติ ๑ :
ดูใน ทอง๑.
ทองปลายแขน ๑ :
ดูใน ทอง๑.
ทองจังโก : (ถิ่น-พายัพ) น. ทองเหลืองที่ตีแผ่เป็นแผ่นบาง นิยมใช้ หุ้มองค์พระเจดีย์ป้องกันการผุกร่อน, ทองสักโก ก็ว่า.
ทองชมพูนุท : น. ทองคําเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์ มีสีเหลืองเข้ม ออกแดง, ทองเนื้อเก้า ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ หรือ ทองนพคุณ ก็เรียก.
ทองดอกบวบ : น. ทองเนื้อหก มีสีเหลืองอ่อนคล้ายดอกบวบ.
ทองตะกู : น. ทองตะโก
ทองตะโก : น. สีทองที่เกิดจากการใช้รงผสมนํ้ามันยางอาบลงบน แผ่นตะกั่ว ถ้าทาลงบนโลหะจะมีสมบัติจับแน่นและกันสนิมได้, ทองตะกู หรือ ทองตากู ก็เรียก.
ทองตากู : น. ทองตะโก. ทองทราย น. ทองที่เป็นเม็ด ๆ อย่างทรายปนอยู่กับทราย. ว. มี พื้นทาทองให้เป็นจุด ๆ อย่างเม็ดทราย.
ทองเนื้อเก้า : น. ทองคำบริสุทธิ์ โบราณกำหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัดราคาตามเนื้อทอง คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท, ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.
ทองเนื้อแท้ : น. ทองคำเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์, ทองเนื้อเก้า ทองธรรมชาติ ทองนพคุณ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.
ทองปราย : (โบ) น. ปืนโบราณชนิดหนึ่ง เช่น ล้วนถือทองปราย ทุกคน. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
ทองพัดดึงส์ : น. ค่ากําหนดแลกเปลี่ยนของเหรียญทองกระษาปณ์ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เท่ากับ ๑ ใน ๓๒ ของชั่ง = ๒.๕๐ บาท.
ทองม้วน : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งประสมกับกะทิและไข่ เทราด ลงในพิมพ์ซึ่งมักมีลักษณะกลมให้เป็นแผ่นบาง ๆ ผิงไฟให้สุก แล้วม้วนเป็นหลอด, ถ้าพับเป็นชิ้น เรียก ทองพับ, มีทั้งอย่าง รสเค็มและรสหวาน.
ทองรูปพรรณ : [-รูบปะพัน] น. ทองคําที่ทําสําเร็จเป็นเครื่องประดับ และของใช้ต่าง ๆ.
ทองแล่ง : น. ทองคําที่เอามาแล่งเป็นเส้นบาง ๆ ใช้สําหรับปัก หรือทอผ้า.
ทองวิทยาศาสตร์ : น. โลหะชุบทอง, ทองชุบ ก็เรียก.