ท่าน : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคํากลาง ๆ หรือแสดงความเคารพ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความเคารพ เช่น ท่านไม่อยู่ คุณพ่อท่านหลับแล้ว หรือโดยไม่เจาะจง เช่น อย่า ลักทรัพย์ท่าน เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. น. คําที่ใช้ประกอบหน้า ชื่อบรรดาศักดิ์หรือตําแหน่งแสดงความยกย่อง เช่น ท่านขุน ท่านอาจารย์ ท่านเจ้าอาวาส.
ท่านชาย : น. คําที่ใช้เรียกราชนิกุลฝ่ายชายชั้นหม่อมเจ้า.
ท่านหญิง : น. คําที่ใช้เรียกราชนิกุลฝ่ายหญิงชั้นหม่อมเจ้า.
ยกตนข่มท่าน : (สํา) ก. ยกย่องตัวเองและข่มผู้อื่น, พูดทับถมผู้อื่นแสดง ให้เห็นว่าตัวเหนือกว่า.
ลูกท่านหลานเธอ : น. ลูกหลานเจ้านายหรือผู้มีอํานาจ.
เจ้ากู : น. ท่าน (ใช้เรียกพระที่นับถือ).
นมบกอกพร่อง : (กฎ; โบ) น. ลักษณะของหญิงที่ชายทําให้เสียความ บริสุทธิ์แล้วทอดทิ้งไป เช่น แลมันทําชู้แล้วมันทอดหญิงนั้นเสีย ท่าน ว่ามันทําให้ลูกหลานท่านนมบกอกพร่อง ให้ไหมชายผู้เลมิดพ่อแม่ ผู้เถ้าผู้แก่นั้นโดยขนาฎ. (สามดวง), มักใช้เพี้ยนไปเป็น นมตกอกพร่อง.
ฝ่าพระบาท : ส. ท่าน (ใช้แก่เจ้านาย), เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
เพื่อน ๒ : (ปาก) ส. คําใช้แทนคําว่า เขา หรือ ท่าน ในอาการที่เป็นกันเอง.
สรรพนาม : (ไว) น. คําที่ใช้แทนชื่อ นาม หรือข้อความที่กล่าวมาแล้ว เพื่อไม่ต้องกล่าวชื่อ นาม หรือข้อความนั้นซ้ำอีก เช่น ฉัน เขา เรา ท่าน.
ทาน ๑, ทาน- : ทานะ-, ทานนะ-] น. การให้, มักใช้ประกอบท้ายคำอื่น เช่น ธรรมทาน วิทยาทาน; สิ่งที่ให้ มักหมายถึงเงินหรือสิ่งของที่คน ให้แก่คนยากจน, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป., ส.).
กฤษฎา ๓, กฤษฎาญ, กฤษฎาญชลิต, กฤษฎาญชลี, กฤษฎาญชวลิตวา, กฤษฎาญชวลิศ, กฤษฎาญชวเลศ, กฤษฎาญชุลี : [กฺริดสะดา, -ดาน, -ดานชะลิด, -ดานชะลี, -ดานชะวะลิดตะวา, -ดานชะวะลิด, -ดานชะวะเลด,-ดานชุลี] (โบ; กลอน) แผลงมาจาก กฤดาญชลี เช่น ถวายอภิวันทกฤษฎาญ กฤษฎาการกราบเกล้า. (ม. คําหลวง มัทรี; ฉกษัตริย์), กฤษฎาญชลิตไหว้. (มาลัยคําหลวง), กฤษฎาญชลียะยุ่งแล. (ม. คําหลวง ทศพร), อันว่ากฤษฎาญชวลิตวา. (มาลัยคำหลวง), อนนว่าเจ้าสากลกฤษฎาญชวลิศท่านธแล้ว. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์), ถวายกฤษฎาญชวเลศ ทูลแถลงเหตุนุสนธ์. (เพชรมงกุฎ), กฤษฎาญชุลีน้อม. (ฉันทลักษณ์).
ธ ๒ : [ทะ] (กลอน) ส. ท่าน, เธอ, เช่น ธ ประสงค์ใด จงสฤษดิ์ดัง หวังวรหฤทัย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
กกุธภัณฑ์ : [กะกุดทะ-] น. เครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดี ตามที่ แสดงไว้ในบรมราชาภิเษก ร. ๗ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกร ๔. วาลวีชนี (พัดกับ แส้จามรี) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่า เบญจราชกกุธภัณฑ์. (ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า ของ ใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาทวาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ใน จดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และ ฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง. (รูปภาพ เบญจราชกกุธภัณฑ์) วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัด ใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็น แส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่า วาลวีชนี หมายความเป็น แส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาล ของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี).
ก็ได้ ๒ : นิ. แสดงความหมายว่ายอมอย่างไม่เต็มใจนัก เช่น ท่านจะไปก็ได้.
กตเวทิตา : [กะตะ-] น. ความเป็นผู้ประกาศคุณท่าน, ความเป็นผู้สนอง คุณท่าน, เป็นคําคู่กันกับ กตัญญุตา. (ป.).
กตเวที : [กะตะ-] ว. (ผู้) ประกาศคุณท่าน, (ผู้) สนองคุณท่าน, เป็นคําคู่กัน กับ กตัญญู. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทําแล้ว + เวที ว่า ผู้ให้รู้, ผู้ประกาศ].
กตัญญุตา : [กะตัน-] น. ความกตัญญู, ความเป็นผู้รู้อุปการคุณที่ท่านทำให้, ความเป็นผู้รู้คุณท่าน. (ป.).
กตัญญู : [กะตัน-] น. (ผู้) รู้อุปการะที่ท่านทําให้, (ผู้) รู้คุณท่าน, เป็นคําคู่กันกับ กตเวที. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทําแล้ว + ญู ว่า ผู้รู้].
กรรณยุคล : [กันนะ-] น. หูทั้ง ๒ ข้าง เช่น ในพระกรรณยุคลท่านนั้น. (ม. คําหลวง มหาราช). (ป., ส. ยุคล ว่า คู่).
กรัณฑ-, กรัณฑ์ :
[กะรันทะ-, กะรัน] (แบบ) น. ตลับ, หีบ, หม้อ, เช่น รัตนกรัณฑ์ = ตลับเพชร. (สังโยคพิธาน), กรัณฑรัตน. (ยวนพ่าย), กรัณฑขลังขังน้าทิพมุรธา ภิเษกท่าน. (ราชาภิเษก ร. ๗). (ดู กรณฑ์๑).
กวาดล้าง : ก. กําจัดให้หมดไป เช่น กวาดล้างอันธพาล กวาดล้างโจรผู้ร้าย. [กฺวาน, กฺว่าน] น. ขุนนาง เช่น แล้วบัญชาสั่งเสียพวกเพี้ยกวาน ให้ไปเชิญสองท่านแม่ทัพใหญ่. (ขุนช้างขุนแผน), เพลี้ยกว่านบ้านท้าวไข้ ข่าวสยวน. (ยวนพ่าย). [กฺว้าน] น. ตึก ใช้ควบกันว่า ตึกกว้าน; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ที่อยู่ซึ่งปลูกไว้คล้ายโรงนา พื้นอยู่กับดิน. [กฺว้าน] น. เครื่องสําหรับฉุดดึงและยกของหนัก. ก. ฉุดด้วยกว้าน, ขันกว้าน ก็เรียก; รวบรวมจากที่ต่าง ๆ มาไว้เป็นจํานวนมาก เช่น กว้านสินค้ามากักตุนไว้. [กฺว๊าน] (ถิ่น-พายัพ) น. บึง; น้ำตอนลึก, น้ำตอนที่ไหลวน. [กฺว้าว] ดู ขว้าว.[กฺวาว-] น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Pueraria candollei Grah. var. mirifica (Airy Shaw et Suvatabandhu) Niyomdham ในวงศ์ Leguminosae ดอกเล็ก สีม่วงอ่อน มีหัวกลม ๆ ออกที่ โคนต้นและตามราก ใช้ทํายาได้. [กะวิน] (โบ) ว. ดีงาม เช่น ใครกวินซื่อแท้. (แช่งน้ำ). (ทมิฬ แปลว่า งาม). [กะวี] น. ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญในศิลปะการประพันธ์บทกลอน จําแนกเป็น ๔ คือ ๑. จินตกวี แต่งโดยความคิด ๒. สุตกวี แต่งโดยได้ฟังมา ๓. อรรถกวี แต่งตามความจริง ๔. ปฏิภาณกวี แต่งกลอนสด. (ป.).
กวาน, กว่าน : [กฺวาน, กฺว่าน] น. ขุนนาง เช่น แล้วบัญชาสั่งเสียพวกเพี้ยกวาน ให้ไปเชิญสองท่านแม่ทัพใหญ่. (ขุนช้างขุนแผน), เพลี้ยกว่านบ้านท้าวไข้ ข่าวสยวน. (ยวนพ่าย).
กะ ๒ : ว. ใช้รวมกับคําวิเศษณ์ เช่น เหมือนกะ ราวกะ ถึงกะ. บ. ใช้นําหน้าผู้รับพูดหรือรับบอก เช่นพี่พูดกะน้อง เขากล่าวกะฉัน เขาบอกกะท่าน. สัน. ใช้แทนคําว่า กับ เช่น ยายกะตา, ใช้แทนคําว่าแก่ เช่น มีกะใจ. (เป็นคําเสียงกร่อนมาจาก กับ หรือ แก่).
กำ ๓, กำม : (โบ) น. กรรม เช่น ไข้เจ็บหมอตั้งกําไว้, ท่านว่าเป็นกํามของเขาเอง. (อัยการเบ็ดเสร็จ).
โกรย : [โกฺรย] น. หลัง เช่น โจนบหลยวโกรยเกรง ท่านข้า. (ยวนพ่าย), อกกระอุกรยมโกรย กระด้าง. (ทวาทศมาส). (ข.).
คมิกภัต : [คะมิกะ-] น. อาหารที่เตรียมถวายภิกษุก่อนที่ท่านจะออกเดินทาง. (ป. คมิกภตฺต).
คฤหา : (กลอน) น. เรือน เช่น มักเที่ยวสู่คฤหา แห่งท่านนะพ่อ. (โลกนิติ).
แครงเครียว : [แคฺรงเคฺรียว] (โบ; กลอน) ว. แรงมาก, โบราณเขียนเป็น แครงครยว ก็มี เช่น ท่านนี้แครงครยว คืนคํ่าขํ่าขยว จักขอสักอัน. (ม. คําหลวง มหาพน).
จำงาย : (โบ) น. สาย, บ่าย, เช่น ลูกไม้บ่ทันงาย จำงายราชอดยืน. (ม. คำหลวง มัทรี). ว. ห่าง, ไกล, เช่น หากให้เจ้าตูฉิบหาย จำงายพรากพระบุรี ท่านนี้. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. จํงาย ว่า ระยะไกล).
เจ้าประคุณ : น. (โบ) คำเรียกผู้ที่นับถือ และท่านที่เป็นเจ้าบุญนายคุณ. ส. คำที่ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ใช้เรียกสมเด็จพระราชาคณะ, ใช้ เต็มว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. (เพี้ยนมา จาก เจ้าพระคุณ).
เจ้าพระคุณ : ส. คำที่ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ใช้เรียกสมเด็จพระราชาคณะ, ใช้เต็มว่า ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้ว่า เจ้าประคุณ ก็มี.
ชิสา, ชีสา : สัน. แม้ว่า เช่น ชิสาท่านโอนเอา ดีต่อ ก็ดี. (ยวนพ่าย).
ชีพุก : น. พ่อ, ท่านพ่อ, เช่น ด่งงจริงชะรอยชีพุก หากทำทุกข์ แก่มึงอย่าเลอย. (ม. คําหลวง ชูชก). (เทียบ ข. โอวพุก ว่า พ่อ).
ตจปัญจกกรรมฐาน : [ตะจะปันจะกะกำมะถาน] น. กรรมฐานอัน บัณฑิตกําหนดด้วยอาการมีหนังเป็นที่ ๕ เป็นอารมณ์ คือ กรรมฐานที่ ท่านสอนให้พิจารณาส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตั้งแต่ผม ขน เล็บ ฟัน ไป ถึงหนังเป็น ๕ อย่าง. (ป.).
ตรึก ๒ : [ตฺรึก] ก. หมด, สิ้น, เปลือง, น้อย, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ตรึก, มิตรึก, เช่น จึงองค์มิสาระปันหยี จึงตอบว่าข้าจะให้ไก่ดีดี ของเรามีไม่ตรึกอย่า ร้อนใจ. (อิเหนา), ท่านก็ไม่ขัดสนจนพราย มากมายตามพรูอยู่มิตรึก แรกรักจะรําพันให้ครั่นครึก. (ขุนช้างขุนแผน), ฤๅจะใคร่ได้เมียสาว ๆ ขาว ๆ ดี ๆ มีไม่ตรึก. (มณีพิชัย).
ทชี : [ทะชี] น. นักบวช. (กร่อนมาจาก ท่านชี).
ทอดทฤษฎี : (แบบ) ก. มองไปรอบ ๆ, ตั้งใจดู, เช่น เวลาท่านทอด ทฤษฎี. (เสือโค).
ท้าทาย : ก. ชวนวิวาท เช่น เพราะเขาว่าท้าทายว่าจะทําอันตรายแก่ ท่านไท้บรมนาถราชบิดา. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์); ชวนให้ทดลอง ความรู้ความสามารถ เช่น ท้าทายปัญญา ท้าทายความสามารถ.
ทาบ : ก. วางวัตถุสิ่งหนึ่งแนบกับอีกสิ่งหนึ่ง เช่น ทาบผ้าทาบตัว, (ปาก) เปรียบ, เทียบ, เช่น เรามีความรู้น้อยจะไปทาบท่านผู้รู้ได้อย่างไร; ตบ, ตี, เช่น นกทาบปีก, ถาบ ก็ใช้.
บทเรศ : [บดทะ-] (กลอน) น. เท้า เช่น กราบบทเรศราชบิดา ท่านแล. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์).
บพิตร : [บอพิด] (แบบ) น. พระองค์ท่าน เช่น บํารุงฤทัยตระโบม บพิตรผู้ อย่าดูเบา, โดยมากเป็นคําที่พระสงฆ์ใช้แก่เจ้านาย เช่น บรมวงศบพิตร.
บังคล : ก. มอบให้ เช่น เป็นบังคลแก่ท่านแล. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ข. ปรฺคล ว่า มอบให้).
บุญทาย : ว. ควรเป็นเนื้อคู่กัน เช่น ไปสู่ขอลูกสาวหลานสาวท่าน บุญทาย ต้องกัน.
บุราณ : ว. เก่า, ก่อน, เช่น คําบุราณท่านว่าไว้เป็นครู. (สังข์ทอง). (ป., ส. ปุราณ).
เป็น ๑ : ก. คํากริยาสําหรับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคํากับคําเพื่อ ให้เห็นว่าคําหน้าและคําหลังมีภาวะ คือ ความมี ความเป็น เกี่ยวข้องกันอย่างไร เช่น ท่านเป็นเจ้า เขาเป็นนาย.
ฯพณฯ : [พะนะท่าน] น. คํานําหน้าชื่อหรือตําแหน่งข้าราชการผู้ใหญ่ชั้น รัฐมนตรี เอกอัครราชทูต เป็นต้น. (ย่อมาจากคํา พณหัว พณหัวเจ้า พณหัวเจ้าท่าน).
พรหมวิหาร : [พฺรมมะ, พฺรม] น. ธรรมของพรหมหรือของท่าน ผู้เป็นใหญ่ มี ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา. (ป.).
พระเดชพระคุณ : น. คําใช้นําหน้าสมณศักดิ์ของพระราชาคณะ เช่น เรียน พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระพิมลธรรม, ถ้าใช้นําหน้า สมณศักดิ์ของสมเด็จพระราชาคณะ ใช้ว่า พระเดชพระคุณท่านเจ้า ประคุณ หรือพระเดชพระคุณท่านเจ้าพระคุณ เช่น กราบเรียน พระเดชพระคุณท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์. ส. คําเรียกผู้ มียศบรรดาศักดิ์หรือพระภิกษุสงฆ์ที่มี สมณศักดิ์สูง, เป็นสรรพนาม บุรุษที่ ๒.
โพธิสัตว์ : น. ท่านผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า. (ส. โพธิสตฺตฺว; ป. โพธิสตฺต).