ท่า ๑ : น. ฝั่งนํ้าสําหรับขึ้นลงหรือจอดเรือ, ท่านํ้า ก็เรียก, ที่สําหรับขึ้นลง ริมนํ้า เช่น ท่าข้าม; โดยปริยายหมายถึงที่จอดยานพาหนะบางชนิด เช่น ท่าเกวียน ท่าอากาศยาน; เรียกนํ้าในแม่นํ้าลําคลองว่า นํ้าท่า, คู่กับ นํ้าฝน.
ท่า ๒ : น. ลักษณะท่วงทีของร่างกายที่อยู่นิ่ง ๆ ในบางอิริยาบถ เช่น ท่ายืน ท่านั่ง ท่านอน; การแสดงกิริยายกมือยกเท้าเป็นต้นตามกําหนดเป็น วิธีไว้ เช่น ท่ามวย ท่ารํา; ชั้นเชิง, ท่วงที, วิธี, เช่น พลาดท่า ได้ท่า เสียท่า.
ท่า ๓ : ก. รอคอย เช่น เหตุไฉนรีบมาไม่ท่ากัน. (อิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับ คอย หรือ รอ เป็น คอยท่า รอท่า.
ท่าเดียว : (ปาก) ว. อย่างเดียว, ประการเดียว, ถ่ายเดียว, เช่น จะกินท่าเดียว.
ท่านั้นท่านี้ : (สํา) ว. อย่างนั้นอย่างนี้, โยกโย้, เช่น พูดท่านั้นท่านี้.
ท่าดีทีเหลว : (สํา) ว. มีท่าทางดี แต่ทําอะไรไม่ได้เรื่อง.
ท่าอากาศยาน : น. ที่สําหรับเครื่องบินขึ้นลง ประกอบด้วยลานจอด เครื่องบิน ลู่เครื่องบินขึ้นลง โรงเก็บอุปกรณ์การบิน หอบังคับการบิน ที่ทําการของเจ้าหน้าที่ และที่พักผู้โดยสารเข้าออกเป็นต้น, (ปาก) สนามบิน.
ถ่าย : ก. เอาออกจากที่หนึ่งไปใส่อีกที่หนึ่ง เช่น ถ่ายรถ ถ่ายเรือ, เอาสิ่ง หนึ่งออกแล้วเอาอีกสิ่งหนึ่งใส่เข้าไปแทนที่ เช่น ถ่ายนํ้า ถ่ายเลือด; รุ เช่น ถ่ายยา. ว. ฝ่าย, ท่า, เช่น ถ่ายเดียว.
ชักกระบี่สี่ท่า : น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
เทน้ำเทท่า : (ปาก) ว. คล่อง, รวดเร็ว, มักใช้ประกอบคํา ขาย เป็น ขายดีอย่างเทนํ้าเทท่า.
บ้าร่าท่า : (ปาก) ว. อาการที่บานเต็มที่ เรียกว่า บานบ้าร่าท่า.
ไม่เป็นท่า : ก. หมดรูป, ไม่เข้าท่า, ไม่ได้ความ, เช่น แพ้ไม่เป็นท่า.
รู้ท่า : ก. รู้ทันความคิด, รู้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งคิดอย่างไร, เช่น เห็นหน้าน้อง ก็รู้ท่าว่าจะมาขอเงิน.
หมดท่า : ว. หมดหนทาง, จนปัญญา, เช่น เขาหมดท่าไม่รู้ว่าจะโต้ตอบ อย่างไร; อาการที่ทำให้รู้สึกน่าสังเวช เช่น เขาแต่งตัวภูมิฐานแล้วเดิน หกล้ม หมดท่าเลย, หมดรูป ก็ว่า.
ทา : ก. คํารวมหมายถึงกิริยาอาการที่เอาของเปียกหรือของเหลวเป็นต้น ฉาบ ลูบ ไล้ ป้าย หรือบ้าย เช่น ทาสี ทาแป้ง ทาปาก ทายา, ถ้าทา เกลือกหรือเคลือบแต่ผิว ๆ ก็เรียกว่า ฉาบ, ถ้าทาโดยใช้ฝ่ามือทาบลง แล้วเลื่อนไปมาก็เรียกว่า ลูบ, ถ้าทาโดยละเลงทั่ว ๆ ไป ก็เรียกว่า ไล้, ถ้าทาให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง ก็เรียกว่า ป้าย หรือ บ้าย.
ข้ามน้ำข้ามทะเล, ข้ามน้ำข้ามท่า : (สํา) ก. ต้องฟันฝ่าอุปสรรคและ ความลําบากต่าง ๆ กว่าจะได้ผลสําเร็จ.
เข้าท่า : ก. มีท่าทางดี, น่าดูไม่ขัดตา, เหมาะสม.
เจ้าท่า : (กฎ) น. เจ้าพนักงานผู้มีอํานาจหน้าที่ควบคุมและตรวจตราการ เดินเรือ การใช้เรือ การจอดเรือ ร่องนํ้า ทางเดินเรือ และกิจการท่าเรือ.
พลาดท่า : ก. เสียที, เสียรู้.
ไม่เข้าแก๊ป, ไม่เข้าท่า : ว. ไม่แนบเนียน, ไม่รัดกุม.
ไว้ท่า : ก. ทำท่าทางเสมือนว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ หรือมีเกียรติสูง.
ท่าทาง : ว. กิริยาอาการที่ปรากฏให้เห็น เช่น ท่าทางดี ท่าทางไม่ดี, บางทีใช้ว่า ท่า ก็มี.
เอกโทษ : [เอกโทด] น. คําที่เคยใช้ไม้โทโดยปรกติ แต่เปลี่ยนใช้ ไม้เอกเสียงเดียวกันในบทร้อยกรองประเภทโคลงที่บังคับใช้ไม้เอก เช่น เข้า เป็น เค่า, ถ้า เป็น ท่า.
กตเวที : [กะตะ-] ว. (ผู้) ประกาศคุณท่าน, (ผู้) สนองคุณท่าน, เป็นคําคู่กัน กับ กตัญญู. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทําแล้ว + เวที ว่า ผู้ให้รู้, ผู้ประกาศ].
กตัญญู : [กะตัน-] น. (ผู้) รู้อุปการะที่ท่านทําให้, (ผู้) รู้คุณท่าน, เป็นคําคู่กันกับ กตเวที. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทําแล้ว + ญู ว่า ผู้รู้].
กรด ๓ : [กฺรด] น. ชื่อไม้เถาชนิด Combretum tetralophum C.B. Clarke ในวงศ์ Combretaceae มักขึ้นในที่น้ำท่วม เช่น ตามฝั่งน้ำลําคลอง ใบโดยมากออกรอบข้อ ๒ หรือ ๓ ใบ ใบอ่อนสีม่วงดํา เมื่อแก่เปลี่ยน เป็นสีเขียว ผลมีสันแข็งเป็น ๔ ครีบ, เถาวัลย์กรด ก็เรียก; อีกชนิดหนึ่ง คือ C. trifoliatum Vent. มีลักษณะคล้ายกันมาก แต่ผลมี ๕ ครีบ เช่น กรดกระถินอินจันพรรณไม้. (นิ. อิเหนา), สีเอยเจ้าสีสด เจ้าปลูก ต้นกรดไว้ริมท่า. (กล่อมเด็ก).
กรอกรุย : ก. ทําท่าเจ้าชู้ เช่น ห่มเพลาะกรูมกรอกรุยฉุยเฉิดฉัน. (มณีพิชัย).
กระต่ายชมจันทร์ : น. ท่ารําละครท่าหนึ่ง. (ฟ้อน); เพลงเสภา ๒ ชั้น ของเก่าพวกเพลงเกร็ด.
กระต่ายต้องแร้ว : น. ท่ารําละครท่าหนึ่ง. (ฟ้อน).
กระบี่ธุช : น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วย ผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธง เดียวกันซึ่งเป็นเหล็ก และทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้าย และด้านขวา ปลายคันธงเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงบริเวณที่สวม ต่อคันธงท่อนล่างติดรูปพระกระบี่ คือหนุมานในท่ายืนยกขาหน้า และขาหลังข้างขวาเตรียมเหาะ เรียกเต็มว่า ธงชัยราชกระบี่ธุช หรือ ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ ใช้เชิญนำหน้าพระราชยานในกระบวน พยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราช พิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับธงพระครุฑพ่าห์ โดยธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย และธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา.
กระหวัดเกล้า : น. วิธีรําละครท่าหนึ่ง. (ฟ้อน).
กระแหน่ : (โบ; กลอน) น. เล่ห์กล, แง่งอน, ท่วงที, เช่น ข้ากระไดกระแหน่ แต่งแง่แผ่ตนท่า. (ลอ).
กรีดเล็บ : ก. อาการที่ใช้เล็บเก็บสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมีท่างาม เช่น กรีดเล็บเก็บพวงสุมาลี นารีขับเพลงวังเวงใจ. (เงาะป่า).
กลดพระสุเมรุ : น. ท่ารําละครท่าหนึ่ง อยู่ในอันดับว่า สารถีชักรถ กลดพระสุเมรุ ตระเวนเวหา. (ฟ้อน).
กลอง ๒ : [กฺลอง] น. ชื่อเพลงชนิดหนึ่งเป็นเพลงแขก ใช้ปี่ชวาและกลองแขก ทํานองเล่นกระบี่กระบอง ที่เรียกว่า สะระหม่า, ทําตอนที่เล่นกีฬา ท่าต่าง ๆ มีรําดาบ รําง้าว เป็นต้น เรียกว่า เพลงกลองแขก ก็ได้, อีกอย่างหนึ่งเมื่อรําเป็นท่ามลายู ซึ่งเรียกว่า สะระหม่าแขก ใช้เพลง เรียกว่า กลองมลายูเครื่องและทํานองอย่างเดียวกับ เพลงกลองแขก แต่ในตอนนี้รํากริช.
กวางเดินดง : น. ชื่อวิธีรําท่าหนึ่งอยู่ในลําดับว่า นาคาม้วนหาง กวางเดินดง หงส์ลีลา. (ฟ้อน); ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง เช่น อกเอ๋ยอกประหลาดจริงที่นิ่งเฉย โอ้เอ๋ยผิดคิดไม่เห็นจะเป็นเลย เสียดายเอ๋ยที่พี่เคยสงวนงาม. (กลบท).
กะเอว : น. เอว เช่น ถวัดเท้าท่าเตะมวย ตึงเมื่อย หายฮา แก้กะเอวขดค้อม เข่าคู้โขยกโขยง. (จารึกวัดโพธิ์), สะเอว ก็ว่า.
กังก้า : ว. จังก้า, ลักษณะยืนถ่างขาตั้งท่าเตรียมสู้ เช่น ถกเขมรกังก้าเรียก ข้าไทย. (ขุนช้างขุนแผน-แจ้ง).
ก๋า ๑ : (ปาก) ว. อาการที่ทําท่าว่าเก่ง เช่น ยืนก๋า เต้นก๋า.
กาจับหลัก ๑ : น. ไม้แป้นวงกลม มีหลักปักอยู่ที่ริมแป้น ที่ปลายหลัก มีวัตถุรูปกระจับสําหรับรับคางศพที่บรรจุโกศ; เครื่องดักทําร้าย ของโบราณ มีของแหลมอยู่ข้างล่าง เมื่อคนนั่งกระทบไกเข้าก็ลัดขึ้น เสียบทวาร; ท่าถือขอช้างอย่างหนึ่ง. (ตําราขี่ช้าง).
กาลจักร : [กาละ-] น. ชื่อพิธีกรรมในลัทธิตันตระ ซึ่งมีข้อปฏิบัติเบื้องต้น ๕ อย่าง คือ ดื่มน้ำเมา กินเนื้อสัตว์ พร่ามนตร์ แสดงท่ายั่วยวน และ เสพเมถุน ซึ่งปฏิบัติในเวลากลางคืนหรือที่มืด, กาฬจักร ก็ว่า. (ส.).
กำพง : น. ท่าน้า, ตําบล, เช่น มีทงงสมรรถพนจร รม่งงมรกําพงไพร. (ม. คําหลวง มหาพน). (ข. กํพง ว่า ท่าน้า; มลายู กัมพง ว่า ตําบล).
กินนรฟ้อนโอ่ : น. ชื่อท่าละครชนิดหนึ่ง.
กินนรรำ : น. ชื่อท่าละครชนิดหนึ่ง; ชื่อเพลงปี่พาทย์ชนิดหนึ่ง. (ดึกดําบรรพ์); ชื่อกลบทชนิดหนึ่งตัวอย่างว่า ชะจิตใจไฉนนางระคางเขิน ปะพบพักตร์จะทักทายชม้ายเมิน ละเลิงเหลือจะเชื้อเชิญเผอิญอาย.
กินนรเลียบถ้ำ : น. ชื่อท่ารำแม่บทท่าหนึ่ง, กินรินเลียบถ้ำ ก็ว่า.
กินรินเลียบถ้ำ : น. ชื่อท่ารำแม่บทท่าหนึ่ง, กินนรเลียบถ้ำ ก็ว่า.
กุมภัณฑ-, กุมภัณฑ์ : [-พันทะ-] น. ยักษ์ เช่น หนึ่งท่าทานพกุมภัณฑ์คันธอสูร โสรจสินธุสมบูรณ์ ณ สระ (สมุทรโฆษ); ฟักเขียว เช่น ป่าเอลาลุอลาพุกุมภัณฑอคร้าวอนันต์. (สมุทรโฆษ).
ขนานน้ำ : น. ท่าที่เอาเรือ ๒ ลํามาจอดเทียบเคียงกันแล้วปูกระดาน เพื่อให้ขึ้นลงสะดวก.
ขยับ : [ขะหฺยับ] ก. เคลื่อนไหวหรือทําท่าว่าจะทําอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ขยับปากจะพูด ขยับปีกจะบิน ขยับดาบ; เลื่อนที่ เช่น ขยับตู้ใบนี้ เข้าไปให้ชิดฝา, กระเถิบ เช่น นั่งอยู่ห่างนัก ขยับเข้ามาให้ใกล้. ว. ค่อนข้าง, เกือบ, เช่น ขยับจะจริง.
ขยุม ๒ : [ขะหฺยุม] ว. ขะยุก, ทําถี่ ๆ, เช่น เห็นลับแลแล้วก็พายขยุมใหญ่. (ส. ท่านพุฒาจารย์-โต).