ท้องแข็ง : ว. อาการที่หน้าท้องตึงเพราะหัวเราะเต็มที่, ท้องคัด ท้องแข็ง ก็ว่า.
ท้องคัดท้องแข็ง : ว. อาการที่หน้าท้องตึงเพราะหัวเราะเต็มที่, ท้องแข็ง ก็ว่า.
แข็ง : ว. กระด้าง เช่น ลิ้นแข็ง; ไม่อ่อน, ไม่นิ่ม, เช่น เนื้อแข็ง ของแข็ง; กล้า เช่น แดดแข็ง; ไม่ยอมง่าย ๆ, ไม่รู้สึกสงสาร, เช่น ใจแข็ง; แรง เช่น วันแข็ง ชะตาแข็ง, เข้มแข็ง, ทนทาน, เก่ง, เช่น ทํางานแข็ง วิ่งแข็ง; ว่ายาก เช่น เด็กคนนี้แข็ง; นิ่งไม่ไหวติง, ไม่กระดิกกระเดี้ย, เช่น ขาแข็ง ตัวแข็ง.
ท้อง : น. ส่วนของร่างกายด้านหน้า ตั้งแต่ลิ้นปี่จนถึงบริเวณต้นขา มีสะดือ อยู่ตรงกลาง มีกระเพาะและไส้พุงอยู่ภายใน; ครรภ์ เช่น น้องร่วมท้อง; พื้นที่หรือบริเวณที่กว้างใหญ่ เช่น ท้องนํ้า ท้องฟ้า ท้องทุ่ง ท้องไร่ ท้องนา ท้องถนน; ส่วนที่มีลักษณะโค้ง เช่น ท้องแขน ท้องน่อง ท้องเรือ
ท้องขาว ๑ : ดูใน ท้อง.
ท้องเลว : ว. โซ, อดอยาก, เช่น ชะรอยผีท้องเลวในเหวถํ้า. (ไกรทอง).
แข็งใจ : ก. ทําใจให้กล้า, ทําใจให้เข้มแข็ง.
แข็งตัว : ก. เปลี่ยนสภาพไปมีลักษณะแข็ง.
แข็งแรง : ว. มีกําลังมาก, ลํ่าสัน, มั่นคง, คงทน, อย่างเต็มกําลัง เช่น ทํางานแข็งแรง.
ท้องกาง : ว. เรียกท้องที่กางออกมากกว่าปรกติเพราะกินเกินขนาด.
ท้องกิ่ว : ว. หิวจัด, มักใช้เข้าคู่กับคำ ท้องแขวน เป็น ท้องกิ่วท้องแขวน เช่น หิวจนท้องกิ่วท้องแขวน, ไส้กิ่วไส้แขวน ก็ว่า.
ท้องขาว ๑ : น. เรียกผ้าที่มีส่วนกลางขาวว่า ผ้าท้องขาว เช่น ผ้าท้องขาว เชิงชายเขียน. (พงศ. เลขา), ถ้ามีส่วนกลางเขียว เรียกว่า ผ้าท้องเขียว เช่น ผ้าท้องเขียวชายกรวย. (พงศ. เลขา).
ท้องขาว ๒ : น. ชื่อหนูขนาดกลางชนิด Rattus rattus ในวงศ์ Muridae ตัวสี นํ้าตาลอ่อนถึงนํ้าตาลแดง พื้นท้องสีขาว มีเส้นสีนํ้าตาลหรือ ดําพาดขวางหน้าอก จมูกแหลม ใบหูใหญ่ หางสีดํายาวไล่เลี่ย กับความยาวของส่วนหัวและลําตัว กินเมล็ดพืชและเศษอาหาร มีชุกชุมทั่วทุกภาคของประเทศไทย.
ท้องขึ้น : ว. อาการที่ท้องอืดเพราะลมในกระเพาะอาหารเฟ้อขึ้น; เรียกปลาจวนจะเน่าว่า ปลาท้องขึ้น.
ท้องขึ้นท้องพอง : ว. เรียกผลไม้บางอย่างที่ชํ้าจวนจะเสีย เช่น กล้วยท้องขึ้นท้องพอง คือกล้วยที่ชํ้าจวนจะเสีย, ท้องขึ้น ก็ว่า.
ท้องแขวน : [-แขฺวน] ว. หิวจัด, มักใช้เข้าคู่กับคำ ท้องกิ่ว เป็น ท้องกิ่วท้องแขวน เช่น หิวจนท้องกิ่วท้องแขวน, ไส้กิ่ว ไส้แขวน ก็ว่า.
ท้องถิ่น : น. ท้องที่ใดท้องที่หนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เวลาท้องถิ่น ประเพณีท้องถิ่น; (กฎ) พื้นที่ภายในเขตการปกครองของราชการ บริหารส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล.
ท้องที่ : น. พื้นที่หรือถิ่นที่แห่งใดแห่งหนึ่ง เช่น ท้องที่จังหวัด ท้องที่อําเภอ ท้องที่ที่เกิดเหตุ ท้องที่ที่มีภูมิลําเนา; (กฎ) พื้นที่ ภายในเขตการปกครองส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด อําเภอ กิ่งอําเภอ ตําบล และหมู่บ้าน; พื้นที่ที่อยู่ในเขตอํานาจของ พนักงานสอบสวนหรือศาล.
ท้องน้อย : น. ส่วนของท้องระหว่างสะดือกับหัวหน่าว.
ท้องแบน : น. ชื่อเรือชนิดหนึ่งมีท้องแบน กินนํ้าตื้น สําหรับลําเลียง ทหารหรืออาวุธยุทโธปกรณ์ขึ้นบก.
ท้องปลิง : น. ชื่อตะไบชนิดหนึ่ง มีรูปเหมือนท้องปลิง คือข้างหนึ่ง กลม อีกข้างหนึ่งแบน. ว. เรียกสิ่งอื่น ๆ ที่มีรูปเหมือนท้องปลิง เช่น กําไลท้องปลิง.
ท้องผุท้องพัง : ว. เรียกท้องปลาทูเป็นต้นที่ไม่ค่อยสด เมื่อทอดแล้ว มีลักษณะแตกโหว่.
ท้องผูก : ว. อาการที่อุจจาระแข็งถ่ายออกลําบาก.
ท้องพลุ :
น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Machrochirichthys machrochirus ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาดาบลาว เว้นแต่มีเส้นข้างตัว อกเชิดขึ้น และต่อเนื่องกับคางซึ่งเงยขึ้นไปอีก ฟันเล็ก ด้านหลังลําตัวสีเขียว อมเหลือง ด้านข้างและท้องสีขาวเงิน พบตามแม่นํ้าและแหล่งนํ้า ขนาดใหญ่ทั่วไป, ดาบ หรือ ฝักพร้า ก็เรียก; ชื่อนี้ยังใช้เรียกปลา แปบบางชนิด. (ดู แปบ๒).
ท้องพอง : ว. ท้องอืด, ใช้เข้าคู่กับคํา ท้องขึ้น เป็น ท้องขึ้นท้องพอง.
ท้องมาน : น. ชื่อโรคจําพวกหนึ่งมีอาการให้ท้องโตอย่างหญิงมีครรภ์.
ท้องร่วง : ว. อาการที่ท้องเดินอย่างแรง.
ท้องร่อง. : ก. มีลูกอยู่ในท้อง, ตั้งครรภ์.
ท้องลาน : ว. มีรูปแบน ๆ เหมือนท้องแห่งลาน อย่างรูปคันกระสุน ที่เหลาแบน ๆ.
ท้องเล็น : ว. เรียกข้าวสารที่หุงยังไม่สุกดี ยังมีแกนเมล็ดข้าวเหลือ อยู่บ้างว่า ข้าวท้องเล็น.
ท้องสาว : น. ท้องลูกคนแรก.
ท้องหมา : น. หน้าท้องแฟบ, เรียกครรภ์ของหญิงที่มีลักษณะเล็ก.
ท้องหมู : น. หน้าท้องมีไขมันมากอย่างท้องคนอ้วน, เรียกครรภ์ ของหญิงที่มีลักษณะใหญ่มาก.
ท้องอัสดงคต : น. รูปบัวประกอบฐานผนังโบสถ์ หัวท้ายงอนขึ้น. (รูปภาพ ท้องอัสดงคต)
ท้องอืด : ว. อาการที่ท้องขึ้นทําให้รู้สึกอึดอัด.
แข็งกล้า : ว. กล้ายิ่งนัก.
แข็งข้อ : ก. ไม่ยอมตาม, ตั้งข้อสู้.
แข็งขัน : ว. ขยันไม่ย่อท้อ, เอาจริงเอาจัง, มีกําลังมาก.
แข็งมือ : ก. ทําเต็มกําลังไม่ย่อท้อ.
แข็งเมือง : ก. กลับตั้งเป็นอิสระ, ไม่ยอมเป็นเมืองขึ้นอีกต่อไป.
ท้องแก่ : ว. มีครรภ์จวนจะคลอด.
ท้องแขน : น. ส่วนของแขนด้านใน มีลักษณะโค้งนูน.
ท้องฉนวน : น. ทางเดินสําหรับฝ่ายในซึ่งกั้นด้วยผ้าหรือม่านเป็นต้น.
ท้องเดิน : ว. อาการที่ถ่ายอุจจาระเหลวมากบ่อย ๆ.
ท้องตรา : น. หนังสือคําสั่งที่ประทับตราของเจ้ากระทรวง, เดิม เรียกว่า สารตรา.
ท้องตลาด : น. ตลาดทั่ว ๆ ไป, ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ.
ท้องน่อง : น. ส่วนของขาเบื้องหลัง มีลักษณะโค้งนูน ด้าน ตรงกันข้ามกับหน้าแข้ง.
ท้องพระคลัง : น. สถานที่เก็บพระราชทรัพย์หรือสิ่งของอันมีค่าอื่น ๆ ของพระมหากษัตริย์.
ท้องพระโรง : น. ห้องโถงใหญ่ในพระราชวังหรือในวังของ พระราชโอรสพระราชธิดา.
ท้องพลุ : (โบ) น. ขนมทองพลุ.