ท ๑ : พยัญชนะตัวที่ ๒๓ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น ประมาท บท ธาตุบิสมัท.
ท ๒ : ใช้ประสมกับตัว ร อ่านเป็นเสียง ซ ในคําบางคํา เช่น ทราบ แทรก ทรง และในคําบางคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ทรัพย์ อินทรีย์ มัทรี, ที่อ่านเป็นเสียงเดิมคือ ทร (ไม่ใช่ ซ) ก็มี เช่น ภัทรบิฐ.
ท ๓ : [ทะ] ใช้เป็นคํานําหน้านาม แปลว่า คน, ผู้, เช่น ทนาย ทแกล้ว.
ทวัตดึงสาการ : (แบบ) น. อาการของร่างกาย ๓๒ อย่าง มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น.
ที่ : น. แหล่ง, ถิ่น, เช่น ที่ประกอบอาชีพ ที่ทํามาหากิน, สถานที่ เช่น ที่ประชุม ที่พัก, ตําแหน่งที่ เช่น เอาแว่นวางไว้ที่โต๊ะ; ที่ดิน เช่น ซื้อที่ ขายที่ เช่าที่; ภาชนะ, เครื่องใช้, เช่น ที่บูชา ที่นอน ที่เขี่ยบุหรี่; ลักษณนามบอกสถานที่หรือสิ่งของเป็นชุด ๆ เป็นต้น เช่น ที่นั่ง ๓ ที่ อาหาร ๓ ที่. ส. คําใช้แทนคํานามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น คนที่ขยัน เด็กที่ฉลาด. ว. คํานําหน้าสังขยาบอกลําดับ เช่น ที่ ๑ ที่ ๒. บ. ใน, ณ, เช่น อยู่ที่บ้าน.
โยพนมัท : [โยบพะนะมัด] น. ความมัวเมาในความเป็นคนหนุ่มสาว, ความพลาดพลั้งเพราะความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว. (ป. โยพฺพนมท).
กามท- : [กามมะทะ-] ว. ผู้ให้ตามที่ปรารถนา เช่น หนึ่งโสดกามทราช จักประพาศยลราชี ตามวิถีแนวไม้ ไพรระเรียง. (ม. คําหลวง หิมพานต์). (ป., ส.).
ทวดึงส์, ทวัตดึงส์ : [ทะวะดึง, ทะวัดดึง] (แบบ) ว. สามสิบสอง. (ป. ทฺวตฺต??ส; ส. ทฺวาตฺร??ศตฺ).
ทั้งที่, ทั้ง ๆ ที่ : ว. ในขณะที่ เช่น เขาออกจากบ้านไปทั้งที่ฝนกำลังตก เขาลาออกทั้ง ๆ ที่หน้าที่การงานกําลังเจริญก้าวหน้า.
ทู่ : ว. ไม่แหลม (ใช้แก่ของที่มีลักษณะยาวแหลม แต่ขาดความแหลมไป เพราะความสึกกร่อนด้วยการใช้เป็นต้น) เช่น ดินสอทู่ เข็มทู่.
เท่ : ว. เอียงน้อย ๆ (มักใช้แก่การสวมหมวก); โก้เก๋ เช่น แต่งตัวเท่.
แท่ : น. เนื้อแมงกะพรุนหมักเกลือ ทําเป็นแผ่น ใช้เป็นอาหาร. (จ.).
โท่ : ว. เป็นช่องกว้างใหญ่เห็นได้จะแจ้ง.
ภิทะ, ภินท, ภินท์ : [พินทะ] ก. แตก, ทําลาย. (ป., ส.).
เปสุญวา : ท [-วาด] น. คําส่อเสียด. (ป. เปสุ?ฺ?วาท).
กด ๑ : น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด ว่า แม่กด หรือ มาตรากด.
ทะ ๑ : คําใช้นําหน้าคําที่ขึ้นต้นด้วยตัว ท ในบทกลอน มีความแปล อย่างเดียวกับคําเดิมนั้น หรือเป็นคําซํ้าซึ่งคําหน้าเสียงกร่อน ไป เช่น ทะทัด ก. สะบัด. ทะทา น. นกกระทา. ทะทาย ก. จับ, ถือ. ทะท่าว ก. ล้ม, ทบ, ซํ้า, ยอบ, เติม. ทะท้าว ว. อาการที่ตัวสั่นเทา ๆ. ทะทึก ว. อาการที่ใจเต้นตึก ๆ.
ทะนานหลวง : น. ชื่อมาตราตวงตามวิธีประเพณี มีอัตราเท่ากับ ๑ ลิตร, อักษรย่อว่า ท.
ทันตชะ : [ทันตะ-] (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มี เสียงเกิดจากฟัน ได้แก่ พยัญชนะวรรค ต คือ ต ถ ท ธ น และอักษร ล ส รวมทั้ง ฦ ฦๅ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. ทนฺตวฺย).
ธนิต : ว. หนัก, เสียงพยัญชนะบางประเภทที่เปล่งเสียงพร้อมกับมีกลุ่มลมออกมา ในภาษาไทยได้แก่เสียง พ ท ค ช ฮ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและ สันสกฤตที่มีเสียงหนักว่า พยัญชนะธนิต ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๒ และ ๔ ของวรรค. (ป.).
มาตรา : [มาดตฺรา] น. หลักกําหนดการวัดขนาด จํานวน เวลา และมุม เช่น มาตราชั่ง ตวง วัด มาตราเมตริก; แม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระ โดยไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา หรือ มาตรา ก กา, หลักเกณฑ์ที่ วางไว้เพื่อให้กำหนดได้ว่าคำที่มีพยัญชนะตัวใดบ้างเป็นตัวสะกด อยู่ในมาตราใดหรือแม่ใด คือ ถ้ามีตัว ก ข ค ฆ สะกด จัดอยู่ใน มาตรากกหรือแม่กก, ถ้ามีตัว ง สะกด จัดอยู่ในมาตรากงหรือ แม่กง, ถ้ามีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด จัดอยู่ในมาตรากดหรือแม่กด, ถ้ามีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด จัดอยู่ในมาตรากนหรือแม่กน, ถ้ามีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกด จัดอยู่ ในมาตรากบหรือแม่กบ, ถ้ามีตัว ม สะกด จัดอยู่ในมาตรากม หรือแม่กม, ถ้ามีตัว ย สะกด จัดอยู่ในมาตราเกยหรือแม่เกย, ถ้ามีตัว ว สะกด จัดอยู่ในแม่เกอว; (กฎ) บทบัญญัติใน กฎหมายที่แบ่งออกเป็นข้อ ๆ โดยมีเลขกํากับเรียงตามลําดับ; (ฉันทลักษณ์) ระยะเวลาการออกเสียงสระสั้นยาว สระสั้น ๑ มาตรา สระยาว ๒ มาตรา.
แม่ : น. หญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูลูก, คําที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูตน; คําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนมหรือรักใคร่เป็นต้นว่า แม่นั่น แม่นี่; คําใช้นําหน้านามเพศหญิง แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น แม่บ้าน; ผู้หญิงที่กระทํากิจการหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า แม่ค้า ทําครัว เรียกว่า แม่ครัว; เรียกสัตว์ตัวเมียที่มีลูก เช่น แม่ม้า แม่วัว; เรียกคน ผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนายโดยไม่จํากัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง; คํายกย่องเทวดาผู้หญิงบางพวก เช่น แม่คงคา แม่ธรณี แม่โพสพ, บางทีก็ใช้ว่า เจ้าแม่ เช่น เจ้าแม่กาลี; เรียกสิ่งที่เป็นประธานของสิ่งต่าง ๆ ในพวกเดียวกัน เช่น แม่กระได แม่แคร่ แม่แบบ; เรียกชิ้นใหญ่กว่าในจําพวกสิ่งที่สําหรับกัน เช่น แม่กุญแจ คู่กับ ลูกกุญแจ; แม่นํ้า เช่น แม่ปิง แม่วัง; คําหรือพยางค์ที่มีแต่สระ ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กก, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กง, คําหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เรียกว่า แม่กด, คําหรือพยางค์ ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กน, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด เรียกว่า แม่กม, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด เรียกว่า แม่เกย แต่ในมูลบทบรรพกิจมี ย ว อ สะกด, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ว สะกด เรียกว่า แม่เกอว.
อโฆษะ : ว. ไม่ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียง ไม่สั่น ในภาษาไทยได้แก่เสียง อ เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะสะกด และเสียง ก ค จ ช ซ ต ท ป พ ฟ ฮ เสียงสระ ในภาษาไทยไม่เป็นอโฆษะ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและ สันสกฤตที่มีเสียงไม่ก้องว่า พยัญชนะอโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๑, ๒ ของวรรค และ ศ ษ ส. (ส.; ป. อโฆส).
อักษรต่ำ : [อักสอน] น. พยัญชนะที่คําเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียง สามัญ ผันได้ ๓ เสียง มี ๒ รูป คือ ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ?เป็นเสียงตรี เช่น คา ค่า ค้า คําตายสระสั้น พื้น เสียงเป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงจัตวา เช่น คะ ค่ะ ค๋ะ คําตายสระยาว พื้นเสียงเป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ?เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงจัตวา เช่น คาก ค้าก ค๋าก มี ๒๔ ตัว คือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ.
ระดับทะเลปานกลาง : น. ค่าเฉลี่ยของระดับน้ำทะเล ซึ่งคํานวณจากผล การตรวจระดับนํ้าทะเลขึ้นลงในที่ใดที่หนึ่งที่ได้บันทึกติดต่อกันไว้เป็น ระยะเวลานาน, ใช้ย่อว่า ร.ท.ก. (อ. mean sea level).
กบี่ธุช :
ดู กระบี่ธุช ที่ กระบี่๑.
กรพินธุ์ : [กอระ-] น. ทับทิม เช่น จงแต่งเขนแต่งขันธ์ ผ้าเกราะพรรณรายแพร้ว ดยรดาษแก้วกรพินธุ์. (ม. คําหลวง มหาราช). (บางทีจะเพี้ยนมาจาก กุรุพินท์ ซึ่งตรงกับคำสันสกฤตว่า กุรุวินฺท = ทับทิม).
กรรแซง : [กัน-] (เลิก) น. กองทําหน้าที่แซงในกระบวนพยุหยาตรา เพื่อป้องกันจอมทัพ, คู่กันกับ กรรแทรก คือ กองทําหน้าที่ แทรกเพื่อป้องกันจอมทัพ. (ดู กันแซง ที่ กัน๓).
กรรแทรก : [กันแซก] (เลิก) น. กองทําหน้าที่แทรกในกระบวนพยุหยาตรา เพื่อป้องกันจอมทัพ, คู่กันกับ กรรแซง คือ กองทำหน้าที่แซงเพื่อ ป้องกันจอมทัพ. (ดู กันแทรก ที่ กัน๓).
กรรมัชวาต : [กํามัดชะ-] ดู กรรมชวาต ที่ กรรม๑กรรม- ๑.
กรลุมพาง : [กระ] (โบ) น. กระลุมพาง, กลองหน้าเดียว, เช่น ปี่จีนโสดสรใน ใดต่าง ทงงกรลุมพางพอฟงง. (ม. คำหลวง มหาราช).
กรวด ๓ : [กฺรวด] ก. หลั่งน้ำ เช่น น้ำพระเต้าสิโตทกธารามารดริน กรวดลงในมืออินทพฤฒาจารย์. (ม. กาพย์ สักบรรพ). (ข. จฺรวจ).
กรสาปน, กรสาปน์ : [กฺระสาบ] (แบบ) น. กระษาปณ์ เช่น แลพราหมณ์น้นนได้ทอง ร้อยกรสาปน เปนลาภด้วยเดอรขอทานทุกวันวารแก่มหาชน ทงงหลายบมิขาดเลย. (ม. คําหลวง ชูชก). (ส. การฺษาปณ).
กระเกรอก : [-เกฺริก] (กลอน) ว. กระเกริก, เสียงดังอึกทึก, เช่น กระเกรอกทงงท้องธรณี. (สมุทรโฆษ).
กระชิด ๒ :
(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นข่อยหนาม. (ดู ข่อยหนาม ที่ ข่อย).
กระดูก ๒ :
น. ชื่อโกฐชนิดหนึ่ง เรียกว่า โกฐกระดูก. (ดู โกฐกระดูก ที่ โกฐ).
กระเตาะ ๑ :
ดู กุ้งดีด, กุ้งดีดขัน ที่ กุ้ง๑.
กระเท่ : ว. เท่, เอียง.
กระลา ๑ : (โบ) น. ท่วงที. (อนันตวิภาค); ที่, กอง, เช่น กระลาบังคลคนผจง. (ดุษฎีสังเวย). (เทียบ ข. กฺรฬา).
กวางแขม :
ดู เนื้อทราย ที่ เนื้อ๒.
กวางทราย :
ดู เนื้อทราย ที่ เนื้อ๒.
กสิกรรม :
น. การทําไร่ไถนา. [กะสิน] น. สมถกรรมฐานหมวดหนึ่งว่าด้วยอารมณ์ที่กําหนดธาตุ ๔ คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (น้า) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม), ว่าด้วยวรรณะ (สี) ๔ คือ นีล (สีเขียว) ปีต (สีเหลือง) โลหิต (สีแดง) โอทาต (สีขาว), ว่าด้วยอากาศ (ที่ว่าง) และ อาโลก (แสงสว่าง) รวมเป็น ๑๐ อย่าง. (ป.). [กะ-] น. เกณฑ์สําหรับลบพุทธศักราชเป็นจุลศักราช ตรงกับเลข ๑๑๘๑. [กะหาปะนะ] (แบบ) น. เงินตรามีพิกัดเท่ากับ ๒๐ มาสก หรือ ๑ ตําลึง คือ ๔ บาท. (ป.). [กะเลวะราก] (กลอน) น. ซากศพ, บางทีใช้เข้าคู่กันเป็น กเฬวรากซากศพ, เขียนเป็น กเฬวราก์ ก็มี เช่น เผากเฬวราก์ผู้อนาถ. (มาลัยคําหลวง). น. กลุ่มแห่งต้นไม้ที่เกิดจากเหง้าเดียวกัน เช่น กอหญ้า กอแขม กอไผ่, ต้นไม้ที่ขึ้นเป็นกลุ่ม เช่น กอข้าว, ใช้เข้าคู่กับคํา เหล่า ว่า เหล่ากอ หมายความว่า เชื้อสาย. (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นก่อ. (ดู ก่อ๒). ดู หนอนกอ ที่ หนอน๑. ก. ทําให้เกิดขึ้น มีขึ้น หรือเป็นรูปขึ้น เช่น ก่อไฟ ก่อสงคราม ก่อตึก.
กอ ๓ :
ดู หนอนกอ ที่ หนอน๑.
กะกลิ้ง :
น. โกฐกะกลิ้ง. (ดู โกฐกะกลิ้ง ที่ โกฐ).
กะตุมู :
(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นขมิ้นอ้อย. (ดู ขมิ้นอ้อย ที่ ขมิ้น).
กักกรา :
[-กฺรา] น. โกฐกักกรา. (ดู โกฐกักกรา ที่ โกฐ).
กันดาล : [-ดาน] น. กลาง, ท่ามกลาง, เช่น ในกันดาลท้าวทงงหลายผู้ก่อนน้นน. (ม. คําหลวง ทศพร). (ข. กณฺฎาล).
ก้านพร้าว :
น. โกฐก้านพร้าว. (ดู โกฐก้านพร้าว ที่ โกฐ).
กาบหอยแครง : ดู ว่านกาบหอย ที่ ว่าน.
กำลุง : (แบบ) บ. ใน, ที่, เช่น แล้วจึงตั้งกมลจิตร ประดิษฐ์กําลุงใน หุงการชาลอรรคนิประไพ ก็เผาอาตมนิศกนธ์. (ดุษฎีสังเวย).