ธน, ธน- : [ทน, ทะนะ] น. ทรัพย์สิน. (ป., ส.).
นิรินธนพินาศ : ดู นิร.
นิรินธนพินาศ : [รินทะนะ] น. ความหมดสิ้นอย่างไฟขาดเชื้อ คือ ไม่ลุกลามได้อีก (มักใช้เปรียบถึงความดับกิเลสของพระอรหันต์).
ธนบัตร : [ทะนะบัด] (กฎ) น. บัตรที่ออกใช้เป็นเงินตรา ซึ่งใช้ชําระหนี้ได้ ตามกฎหมายโดยไม่จํากัดจํานวน. (ส. ธน + ปตฺร).
ธนาคาร : น. นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย บริษัทจํากัด หรือ บริษัท มหาชนจํากัด ที่ใช้ชื่อหรือคําแสดงชื่อว่า ธนาคาร ซึ่งประกอบธุรกิจ เกี่ยวกับเงินและธุรกิจหลักทรัพย์. (ป. ธน + อคาร).
ธนาคารพาณิชย์ :
ดู ธน, ธน-.
ธนาคารออมสิน :
ดู ธน, ธน-.
ธนาณัติ : น. การส่งเงินทางไปรษณีย์ โดยวิธีผู้ส่งมอบเงินไว้ยังที่ทําการ ไปรษณีย์แห่งหนึ่งแล้วเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ออกตราสารสั่งให้ที่ทําการ ไปรษณีย์อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินให้แก่ผู้รับ; (กฎ) ตราสารซึ่งที่ทําการไปรษณีย์ แห่งหนึ่งสั่งให้ที่ทําการไปรษณีย์อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงิน. (ป. ธน + อาณตฺติ).
ธเนศ, ธเนศวร :
ดู ธน, ธน-.
ธไนศวรรย์ : [ทะไนสะหฺวัน] (แบบ) น. อิสรภาพเหนือทรัพย์. (ส. ธน + ไอศฺวรฺย).
กระเกรียว : (โบ; กลอน) ว. เสียงดังเกรียว ๆ เช่น ก็ร้องกระเกรียวเฉียวฉาว. (สุธน).
กระทึง :
น. (๑) (โบ; กลอน) ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง ใบคล้ายพลวง รากมียางเมือก เชื่อกันว่าใช้เป็นยาดูดพิษฝีได้ เช่น กระทุทุบกระทึงทอง. (สุธน). (๒) ดู กระทิง๒.
กระลู่น์ : ว. น่าสงสาร เช่น กระลู่น์แลดูดาลแสยง. (สุธน).
กรัน ๑ : [กฺรัน] ว. เล็ก, แคระ, เช่น กรวดกรันขราราย. (สุธน).
กรางเกรียง : ว. เสียงอย่างเดียวกับกราง เช่น ก้องกงรถก้องกรางเกรียง. (พากย์; สุธน).
กลัง : [กฺลัง] (โบ) น. คลัง คือ ไม้กระบอกที่ร้อยโซ่หรือเชือก สําหรับล่ามสัตว์. (สุธน).
กลูน, กลูน์ : [กะลูน, กะลู] (แบบ) ก. กรุณา เช่นทุษฐโจรรันทำ กรรมแก่บดีสูร ยศใดบกลูน และมาลักอัครขรรค์. (สมุทรโฆษ). ว. น่าสงสาร เช่น สลดกลูน์ลุงทรวง. (สุธน). (ป.).
กามน : [กา-มน] ว. เต็มไปด้วยกาม เช่น ฤๅโฉมพระศรีศริ อภิลาศกามน. (สุธน). (ป., ส.).
กำนัน : น. ผู้ป้องกัน, ผู้รักษา, ผู้ดูแล, เช่น หัวหมื่นกับกํานันพระแสง; (กฎ) ตําแหน่งพนักงานฝ่ายปกครองซึ่งมีอํานาจหน้าที่ปกครอง ราษฎรที่อยู่ในเขตตําบล. ก. กัน, ถือ, เช่น พระจงกํานันกําหนดสัญญา. (สุธน).
กำโบล ๑ : (แบบ) น. กโบล, กระพุ้งแก้ม, เช่น ปรางเปรียบกำโบลบง- กชรัตนรจนา. (สุธน). (ป., ส. กโปล).
กำพต : [-พด] น. ลูกศร เช่น พระเอาโอสถ ทาลูกกําพต พาดสายศิลปคือ พระอัคนี สมเด็จสี่มือ ดาลเดชระบือ ระเบิดบาดาล. (สุธน).
กำเลาะ : (แบบ) ว. หนุ่ม, สาว, เช่น หากกูกำเลาะหลงกาม ไป่คำนึงความ แลโดยอำเภอลำพัง. (สุธน). (ข. กํโละ ว่า หนุ่ม).
กำเสาะ : ก. กระเสาะ, เสาะ, เช่น เสือกซบสยบสกลลง กำเสาะโศกระด้าวดาล. (สุธน).
กุจี : (แบบ) น. หญิงค่อม เช่น ทฤษฎีกุจีจิตจํานง. (สุธน).
คันโดง : น. กระโดง, ใช้หมายถึง เสากระโดง เช่น กุมกรวรนุชพงาภาองค์ยุพา มาขึ้นคันโดงคอยดู. (สุธน).
เคียร : [เคียน] (แบบ) น. คําพูด เช่น เอื้อนโองการมีสีหนาท เคียรคําถาม. (สุธน). (ป., ส. คิรา).
ธนธานี : [ทะนะ] น. สถานที่เก็บพัสดุมีค่า, คลัง, ที่เก็บสินค้า. (ป., ส.). ธนบดี [ทะนะบอ] น. เจ้าของทรัพย์, เศรษฐีผู้มีทรัพย์เป็นทุน, นายทุน. (ส. ธนปติ ว่า เจ้าแห่งทรัพย์ คือ พระอินทร์, ท้าวกุเวร).
โนเน : ว. อ่อนแอ, แบบบาง, เช่น โนเนหนุ่มเหน้าบัวบาน. (เสือโค; สุธน). (ไทยใหญ่).
ประสาธน์ : [ปฺระสาด] (แบบ) ก. ทําให้สําเร็จ. น. เครื่องประดับ. (ส. ปฺรสาธน; ป. ปสาธน).
พัฒน, พัฒนะ : [พัดทะนะ] น. ความเจริญ. (ป. วฑฺฒน; ส. วรฺธน).
พิพรรธน์ : น. พิพัฒน์. (ส. วิวรฺธน; ป. วิวฑฺฒน).
พิพัฒน์ : น. ความเจริญ. (ป. วิวฑฺฒน; ส. วิวรฺธน).
วณบัตร, วณพันธน์ : น. ผ้าพันแผล. (ป. วณปฏฺฏก, วณพนฺธน; ส. วฺรณปฏฺฏก).
วรรณศิลป์ :
น. ศิลปะในการประพันธ์หนังสือ เช่น ลิลิตพระลอ เป็นวรรณคดีที่มีวรรณศิลป์สูงส่ง, ศิลปะทางวรรณกรรม เช่น นักวรรณศิลป์; วรรณกรรมที่ถึงขั้นเป็นวรรณคดี, หนังสือที่ได้รับ ยกย่องว่าแต่งดี. [วันนะ] น. พรรณนา, การกล่าวถ้อยคําให้ผู้ฟังนึกเห็นเป็นภาพ. (ส. วรฺณนา; ป. วณฺณนา). [วันนะพรึด] น. ฉันท์ที่กําหนดด้วยอักษรตามอักขรวิธีเป็นเสียง หนักเบาที่เรียกว่า ครุ ลหุ เป็นสำคัญ. น. ผู้เขียน, ผู้ประพันธ์; เลขานุการ. (ส. วรฺณิก). [วัดทะกะ] น. ผู้เจริญ. (ส. วรฺธก ว่า ผู้ทําให้เจริญ; ป. วฑฺฒก). [วัดทะนะ] น. ความเจริญ, ความงอกงาม. (ส. วรฺธน; ป. วฑฺฒน). [วัด] น. พรรษ, ฝน; ปี. (ส. วรฺษ; ป. วสฺส). [วัดสา] น. พรรษา, ฤดูฝน; ปี. (ส.). [วะรันยู] น. ''ผู้ตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐ'' คือ พระพุทธเจ้า. (ป.). (แบบ) น. ตุ่ม, ไห, หม้อนํ้า. ว. น่าเวทนา, น่าสงสาร. (ป., ส.). น. หญิงผู้ประเสริฐ. (ส.). น. หมู. (ป., ส.). น. พระพิรุณ, เทวดาแห่งนํ้า, เทวดาแห่งฝน. (ส.). ดู วร.[วะรูถะ] (แบบ) น. การป้องกัน, ที่ป้องกัน, ที่พัก, เครื่องป้องกัน, เกราะ, โล่. (ส.).
วรรธนะ : [วัดทะนะ] น. ความเจริญ, ความงอกงาม. (ส. วรฺธน; ป. วฑฺฒน).
วิวรรธน์ : น. ความเจริญรุ่งเรือง, ความคลี่คลายไปในทางเจริญ. (ส. วิวรฺธน; ป. วิวฑฺฒน).
วิวัฒน, วิวัฒน์ : [วัดทะนะ, วัด] น. ความเจริญรุ่งเรือง, ความคลี่คลาย ไปในทางเจริญ. (ป. วิวฑฺฒน; ส. วิวรฺธน)
โศธนะ : น. การชําระ, การทําให้หมดจด, การทําให้สะอาด; การแก้ไข, การตรวจตรา, การชําระสะสาง. (ส.; ป. โสธน).