ธรณี : [ทอระนี] น. แผ่นดิน เช่น ธรณีสูบ, พื้นแผ่นดิน เช่น ธรณีวิทยา, โลก เช่น นางในธรณีไม่มีเหมือน. (ป., ส.).
ธรณีศวร : น. ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน, พระเจ้าแผ่นดิน. (ส. ธรณี + อิศฺวร).
ธรณีสาร ๑ : ดูใน ธรณี.
ธรณีกันแสง : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง, ธรณีร้องไห้ หรือ พสุธากันแสง ก็ว่า.
ธรณีประตู : น. ไม้รองรับกรอบล่างของประตู มีรูครกสําหรับรับเดือยบาน ประตู และมีรูสําหรับลงลิ่มหรือลงกลอน เช่น ธรณีประตูโบสถ์, ปัจจุบัน เรียกไม้กรอบล่างประตูว่า ธรณีประตู.
ธรณีร้องไห้ : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง, ธรณีกันแสง หรือ พสุธากันแสง ก็ว่า.
ธรณีสาร ๑ : น. เสนียดจัญไร, เรียกคนที่มีลักษณะซึมเซาง่วงเหงาหาวนอน อยู่เสมอว่า คนต้องธรณีสาร.
ธรณีสาร ๒ : น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Phyllanthus pulcher Wall. ex Muell. Arg. ในวงศ์ Euphorbiaceae ลําต้นตรง ใช้ทํายาได้, ว่านธรณีสาร ก็เรียก.
ธรณีมณฑล : น. ลูกโลก. (ส.).
ธรณีสงฆ์ : น. ที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด.
ธรณีสูบ : ก. อาการที่แผ่นดินแยกออกทำให้คนที่ทำบาปกรรมอย่างยิ่งตกลง หายไป แล้วแผ่นดินก็กลับเป็นอย่างเดิม เป็นความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ว่า ธรรมชาติจะลงโทษคนที่ทำบาปหนักนั้นเอง โดยผู้อื่นไม่ต้องลงโทษ.
กระทืบธรณี : น. อาการที่เดินห่มตัว ถือกันว่าเป็นลักษณะไม่ดี เข้าในพวกว่า ยักหล่มถ่มร้าย กระทืบธรณี.
ต้องธรณีสาร : ก. เป็นเสนียดจัญไร.
ที่ธรณีสงฆ์ : (กฎ) น. ที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด.
แม่พระธรณี : น. เทพธิดาประจำแผ่นดิน, เจ้าแม่แห่งแผ่นดิน.
บาร์ ๑ : (อุตุ) น. หน่วยวัดความกดอากาศ ๑ บาร์มีค่าเท่ากับ ๑๐๖ ดายน์ ต่อตารางเซนติเมตร หรือ ๑๐๕ นิวตันต่อตารางเมตร; (ธรณี) หน่วยวัดความดึงดูดของโลก ๑ บาร์มีค่าเท่ากับ ๙๘๐.๖๑๖ เซนติเมตรต่อวินาที ต่อ วินาที. (อ. bar).
ธรณ, ธรณะ : [ทอน, ทอระนะ] (แบบ) น. การถือไว้, การทรงไว้, การยึดไว้. (ป., ส.).
กบ ๘ : น. สลักไม้ที่ใส่ไว้ด้านในส่วนล่างตอนกลางของบานหน้าต่าง หรือประตู ทําหน้าที่คล้ายกลอน เมื่อปิดหน้าต่างหรือประตู ใช้กบนี้สอดเข้าในช่องเจาะตัวไม้ธรณี.
กระเกรอก : [-เกฺริก] (กลอน) ว. กระเกริก, เสียงดังอึกทึก, เช่น กระเกรอกทงงท้องธรณี. (สมุทรโฆษ).
การเต : [กาน-] น. กานดา เช่น ธรณีธรณิศแก้ว การเต. (ทวาทศมาส).
กึก : ว. เสียงของแข็ง ๆ กระทบกัน; ทันที เช่น หยุดกึก; (กลอน) ดังก้อง เช่น กึกฟ้าหล้าหล่มธรณี. (สมุทรโฆษ).
เกียรติมุข : [เกียดมุก] น. อมนุษย์บริวารพระศิวะ ทำเป็นรูปหน้ายักษ์ปนหน้าสิงห์ ตากลมถลน ไม่มีคาง ปากแสยะ ไม่มีขากรรไกรล่าง ไม่มีร่างกาย ไม่มีแขนขา เชื่อกันว่าเป็นเทพเจ้ารักษาธรณีประตู เป็นเครื่องป้องกัน บ้านเรือน ขับไล่เสนียดจัญไร และคอยคุ้มครองนับถือพระศิวะ มักทำเป็นลวดลายแกะสลักหรือปูนปั้น เช่นที่ทับหลังปราสาทหิน บางแห่ง ตามซุ้มปรางค์หรือเจดีย์ และที่ฐานพระพุทธรูป, กาฬมุข หรือ หน้ากาฬ ก็เรียก.
ข้าม ๑ : ก. ยกเท้าย่างผ่านเหนือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้พ้นไป เช่น ข้ามธรณีประตู, ผ่านจากข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง เช่น ข้ามฟาก ข้ามถนน, ล่วงพ้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยผ่านเหนือสิ่งนั้นไป เช่น บินข้ามมหาสมุทร, ล่วงพ้น ช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง เช่น ข้ามวันข้ามคืน, ผ่านเลยลําดับ เช่น ข้ามชั้น อ่านหนังสือข้าม.
จำปา :
น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Michelia champaca L. ในวงศ์ Magnoliaceae ดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกใหญ่ยาว มีหลายกลีบ กลิ่นหอม; สีเหลืองอมส้มอย่างดอกจำปา; เครื่องหน้าซุงว่าวจุฬา รูปเป็น กลีบเหมือนกลีบดอกจําปา; แหนบรูปคล้ายกลีบดอกจําปาซึ่งติดอยู่กับ แกนในประแจจีน สําหรับยันไม่ให้กุญแจหลุดออกจากกัน, จัมปา ก็ใช้; ไม้ไผ่ที่จักปลายด้านหนึ่งเป็น ๔-๕ แฉก แล้วเอาชิ้นไม้ขัดให้บานออก เป็นรูปดอกจำปา ใช้เสียบปลายไม้สำหรับสอยผลไม้; เครื่องยึดธรณีบน ของประตูให้ติดกับกรอบเช็ดหน้าของอาคารประเภทโบสถ์ วิหาร ในสถาปัตยกรรมไทย ทำด้วยไม้ เป็นแท่งรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหน้า ตกแต่งเป็นเส้นขอบของดอกไม้หรือแต่งให้เป็นรูปดอกสี่กลีบที่เรียกว่า ดอกประจำยาม. (๒) (ถิ่น-อีสาน) ต้นลั่นทม. (ดู ลั่นทม).
ชนมาพิธี, ชนมายุพิธี : [ชนนะ] น. อายุ, อายุขัย, กําหนดอายุ, เช่น ครั้นว่าจะสิ้นชนมาพิธีแล้วก็เสด็จเข้าสู่นฤพานแล. (ไตรภูมิ), ก็อยู่จนสิ้นชนมายุพิธี ในธรณีดลน้นน. (ม. คําหลวง ทศพร). (พิธี ว่า กําหนด).
ธรณิน : [ทอระ] (กลอน) น. ธรณี, แผ่นดิน, เช่น กึกก้องสะเทือนธรณิน. (ลอ).
พสุธากันแสง : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง, ธรณีกันแสง หรือ ธรณีร้องไห้ ก็ว่า.
มารวิชัย : [มาระ-, มาน-] น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระ อิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ ขวาวางควํ่าลงที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นธรณีในคราวที่ พระองค์ทรงเอาชนะมารได้ ว่า พระปางมารวิชัย, พระปางชนะมาร หรือ พระปางสะดุ้งมาร ก็เรียก. (ป.).
แม่ : น. หญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูลูก, คําที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูตน; คําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนมหรือรักใคร่เป็นต้นว่า แม่นั่น แม่นี่; คําใช้นําหน้านามเพศหญิง แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น แม่บ้าน; ผู้หญิงที่กระทํากิจการหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า แม่ค้า ทําครัว เรียกว่า แม่ครัว; เรียกสัตว์ตัวเมียที่มีลูก เช่น แม่ม้า แม่วัว; เรียกคน ผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนายโดยไม่จํากัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง; คํายกย่องเทวดาผู้หญิงบางพวก เช่น แม่คงคา แม่ธรณี แม่โพสพ, บางทีก็ใช้ว่า เจ้าแม่ เช่น เจ้าแม่กาลี; เรียกสิ่งที่เป็นประธานของสิ่งต่าง ๆ ในพวกเดียวกัน เช่น แม่กระได แม่แคร่ แม่แบบ; เรียกชิ้นใหญ่กว่าในจําพวกสิ่งที่สําหรับกัน เช่น แม่กุญแจ คู่กับ ลูกกุญแจ; แม่นํ้า เช่น แม่ปิง แม่วัง; คําหรือพยางค์ที่มีแต่สระ ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กก, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กง, คําหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เรียกว่า แม่กด, คําหรือพยางค์ ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กน, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด เรียกว่า แม่กม, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด เรียกว่า แม่เกย แต่ในมูลบทบรรพกิจมี ย ว อ สะกด, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ว สะกด เรียกว่า แม่เกอว.
ร่องตีนช้าง : น. ส่วนล่างของฝาเรือนทรงไทย อยู่ระหว่างธรณีประตูหรือ ธรณีหน้าต่างกับพื้น มีลักษณะเป็นช่อง ๆ กรุด้วยแผ่นไม้กระดาน.
กาฐ : [กาด] (แบบ) น. ไม้ฟืน เช่น คือโกยกาฐอันกองแลนองธรณิภาค กลาดกล่นถกลหลาก อนันต์. (สรรพสิทธิ์), กาษฐะ ก็ใช้. (ป. กฏฺ?; ส. กาษฺ?).
อุทธรณ์ : [อุดทอน] น. การยกขึ้น, การรื้อขึ้น, การเคลื่อนที่, การเสนอ, การ นำมาให้; ชื่อศาลสูงถัดจากศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษา บรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น เรียกว่า ศาลอุทธรณ์. ก. (กฎ) ยื่นฟ้องหรือยื่นคําร้องต่อศาลสูงคัดค้านคํา พิพากษาหรือคําสั่งของศาลชั้นต้น; ยื่นคําร้องคัดค้านคําสั่งหรือคํา วินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่; ร้องเรียน, ร้องทุกข์, เช่น ร้องอุทธรณ์. (ป., ส. อุทฺธรณ).