ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ : [ทํา, ทํามะ] น. คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม; คําสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า; หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม; ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม; ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น ความเป็นธรรมในสังคม; กฎ, กฎเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ; กฎหมาย เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ; สิ่งทั้งหลาย, สิ่งของ, เช่น เครื่องไทยธรรม. (ส. ธรฺม; ป. ธมฺม).
วินย, วินัย : [วินะยะ] น. ระเบียบแบบแผนและข้อบังคับ, ข้อปฏิบัติ, เช่น วินัยทหาร ทหารต้องยึดมั่นในวินัย; สิกขาบทของพระสงฆ์. (ป., ส.).
ฤต : [รึด] น. กฎ, วินัย, (เช่นในพระศาสนา); ธรรมเนียม, ความจริง, ความ ชอบธรรม. (ส.).
ธรรม ๓ : น. สมณศักดิ์พระราชาคณะ สูงกว่าชั้นเทพ ตํ่ากว่าชั้นหิรัญบัฏ เรียกว่า ชั้นธรรม เช่น พระธรรมโกศาจารย์ พระธรรมเจดีย์.
ธรรม ๒ : คําประกอบท้ายคําที่เป็นนามธรรม เมื่อประกอบแล้วมีความหมายไม่ต่างไป จากคําศัพท์เดิม เช่น วัฒนธรรม อารยธรรม.
ธรรมานุธรรมปฏิบัติ :
ดู ธรรม๑ธรรม, ธรรมะ.
ธรรมคุณ : น. ชื่อบทแสดงคุณของพระธรรม มีบาลีขึ้นต้นว่า สฺวากฺขาโต และลงท้ายว่า ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ. (ส.; ป. ธมฺมคุณ).
ธรรมสังคีติ : น. การสังคายนาธรรม, การร้อยกรองธรรม. (ส. ธรฺม + สํคีติ; ป. ธมฺมสงฺคีติ).
ธรรมสากัจฉา : น. การสนทนาธรรม. (ป. ธมฺมสากจฺฉา).
ธรรมสามี : น. ผู้เป็นเจ้าของธรรม, พระพุทธเจ้า. (ป. ธมฺมสามิ).
ธรรมกาม : น. ผู้ใคร่ธรรม, ผู้นิยมในยุติธรรม. (ส.; ป. ธมฺมกาม).
ธรรมการย์ : น. กิจอันเป็นธรรม, การกุศล, หน้าที่อันสมควร.
ธรรมเกษตร : น. แดนธรรม; คนมีใจกรุณา. (ส.).
ธรรมขันธ์ : น. หมวดธรรม, กองธรรม, ข้อธรรม, (กําหนดข้อธรรมใน พระไตรปิฎกว่ามี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์). (ส. ธรฺม + ป. ขนฺธ).
ธรรมจรณะ, ธรรมจรรยา : น. การประพฤติถูกธรรม. (ส.). ธรรมจริยา
ธรรมจักษุ : น. ดวงตาคือปัญญาที่รู้เห็นธรรม. (ส.).
ธรรมจาคะ : น. การละธรรม, การละเมิดศาสนา, การทิ้งศาสนา. (ส. ธรฺม + ป. จาค).
ธรรมจินดา : น. การพิจารณาธรรม.
ธรรมเจดีย์ : น. เจดีย์ที่บรรจุพระธรรมที่มักจารลงบนใบลาน, คัมภีร์ที่จารึก พระธรรม เช่น พระไตรปิฎก.
ธรรมทรรศนะ : น. ความเห็นชัดเจนในธรรม. (ส.).
ธรรมธาดา : น. ผู้ทรงธรรม เช่น สมเด็จพระบรมธรรมธาดามหาสัตว์. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์).
ธรรมนิตย์ : น. ผู้เที่ยงธรรม. (ส.).
ธรรมนิยม : น. ความประพฤติที่มีธรรมเป็นที่ตั้ง.
ธรรมนิเวศ : น. การเข้าประพฤติธรรม, การเข้าศาสนา.
ธรรมปฏิรูป, ธรรมประติรูป : น. ธรรมเทียม, สิ่งที่ไม่ใช่ธรรมแท้.
ธรรมยุต : น. ชื่อพระสงฆ์นิกายหนึ่ง, คู่กับมหานิกาย, ธรรมยุติกนิกาย ก็เรียก.
ธรรมยุทธ์ : น. การรบกันในทางธรรม คือ รบกันในทางแข่งขันสร้างสิ่งใด สิ่งหนึ่ง ถ้าใครสร้างได้แล้วก่อนก็ชนะ. (ส.).
ธรรมรัตน์ : น. แก้วคือธรรม. (ส.; ป. ธมฺมรตน).
ธรรมราชา : น. พระราชาแห่งธรรม คือ พระพุทธเจ้า, พระราชาผู้ทรงธรรม, พญายม.
ธรรมสรีระ : น. ร่างหรือที่บรรจุธรรม, เจดีย์ศักดิ์สิทธิ์.
ธรรมสังเวช : น. ความสังเวชโดยธรรม เมื่อเห็นความแตกดับของสังขาร (เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์). (ป. ธมฺมสํเวค).
ธรรมสามิสร : [สามิด] น. ผู้เป็นใหญ่ด้วยความเป็นเจ้าของธรรม, พระพุทธเจ้า.
ธรรมสาร : น. สาระแห่งธรรม, แก่นธรรม.
วินัยธร : [วิไนทอน] น. ภิกษุผู้ชํานาญวินัย. (ป.).
ธรรมบิฐ : น. ธรรมาสน์. (ป. ธมฺม + ปี?).
ธรรมฐิติ : น. การตั้งอยู่แห่งสิ่งที่เป็นเอง. (ป. ธมฺม??ติ).
ธรรมสถิติ : น. ความตั้งอยู่โดยธรรมดา, ความตั้งอยู่แห่งกฎ, ความตั้งอยู่ แห่งยุติธรรม. (ส.; ป. ธมฺม??ติ).
ธรรมนาถ : น. ผู้รักษากฎหมาย. (ส.).
ธรรมนิยา : ม น. ความแน่นอนแห่งธรรมดา คือ พระไตรลักษณ์. (ส.; ป. ธมฺมนิยาม).
วินัยปิฎก : [วิไนยะปิดก, วิไนปิดก] น. ชื่อปิฎก ๑ ในพระไตรปิฎก.
โพธิปักขิยธรรม : น. ธรรมเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้, ธรรม เกื้อกูลแก่ความตรัสรู้มี ๓๗ ประการ. (ป. โพธิปกฺขิยธมฺม).
โคตรภู : [โคดตฺระพู] (แบบ) น. บุคคลผู้ตั้งอยู่ในญาณซึ่งเป็นลําดับ อริยมรรค, พระสงฆ์ที่ไม่เคร่งครัดในศาสนามีขนบธรรมเนียมห่าง จากธรรมวินัย แต่ยังถือตนว่าเป็นภิกษุสงฆ์อยู่ เรียกว่า โคตรภูสงฆ์. (ส. โคตฺรภู ว่า อ้างแต่เพศ ไม่มีคุณความดีของเพศ).
ธรรมันเตวาสิก : [ทํามัน] น. อันเตวาสิก (ศิษย์) ผู้เรียนธรรมวินัย. (ส.; ป. ธมฺมนฺเตวาสิก).
ปาราชิก : น. ชื่ออาบัติหนักที่สุดในพระวินัย เมื่อภิกษุล่วงละเมิดแม้เพียงข้อใด ข้อหนึ่งต้องขาดจากความเป็นภิกษุทันที บวชเป็นภิกษุอีกไม่ได้ มี ๔ ข้อ คือ ๑. เสพเมถุน ๒. ลักทรัพย์ ๓. ฆ่ามนุษย์ ๔. อวด อุตริมนุสธรรม. ว. ผู้ละเมิดอาบัติปาราชิก เช่น พระปาราชิก. (ป.).
พรต : [พฺรด] น. กิจวัตร, การปฏิบัติ; มรรยาท, เขตแห่งความประพฤติ, ธรรมเนียม, ประเพณี, การสมาทานหรือประพฤติตามลัทธิศาสนา, การจําศีล (เช่น การเว้นบริโภค เว้นเมถุนธรรม); การสมาทานบริโภค อาหารอย่างเดียวเป็นนิตย์ (เช่น มธุพรต คือ การสมาทานกินแต่นํ้าผึ้ง); ข้อกําหนดการปฏิบัติทางศาสนาเพื่อข่มกายใจ มีศีลวินัยเป็นต้น เช่น บําเพ็ญพรต ทรงพรต ถือพรต, เรียกผู้บําเพ็ญพรตว่า นักพรต. (ส. วฺรต; ป. วตฺต).
พัดหน้านาง : น. พัดยศเปรียญหรือพระครูฐานานุกรมบางชั้นที่ต่ำ กว่าพระครูวินัยธรและพระครูธรรมธร มีลักษณะกลมอย่างหน้า นางด้านบนกลมมนโตกว่าด้านล่าง พื้นทำด้วยสักหลาด กำมะหยี่ อัตลัดสีต่าง ๆ ปักลวดลายต่างกันตามชั้นแห่งสมณศักดิ์, ถ้าเป็น พัดเปรียญ ๙ ประโยค พื้นทำด้วยตาดทอง.
ร้อยกรอง : ก. สอดผูกให้ติดต่อกัน, ร้อย ถัก และเย็บงานประเภทประณีต ศิลป์เช่นดอกไม้ให้เป็นรูปต่าง ๆ, เช่น ร้อยกรองข่ายคลุมไตร ร้อยกรอง สไบ; ตรวจชําระให้ถูกต้อง, สังคายนา, ในคําว่า ร้อยกรองพระธรรมวินัย; แต่งหนังสือดีให้มีความไพเราะ, เรียบเรียงถ้อยคําให้เป็นระเบียบตาม บัญญัติแห่งฉันทลักษณ์. น. คําประพันธ์, ถ้อยคําที่เรียบเรียงให้เป็น ระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์.
สกลมหาสังฆปริณายก : [สะกนมะหาสังคะปะรินายก] (กฎ) น. ตําแหน่งของสมเด็จพระสังฆราช ในฐานะที่ทรงเป็นประมุขแห่งคณะสงฆ์ทั้งปวง ทรงมีอํานาจบัญชาการ คณะสงฆ์ ทรงตราพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชโดยไม่ขัดหรือแย้งกับ กฎหมาย พระธรรมวินัย และกฎมหาเถรสมาคม.