ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ : [ทํา, ทํามะ] น. คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม; คําสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า; หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม; ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม; ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น ความเป็นธรรมในสังคม; กฎ, กฎเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ; กฎหมาย เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ; สิ่งทั้งหลาย, สิ่งของ, เช่น เครื่องไทยธรรม. (ส. ธรฺม; ป. ธมฺม).
ธรรมานุธรรมปฏิบัติ :
ดู ธรรม๑ธรรม, ธรรมะ.
เบญจธรรม : น. ธรรมะ ๕ ประการ คือ เมตตา ทาน ความสํารวม ในกาม สัจจะ สติ, คู่กับ เบญจศีล.
อภิธรรม : [อะพิทํา] น. ชื่อปิฎกหนึ่งในพระไตรปิฎก ได้แก่ ๑. พระวินัยปิฎก ๒. พระสุตตันตปิฎก ๓. พระอภิธรรมปิฎก, ชื่อธรรมะชั้นสูง มี ๗ คัมภีร์ ได้แก่ ๑. สังคณี ๒. วิภังค์ ๓. ธาตุกถา ๔. ปุคคลบัญญัติ ๕. กถาวัตถุ ๖. ยมก ๗. ปัฏฐาน นิยมใช้สวดในงานศพ. (ส. อภิธรฺม; ป. อภิธมฺม).
อังคุตรนิกาย : [คุดตะระ] น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๔ แห่งพระสุตตันตปิฎก แสดง หลักธรรมโดยแบ่งเป็นหมวด เรียงลำดับตามจำนวนหัวข้อธรรมะ ตั้งแต่ ๑ หัวข้อถึง ๑๑ หัวข้อ.
โพธิปักขิยธรรม : น. ธรรมเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้, ธรรม เกื้อกูลแก่ความตรัสรู้มี ๓๗ ประการ. (ป. โพธิปกฺขิยธมฺม).
กฤดายุค :
[กฺริดา-] น. ชื่อยุคแรกของจตุรยุคตามคติของพราหมณ์ ในยุคนี้มนุษย์มีธรรมะสูงสุด คือ เต็ม ๔ ใน ๔ ส่วน และมีอายุยืนยาวที่สุด. (ส. กฺฤตยุค). (ดู จตุรยุค).
กลียุค :
[กะลี-] น. ชื่อยุคที่ ๔ ของจตุรยุคตามคติของพราหมณ์ ในยุคนี้ธรรมะของมนุษย์ลดลงเหลือเพียง ๑ ใน ๔ ส่วน เมื่อเทียบกับในสมัยกฤดายุค และอายุของมนุษย์ก็สั้นลง โดยไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน. (ป., ส. กลิยุค). (ดู จตุรยุค).
ขุทกนิกาย : น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๕ แห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดเล็กน้อย รวบรวมข้อธรรมะที่ไม่อยู่ใน ๔ นิกายข้างต้น มี ๑๕ เรื่อง ซึ่งมี ธรรมบทและชาดก รวมอยู่ในคัมภีร์นี้ด้วย.
ทวาบรยุค :
[ทะวาบอระ-] น. ชื่อยุคที่ ๓ ของจตุรยุคตามคติของ พราหมณ์ ในยุคนี้ธรรมะและอายุของมนุษย์ลดลงเหลือเพียง ๒ ใน ๔ ส่วนเมื่อเทียบกับในสมัยกฤดายุค. (ดู จตุรยุค).
ธรรม ๓ : น. สมณศักดิ์พระราชาคณะ สูงกว่าชั้นเทพ ตํ่ากว่าชั้นหิรัญบัฏ เรียกว่า ชั้นธรรม เช่น พระธรรมโกศาจารย์ พระธรรมเจดีย์.
รู้ไม่ถึง : ก. รู้ไม่ลึกซึ้งพอ เช่น หลักธรรมะขั้นสูงเช่นนี้ ฉันยังรู้ไม่ถึง.
หลัก ๑ : น. เสาที่ปักไว้, ที่ผูก, ที่มั่น, เช่น เอาเรือไปผูกไว้กับหลัก; เครื่องหมาย เช่น หลักเขต; เครื่องยึดเหนี่ยว เช่น มีธรรมะเป็นหลักในการดํารงชีวิต, เครื่องจับยึด เช่น หลักแจว; สาระที่มั่นคง เช่น พูดจาไม่มีหลัก หลัก กฎหมาย หลักเศรษฐศาสตร์.
อาภรณ์ : [พอน] น. เครื่องประดับ, บางทีก็ใช้เป็นส่วนท้ายของคําสมาส เช่น พัสตราภรณ์ = เครื่องประดับคือเสื้อผ้า สิราภรณ์ = เครื่อง ประดับศีรษะ คชาภรณ์ = เครื่องประดับช้าง พิมพาภรณ์ = เครื่อง ประดับร่างกาย ในคําว่า ถนิมพิมพาภรณ์ ธรรมาภรณ์ = มีธรรมะ เป็นเครื่องประดับ. (ป., ส.).
อุทลุม : [อุดทะ] ว. ผิดประเพณี, ผิดธรรมะ, นอกแบบ, นอกทาง, เช่น คดีอุทลุม คือคดีที่ลูกหลานฟ้องบุพการีของตนต่อศาล, เรียก ลูกหลานที่ฟ้องบุพการีของตนต่อศาลว่า คนอุทลุม เช่น ผู้ใด เปนคนอุทลุมหมีได้รู้คุณบิดามานดาปู่หญ้าตายาย แลมันมา ฟ้องร้องให้เรียกบิดามานดาปู่ญ่าตายายมัน ท่านให้มีโทษทวน มันด้วยลวดหนังโดยฉกัน. (สามดวง).
ธรรม ๒ : คําประกอบท้ายคําที่เป็นนามธรรม เมื่อประกอบแล้วมีความหมายไม่ต่างไป จากคําศัพท์เดิม เช่น วัฒนธรรม อารยธรรม.
ธรรมคุณ : น. ชื่อบทแสดงคุณของพระธรรม มีบาลีขึ้นต้นว่า สฺวากฺขาโต และลงท้ายว่า ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ. (ส.; ป. ธมฺมคุณ).
ธรรมสังคีติ : น. การสังคายนาธรรม, การร้อยกรองธรรม. (ส. ธรฺม + สํคีติ; ป. ธมฺมสงฺคีติ).
ธรรมสากัจฉา : น. การสนทนาธรรม. (ป. ธมฺมสากจฺฉา).
ธรรมสามี : น. ผู้เป็นเจ้าของธรรม, พระพุทธเจ้า. (ป. ธมฺมสามิ).
โลกุตรธรรม : [โลกุดตะระทํา] น. ธรรมที่พ้นวิสัยของโลก มี ๙ คือ มรรค ๔ (คือ โสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค) ผล ๔ (คือ โสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล) และนิพพาน ๑. (ส.; ป. โลก + อุตฺตร + ธมฺม).
ธรรมบิฐ : น. ธรรมาสน์. (ป. ธมฺม + ปี?).
อุตริมนุสธรรม : [มะนุดสะทํา] น. คุณอย่างยวดยิ่งของมนุษย์ ได้แก่ธรรมวิเศษมีการสําเร็จฌาน สําเร็จมรรคผลเป็นต้น. (ป. อุตฺตริ + มนุสฺส+ ธมฺม; ส. อุตฺตริ + มนุษฺย + ธรฺม).
ธรรมกาม : น. ผู้ใคร่ธรรม, ผู้นิยมในยุติธรรม. (ส.; ป. ธมฺมกาม).
ธรรมการย์ : น. กิจอันเป็นธรรม, การกุศล, หน้าที่อันสมควร.
ธรรมเกษตร : น. แดนธรรม; คนมีใจกรุณา. (ส.).
ธรรมขันธ์ : น. หมวดธรรม, กองธรรม, ข้อธรรม, (กําหนดข้อธรรมใน พระไตรปิฎกว่ามี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์). (ส. ธรฺม + ป. ขนฺธ).
ธรรมจรณะ, ธรรมจรรยา : น. การประพฤติถูกธรรม. (ส.). ธรรมจริยา
ธรรมจักษุ : น. ดวงตาคือปัญญาที่รู้เห็นธรรม. (ส.).
ธรรมจาคะ : น. การละธรรม, การละเมิดศาสนา, การทิ้งศาสนา. (ส. ธรฺม + ป. จาค).
ธรรมจินดา : น. การพิจารณาธรรม.
ธรรมเจดีย์ : น. เจดีย์ที่บรรจุพระธรรมที่มักจารลงบนใบลาน, คัมภีร์ที่จารึก พระธรรม เช่น พระไตรปิฎก.
ธรรมฐิติ : น. การตั้งอยู่แห่งสิ่งที่เป็นเอง. (ป. ธมฺม??ติ).
ธรรมทรรศนะ : น. ความเห็นชัดเจนในธรรม. (ส.).
ธรรมธาดา : น. ผู้ทรงธรรม เช่น สมเด็จพระบรมธรรมธาดามหาสัตว์. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์).
ธรรมนิตย์ : น. ผู้เที่ยงธรรม. (ส.).
ธรรมนิยม : น. ความประพฤติที่มีธรรมเป็นที่ตั้ง.
ธรรมนิเวศ : น. การเข้าประพฤติธรรม, การเข้าศาสนา.