Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ธรรมา , then ธมฺมา, ธรรม, ธรรมะ, ธรรมา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ธรรมา, 288 found, display 1-50
  1. ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ : [ทํา, ทํามะ] น. คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม; คําสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า; หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม; ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม; ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น ความเป็นธรรมในสังคม; กฎ, กฎเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ; กฎหมาย เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ; สิ่งทั้งหลาย, สิ่งของ, เช่น เครื่องไทยธรรม. (ส. ธรฺม; ป. ธมฺม).
  2. ธรรมานุธรรมปฏิบัติ : ดู ธรรมธรรม, ธรรมะ.
  3. ธรรมันเตวาสิก : ดู ธรรมธรรม, ธรรมะ.
  4. ธรรมาทิตย์ : ดู ธรรมธรรม, ธรรมะ.
  5. ธรรมาธรรม : ดู ธรรมธรรม, ธรรมะ.
  6. ธรรมาธิปไตย : ดู ธรรมธรรม, ธรรมะ.
  7. ธรรมาธิษฐาน : ดู ธรรมธรรม, ธรรมะ.
  8. ธรรมานุสาร : ดู ธรรมธรรม, ธรรมะ.
  9. ธรรมาภิมุข : ดู ธรรมธรรม, ธรรมะ.
  10. ธรรมาภิสมัย : ดู ธรรมธรรม, ธรรมะ.
  11. ธรรมายตนะ : ดู ธรรมธรรม, ธรรมะ.
  12. ธรรมารมณ์ : ดู ธรรมธรรม, ธรรมะ.
  13. ธรรมาสน์ : ดู ธรรมธรรม, ธรรมะ.
  14. ธรรมิก, ธรรมิก- : ดู ธรรมธรรม, ธรรมะ.
  15. ธรรม ๓ : น. สมณศักดิ์พระราชาคณะ สูงกว่าชั้นเทพ ตํ่ากว่าชั้นหิรัญบัฏ เรียกว่า ชั้นธรรม เช่น พระธรรมโกศาจารย์ พระธรรมเจดีย์.
  16. ธรรม ๒ : คําประกอบท้ายคําที่เป็นนามธรรม เมื่อประกอบแล้วมีความหมายไม่ต่างไป จากคําศัพท์เดิม เช่น วัฒนธรรม อารยธรรม.
  17. ธรรมกาม : น. ผู้ใคร่ธรรม, ผู้นิยมในยุติธรรม. (ส.; ป. ธมฺมกาม).
  18. ธรรมการย์ : น. กิจอันเป็นธรรม, การกุศล, หน้าที่อันสมควร.
  19. ธรรมเกษตร : น. แดนธรรม; คนมีใจกรุณา. (ส.).
  20. ธรรมขันธ์ : น. หมวดธรรม, กองธรรม, ข้อธรรม, (กําหนดข้อธรรมใน พระไตรปิฎกว่ามี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์). (ส. ธรฺม + ป. ขนฺธ).
  21. ธรรมคุณ : น. ชื่อบทแสดงคุณของพระธรรม มีบาลีขึ้นต้นว่า สฺวากฺขาโต และลงท้ายว่า ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ. (ส.; ป. ธมฺมคุณ).
  22. ธรรมจรณะ, ธรรมจรรยา : น. การประพฤติถูกธรรม. (ส.). ธรรมจริยา
  23. ธรรมจักษุ : น. ดวงตาคือปัญญาที่รู้เห็นธรรม. (ส.).
  24. ธรรมจาคะ : น. การละธรรม, การละเมิดศาสนา, การทิ้งศาสนา. (ส. ธรฺม + ป. จาค).
  25. ธรรมจินดา : น. การพิจารณาธรรม.
  26. ธรรมเจดีย์ : น. เจดีย์ที่บรรจุพระธรรมที่มักจารลงบนใบลาน, คัมภีร์ที่จารึก พระธรรม เช่น พระไตรปิฎก.
  27. ธรรมทรรศนะ : น. ความเห็นชัดเจนในธรรม. (ส.).
  28. ธรรมธาดา : น. ผู้ทรงธรรม เช่น สมเด็จพระบรมธรรมธาดามหาสัตว์. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์).
  29. ธรรมนิตย์ : น. ผู้เที่ยงธรรม. (ส.).
  30. ธรรมนิยม : น. ความประพฤติที่มีธรรมเป็นที่ตั้ง.
  31. ธรรมนิเวศ : น. การเข้าประพฤติธรรม, การเข้าศาสนา.
  32. ธรรมปฏิรูป, ธรรมประติรูป : น. ธรรมเทียม, สิ่งที่ไม่ใช่ธรรมแท้.
  33. ธรรมยุต : น. ชื่อพระสงฆ์นิกายหนึ่ง, คู่กับมหานิกาย, ธรรมยุติกนิกาย ก็เรียก.
  34. ธรรมยุทธ์ : น. การรบกันในทางธรรม คือ รบกันในทางแข่งขันสร้างสิ่งใด สิ่งหนึ่ง ถ้าใครสร้างได้แล้วก่อนก็ชนะ. (ส.).
  35. ธรรมรัตน์ : น. แก้วคือธรรม. (ส.; ป. ธมฺมรตน).
  36. ธรรมราชา : น. พระราชาแห่งธรรม คือ พระพุทธเจ้า, พระราชาผู้ทรงธรรม, พญายม.
  37. ธรรมสรีระ : น. ร่างหรือที่บรรจุธรรม, เจดีย์ศักดิ์สิทธิ์.
  38. ธรรมสังคีติ : น. การสังคายนาธรรม, การร้อยกรองธรรม. (ส. ธรฺม + สํคีติ; ป. ธมฺมสงฺคีติ).
  39. ธรรมสังเวช : น. ความสังเวชโดยธรรม เมื่อเห็นความแตกดับของสังขาร (เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์). (ป. ธมฺมสํเวค).
  40. ธรรมสากัจฉา : น. การสนทนาธรรม. (ป. ธมฺมสากจฺฉา).
  41. ธรรมสามิสร : [สามิด] น. ผู้เป็นใหญ่ด้วยความเป็นเจ้าของธรรม, พระพุทธเจ้า.
  42. ธรรมสามี : น. ผู้เป็นเจ้าของธรรม, พระพุทธเจ้า. (ป. ธมฺมสามิ).
  43. ธรรมสาร : น. สาระแห่งธรรม, แก่นธรรม.
  44. ธรรมฐิติ : น. การตั้งอยู่แห่งสิ่งที่เป็นเอง. (ป. ธมฺม??ติ).
  45. ธรรมนาถ : น. ผู้รักษากฎหมาย. (ส.).
  46. ธรรมนิยา : ม น. ความแน่นอนแห่งธรรมดา คือ พระไตรลักษณ์. (ส.; ป. ธมฺมนิยาม).
  47. ธรรมบิฐ : น. ธรรมาสน์. (ป. ธมฺม + ปี?).
  48. ธรรมสถิติ : น. ความตั้งอยู่โดยธรรมดา, ความตั้งอยู่แห่งกฎ, ความตั้งอยู่ แห่งยุติธรรม. (ส.; ป. ธมฺม??ติ).
  49. โพธิปักขิยธรรม : น. ธรรมเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้, ธรรม เกื้อกูลแก่ความตรัสรู้มี ๓๗ ประการ. (ป. โพธิปกฺขิยธมฺม).
  50. อังคุตรนิกาย : [คุดตะระ] น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๔ แห่งพระสุตตันตปิฎก แสดง หลักธรรมโดยแบ่งเป็นหมวด เรียงลำดับตามจำนวนหัวข้อธรรมะ ตั้งแต่ ๑ หัวข้อถึง ๑๑ หัวข้อ.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-288

(0.1290 sec)