ธุลี : น. ละออง, ฝุ่น. (ป., ส. ธูลิ).
บางสุ : (กลอน) น. บงสุ์, ฝุ่น, ละออง, ธุลี, (โบ) ใช้ว่า บางษุ ก็มี เช่น มหาบางษุกุลพัษตรจีวรา. (นันโท), เมื่อน้นนนางก็ลูบบท บางษุบาท. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ป. ปํสุ; ส. ปําสุ).
ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท : (ราชา) ก. รู้ (ใช้กราบทูลพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ).
กรัชกาย : [กะรัดชะ-, กะหฺรัดชะ-, กฺรัดชะ-] (แบบ) น. ร่างกาย เช่น เจ้างามยามประจงจัดกรัชกาย. (กลบทบัวบานกลีบขยาย). [ป. ก (น้ำ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีในน้ำ (น้ำ หมายถึง น้ำกาม น้ำอสุจิ, ธุลีในน้ำ คือ ตัวสเปิร์มที่อยู่ ในน้ำอสุจิ), ก (สรีระ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีในสรีระ, กายอันบังเกิดด้วยดีด้วยธุลีเป็นไปในสรีระ (บาฬีลิปิกรม), ก (กุจฺฉิต = น่ารังเกียจ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีที่ น่ารังเกียจ, กร (การกระทำ) + ช (เกิด) + กาย = กายที่เกิดด้วยสันถวะ (ความเชยชิด) อันมารดาบิดากระทำแล้ว].
บงสุ-, บงสุ์ : (แบบ) น. ฝุ่น, ละออง, ธุลี. (ป. ปํสุ; ส. ปําสุ).
ภัสมะ : [พัดสะ] น. เถ้า, ธุลี. ก. ทําให้แหลก. ว. แหลก, ละเอียด. (ป., ส.).
ชรอุ่ม : [ชฺระ] (กลอน) ว. ชอุ่ม, มืดคลุ้ม, มืดมัว, เช่น อากาศชร อุ่มอับ ทิศบังด้วยธุลี. (สุมทรโฆษ).
มูลิกากร : น. ข้าทูลละอองธุลีพระบาท, เรียกให้เต็มว่า บาทมูลิกากร.
รชะ : [ระชะ] น. ธุลี, ละออง; ความกําหนัด. (ป., ส.).
รัช ๑ : น. ธุลี, ฝุ่น, ผง, ละออง. (ป. รช).
วิรัช ๑ : ว. ปราศจากธุลี, ไม่มีมลทิน, บริสุทธิ์, สะอาด. (ป., ส.).
สนม ๓ : [สะหฺนม] (โบ) น. เขตพระราชฐานซึ่งเป็นที่กักบริเวณผู้มีฐานันดรศักดิ์ แห่งราชวงศ์หรือข้าทูลละอองธุลีพระบาทชั้นผู้ใหญ่โดยอยู่ในความ ควบคุมดูแลของพวกสนม, เรียกลักษณะที่ถูกกักบริเวณเช่นนั้นว่า ติดสนม.