Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: นะพะ , then นพ, นะพะ, นะวะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : นะพะ, 26 found, display 1-26
  1. นภวิถี : [ [นะพะ] น. ทางฟ้า คือ วิถีโคจรแห่งตะวัน. (ส. นโภวิถี).
  2. นพ, นพ : [นบ, นบพะ] ว. เก้า (ใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น). (ป. นว; ส. นวนฺ).
  3. นภ : [นะพะ, นบพะ] น. ฟ้า, หาว, อากาศ. (ป., ส. นภ, นภสฺ).
  4. นพเคราะห์ : [นบพะเคฺราะ] (โหร) น. ดาวพระเคราะห์ทั้ง ๙ คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ.
  5. ว่านพระฉิม : ดู ข้าวข้า.
  6. นว ๑ : [นะวะ] ว. ใหม่ (ใช้เป็นคําหน้าสมาส). (ป., ส.).
  7. นว ๒ : [นะวะ] ว. เก้า, จํานวน ๙, (ใช้เป็นคําหน้าสมาส). (ป.; ส. นวนฺ).
  8. อาทีนพ, อาทีนวะ : [นบ, นะวะ] น. โทษ (บางทีใช้ควบกันว่า อาทีนพโทษ หรือ อาทีนวโทษ); ผลร้าย, บางทีใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น กามาทีนพ = โทษของกาม. (ป., ส.).
  9. กระเบน : น. ชื่อปลากระดูกอ่อนพวกหนึ่ง มีหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ลําตัวแบนลงมาก ครีบอกแผ่ออกด้านข้าง บางชนิดแผ่ออกไปจดด้านหน้าและด้านท้าย เกือบเป็นวงกลมดูคล้ายจานหรือว่าว บางชนิดแผ่ยื่นด้านข้าง ออกไปเป็นปีกคล้ายนกหรือผีเสื้อ และบางชนิดครีบอกแผ่ ไปไม่ถึงส่วนหน้า ทำให้หัวแยกจากลำตัวและส่วนยื่นของหัว เป็นลอน มีเหงือก ๕ คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจาก ส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง ซึ่งด้านในติดต่อกับ โพรงเหงือกและปาก หางส่วนมากเรียว สั้นบ้างยาวบ้าง มักมีผิวหยาบหรือขรุขระ บางพวกมีเงี่ยงอยู่บนหางตอน ใกล้ลำตัว และมีต่อมน้ำพิษอยู่บริเวณโคนเงี่ยง เมื่อใช้เงี่ยงแทง จะปล่อยน้ำพิษออกมาด้วย ทำให้คนหรือสัตว์ที่ถูกแทงรู้สึกปวด; เรียกชายผ้านุ่งที่ม้วนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บ ขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว ว่า ชายกระเบน หรือ หางกระเบน; โคนหางช้าง เช่นผูกกระเบนสักหลาดถกล สัปทนแดงกางกั้ง. (กฐินพยุห).
  10. ข้าวข้า : น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดินชนิด Euphorbia sessiflora Roxb. ในวงศ์ Euphorbiaceae สูงประมาณ ๒๐ เซนติเมตรต้นและใบอวบนํ้า เส้น กลางใบด้านล่างเป็นสันแหลม ทุกส่วนมียางขาว หัวใช้ทํายาได้, ว่านพระฉิม ก็เรียก, เขียนเป็น เข้าค่า ก็มี.
  11. เคราะห์ ๑ : [เคฺราะ] (โหร) น. เรียกดาวเฉพาะ ๙ ดวง เรียงตามลำดับมหาทักษา คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ ซึ่งถือกันว่า มีเทวดาประจําแต่ละดวง ว่า ดาวพระเคราะห์, เรียกดาวพระเคราะห์ทั้ง ๙ ดวงอย่างรวม ๆ ว่า ดาวนพเคราะห์ ถือว่าเป็นดาวที่ยึดโชคของคน; สิ่งที่นําผลมาให้โดยไม่ได้คาดหมาย เช่น เคราะห์ดี เคราะห์ร้าย, มัก นิยมใช้ในทางไม่ดี เช่น มีเคราะห์ ฟาดเคราะห์. (ป. คห; ส. คฺรห ว่า ยึด).
  12. โคจร, โคจร- : [-จอน, -จะระ-] น. อารมณ์ เช่น มีพุทธานุสติเป็นโคจร. (ป., ส.). ก. เดินไปตามวิถี เช่น ดวงอาทิตย์โคจร ดวงจันทร์โคจรรอบโลก, เที่ยว เช่น โคจรมาพบกัน, คํานี้โดยมากใช้แก่ดาวนพเคราะห์, เมื่อ ว่าเฉพาะทางที่พระอาทิตย์โคจร มีจุดสุดอยู่ ๖ แห่งที่อยู่ตรงข้ามกัน เป็นคู่ ๆ คือ ครีษมายัน กับ เหมายัน คู่หนึ่ง, วสันตวิษุวัต กับ ศารทวิษุวัต คู่หนึ่ง, พสุสงกรานต์ ๒ แห่ง คู่หนึ่ง. (ป., ส. โคจร ว่า การเที่ยวไป ของดวงอาทิตย์).
  13. ดาว ๑ : น. สิ่งที่เห็นเป็นดวงมีแสงระยิบระยับในท้องฟ้าเวลามืด นอกจาก ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์, แต่ในตําราโหราศาสตร์ถือว่า ดวงอาทิตย์และ ดวงจันทร์เป็นดาวในพวกดาวนพเคราะห์; เรียกกลุ่มดาว เช่น ดาวลูกไก่ ดาวจระเข้ ดาวไถ; เรียกบุคคลที่เด่นในทางใดทางหนึ่ง; เรียกสิ่งที่มีรูป เป็นแฉกคล้ายคลึงเช่น นั้น เช่น ดาวเครื่องหมายยศทหารตํารวจ; ชื่อ ลายประดับเพดานเป็นดวง ๆ มีหลายชนิด เช่น ดาวจงกล ดาวรังแตน ดาวกระจาย.
  14. นพคุณ : [นบพะ] น. ทองคําเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์ โบราณกําหนด ราคาตามคุณภาพของเนื้อ หนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้านํ้า, เรียกสั้น ๆ ว่า ทองนพคุณ.
  15. นวครหะ, นวเคราะห์ : [คฺระหะ, เคฺราะ] น. นพเคราะห์, ดาวพระเคราะห์ ทั้ง ๙ คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ. (ส.).
  16. นิจ ๒ : ว. ตํ่า (คู่กับ อุจ ว่า สูง) ใช้แก่ดาวนพเคราะห์ เช่นว่า พระอาทิตย์ขึ้นอุจ ในเดือนเมษายน และตกนิจในเดือนตุลาคม. (ป. นีจ).
  17. บัตรพลี : [บัดพะลี] น. ภาชนะทำด้วยกาบกล้วย เป็นรูปกระบะ สี่เหลี่ยม สำหรับวางเครื่องเซ่นสังเวย, เรียกเต็มว่า บัตรกรุงพาลี, ถ้าทำเป็นรูปสามเหลี่ยม เรียกว่า บัตรคางหมู, ถ้ามีเสาธงประกอบ ตั้งแต่ ๔ เสาขึ้นไป เรียกว่า บัตรพระเกตุ, ถ้าทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม มียอด เรียกว่า บัตรนพเคราะห์. บัตรสนเท่ห์
  18. พระเคราะห์ : น. ดาวนพเคราะห์.
  19. พักร : [พัก] (โหร) ก. ย้อน, ถอยหลัง, เช่น ดาวนพเคราะห์เดินย้อนราศี เรียกว่า พักร. (รามเกียรติ์ ร. ๒). (ส. วกฺร).
  20. มน ๑ : ก. อยู่กับที่ (ใช้แก่ดาวนพเคราะห์ ซึ่งปรากฏแก่ตาเป็น ๓ ทาง คือ เสริด ว่า ไปข้างหน้า, พักร ว่า ถอยหลัง, มน ว่า อยู่กับที่).
  21. โยค, โยคะ : [โยคะ] น. การประกอบ, การใช้, การร่วม; กิเลส; ความเพียร; วิธีบําเพ็ญ สมาธิตามลัทธิของอาจารย์ปตัญชลี; (โหร) การที่ดาวนพเคราะห์ตั้งแต่ ๒ ดวงขึ้นไปมารวมกันในราศีเดียว. (ป., ส.).
  22. รัตนโกสินทร์ : น. นามส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานครฯ ที่มีชื่อเต็มว่า กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตาร สถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์, อีกนัยหนึ่งหมายความถึง กรุงเทพฯ มักอ้างในประวัติศาสตร์ เช่น สมัยรัตนโกสินทร์.
  23. ฤกษ์ ๒ : [เริก] น. หมี; ดาวจระเข้, ดาวนพเคราะห์. (ส.).
  24. ฤกษ์บน : น. ฤกษ์ที่ดาวนพเคราะห์เสวยประจําวัน มี ๒๗ ฤกษ์.
  25. เหยียด : [เหฺยียด] ก. ทําสิ่งที่งออยู่ให้ตรง เช่น เหยียดเส้นลวด; ยาวตรงออกไปเต็ม ขนาด เช่น เหยียดแขน เหยียดขา; ในวิธีเลขโบราณว่า ลบออก เช่น เหยียด นพเป็นเอก คือ เอา ๙ ลบ ๑๐ เหลือ ๑; ดูถูก เช่น เหยียดผิว. ว. ยาวตรงออก ไปเต็มขนาด ในคำว่า ยาวเหยียด.
  26. อาทิตย, อาทิตย์ : [ทิดตะยะ, ทิด] น. ''เชื้ออทิติ'' คือ เทวดาพวกหนึ่งซึ่งเป็นลูกนาง อทิติผู้เป็นชายาพระกัศยปประชาบดี เทวดาพวกนี้มีจํานวนกล่าวไว้ ต่างกัน บ้างว่ามี ๕ องค์ บ้างว่ามี ๗ องค์ บ้างว่ามี ๑๒ องค์ ได้แก่ อินทราทิตย์ (พระอินทร์) วรุณาทิตย์ (พระพิรุณ) ฯลฯ สูรยาทิตย์ (พระอาทิตย์ที่ส่องโลก); ชื่อเทวดาพระเคราะห์ คือ สูรยาทิตย์; ดวงตะวัน (ชื่อเทวดาองค์หนึ่งในนิยาย), ในตํารานพเคราะห์นับ เอาเป็นดาวพระเคราะห์ที่ ๑; ชื่อวันที่ ๑ ของสัปดาห์; รอบ ๗ วัน เช่น ไม่ว่างตลอดอาทิตย์. (ส.; ป. อาทิจฺจ).
  27. [1-26]

(0.0675 sec)