นัด ๑ : ก. ตกลงกันเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่งตามแต่จะกําหนด. น. การกําหนด ตกลงว่าจะพบปะกันเป็นต้น เช่น มีนัด ผิดนัด; ลักษณนามเรียกการ กําหนดประชุมครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ขาดประชุม ๓ นัด.
นัด ๓ : ลักษณนามเรียกกระสุนปืนทั้งที่ยังมิได้ยิงและที่ได้ยิงออกไปแล้ว เช่น กระสุน ๓ นัด ยิงสลุต ๒๑ นัด.
นัด ๒ : ก. เป่าหรือสูดให้วัตถุที่เป็นผงอย่างยานัตถุ์เข้าในจมูก เช่น นัดยานัตถุ์.
นัดหมาย : ก. กําหนดและกะกันไว้.
ตลาดนัด : น. ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ ซึ่งมิได้ตั้งอยู่ประจํา จัดให้มีขึ้น เฉพาะในวันที่กําหนดเท่านั้น.
ต่อนัดต่อแนง, ต่อนัดต่อแนม : ก. ต่อราคาของเล็ก ๆ น้อย ๆ; เถียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่รู้จักจบ.
ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว : (สํา) ก. ทําอย่างเดียวได้ผล ๒ อย่าง, ลงทุน ครั้งเดียวได้ผลกําไร ๒ ทาง.
นัตถุ์ : [นัด] น. จมูก. (ป.; ส. นสฺตุ).
นัฏ, นัฏกะ : [นัด, นัดตะกะ] (แบบ) น. ผู้ฟ้อนรํา. (ป., ส. นฏฺฏ, นฏฺฏก).
อานาปานัสสติ : [นัดสะติ] น. สติที่กําหนดลมหายใจเข้าและ ลมหายใจออก.
กฐินัตถารกรรม : [กะถินัดถาระกํา] น. การกรานกฐิน. (ป. ก??น + อตฺถาร + ส. กรฺม).
กำนัด : [กำหฺนัด] (โบ) ก. กําหนัด เช่น พิศเพี้ยนพระพนิดาทุกขานลกํานัด ดัดรัตนธารี มาดู. (สมุทรโฆษ).
กำหนัด : [-หฺนัด] น. ความใคร่ในกามคุณ. ก. ใคร่ในกามคุณ เช่น เทียรย่อมให้เกิดวัฒนาการกําหนัดใน. (ม. ร่ายยาว มหาพน).
ขนัด : [ขะหฺนัด] น. แถว, แนว, เช่น เรือแล่นเป็นขนัด; ลักษณนามใช้เรียก สวนที่มีคันดินกั้นเป็นตอน ๆ เช่น สวนขนัดหนึ่ง สวน ๒ ขนัด. ว. แออัด ในคําว่า แน่นขนัด.
ข้อกติกา : น. ข้อตกลง, ข้อกําหนด, ข้อที่นัดหมายกันไว้, เงื่อนไขที่กําหนดไว้.
จาตุรงคสันนิบาต : น. การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันนั้น ดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อมฆา) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป ประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมวันนั้นล้วน ได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, นับเป็นวันสําคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา, คําสามัญว่า มาฆบูชา. (ป., ส.).
ชันชี : (ถิ่นปักษ์ใต้) ก. สัญญา, นัดหมาย, ตกลงกัน. (ม. janji).
ซ้อน : ก. วางทับกัน เช่น เอาจานซ้อนกัน เอาหนังสือซ้อนสมุด, เรียงแทรกเสริมกัน เช่น ฟันซ้อน มะลิซ้อน; ซํ้า ๆ กัน เช่น ถูกชก ๒ ทีซ้อน เสียงปืนดัง ๓ นัดซ้อน; ว่ากันคนละทีในเชิงแข่งขัน เช่น เทศน์ซ้อน. ว. มีหรือทำอย่างเดียวกันกับที่มีหรือทำอยู่แล้ว เช่น เขามีประชุมซ้อน; ลักษณะที่จอดรถหรือเรือเรียงขนานกับอีกคันหนึ่ง หรือลําหนึ่งที่จอดอยู่แล้ว เรียกว่า จอดรถหรือเรือซ้อนกัน; ลักษณะ ที่จอดรถขวางรถที่จอดเป็นระเบียบอยู่แล้ว เป็นการกีดขวางทาง จราจร เรียกว่า จอดรถซ้อนคัน.
ถนัด : [ถะหฺนัด] ก. สันทัด, ชํานาญ, เช่น ถนัดแต่งกลอน. ว. สะดวก เช่น เดินไม่ถนัด; ชัด, แม่ยำ, เช่น เห็นไม่ถนัด; เช่น, ราวกับ, เช่น ถนัด ดั่งภูผาหลวง ทุ่มแท้. (ตะเลงพ่าย), สนัด ก็ว่า.
นัดแนะ : ก. นัดและชี้แจงให้กันทราบ.
นานัตว : [นานัด] (แบบ) น. ความเป็นต่าง ๆ. (ส.).
แนะนัด : ก. นัดแนะ, นัดและชี้แจงให้กันทราบ.
เป้า ๑ : น. สิ่งที่กําหนดไว้เป็นจุดหมาย เช่น นักยิงปืนยิงถูกตรงเป้าทุกนัด เอาต้นไม้เป็นเป้า; โดยปริยายหมายความว่า เป็นที่เพ่งเล็ง เช่น เป็นเป้าสายตา.
ผละงาน : ก. ละทิ้งการงานไปโดยกะทันหัน, นัดหยุดงาน.
ผิดนัด : ก. ไม่ไปตามนัด, ไปไม่ตรงตามเวลาที่นัดไว้; (กฎ) การที่ ลูกหนี้ไม่ชําระหนี้ตามกําหนดเวลา หรือการที่เจ้าหนี้ไม่รับชําระ หนี้ โดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้.
พนัสดม : [พะนัดสะดม] น. ป่ามืด, ป่าทึบ.
พนัสบดี : [พะนัดสะบอดี] น. เจ้าป่า. (ส. วนสฺปติ หมายถึง ต้นโพ ต้นไทร และต้นมะเดื่อ; ป. วนปฺปติ).
พนัส, พนัส : [พะนัด, พะนัดสะ] น. ป่า, พง, ดง. (มาจาก พน แต่เพิ่มตัว ส เพื่อ ความสะดวกในการสนธิ). (ส. วนสฺ; ป. วน).
พราหมณัศบดี : [พฺรามมะนัดสะบอดี] น. ชื่อหนึ่งของพระเพลิง.
มนัสดาป : [มะนัดสะดาบ] น. ความร้อนใจ. (ส.).
มนัส, มนัส- :
[มะนัด, มะนัดสะ-] น. ใจ (เมื่อเข้าสมาสกับศัพท์หลังมักเป็น มโน, ดู มโน). (ส.).
มนัสวี : [มะนัดสะ-] น. ผู้เป็นปราชญ์, ผู้มีใจเด็ดเดี่ยว, ผู้มีความคิดสูง. (ส.).
มาฆบูชา : น. การทําบุญพิเศษทางพระพุทธศาสนาในวันเพ็ญ เดือน ๓ เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สําคัญซึ่งประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์ เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปประชุมกัน โดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมนั้นล้วนได้รับ เอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. ท่านเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, (วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก. ป. มาฆปูชา).
มีอันเป็น : ก. เกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝัน (มักใช้ในทางร้ายมีภัยพิบัติเป็นต้น) เช่น ขอให้มีอันเป็นไปเถิด มีอันเป็นให้ป่วยไข้เวลามีนัด.
แม่สายบัวแต่งตัวค้าง : (สํา) น. ผู้หญิงที่แต่งตัวคอยผู้มารับออกนอกบ้าน แต่เขาไม่มาตามนัด.
ยานัตถุ์ : น. ผงละเอียดที่ปรุงขึ้นจากใบยาสูบหรือวัตถุใด ๆ สําหรับนัด โดยเป่าหรือสูดเข้าจมูก, เรียกกิริยาเช่นนั้นว่า นัดยานัตถุ์.
ลูกปราย : น. ลูกตะกั่วหรือลูกเหล็กเล็ก ๆ สําหรับยัดใส่ในลํากล้อง ปืนครั้งละหลายลูก เมื่อยิงไปครั้งหนึ่ง ๆ ลูกจะกระจายไป, กระสุน ปืนชนิดที่มีลูกตะกั่วหรือลูกเหล็กเล็ก ๆ หลาย ๆ ลูกผสมปนอยู่กับ ดินปืนในนัดเดียวกัน เวลายิงจะกระจายออก เช่น ปืนลูกซองใช้ กระสุนลูกปราย.
วนัสบดี : [วะนัดสะบอดี] น. ไม้ใหญ่, พญาไม้, (ในภาษาสันสกฤต หมายเฉพาะต้นไทรและต้นมะเดื่อชุมพร). (ส. วนสฺปติ; ป. วนปฺปติ).
วนัส, วนัส : [วะนัด, วะนัดสะ] น. ป่า. (ส.; ป. วน).
วันมาฆบูชา : น. วันเพ็ญเดือน ๓ เป็นวันทำบุญพิเศษทาง พระพุทธศาสนาเพื่อระลึกถึงความสำคัญ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึง ดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ ส่วนในปีที่มีอธิกมาสจะตรงกับวันเพ็ญเดือน ๔) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมกันในวันนั้นล้วนเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้า ทรงบวชให้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งเรียกการบวชแบบนี้ว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา๔. พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ ทั้งสิ้น, วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก.
สนัด : [สะหฺนัด] ก. ถนัด, สันทัด, มั่นเหมาะ. ว. ชัด, แม่นยํา.
สอดส่าย : ก. ส่ายตาค้นหา ในคำว่า สอดส่ายสายตา เช่น สอดส่ายสายตา หาเพื่อนที่นัดไว้ ตำรวจสอดส่ายสายตาหาคนร้าย, โดยปริยายหมายถึง ส่ายตามองหาช่องทางหรือโอกาสที่จะลักขโมยเป็นต้น.
สับหลีก : (ปาก) ก. เปลี่ยนทางหลีกของรถไฟ, โดยปริยายหมายความ ว่า เปลี่ยนหรือกำหนดนัดไม่ให้ผู้มาหาตนพบกับอีกคนหนึ่ง (มักใช้ ในทางชู้สาว).
อนรรถ : [อะนัด] ว. ไม่เป็นประโยชน์, ไม่มีผล. (ส. อนรฺถ; ป. อนตฺถ).
อนัตถ : [อะนัดถะ] ว. อนรรถ. (ป.).
อาณัติ : [อานัด] น. ข้อบังคับ, คําสั่ง, กฎ, เครื่องหมาย; การมอบหมายให้ดูแล ปกครอง เช่น อาณาเขตในอาณัติ ดินแดนในอาณัติ. (ป. อาณตฺติ).
นท : [นด] (แบบ) น. ผู้บันลือ, ผู้ร้อง, ผู้ลั่น; แม่นํ้า, ลํานํ้า, เช่น ชมพูนท (แปลว่าเกิดในแม่น้ำชมพูนที คือ ทองคำบริสุทธิ์). (ป., ส.).
นัดดา : น. หลานปู่, หลานตา. (ป. นตฺตุ).