Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: นับถือ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : นับถือ, 95 found, display 1-50
  1. นับถือ : ก. เชื่อถือยึดมั่น เช่น นับถือศาสนา, เคารพ เช่น นับถือผู้หลัก ผู้ใหญ่, ยกย่อง เช่น นับถือว่าเป็นครูบาอาจารย์, ใช้เป็นคําลงท้าย จดหมายแสดงความสุภาพว่า ด้วยความนับถือ หรือ ขอแสดงความนับถือ.
  2. ถือ : ก. เอาไว้ในมือ, จับยึดไว้, เช่น ถือมีด ถือปืน ถือหนังสือ; ทรงไว้, ดํารงไว้; เอาไว้ในใจ เช่น ถือศีล ถือศักดินา; ยึดเอาว่า, นับเอาว่า, เช่น ถือเป็นญาติกัน ถือเราถือเขา ถือพวก ถือโทษ; เชื่อมั่นว่าเป็นมงคล หรืออัปมงคล เช่น ถือไม่ให้ใครจับหัว ถือไม่ลอดใต้ถุน; นับถือ เช่น ถือศาสนา; เช่า ในคําว่า ถือสวน, เช่าถือสวน ก็ว่า.
  3. ยึดถือ : ก. จับถือ, เอามารักษา, นับถือ เช่น ยึดถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง.
  4. เชื่อถือ : ก. นับถือ.
  5. ทองดำ ๑ : น. ทองชนิดหนึ่ง โบราณเข้าใจกันว่ามีสีเนื้อดํา นับถือ เป็นของวิเศษ.
  6. ยำ ๒ : ก. เคารพ, นับถือ.
  7. โอม : น. คำที่ประกอบด้วยเสียง ๓ เสียง คือ อ อุ ม [อ่านว่า อะ อุ มะ] รวมกัน ข้างฝ่ายฮินดูหมายถึง พระเจ้าทั้ง ๓ คือ อ = พระศิวะ อุ = พระวิษณุ ม = พระพรหม; ข้างพระพุทธศาสนาเลียนเอามา ใช้หมายถึง พระรัตนตรัย คือ อ = อรหํ (พระพุทธเจ้า) อุ = อุตฺตมธมฺม (พระธรรมอันสูงสุด) ม = มหาสงฺฆ (พระสงฆ์) นับถือ เป็นคําศักดิ์สิทธิ์, เป็นคำขึ้นต้นของการกล่าวมนตร์. ก. กล่าวคํา ขึ้นต้นของมนตร์. (ส.).
  8. กฎหมาย : (กฎ) น. กฎที่สถาบันหรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือ ที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ใน การบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือ เพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือ ระหว่างบุคคลกับรัฐ. (โบ) ก. จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ไว้. (พงศ. อยุธยา), ทําหนังสือ เป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทําหนังสือร้องเรียนกฎหมายว่า.... (พระราชกําหนดเก่า); ออกหมายกําหนด เช่น ให้มหาดไทยกลาโหม กฎหมายบอกแก่ตระลาการ ถ้ากฎหมายมิทั่วจะเอาตัวผู้กฎหมาย ลงโทษ. (พระราชกําหนดเก่า); กฎหมายงานพระบรมศพครั้ง กรุงเก่า; ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดํารัสให้เร่งคืนมา. (พากย์); กําหนดขีดขั้น เช่น ให้ปลูกโรงรจนา ใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย. (พากย์).
  9. กำนัล ๑ : ก. ให้ของกันด้วยความนับถือ.
  10. เกียรติ, เกียรติ-, เกียรติ์ : [เกียด, เกียดติ-, เกียน] น. ชื่อเสียง, ความยกย่องนับถือ, ความมีหน้ามีตา. (ส. กีรฺติ; ป. กิตฺติ ว่า คำเล่าลือ, คำสรรเสริญ).
  11. เกียรติมุข : [เกียดมุก] น. อมนุษย์บริวารพระศิวะ ทำเป็นรูปหน้ายักษ์ปนหน้าสิงห์ ตากลมถลน ไม่มีคาง ปากแสยะ ไม่มีขากรรไกรล่าง ไม่มีร่างกาย ไม่มีแขนขา เชื่อกันว่าเป็นเทพเจ้ารักษาธรณีประตู เป็นเครื่องป้องกัน บ้านเรือน ขับไล่เสนียดจัญไร และคอยคุ้มครองนับถือพระศิวะ มักทำเป็นลวดลายแกะสลักหรือปูนปั้น เช่นที่ทับหลังปราสาทหิน บางแห่ง ตามซุ้มปรางค์หรือเจดีย์ และที่ฐานพระพุทธรูป, กาฬมุข หรือ หน้ากาฬ ก็เรียก.
  12. แก้ว ๑ : น. หินแข็งใส แลลอดเข้าไปข้างในได้ ได้แก่จําพวกเพชรพลอย, ของที่ทําเทียมให้มีลักษณะเช่นนั้น, ของที่ได้จากการใช้ทรายขาว เป็นส่วนประกอบสําคัญมาหลอมกับสารที่มีสมบัติเป็นด่างเช่น ออกไซด์ของโซเดียม ออกไซด์ของแคลเซียม แล้วมีลักษณะเช่นนั้น; เรียกภาชนะที่ทําด้วยแก้วสําหรับใส่น้ำกินเป็นต้นว่า ถ้วยแก้ว หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แก้ว, เรียกภาชนะที่ทําด้วยแก้ว เช่น ชามแก้ว; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่เคารพนับถือยิ่ง ในคําว่า แก้ว ทั้ง ๓ อันหมายถึง พระรัตนตรัย, หรือใช้ประกอบคํานามให้หมายความว่าสิ่งนั้นมีค่ามาก เป็นที่รัก หรือดีเยี่ยม เช่น นางแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว ลูกแก้ว, หรือใช้เรียกของใสบางชนิด เช่น กระดาษแก้ว ผ้าแก้ว ข้าวเหนียวแก้ว.
  13. ของกำนัล : น. สิ่งของที่นําไปให้แก่ผู้ที่รักและนับถือ.
  14. ของเลื่อน : น. สํารับคาวหวานที่เจ้าภาพในงานทําบุญนําไปให้ผู้ที่ นับถือด้วยไมตรีจิต.
  15. ขึ้น ๑ : ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้าม กับลง; เพิ่มหรือทําให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น; เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทําเนียบ; เอ่ยคําหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ,เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับ กระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น; แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชค จะทําอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทําให้เป็น รูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจาก ธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไปตาม ทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.
  16. คด ๑ : น. วัตถุแข็งคล้ายหินที่มีในสัตว์หรือต้นไม้ นับถือกันว่าเป็นเครื่องราง.
  17. คริสต์ศาสนิกชน : น. ผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนา.
  18. คริสตัง : น. ผู้นับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก.
  19. คริสเตียน : น. ผู้นับถือคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนต์.
  20. คารพ : [-รบ] น. ความเคารพ, ความนับถือ. (ป. คารว).
  21. คารวะ : [คาระ-] น. ความเคารพ, ความนับถือ. ก. แสดงความเคารพ. (ป.).
  22. คำนับ ๑ : ก. ทําความเคารพ, ทําความเคารพโดยก้มศีรษะให้. (โบ) น. คําที่ต้อง นับถือ, หลักฐาน, เช่น ธก็ให้โกษาธิบดีลําดับคํานับนี้ไว้. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  23. คุณนาย : น. คํายกย่อง ใช้เรียกภรรยาข้าราชการชั้นสัญญาบัตรที่ยัง มิได้เป็นคุณหญิง, ในปัจจุบันใช้เรียกยกย่องสตรีทั่ว ๆ ไปที่ผู้เรียกนับถือ.
  24. เครื่องราง : น. ของที่นับถือว่าป้องกันอันตราย ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เหล็กไหล.
  25. เครือจักรภพ, เครือรัฐ : [-จักกฺระพบ, -รัด] น. กลุ่มประเทศหรือรัฐที่มีการปกครองตนเอง แต่ยอมรับนับถือประมุขร่วมกัน เช่น ประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ รัฐต่าง ๆ ในเครือรัฐออสเตรเลีย. (อ. commonwealth).
  26. เคารพ : ก. แสดงอาการนับถือ เช่น เคารพผู้ใหญ่ เคารพธงชาติ; ไม่ล่วงเกิน, ไม่ล่วงละเมิด, เช่น เคารพสิทธิของผู้อื่น. (ส. เคารว; ป. คารว).
  27. จงรัก, จงรักภักดี : ก. ผูกใจรักด้วยความเคารพนับถือหรือรู้คุณอย่างยิ่ง.
  28. เจดีย-, เจดีย์ ๑ : [-ดียะ-] น. สิ่งซึ่งก่อเป็นรูปคล้ายลอมฟาง มียอดแหลม บรรจุสิ่งที่นับถือ มีพระธาตุเป็นต้น, สิ่งหรือบุคคลที่เคารพนับถือ. (ป. เจติย; ส. ไจตฺย).
  29. เจ้า ๑ : น. ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, เช่น เจ้านคร; เชื้อสายของกษัตริย์นับตั้งแต่ ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป, บางแห่งหมายถึงพระเจ้าแผ่นดินก็มี เช่น เจ้ากรุงจีน; ผู้เป็นเจ้าของ เช่น เจ้าทรัพย์ เจ้าหนี้; ผู้ชํานาญ เช่น เจ้าปัญญา เจ้าความคิด เจ้าบทเจ้ากลอน; มักใช้เติมท้ายคําเรียกผู้ที่นับถือ เช่น พระพุทธเจ้า เทพเจ้า; เทพารักษ์ เช่น เจ้าพ่อหลักเมือง.
  30. เจ้ากู : น. ท่าน (ใช้เรียกพระที่นับถือ).
  31. เจ้าประคุณ : น. (โบ) คำเรียกผู้ที่นับถือ และท่านที่เป็นเจ้าบุญนายคุณ. ส. คำที่ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ใช้เรียกสมเด็จพระราชาคณะ, ใช้ เต็มว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. (เพี้ยนมา จาก เจ้าพระคุณ).
  32. เจ้าปู่ : น. ผู้เฒ่าที่คนเคารพนับถือ, ปู่เจ้า ก็ว่า.
  33. ชาว : น. กลุ่มชนที่มีเชื้อชาติเดียวกัน เช่น ชาวไทย ชาวจีน หรือ อยู่ในถิ่นฐานเดียวกัน เช่น ชาวเมือง ชาวชนบท หรือมี อาชีพอย่างเดียวกัน เช่น ชาวไร่ชาวนา ชาวประมง หรือ นับถือศาสนาร่วมกัน เช่น ชาวพุทธ ชาวคริสต์.
  34. ซิก ๒, ซิกข์ : น. ชื่อศาสนาหนึ่งในอินเดีย มีศาสดาชื่อ คุรุนานัก; ชื่อชาวอินเดีย พวกหนึ่งที่นับถือศาสนาซิกข์ส่วนมากอยู่ในแคว้นปัญจาป ประเทศอินเดีย, สิกข์ หรือ สิข ก็ว่า.
  35. ฐากูร : [ถากูน] (แบบ) น. รูปเคารพ, เทพเจ้าที่นับถือ; ใช้เสริมท้ายชื่อคน ที่มีชื่อเสียง เช่น โควินทฐากูร ชื่อผู้แต่งคัมภีร์กาพย์กลอน. (ส. ?กฺกุร).
  36. ดำหัว : น. ประเพณีทางภาคเหนือซึ่งกระทําในวันปีใหม่เพื่อเป็นการแสดง ความเคารพนับถือและรักใคร่ วิธีดําหัว คือ เอาสิ่งของและนํ้าที่ใส่เครื่องหอม เช่นนํ้าอบไทยไปให้แก่ผู้ที่เคารพ และขอให้ท่านรดนํ้าใส่หัวของตนเพื่อให้ อยู่เย็นเป็นสุข.
  37. ตา ๑ : น. พ่อของแม่, ผัวของยาย, ชายที่เป็นญาติชั้นเดียวกับพ่อของแม่หรือที่อายุ รุ่นราวคราวเดียวกับตา, (ปาก) คําเรียกชายสูงอายุที่ตนไม่ค่อยเคารพนับถือ เช่น ตาเถร ตาแก่ หรือเรียกชายรุ่นราวคราวเดียวกันอย่างเป็นกันเอง เช่น ตาเกิ้น ตาโย่ง หรือเรียกเด็กชายที่ตนเอ็นดูรักใคร่ เช่น ตาหนู. ตาทวด น. พ่อของตาหรือของยาย. ตามีตามา, ตาสีตาสา (สํา) น. ชาวบ้านทั่ว ๆ ไป.
  38. ถอนหงอก : (สํา) ก. ไม่นับถือความเป็นผู้ใหญ่, พูดว่าให้เสียผู้ใหญ่.
  39. ถึง : ก. บรรลุจุดหมาย เช่น เมื่อไรจะถึง; รับนับถือ, ยึดถือ, เช่น ถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก; โดยปริยาย หมายความว่า เท่าทัน, ทัดเทียม, เช่น เขาถึงกัน มีความรู้ไม่ถึง ฝีมือไม่ถึง. ว. มากพอ เช่น ถึงเกลือ ถึงนํ้าตาล ถึงเครื่อง. บ. สู่, กระทั่ง, ยัง, เช่นไปถึงบ้าน; จนกระทั่ง เช่น ถึงนํ้าตาตก ถึงลุกไม่ขึ้น, ถึงแก่ ถึงกับ ถึงกะ ก็ว่า; ใช้เป็นคําจ่าหน้าในจดหมายระบุตัวผู้รับ. สัน. แม้ เช่น ถึงเขาจะเป็นเด็ก เขาก็มีความคิด; (ปาก) จึงเช่น ทําอย่างนี้ถึงจะดี.
  40. ถูป- : [ถูปะ-] (แบบ) น. เจดีย์ซึ่งก่อไว้สําหรับบรรจุของควรบูชา มีกระดูก ของบุคคลที่นับถือเป็นต้น. (ป.).
  41. ที่รัก : น. คนรัก, คําแบบแสดงถึงความสุภาพ ความเคารพ ความ นับถือเวลาพูดในที่ชุมนุมชนเป็นต้น เช่น พี่น้องที่รักทั้งหลาย หรือในจดหมายที่มีไปถึงผู้ที่คุ้นเคยกัน เช่น แดงที่รัก.
  42. เทพประติมา : น. รูปเทวดาที่นับถือ. (ส.).
  43. เทวรูป : น. รูปเทพเจ้าหรือเทวดาที่เคารพนับถือ.
  44. นิยม : (แบบ) น. การกําหนด. (ป., ส.). ก. ชมชอบ, ยอมรับนับถือ, ชื่นชมยินดี, ถ้าใช้ประกอบท้ายคําสมาสบางคํามีความหมายว่า ลัทธิ เช่น ชาตินิยม สังคมนิยม.
  45. บรรณาการ : [บันนากาน] น. สิ่งที่ส่งไปให้ด้วยความเคารพนับถือ หรือด้วยไมตรี. (ป. ปณฺณาการ; ส. ปรฺณาการ), ในบทประพันธ์ใช้ว่า บรรณา ก็มี.
  46. บูชา : ก. แสดงความเคารพบุคคลหรือสิ่งที่นับถือด้วยเครื่องสักการะ มีดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น เช่น บูชาพระ บูชาเทวดา บูชาไฟ, ยกย่องเทิดทูนด้วยความนับถือหรือเลื่อมใสในความรู้ความ สามารถ เช่น บูชาวีรบุรุษ บูชาความรู้ บูชาฝีมือ. (ป., ส. ปูชา).
  47. ประดิษฐาน : [ปฺระดิดสะถาน] ก. ตั้งไว้ (ใช้แก่สิ่งที่เคารพนับถือ) เช่น นําพระพุทธรูป ไปประดิษฐานไว้ในโบสถ์ ประดิษฐานพระพุทธศาสนา, แต่งตั้งไว้ใน ตําแหน่งสูง เช่น ประดิษฐานไว้ในตําแหน่งอัครมเหสี. (ส. ปฺรติษฺ?าน; ป. ปติฏฺ?าน).
  48. ประทักษิณ : น. การเวียนขวา โดยให้สิ่งที่เรานับถือหรือผู้ที่เรานับถือเป็นต้น อยู่ทางขวาของผู้เวียน. (ส.).
  49. ปู่ : น. พ่อของพ่อ, ผัวของย่า, ญาติผู้ชายหรือชายที่นับถือชั้นปู่.
  50. ปู่เจ้า : น. ผู้เฒ่าที่คนเคารพนับถือ, เจ้าปู่ ก็ว่า; เทพารักษ์ เช่น เขาใส่สมญาเรา ปู่เจ้า. (ลอ).
  51. [1-50] | 51-95

(0.0177 sec)