นั่น : ส. คําใช้แทนนามที่อยู่ไกลกว่า นี่ เช่น นั่นอะไร, คําใช้แทนนามที่หมายถึง บุคคลสิ่งของ หรือเรื่องที่อ้างถึง เช่น เอานี่ผสมนั่น. ว. ที่อยู่ไกลกว่า นี่ เช่น โต๊ะนั่น ที่นั่น. นั่นซี, นั่นนะซี คําแสดงการเห็นพ้องด้วย. นั่นแน่ คําแสดงการยืนยันการพบเห็นเป็นต้น เช่น นั่นแน่มาอยู่ที่นี่เอง นั่นแน่ ว่าแล้วอย่างไรล่ะ. นั่นปะไร, นั่นเป็นไร คํากล่าวแสดงว่าเหตุการณ์เป็นอย่างที่พูดไว้, (ปาก) คำแสดงการซ้ำเติม เช่น นั่นปะไร ว่าแล้วไม่เชื่อ.
นั่นแหละ : [แหฺละ] คําแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น นั่นแหละ ใช่แล้ว คุณนั่นแหละ. นั่นเอง คําประกอบคําอื่นแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เขานั่นเอง.
ว่าเข้านั่น : (ปาก) เป็นคำที่เปล่งออกมาในลักษณะที่แสดงว่าเรื่อง ที่อีกฝ่ายหนึ่งกล่าวนั้นไม่น่าเชื่อถือเป็นต้น.
เจ้า ๒ : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย สําหรับผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อยอย่างสุภาพหรือ เอ็นดู, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น เจ้ามานี่, คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, มักใช้เข้าคู่กับคํา นั่น เป็น เจ้านั่น เช่น เจ้านั่น จะไปด้วยหรือเปล่า.
ดิ้นรน : ก. กระตือรือร้นขวนขวายเพื่อให้พ้นจากความยากลําบาก ความทุกข์ ทรมาน หรือเพื่อให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป เช่น ดิ้นรนจะให้พ้นทุกข์ ดิ้นรนอยากเป็น นั่นเป็นนี่.
เป็นไร : ว. ใช้ในความหมายที่ยืนยัน หมายความว่า เป็นอย่างนั้น เช่น นั่นเป็นไรล่ะ, ใช้ในความหมายที่เป็นคําถาม หมายความว่า เป็นอย่างไรไป เช่น นั่นเป็นไรหรือ.
พ่อ : น. ชายผู้ให้กําเนิดแก่ลูก; คําที่ลูกเรียกชายผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยง; ดูตนคําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้ชายที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนม หรือรักใคร่เป็นต้นว่า พ่อนั่น พ่อนี่; คําใช้นําหน้านามเพศชาย แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น พ่อเมือง; ผู้ชายที่กระทํากิจการหรือ งานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า พ่อค้า ทําครัว เรียกว่า พ่อครัว; เรียกสัตว์ตัวผู้ ที่มีลูก เช่น พ่อม้า พ่อวัว.
พอดีกัน : ว. เสมอกัน (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น มันก็พอดีกันนั่นแหละ.
พี่ : น. ผู้ร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกันและเกิดก่อน, ผู้ที่มีศักดิ์เสมอพี่; คํานําหน้าชื่อคนที่มีอายุคราวพี่หรือมีศักดิ์เสมอพี่ เช่น พี่นั่น พี่นี่.
แม่ : น. หญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูลูก, คําที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูตน; คําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนมหรือรักใคร่เป็นต้นว่า แม่นั่น แม่นี่; คําใช้นําหน้านามเพศหญิง แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น แม่บ้าน; ผู้หญิงที่กระทํากิจการหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า แม่ค้า ทําครัว เรียกว่า แม่ครัว; เรียกสัตว์ตัวเมียที่มีลูก เช่น แม่ม้า แม่วัว; เรียกคน ผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนายโดยไม่จํากัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง; คํายกย่องเทวดาผู้หญิงบางพวก เช่น แม่คงคา แม่ธรณี แม่โพสพ, บางทีก็ใช้ว่า เจ้าแม่ เช่น เจ้าแม่กาลี; เรียกสิ่งที่เป็นประธานของสิ่งต่าง ๆ ในพวกเดียวกัน เช่น แม่กระได แม่แคร่ แม่แบบ; เรียกชิ้นใหญ่กว่าในจําพวกสิ่งที่สําหรับกัน เช่น แม่กุญแจ คู่กับ ลูกกุญแจ; แม่นํ้า เช่น แม่ปิง แม่วัง; คําหรือพยางค์ที่มีแต่สระ ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กก, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กง, คําหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เรียกว่า แม่กด, คําหรือพยางค์ ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กน, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด เรียกว่า แม่กม, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด เรียกว่า แม่เกย แต่ในมูลบทบรรพกิจมี ย ว อ สะกด, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ว สะกด เรียกว่า แม่เกอว.
ย่อม ๒ : ว. มีขนาดค่อนข้างเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่ใหญ่กว่า เช่น นี่ขนาดใหญ่ นั่นขนาดย่อม, เบา (ใช้แก่ราคา); ลดลง, หย่อน.
ราย : น. เรื่อง ส่วน บุคคล หรือสิ่งซึ่งแยกกล่าวเป็นอย่าง ๆ ไป เช่น พิจารณา เป็นราย ๆ ไป แต่ละราย รายนี้เข้าที่ไหนบ่อนแตกที่นั่น, ลักษณนาม ใช้แก่สิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น อุบัติเหตุ ๓ ราย เขามีลูกหนี้หลายราย. ว. ที่แยกเป็นลําดับหรือเป็นระยะต่อเนื่องกัน เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสารรายเดือน ค่าอาหารคิดเป็นรายหัว ถามเป็นรายบุคคล, ที่เรียงกัน เป็นแถวเป็นระยะ ๆ เช่น ศาลาราย เจดีย์ราย.
ร่ำรี้ร่ำไร : ก. ซํ้า ๆ ซาก ๆ อยู่นั่นเอง เช่น มัวแต่พูดร่ำรี้ร่ำไรอยู่นั่นแหละ เดี๋ยวงานก็ไม่เสร็จ.
ร่ำไร : ก. อ้อยอิ่ง เช่น มัวแต่ร่ำไรอยู่นั่นแหละ เดี๋ยวจะไม่ทันรถไฟ.
รี ๆ ขวาง ๆ : ก. กีดเกะกะ, เก้งก้าง, เช่น คนไม่เคยเข้าครัวจับอะไรไม่ถูก รี ๆ ขวาง ๆ ไปหมด, ขวาง ๆ รี ๆก็ว่า. ว. มีลักษณะหรือกิริยาท่าทางที่เกะกะเก้งก้าง เช่น จะข้ามถนนก็ไม่ข้ามมัวแต่ยืนรี ๆ ขวาง ๆ อยู่นั่นแหละ.
รี ๆ, รอ ๆ : ว. แสดงอาการลังเลใจ, ไม่แน่ใจที่จะทําลงไป, เช่น มัวรี ๆ รอ ๆ อยู่นั่นแหละ เมื่อไรจะตัดสินใจเสียที.
ละเลียด : ก. กินทีละน้อย ๆ เช่น มัวละเลียดอยู่นั่นแหละ.
แล้วไปแล้ว : ว. สิ้นสุดแล้ว เช่น เรื่องมันแล้วไปแล้ว เอามาพูดทำไมอีก. แล้วไม่รู้จักแล้ว, แล้วไม่รู้แล้ว ว. ซ้ำ ๆ ซาก ๆ, ร่ำรี้ร่ำไร, เช่น พูดแล้ว ไม่รู้จักแล้ว บ่นอยู่นั่นแหละ แล้วไม่รู้แล้ว.
แล้ว
เล่า, แล้ว ๆ เล่า ๆ ว. ทําแล้วทําอีกอยู่นั่นเอง เช่น พูดแล้ว พูดเล่า กินแล้วกินเล่า ทําแล้ว ๆ เล่า ๆ ไม่รู้จักเสร็จ.
สนั่น : [สะหฺนั่น] ว. กึกก้อง, ดังลั่น, ดังมาก, เช่น ฟ้าผ่าเสียงดังสนั่น.
หนาน : (ถิ่น-พายัพ) น. เรียกคนที่สึกจากเพศภิกษุว่า หนานนั่น หนานนี่.
หมอ ๒ : (ปาก) ใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เรียกเด็กด้วยความเอ็นดูว่า หมอนั่น หมอนี่, ใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ เรียกผู้ใหญ่ด้วยความหมั่นไส้เป็นต้น, (ใช้แก่ผู้ชาย), เช่น อย่าไปฟังหมอนะ, บางทีก็ใช้ว่า อ้ายหมอนั่น อ้าย หมอนี่ หรือ เจ้าหมอนั่น เจ้าหมอนี่.
หากินตามชายเฟือย : (สำ) ก. หาเลี้ยงชีพอย่างไม่เป็นล่ำเป็นสันได้ไหน เอานั่นไปเรื่อย ๆ.
แหล่ ๒ : [แหฺล่] น. ตอนหนึ่งหรือบทหนึ่งในเทศน์มหาชาติซึ่งลงท้ายด้วยคำว่า แล เช่น นั้นแล นั่นแล. ก. เทศน์มหาชาติเป็นทำนองตามแบบในแต่ละกัณฑ์.
ไหน ๆ : ว. สำนวนแสดงถึงความปลงใจในสิ่งที่ผ่านพ้นไปแล้วหรือเป็นการ ตัดพ้อต่อว่าเป็นต้น เช่น มัวแต่งุ่มง่ามอยู่นั่นแหละ เพื่อน ๆ เขาก้าวหน้าไป ไหน ๆ แล้ว ไหน ๆ ก็ร่วมหอลงโรงกันแล้ว.
อ้าย ๒ : น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศชายหรือสัตว์ตัวผู้ เช่น อ้ายหนุ่ม อ้ายด่าง, คําประกอบหน้าชื่อผู้ชายที่มีฐานะตํ่ากว่า อย่างนายเรียกคนใช้, คําประกอบหน้าชื่อเพื่อนฝูงแสดงว่ามี ความสนิทสนมมาก มักใช้กันในหมู่เด็กผู้ชาย, คําใช้ประกอบ หน้าชื่อผู้ชายแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คําประกอบคํา บางคําที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้ชายหรือผู้ชายที่อายุน้อยกว่ามาก ด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น อ้ายหนู อ้าย น้องชาย, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้น เช่น อ้ายเราก็ไม่ดี อ้ายจะไปก็ไม่มีที่จะไป อ้ายจะอยู่หรือก็คับใจ, คำประกอบ หน้าชื่อสัตว์บางชนิดโดยไม่เน้นเพศ เช่น อ้ายเหลือม อ้ายทุย, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้นในเชิงบริภาษ เช่น อ้ายทึ่ม อ้ายโง่ อ้ายควาย, คําใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่เข้าใจกัน เช่น อ้ายนั่น อ้ายนี่, เขียนเป็น ไอ้ ก็มี, (โบ) คํานําหน้าชื่อผู้ชาย มักใช้ในทางไม่ดี เช่น อ้ายดีผู้ร้ายรับเปนสัจให้การซัดพวก เพื่อนถึงอ้ายเชด อ้ายแสน อ้ายคง อ้ายมั้น. (สามดวง).
เอง : ว. คําเน้นแสดงว่าไม่ใช่ผู้อื่นหรือสิ่งอื่น เช่น ฉันเอง เป็นธรรมดา อยู่เอง; ตามลําพัง, เฉพาะตน, เช่น ไปกันเอง; แหละ, นี่แหละ, นั่นแหละ, เช่น แค่นั้นเอง.
เอ้อเร้อเอ้อเต่อ : ว. ปล่อยอารมณ์ตามสบาย, ยืดยาด เช่น มัวแต่ เอ้อเร้อเอ้อเต่ออยู่นั่นแหละ จะทําอะไรก็ไม่ทําเสียที; มากจนล้น (ใช้แก่กริยากิน), เอ้อเร้อ ก็ว่า.
ไอ้ : น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศชายหรือสัตว์ตัวผู้ เช่น ไอ้หนุ่ม ไอ้ด่าง, คําประกอบหน้าชื่อผู้ชายที่มีฐานะตํ่ากว่า อย่าง นายเรียกคนใช้, คําประกอบหน้าชื่อเพื่อนฝูงแสดงว่ามีความ สนิทสนมมาก มักใช้กันในหมู่เด็กผู้ชาย; คําใช้ประกอบหน้าชื่อ ผู้ชายแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คําประกอบคําบางคําที่ ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้ชายหรือผู้ชายที่อายุน้อยกว่ามากด้วยความ เอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น ไอ้หนู ไอ้น้องชาย; คํา ประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้น เช่น ไอ้เราก็ไม่ดี ไอ้จะไปก็ ไม่มีที่ไป ไอ้จะอยู่หรือก็คับใจ, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อ เน้นในเชิงบริภาษ เช่น ไอ้ทึ่ม ไอ้โง่ ไอ้ควาย, คําใช้แทนสิ่งที่ กล่าวถึงและเป็นที่เข้าใจกัน เช่น ไอ้นั่น ไอ้นี่, เขียนเป็น อ้าย ก็มี.
เนิ่น, เนิ่น ๆ : ว. ก่อนหน้าหรือก่อนเวลานาน ๆ เช่น มาแต่เนิ่น มาแต่เนิ่น ๆ ทําแต่ เนิ่น ๆ.
นุ่น : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Ceiba pentandra (L.) Gaertn. ในวงศ์ Bombacaceae ลําต้นและกิ่งก้านสีเขียว มีหนามสั้น ๆ ที่โคนต้น กิ่ง ทอดขนานกับพื้น ทิ้งใบในฤดูแล้ง ดอกสีขาวนวล ผลรูปทรงกระสวย ใช้ปุยในผลอย่างเดียวกับง้าวและงิ้ว.
นู่น : (ปาก) ส. คําใช้แทนนามที่อยู่ไกลออกไป.
แน่น : ว. อาการที่แออัดยัดเยียดหรือเบียดเสียดจนแทบไม่มีที่ว่าง เช่น คนแน่น ต้นไม้ขึ้นแน่น, อยู่กับที่หรือทําให้อยู่กับที่อย่างมั่นคงไม่ให้หลุดไม่ให้ คลอน เช่น เกาะแน่น ปักเสาแน่น, ลักษณะของเสียงดังแบบหนึ่งที่ เนื่องมาจากมีการอัดแน่นเป็นพิเศษอย่างเสียงพลุเสียงระเบิด.
โน่น : ส. คําใช้แทนนามที่อยู่ไกลออกไป เช่น ที่โน่นมีอากาศดี.
กานน ๑ : [-นน] (แบบ) น. ป่า, ดง, เช่น อันว่าท้องเขาวงกฏกานน. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ป., ส.).
กานน ๒ : [-นน] ดู ตีนนก(๑).
กำนล : [-นน] น. เงินค่าคำนับครู, เงินคํานับบูชาครูปี่พาทย์ คือ พระประคนธรรพ หรือ พระนารท ซึ่งถือว่าเป็นครูเดิมของตน มีเทียนสําหรับจุดที่ตะโพนด้วย. (ข. กํณล่ ว่า เครื่องคํานับ, ค่ากำนล; ไม้สำหรับหนุนอย่างไม้หมอน).
นนทรี ๑ : [นนซี] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Peltophorum pterocarpum Backer ex Heyne ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อตรงปลายกิ่ง ฝักแบน สีนํ้าตาลแกมแดง.
นนทรี ๒ : [นนซี] น. ชื่อปลานํ้าเค็มชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
กระชับ ๒ : ก. แน่น, แนบแน่น, แนบกันสนิท, พอเหมาะ, แต่มีความหมาย บอกว่า มีลักษณะที่ยิ่งขึ้นหรือทีเดียว เช่น กระชับแน่น กระชับตัว กระชับความ กระชับมือ. (ข. ขฺชาบ่).
กระสัน : ก. คะนึง, คิดผูกพันอยู่, มีใจจดจ่ออยู่, เช่น ปู่กระสันถึง ไก่ในไพรพฤกษ์. (ลอ); กระวนกระวายในกาม เช่น เดี๋ยวนี้นะ พระองค์ทรงธรรม์ แสนกระสันจันทร์สุดาดวงสมร. (คาวี); ผูกให้แน่น เช่น กระสันเข้าไว้กับหลัก, ผูกพันพระพี่น้องสอง กระสันเข้าให้มั่นกับมือ. (ม. คำหลวง กุมาร), รัด เช่น สายกระสัน; ต่อเนื่อง เช่น มุขกระสัน; (ปาก) อยากมาก เช่น กระสันจะเป็น รัฐมนตรี. ว. แน่น เช่น พระขรรค์เหน็บกระสันอยู่เป็นนิจ.
กันเกรา : [-เกฺรา] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Fagraea fragrans Roxb. ในวงศ์ Gentianaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะทั่วไปในป่าดิบ ใบสีเขียวแก่ ค่อนข้างหนา ยาวราว ๕-๗ เซนติเมตร ดอกดก สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หอมมาก ออกเป็นช่อคล้ายช่อดอกเข็ม ผลเท่าเมล็ดถั่วลันเตา เมื่อสุกสีแดง เนื้อไม้สีเหลืองละเอียด แน่น เป็นมัน แข็งและทนทาน นิยมใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ, ตําเสา หรือ มันปลา ก็เรียก.
เกิง : (โบ; กลอน) ว. ล่วง เช่น ตกพ่างบุษบนนเกิง ขาดขว้นน. (ทวาทศมาส).
เขม็ง : [ขะเหฺม็ง] ว. ตึงเครียด; แน่น, แข็ง; อย่างแน่วแน่ เช่น จ้องเขม็ง. ก. ทำให้ตึง เช่น เขม็งเกลียว.
ครัดเคร่ง : [คฺรัดเคฺร่ง] (กลอน) ก. แน่น, ตึง เช่น แก้มทั้งสองข้างดังปรางทอง เต้านม ทั้งสองก็ครัดเคร่ง. (ขุนช้างขุนแผน), เคร่งครัด ก็ว่า. ว. เข้มงวด, กวดขัน; ถูกต้องครบถ้วน.
เคร่งครัด : [-คฺรัด] ก. เข้มงวด, กวดขัน, เช่น อย่าเคร่งครัดนักเลย; (กลอน) แน่น, ตึง, เช่น สองเต้าตูมเต่งเคร่งครัด ดอกไม้ทัดทั้ง ห่อผ้าห่มหวง. (ขุนช้างขุนแผน), ครัดเคร่ง ก็ว่า. ว. เข้มงวด, กวดขัน, เช่น รักษาระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด; ถูกต้องครบถ้วน เช่น ปฏิบัติ ตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด ข้อยกเว้นต้องตีความอย่างเคร่งครัด; ใช้ว่า ครัดเคร่ง ก็มี.
ฆ : พยัญชนะตัวที่ ๖ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคํา ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต ที่ใช้เขียนในคําไทยมีบ้างเล็กน้อย [คะนะ-] (แบบ) น. แท่ง, ก้อน. ว. แน่น, ทึบ, แข็ง เช่น กรวดกรับ
ฆน-, ฆนะ : [คะนะ-] (แบบ) น. แท่ง, ก้อน. ว. แน่น, ทึบ, แข็ง เช่น กรวดกรับ อันคละฆนศิลา. (ดุษฎีคําฉันท์). (ป., ส.).
ดาน : ว. แข็ง, แน่น, เรียกดินที่จับตัวแข็งเป็นชั้น โดยมากเป็นประเภทดินเหนียว เนื้อแน่นที่นํ้าไหลผ่านไม่ได้ เกาะตัวแข็งอยู่ใต้ผิวดิน ว่า ดินดาน, เรียก หินแข็งหรือหินผุที่รองรับดิน ทราย กรวด ซึ่งมีแร่เช่นดีบุก ทองคํา รวม อยู่ด้วย ว่า หินดาน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะแข็งเป็นดานอยู่ในท้อง เช่น ดานเลือด ดานลม.
ตระหง่อง, ตระหน่อง : [ตฺระ-] (โบ; กลอน) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตาเรียมตระหง่องตั้ง ตาเรือ แม่ฮา. (ทวาทศมาส), เขียนเป็น ตรง่อง ก็มี เช่น อันว่าพระมหาสัตวก็ต้งงตาแลตรง่อง ซึ่งช้นนช่องมรรคา ที่มีผู้จะมาน้นน โสดแล. (ม. คําหลวง กุมาร), กระหง่อง หรือ กระหน่อง ก็ใช้.
ถัทธ : [ถัด] (แบบ) ว. แน่น, แข็ง, กระด้าง, เช่น อันว่าชูชกใจถัทธ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ป.).