นาคินทร์, นาเคนทร์, นาเคศ, นาเคศวร : [นาคิน, เคน, เคด, เคสวน] น. พญาช้าง, พญางู.
คชินทร์, คเชนทร์ : น. พญาช้าง. (ส. คช + อินฺทฺร).
คชินทร์, คเชนทร์ : ดู คช-.
ชนินทร์ : น. ผู้เป็นใหญ่ในหมู่ชน. (ส. ชน + อินฺทฺร).
เทเพนทร์ : น. จอมแห่งเทวดา. (ส.; ป. เทวินฺท).
เทวินทร์, เทเวนทร์ : น. หัวหน้าเทวดา. (ส.; ป. เทวินฺท).
เทวินทร์, เทเวนทร์ :
ดู เทว-๑.
บุรินทร์ : น. เจ้าเมือง; (กลอน) เมืองใหญ่. (ส. ปุรินฺทฺร; ป. ปุรินฺท).
ปรมินทร์, ปรเมนทร์ : [ปะระมิน, ปอระมิน, ปะระเมน, ปอระเมน] น. ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง. (ส.).
ปรมินทร์, ปรเมนทร์ : ดู ปรม-.
พยัคฆินทร์, พยัคเฆนทร์ :
ดู พยัคฆ, พยัคฆ์.
พยัคฆินทร์, พยัคเฆนทร์ : น. พญาเสือโคร่ง.
พรหมินทร์ : [พฺรมมิน] น. พรหมผู้เป็นใหญ่. (ส.).
พรหมินทร์ :
ดู พรหม, พรหม.
พรหเมนทร์, พรหเมศวร :
ดู พรหม, พรหม.
พรหเมนทร์, พรหเมศวร : [พฺรมเมน, พฺรมเมสวน] น. พระพรหม ผู้เป็นใหญ่. (ส.).
พานรินทร์, พานเรศ : ดู พานร.
พานรินทร์, พานเรศ : [พานะริน, พานะเรด] (กลอน) น. พญาลิง, ลิง.
ไพรินทร์ : น. กษัตริย์ผู้เป็นข้าศึก.
ไพรินทร์ : ดู ไพริน.
มฤคินทร์, มฤเคนทร์ : [มะรึคิน, -เคน] น. ราชสีห์. (ส. มฺฤค + อินฺทฺร).
มฤคินทร์, มฤเคนทร์ :
ดู มฤค, มฤค-.
มเหนทร์ : น. พระอินทร์. (ส.).
วัชเรนทร์ :
ดู วัชร, วัชระ.
วัชเรนทร์ : น. พระอินทร์. (ส. วชฺร + อินฺทฺร).
ศักรินทร์, ศักเรนทร์ : ดู ศักร.
ศักรินทร์, ศักเรนทร์ : น. พระอินทร์ผู้เป็นใหญ่. (ส. ศกฺร + อินฺทฺร).
สยามินทร์ : [สะหฺยามิน] น. ผู้เป็นใหญ่ในสยามหมายถึง พระมหากษัตริย์ ของประเทศไทย.
อมรินทร์, อมเรนทร์ :
ดู อมร, อมร.
อมรินทร์, อมเรนทร์ : น. พระอินทร์. (ส. อมร + อินฺทฺร).
อรินทร์ : น. ผู้เป็นใหญ่ฝ่ายข้าศึกหรือฝ่ายศัตรู มักหมายถึงพระราชา หรือเจ้าเมืองใหญ่ของฝ่ายตรงกันข้าม. (ส.).
อรินทร์ : ดู อริ.
นาค ๒, นาคา ๑ : [นาก] น. ชื่อชนเผ่าหนึ่งอยู่ในบริเวณเทือกเขานาค ทางตะวันออกเฉียง เหนือของประเทศอินเดีย และทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศพม่า มีหลายสาขา เช่น อาโอนาค กูกินาค.
นาค ๑, นาค : [นาก, นากคะ] น. งูใหญ่มีหงอน เป็นสัตว์ในนิยาย. (ป., ส.).
นาค ๓, นาค : [นาก, นากคะ] (แบบ) น. ช้าง. (ป.).
กระเวนกระวน : (กลอน) ก. วนเวียน เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. (นิ. นรินทร์), หวนตลบ เช่น หอมกระเวนกระวน, เขียนเป็น กรเวนกรวล ก็มี เช่น ชื่อจลาจรเรนทร์ หอมกรเวนกรวล อาจจิญจญจวนใจ. (ม. คำหลวง มหาราช).
ชิน ๔ : [ชินะ, ชินนะ] น. ผู้ชนะ, พระพุทธเจ้า, ใช้ประกอบกับ คําอื่นเป็น ชินวร ชิเนนทร์ หมายความว่า พระพุทธเจ้า. (ป., ส.).
นาคี ๑ : (กลอน) น. งู เช่น นาคีมีพิษเพี้ยง สุริโย. (โลกนิติ).
นาคี ๒ : (กลอน) น. ช้าง เช่น ขี่ยาตรานาคี. (ตะเลงพ่าย).
นาค ๔ : [นาก] (แบบ) น. ไม้กากะทิง. (ป.).
นาค ๕ : [นาก] (แบบ) น. ผู้ประเสริฐ, ผู้ไม่ทําบาป; เรียกคนที่ไปอยู่วัดเตรียมตัว จะบวชหรือกําลังจะบวช. (ป., ส.).
นาคสะดุ้ง : น. ตัวไม้ที่ทำอย่างตัวนาค ทอดต่อลงมาจากแปหาญถึง หางหงส์ ทั้ง ๒ ข้างของหน้าบัน โบราณเรียกว่า เครื่องสะดุ้ง.
นาคเกี้ยวกระหวัด, นาคบริพันธ์ : [นากคะบอริพัน] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
นาคเกี่ยว, นาคเกี้ยว, นาคเกี่ยวพระสุเมรุ : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
นาคทนต์ : [นากคะ] น. งาช้าง. (ป., ส.).
นาคพันธ์ : [นากคะ] น. ชื่อโคลงโบราณชนิดหนึ่ง, สนธิอลงกต ก็ว่า.
นาคเล่นน้ำ : น. นํ้าที่พุ่งเป็นลําขึ้นไปในอากาศเนื่องจากลมงวง, พวยนํ้า ก็ว่า.
นาควิถี : [นากคะ] น. ทางที่พระจันทร์เดินไปในระหว่างดาวสวาดิ (หรือ อัศวินี) ภรณี และกฤติกา. (ส.).