Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: นามา , then นาม, นามา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : นามา, 309 found, display 1-50
  1. นาม, นาม : [นามมะ] น. ชื่อ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาม; คําชนิดหนึ่งในไวยากรณ์ สําหรับเรียกคน สัตว์ และสิ่งของต่าง ๆ; สิ่งที่ไม่ใช่รูป คือ จิตใจ, คู่กับ รูป. (ป.).
  2. นามสมญา : [นามสมยา] น. สมญา.
  3. ทำเนียบนาม : น. นามต่าง ๆ ที่พระมหากษัตริย์โปรดให้ขนานเป็น ทําเนียบไว้ เช่น นามพระราชวัง นามพระที่นั่ง นามประตู นามป้อม ตลอดจนถึงนามที่ทางราชการเรียก.
  4. นัยนามพุ : [ไนยะนามพุ] น. นํ้าตา. (ป. นยน + อมฺพุ).
  5. ลักษณนาม : (ไว) น. คํานามที่แสดงลักษณะของสิ่งต่าง ๆ เช่น คน ๓ คน แมว ๒ ตัว ขลุ่ย ๓ เลา ลูกคนโต หมวกใบใหญ่.
  6. อาการนาม : [อาการะนาม] (ไว) น. คํานามที่บอกกิริยาอาการหรือ ความปรากฏเป็นต่าง ๆ ของคน สัตว์ และสิ่งของ ซึ่งมาจากคํากริยา หรือคําวิเศษณ์ที่มักมีคํา ''การ'' หรือ ''ความ'' นําหน้า เช่น การยืน การเดิน การอยู่ ความรัก ความดี ความสวย.
  7. ข่อยหนาม : น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Streblus ilicifolius (Vidal) Corner ในวงศ์ Moraceae มักขึ้นบนเขาหินปูนในป่าดิบ ลําต้นตรง ใบแข็งหนา ด้านบนเขียวแก่เป็นมัน ขอบใบเป็นหนามแหลมคม, ปักษ์ใต้เรียก กระชิด.
  8. คำนำหน้านาม : น. คำที่ใช้นำหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดงสถานภาพ ตำแหน่ง ทางวิชาการ ยศ บรรดาศักดิ์ หรือฐานันดรศักดิ์, คำนำหน้าชื่อ ก็เรียก.
  9. เนมิตกนาม : น. ชื่อที่เกิดขึ้นตามเหตุ คือลักษณะและคุณสมบัติ เช่น พระสุคต แปลว่า ผู้ดําเนินดีแล้ว.
  10. เรืองนาม : ว. มีชื่อเสียงโด่งดัง.
  11. ลงนาม : ก. ลงชื่อ.
  12. ออกชื่อ, ออกนาม : ก. บอกชื่อ, ขานชื่อ, แสดงชื่อ.
  13. นามกร : [นามมะกอน] (แบบ) น. ชื่อ, นาม.
  14. นามานุกรม : ดู นาม, นาม.
  15. นามานุศาสตร์ : ดู นาม, นาม.
  16. สรรพนาม : (ไว) น. คําที่ใช้แทนชื่อ นาม หรือข้อความที่กล่าวมาแล้ว เพื่อไม่ต้องกล่าวชื่อ นาม หรือข้อความนั้นซ้ำอีก เช่น ฉัน เขา เรา ท่าน.
  17. นามธรรม : [นามมะทํา] น. สิ่งที่ไม่มีรูป คือ รู้ไม่ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น, คู่กับ รูปธรรม. (ส.; ป. นามธมฺม).
  18. นามไธย : [นามมะไท] น. ชื่อตั้ง, ทินนาม (เช่นนามบรรดาศักดิ์). (ป. นามเธยฺย).
  19. นามบัตร : [นามบัด] น. แผ่นกระดาษค่อนข้างแข็งและเล็กเป็นต้นที่พิมพ์ บอกชื่อตัว นามสกุล หรือที่อยู่ที่ทํางานไว้เพื่อแนะนําตัวเป็นต้น.
  20. นามสงเคราะห์ : [นามมะสง] น. หนังสือที่รวบรวมคําพูดไว้, อภิธาน; สมุดรายชื่อพร้อมทั้งที่อยู่หรือที่ทํางานของบุคคล. (ส.).
  21. undefined : น. รังผึ้ง มักมีลักษณะเป็นแผงคล้ายรูปสามเหลี่ยมห้อยลงมา, ลักษณนาม ว่า รวง เช่น รวงผึ้ง ๒ รวง; องค์ประกอบของอาคาร มีลักษณะเป็นแผงรูป สามเหลี่ยมเรียงกันใต้กระจังฐานพระที่หน้าบันโบสถ์ วิหาร หรือมุขเด็จ.
  22. กรรตุสัญญา : [กัดตุ-] น. นามที่เป็นคําร้องเรียกชื่อลอย ๆ เช่น แล้วกล่าววาจาอันสุนทร ดูก่อนกุมภกรรณยักษี. (รามเกียรติ์ ร. ๑). (ป. สญฺ?า = นาม, ชื่อ).
  23. กระจกเงา : น. แผ่นกระจกฉาบด้านหลังด้วยแผ่นบาง ๆ ของโลหะเงินหรือโลหะเจือปรอทแล้วทาสีทับ ใช้สําหรับส่องหน้า เป็นต้น, มักเรียกสั้น ๆ ว่า กระจก, ลักษณนามว่า บาน, ราชาศัพท์ว่า พระฉาย; (วิทยา) วัตถุที่มีผิวมันสามารถส่งภาพหรือแสงสะท้อน กลับได้.
  24. กระจุก : น. สิ่งที่รวมกันอยู่เป็นกลุ่ม, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มัดรวมกันเป็นกลุ่ม เช่น หอม ๒ กระจุก กระเทียม ๓ กระจุก. ก. รวมกันอยู่เป็นกลุ่ม เช่น ธุรกิจใหญ่ ๆ กระจุกกันอยู่ในตัวเมือง.
  25. กระชิด ๒ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นข่อยหนาม. (ดู ข่อยหนาม ที่ ข่อย).
  26. กระแชง : น. เครื่องบังแดดฝน โดยนําใบเตยหรือใบจากเป็นต้นมาเย็บเป็นแผง, ลักษณนามว่า ผืน (เทียบมลายู กระชัง = แผงสำหรับคลุมเรือหรือ รถ เย็บด้วยใบไม้); เชือกหนังสําหรับติดกับสายรัดประโคนของช้าง แต่มักติดเบื้องท้ายสันหลัง เพื่อควาญช้างจับในเวลาคับขัน; เชือกบาศสําหรับคล้องช้าง; ชื่อเรือบรรทุกชนิดหนึ่ง เล็กกว่า เรือเอี้ยมจุ๊น ท้องเรือกลมป้อม ใช้กระแชงทําเป็นประทุน เรียกว่า เรือกระแชง.
  27. กระดาน ๑ : น. ไม้ซุงที่เลื่อยออกเป็นแผ่น ๆ; ลักษณนามเรียกการแข่งขันที่เดิน บนตากระดานซึ่งถึงที่สุดแล้ว เช่นว่าเล่นหมากรุกชนะ ๒ กระดาน; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะอย่างกระดาน.
  28. กระทง ๑ : น. ภาชนะเย็บด้วยใบตองหรือใบไม้เป็นต้น ยกขอบสูง สําหรับใส่ของ, ถ้าเสริมขอบปากเป็นรูปกรวยเล็ก ๆ โดยรอบ เรียกว่า กระทงเจิม, ภาชนะที่ทําขึ้นสําหรับลอยน้ำ ในประเพณีลอยกระทง; ตอนหนึ่ง ๆ ของนาซึ่งมีคันกั้น เรียกว่า กระทงนา, อันนา ก็เรียก; ผ้าท่อนหนึ่ง ๆ ของจีวร มีลักษณะ เหมือนกระทงนา ซึ่งมีรูปสี่เหลี่ยม; ไม้กระดานที่ยึดกราบเรือ หรือพาดแคมเรือทั้ง ๒ ข้างเป็นตอน ๆ (เทียบมลายู กุดง); ตอนหนึ่ง ๆ ของข้อความ; (กฎ) ลักษณนามของความผิดอาญา แต่ละกรรมหรือแต่ละครั้ง การกระทําความผิดแต่ละกรรมหรือ แต่ละครั้งนั้น ถือว่าเป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง เช่น การกระทําความผิดฐานลักทรัพย์หลายครั้ง การลักทรัพย์แต่ละครั้ง เป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง ๆ; (เลิก) ฐานปรับตามกรมศักดิ ในกฎหมายเก่า.
  29. กระบอก ๑ : น. ไม้ไผ่ที่ตัดเป็นท่อน, ของอื่น ๆ ที่มีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กระบอกปืน กระบอกตา; ลักษณนามบอกสัณฐาน สําหรับใช้กับ ของกลมยาวแต่กลวง เช่น ข้าวหลาม ๓ กระบอก; เสื้อชนิดหนึ่ง ในสมัยรัชกาลที่ ๔ แขนยาว ช่วงตัวสั้นเสมอบั้นเอว แขนรัด ตัวรัด คอสูง เรียกว่า เสื้อกระบอก; หุ่นชนิดหนึ่งมีแต่ส่วนหัวและ มือ ๒ ข้าง ลำตัวทำด้วยไม้กระบอก มีผ้าเย็บเป็นถุงคลุม เวลาเชิด ใช้มือสอดเข้าไปจับไม้กระบอกนั้นเชิด เรียกว่า หุ่นกระบอก; (เรขา) รูปตันที่กําเนิดขึ้นจากการเขียนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยใช้ด้านใดด้าน หนึ่งเป็นแกนแล้วหมุนโดยรอบฐาน ปลายทั้ง ๒ ข้างมีหน้าเป็น วงกลม เรียกว่า รูปทรงกระบอก หรือ รูปกระบอก, ลักษณะได้แก่ รูปที่มีสัณฐานกลมยาวและตรงซึ่งมีส่วนสัดกลมเท่ากันตั้งแต่ต้น จนปลาย. (อ. cylinder). (รูปภาพ กระบอก)
  30. กระเบื้อง : น. เครื่องมุงหลังคาหรือปูพื้นเป็นต้น ทําด้วยดิน หรือวัสดุอย่างอื่น โดยปรกติเป็นแผ่น, เครื่องถ้วยชามที่ปั้นด้วยดินประสมอย่างดี เนื้อมีลักษณะแข็งและขาว เคลือบผิวเป็นมัน มีพื้นหรือลวดลาย เป็นสีต่าง ๆ เรียกรวมว่า เครื่องกระเบื้อง, ชิ้นของเครื่องกระเบื้อง ที่แตกออก, กระทะแบน ๆ สําหรับละเลงขนมเบื้องเป็นต้น เดิมทํา ด้วยดินเผา แต่ปัจจุบันทําด้วยโลหะ; ลักษณนามเรียกจํานวนข้าวเม่า เป็นต้นที่คั่วครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ข้าวเม่ากระเบื้องหนึ่ง งา ๒ กระเบื้อง.
  31. กระป๋อง : น. ภาชนะทําด้วยเหล็กวิลาดหรือสังกะสีเป็นต้น มักมีรูปเป็นทรงกระบอก สําหรับบรรจุของ ต่างๆ, ลักษณนามว่า ใบ, ลูก.
  32. กระปุก : น. ภาชนะเครื่องปั้นดินเผาหรือแก้วเป็นต้น รูปป้อม ๆ เตี้ย ๆ ขนาดเล็ก โดยมากปากแคบ ก้นสอบ, ลักษณนาม เรียกทะลายของผลระกําหรือผลจาก เช่น ผลระกํา กระปุกหนึ่ง ผลจาก ๒ กระปุก.
  33. กรานกฐิน : [-กะถิน] ก. ขึงไม้สะดึง คือ เอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึง ที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้า ให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา, ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้น เรียกว่า ผู้กราน, พิธีทําบัดนี้ คือ สงฆ์ยกผ้าอันไม่พอแจกกันให้ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุรูปนั้นทําตั้งแต่ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม เสร็จในวันนั้น ทํา พินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครอง เป็นจีวรกฐิน เรียกว่ากรานกฐิน. (อุปสมบทวิธี). (ดู กฐิน). (ข. กราล ว่า ปู, ลาด).
  34. กริยา : [กฺริยา, กะริยา] (ไว) น. คําที่แสดงอาการของนามหรือสรรพนาม. (ส. กฺริยา; ป. กิริยา).
  35. กรึ๊บ : [กฺรึ๊บ] ว. เสียงเกิดจากการกลืนของเหลวเช่นเหล้าอย่างรวดเร็ว, ลักษณนามเรียกการดื่มเหล้าอึกหนึ่ง ๆ ด้วยอาการอย่างนั้น เช่น ดื่มเหล้ากรึ๊บหนึ่ง ดื่มเหล้า ๒ กรึ๊บ. (ปาก) ก. ดื่ม (มักใช้แก่เหล้า).
  36. กลม ๓ : [กฺลม] ลักษณนามเรียกจํานวนเหล้าบางประเภท ที่บรรจุในภาชนะกลม ส่วนมากเป็นขวด เช่น เหล้ากลมหนึ่ง เหล้า ๒ กลม. ว. มีสัณฐานโดยรอบไม่เป็นเหลี่ยม, ถ้าเหมือนลูกหิน เรียกว่า ลูกกลม, ถ้าเหมือนเส้นที่ลาก เป็นวงมาจดกัน โดยมีเส้นรัศมียาวเท่ากัน เรียกว่า วงกลม, ถ้าเหมือนสตางค์ เรียกว่า กลมแบน, ถ้าเหมือนกระบอกไม้ไผ่ เรียกว่า กลมยาว, ถ้าเหมือนลูกไข่ แต่หัวและท้ายเท่ากัน เรียกว่า กลมรี; (ปาก) อ้วน เช่น เขามีสุขภาพดีขึ้นจนดูกลมไปทั้งตัว; (กลอน) โดยปริยายว่า เรียบร้อยดี เช่น ใจพระลออยู่บมิกลม. (ลอ); กลิ้งกลอกเต็มตัว เช่น คนกลมดั่งน้ำกลอกใบบัว.
  37. กลุ่ม : [กฺลุ่ม] น. คน สัตว์ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันเป็นหมู่ ๆ หรือเป็นกลุ่มก้อน เช่น กลุ่มคน กลุ่มมด กลุ่มดาว กลุ่มด้าย; อาการที่เข้ามารวมกันเช่นนี้ เรียกว่า จับกลุ่ม; ลักษณนามเรียก ของที่เป็นกลุ่ม เช่น ด้าย ๓ กลุ่ม.
  38. กอดแข้งกอดขา, กอดมือกอดตีน : ก. ประจบประแจง. ว. เดิม, เริ่ม, ลําดับแรก, เช่น แต่ก่อน, ถ้าใช้ประกอบหลังคํานาม บอกเวลา หมายความว่า ล่วงมาแล้ว เช่น วันก่อน เดือนก่อน, ถ้าใช้ประกอบหน้าคํานามบอกเวลา หมายความว่า ยังไม่มาถึง เช่น ก่อนเที่ยง, ใช้ประกอบหลังคํากริยา บางกรณีหมายความว่า ให้ระงับยับยั้งไว้ชั่วคราว เช่น หยุดก่อน รอก่อน, บางกรณี หมายความว่า ล่วงหน้า เช่น ไปก่อน. น. คําบอกลักษณะของเล็ก ๆ ที่เกาะหรือติดรวมกันแน่น ไม่กําหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ข้าวเกาะกันเป็นก้อน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ก้อนข้าว; สิ่งที่แยกหรือแตกออกจากสิ่งใหญ่ ไม่กําหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ก้อนอิฐ ก้อนหิน ก้อนดิน; ลักษณนามเรียกของเช่นนั้น เช่น ข้าว ๓ ก้อน หิน ๒ ก้อน; โดยปริยายหมายถึง จํานวนรวม เช่น ได้เป็นเงินก้อน; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) เงิน ๑ สลึง (ที่สงขลามีค่า = ๑๕ สตางค์).
  39. ก่อน : ว. เดิม, เริ่ม, ลําดับแรก, เช่น แต่ก่อน, ถ้าใช้ประกอบหลังคํานาม บอกเวลา หมายความว่า ล่วงมาแล้ว เช่น วันก่อน เดือนก่อน, ถ้าใช้ประกอบหน้าคํานามบอกเวลา หมายความว่า ยังไม่มาถึง เช่น ก่อนเที่ยง, ใช้ประกอบหลังคํากริยา บางกรณีหมายความว่า ให้ระงับยับยั้งไว้ชั่วคราว เช่น หยุดก่อน รอก่อน, บางกรณี หมายความว่า ล่วงหน้า เช่น ไปก่อน.
  40. ก้อน : น. คําบอกลักษณะของเล็ก ๆ ที่เกาะหรือติดรวมกันแน่น ไม่กําหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ข้าวเกาะกันเป็นก้อน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ก้อนข้าว; สิ่งที่แยกหรือแตกออกจากสิ่งใหญ่ ไม่กําหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ก้อนอิฐ ก้อนหิน ก้อนดิน; ลักษณนามเรียกของเช่นนั้น เช่น ข้าว ๓ ก้อน หิน ๒ ก้อน; โดยปริยายหมายถึง จํานวนรวม เช่น ได้เป็นเงินก้อน; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) เงิน ๑ สลึง (ที่สงขลามีค่า = ๑๕ สตางค์).
  41. ก้อนเส้า : น. ก้อนดิน ก้อนอิฐ หรือก้อนหินเป็นต้นที่เอามาตั้งต่างเตา; ชื่อดาวฤกษ์ภรณี มี ๓ ดวง. ก. เอามือ ๒ ข้างรวบสิ่งของเข้ามาจนนิ้วก้อยของมือชิดกันแล้วยกขึ้น. น. เรียกของที่กอบขึ้นครั้งหนึ่ง ๆ ว่า กอบหนึ่ง ๆ, ลักษณนามเรียกปริมาณของของที่กอบขึ้นมาเช่นนั้น เช่น ทรายกอบหนึ่ง ข้าวสาร ๒ กอบ.
  42. กอบ : ก. เอามือ ๒ ข้างรวบสิ่งของเข้ามาจนนิ้วก้อยของมือชิดกันแล้วยกขึ้น. น. เรียกของที่กอบขึ้นครั้งหนึ่ง ๆ ว่า กอบหนึ่ง ๆ, ลักษณนามเรียกปริมาณของของที่กอบขึ้นมาเช่นนั้น เช่น ทรายกอบหนึ่ง ข้าวสาร ๒ กอบ.
  43. กอบด้วย : ว. มี (มักจะใช้ในคําที่กล่าวถึงลักษณะเพิ่มเติม) เช่น นาย ก เป็นผู้มีอํานาจและกอบด้วยเมตตา, ประกอบด้วย. น. ชื่อไม้เถาชนิด Chilocarpus costatus Miq. ในวงศ์ Apocynaceae พบทางปักษ์ใต้ มียางขาว, ย่านกอบนาง ก็เรียก. น. กระดาษที่ใช้สําหรับทําสําเนา เรียกว่า กระดาษก๊อบปี้. (อ. carbon paper); (ปาก) ลักษณนามเรียกสําเนาหนังสือ เช่น ก๊อบปี้หนึ่ง สําเนา ๒ ก๊อบปี้. (อ. copy). [กอบ] ก. ประกอบ. (โบ) น. ปลาย. ว. ค่อม, เตี้ย. ก. ก้ม. (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกะเพรา. (ดู กะเพรา). ว. ค่อม, เตี้ย, เช่น มีเจ่งตาบอดพลาย ก่อมก้อ. (โลกนิติ). น. คนป่าพวกหนึ่ง ตัวดํา ผมหยิก อยู่ในแหลมมลายู, เงาะ ก็เรียก. ดู อีก๋อย. น. นิ้วเล็กที่สุดของนิ้วทั้ง๕เรียกว่า นิ้วก้อย, ในการเล่นปั่นแปะ หรือโยนหัวโยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของสตางค์หรือ เหรียญกระษาปณ์ว่า ด้านก้อย, คู่กับ ด้านหัว, โดยปริยาย หมายความว่า เล็ก เช่น หัวเท่ากิ่งก้อย คือ หัวเล็กนิดเดียว, ไม่รู้จักนิ้วก้อยหัวแม่มือ หมายความว่า ไม่รู้จักเด็กไม่รู้จักผู้ใหญ่ หรือ ไม่รู้จักต่ำสูง. น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง คล้ายพล่า ทำด้วยกุ้งสด เรียกว่า ก้อยกุ้ง, (ถิ่น-อีสาน) ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทำจากเนื้อ ปลา กุ้ง ที่ดิบ ๆ คล้ายพล่า. ว. อาการที่ทําเป็นเจ้าชู้. น. ชื่อลิงไม่มีหางชนิด Gorilla gorilla ในวงศ์ Pongidae เป็นลิงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวสูงขนาดคนแต่ล่าสันและ แข็งแรงกว่ามาก มีถิ่นกําเนิดในทวีปแอฟริกา. น. กีฬาชนิดหนึ่ง ใช้ไม้ตีลูกกลมผ่านพื้นที่ขวางกั้นที่เตรียมไว้ให้มี ลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น เป็นหลุมทราย บ่อน้ำ ให้ไปลงหลุมที่กําหนด. (อ. golf).
  44. ก๊อบปี้ : น. กระดาษที่ใช้สําหรับทําสําเนา เรียกว่า กระดาษก๊อบปี้. (อ. carbon paper); (ปาก) ลักษณนามเรียกสําเนาหนังสือ เช่น ก๊อบปี้หนึ่ง สําเนา ๒ ก๊อบปี้. (อ. copy).
  45. กะบิ้ง : น. ของที่เป็นแผ่นเล็ก ๆ, ลักษณนามบอกสัณฐาน สําหรับที่ดินน้อย ๆ แปลงหนึ่ง ๆ ว่า กะบิ้งหนึ่ง ๆ.
  46. กะราง, กะลาง : น. ชื่อนกในวงศ์ Timaliidae ตัวขนาดนกเอี้ยง หากินเป็นฝูงตามพื้นดิน มีหลายชนิด เช่น กะรางหัวหงอก (Garrulax leucolophus) กะรางคอดํา (G. chinensis). (ในรําพันนามพฤกษา ฯลฯ ว่ากะราง, ในพระลอ ว่า กะลาง).
  47. กังหัน : น. สิ่งที่ประกอบด้วยใบพัดหมุนได้ด้วยกําลังลม, จังหัน ก็ว่า, โดยปริยายเรียกเครื่องหมุนบางชนิดมีรูปทํานองกังหัน ทําให้เกิดกําลังงาน เช่น กังหันน้ำ คือเครื่องหมุนด้วยกําลังน้ำ, กังหันลม คือเครื่องหมุนด้วยกําลังลม, กังหันไอน้ำ คือเครื่องหมุน ด้วยกําลังไอน้ำ; (วิทยา) ใช้เรียกเครื่องจักรที่หมุนอย่างกังหัน; ชื่อดอกไม้ไฟชนิดที่จุดแล้วหมุนอย่างกังหัน, ลักษณนามว่าต้น. (ข. กงฺหาร).
  48. กัณฑ์ : [กัน] น. ข้อความที่แต่งเป็นคําเทศน์เรื่องหนึ่ง ๆ ที่จบลงคราวหนึ่ง ๆ, ตอนหนึ่ง ๆ ของคําเทศน์ที่เป็นเรื่องยาว เช่น มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ทศพร กัณฑ์หิมพานต์, ลักษณนามของเทศน์ เช่น เทศน์กัณฑ์หนึ่ง เทศน์ ๒ กัณฑ์; เรื่องหรือหมวด, ตอน, ส่วนของเรื่อง. (ป.).
  49. กับ ๓ : ลักษณนามเรียกใบลานซึ่งจัดเข้าแบบสําหรับ จารหนังสือประมาณ ๘๐๐ ใบ.
  50. กา ๓ : น. ภาชนะสําหรับใส่น้ำหรือต้มน้ำ มีพวยและหูสําหรับหิ้ว หรือจับ, ลักษณนามว่า ใบ หรือ ลูก.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-309

(0.0794 sec)