นารายณ์ : น. ชื่อหนึ่งของพระวิษณุซึ่งเป็นพระเจ้าองค์หนึ่งของศาสนาพราหมณ์. (ส.).
นารายณ์ทรงเครื่อง, นารายณ์ประลองศิลป์ : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
นารายณ์หัตถ์ : (ราชา) น. ไม้เกาหลัง.
ศรนารายณ์ : น. ชื่อไม้พุ่มแตกกอชนิด Agave sisalana Perrine ในวงศ์ Agavaceae ใบใหญ่หนาและแข็ง ปลายเป็นหนามแหลม ใบให้ใย ใช้ทําสิ่งทอได้.
ปาง ๑ : น. ครั้ง, คราว, เมื่อ, เช่น ปางก่อน ปางหลัง, ยุค, สมัย, เช่น นารายณ์ ๑๐ ปาง; ท่าของพระพุทธรูปที่แสดงถึงอิริยาบถต่าง ๆ เช่น พระพุทธรูปปางห้ามญาติ; ที่พักกลางป่าชั่วคราว เช่น ตั้งปาง.
กมเลศ : [กะมะเลด] (กลอน) น. บัว; ใจ; พระนารายณ์ เช่น ดุจองค์ สมเด็จกมเลศอันลีลาศ ลงจากชั้นสุทธาวาสบวรวิมาน. (ม. ร่ายยาว ฉกษัตริย์). (ป., ส. กมล + ศ เข้าลิลิต; ใน สันสกฤตหมายความว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งพระลักษมี คือ พระนารายณ์ มาจาก กมลา = พระลักษมี + อีศ = เป็นใหญ่).
กษีรารณพ :
[กะสีราระนบ] น. ทะเลน้ำนม. (ส. กฺษีร + อรฺณว). ดู กษีร-, กษีระ.ดู กษีร-, กษีระ. [กะ-] (กลอน) ว. สงบ, ราบคาบ, เช่น ผ่องน้ำใจกสานติ์. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). (ก + ป. สนฺติ), กระสานติ์ ก็ใช้. [กะ-] น. การทํานา, การเพาะปลูก. (ป.).
กสานติ์ : [กะ-] (กลอน) ว. สงบ, ราบคาบ, เช่น ผ่องน้ำใจกสานติ์. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). (ก + ป. สนฺติ), กระสานติ์ ก็ใช้.
กูรมาวตาร : [-วะตาน] น. อวตารเป็นเต่า เป็นอวตารปางที่ ๒ ของพระนารายณ์. (ส.).
เกศพ, เกศวะ : [-สบ, เกสะวะ] ว. ผู้มีผมงาม, ใช้เป็นนามของพระนารายณ์ หรือพระกฤษณะซึ่งเป็นอวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์. (ส.).
เกษียร : [กะเสียน] (แบบ) น. น้ำนม. (ส. กฺษีร; ป. ขีร). เกษียรสมุทร น. ทะเลน้ำนม, ที่ประทับของพระนารายณ์. (ส. กฺษีร + สมุทฺร).
ไกพัล : [ไกพัน] (กลอน) น. ไกวัล, ชั้นสวรรค์, เช่น ขอพรพระบาทเจ้า ไกพัล ตรีเนตรสังหารสวรรค์ ใฝ่ให้. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์).
ครุฑ : [คฺรุด] น. พญานกในเทพนิยาย เป็นพาหนะของพระนารายณ์, ใช้เป็น ตราแผ่นดินและเครื่องหมายทางราชการ. (ส.; ป. ครุฬ).
ครุฑพ่าห์ : [คฺรุดพ่า] น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธง เทำด้วยผ้าปักไหมทองป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ใน คันธงเดียวกันซึ่งเป็นเหล็กและทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้าย และด้านขวา ปลายคันธงทำเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงตรงส่วนสวม ต่อกับคันธงท่อนล่างติดรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ เรียกเต็มว่า ธงพระ ครุฑพ่าห์ หรือ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ หรือ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ใหญ่, ใช้เข้าคู่กับ ธงกระบี่ธุช โดยธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา และ ธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย.
ง้อนหมู : น. หญ้าแห้วหมู. (โอสถพระนารายณ์).
จตุรภุช : [-พุด] ว. ''ผู้มี ๔ แขน'' คือ พระนารายณ์.
จักร, จักร- : [จัก, จักกฺระ-] น. อาวุธในนิยาย รูปเป็นวงกลมและมีแฉก ๆ โดยรอบ เช่น พระนารายณ์ทรงจักร, สิ่งที่มีลักษณะเป็นวงกลมอย่างล้อรถ เช่น จักรที่ใช้ ขว้างในการกีฬา, สิ่งที่มีรูปเป็นวงกลมมีฟันเฟืองหมุนด้วยพลังงานต่าง ๆ เช่น จักรนาฬิกา, เรียกเครื่องกลบางชนิด เช่น เครื่องจักร รถจักร, เรียก เครื่องเย็บผ้าที่ใช้เดินด้วยพลังงานหรือใช้เท้าถีบหรือใช้มือหมุนว่า จักร หรือ จักรเย็บผ้า; บรรจบรอบแห่งปีหรือแห่งฤดู เช่น พฤหัสบดีจักร.(ส., ป. จกฺก).
จักรปาณิ, จักรปาณี : น. ผู้มีจักรในมือ คือ พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์. (ส.; ป. จกฺกปาณิ, จกฺกปาณี).
จักริน, จักรี : [จักกฺริน, จักกฺรี] น. ผู้มีจักร หมายถึง พระนารายณ์, ต่อมาหมายถึง พระราชาตามคติความเชื่อของไทยที่ถือว่าเป็นพระนารายณ์อวตาร. (ส. จกฺรี, จกฺรินฺ; ป. จกฺกี).
จัตุรภุช : ว. จตุรภุช, ''ผู้มี ๔ แขน'' คือ พระนารายณ์.
จินดามณี : น. แก้วอันให้ผลแก่เจ้าของตามใจนึก, แก้วสารพัดนึก; ชื่อตำรา แบบเรียนหนังสือไทยโบราณ เช่น จินดามณีฉบับพระโหราธิบดีแต่งใน รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จินดามณีฉบับไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ในรัชกาลสมเด็จพระบรมโกศ จินดามณีฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิท แต่งในสมัยรัตนโกสินทร์. (ป., ส.).
ฉ่า : ว. เสียงน้ำมันเดือดเมื่อเวลาทอดของ; เสียงลูกคู่เพลงร้องรับจังหวะพ่อเพลง แม่เพลง; เสียงอื้ออึง เช่น จะชุมฉ่าชายจะมาก. (ม. ร่ายยาว ชูชก); เสียงน้ำดัง เช่นนั้น เช่น พรายสายชลฉ่าเพียง สินธุ์สวรรค์. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์).
ชปโยค : [ชะปะโยก] (แบบ) น. มนตร์กระซิบ เช่น สมมุขบ่ายบูชา ชปโยค. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). (ส. ชปฺ + โยค).
ชรากากี : [ชะ] น. ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง. (โอสถพระนารายณ์).
ตรีปวาย : [ตฺรีปะ-] น. พิธีพราหมณ์กระทํารับพระนารายณ์ ที่เรียกเป็นสามัญว่า พิธีแห่ พระนารายณ์ ซึ่งกระทําในวันแรมคํ่า ๑ ถึงแรม ๕ คํ่า เดือนยี่. (เทียบทมิฬ ติรุปปาไว).
ตรีมูรติ : ว. มีรูป ๓ คือ รูปพระพรหม รูปพระวิษณุ รูปพระศิวะ. น. ชื่อเรียกเทพเจ้า ในศาสนาพราหมณ์ มี ๓ องค์ คือ พระพรหม (พระผู้สร้าง) พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ (พระผู้รักษา) และพระศิวะหรือพระอิศวร (พระผู้ทําลาย). (ส. ตฺริมูรฺติ).
ทรง : [ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จํา เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์ มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคําที่ตาม หลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคํา เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้า นามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรง ครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นําหน้าคํากริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นําหน้าคํานามราชาศัพท์ ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระ ประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชา สามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่นิยมใช้คําว่า ทรง นําหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวาง แล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.
ธราธร, ธราธาร : น. ผู้ทรงโลกไว้ คือ พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์. (ส.).
แบ่งภาค : ก. แยกส่วนของร่างเดิมออกเป็นอีกร่างหนึ่งหรือหลาย ร่างโดยเอกเทศ เช่น พระนารายณ์แบ่งภาคมาเกิด, โดยปริยายเป็น คําเปรียบเทียบหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ใครจะแบ่ง ภาคไปทําได้ ไม่สามารถแบ่งภาคไปทําได้.
ผสาย : [ผะ] ก. กระจาย, เรียงราย, เช่น ตรีมุขสิงหาสน์แก้ว กรองผสาย. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). (ข. ผฺสายร).
พระ : [พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลง โบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คําพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็น เดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่ คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบ หน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่ เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพ เมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศ เจ้านาย เช่น พระรามคําแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับ ผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
มหิธร : น. ผู้ทรงแผ่นดิน คือ ภูเขา; ชื่อหนึ่งของพระนารายณ์; พระเจ้าแผ่นดิน. (ส. มหีธร, มหีธฺร).
เมฆฉาย : [เมก-] น. เงาเมฆ, เมฆที่ปรากฏให้เห็นเป็นรูปต่าง ๆ เนื่องจากการยกเมฆ เป็นนิมิตให้สามารถพยากรณ์ได้ว่าร้ายหรือดี เช่น ภาวนาเขม้นเห็นเมฆฉาย นิมิตเป็นรูปนารายณ์เรืองศรี. (ขุนช้างขุนแผน); การอธิษฐานโดยบริกรรม ด้วยมนตร์เชื่อกันว่าจะทําให้เงาของคนเจ็บลอยขึ้นไปในอากาศ แล้วพิจารณาดูว่า คนเจ็บนั้นเป็นโรคอะไร.
ยกเมฆ : ก. เพ่งดูเมฆเมื่อเห็นเป็นรูปอะไรแล้ว ก็ถือเป็นนิมิตเพื่อทำนาย ว่าดีหรือร้าย เช่นในเวลาจะยกทัพ ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปพระนารายณ์ ก็ถือ ว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้ เช่น ตรงเข้าไปในป่าแล้วปลุกตัว เป่าทั่ว ด้วยคาถาประกาศิต ขยับยืนยกเมฆดูนิมิต เห็นรูปนารายณ์เรืองฤทธิ์ติด อัมพร. (ขุนช้างขุนแผน), ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปคนหัวขาดหรือแขนขาดขา ขาด เป็นนิมิตไม่ดี ไม่ควรยกทัพ แม้ผู้ทรงวิทยาคุณอาจบริกรรมต่อหัว หรือแขนขาให้สมบูรณ์ได้ ถึงกระนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ไม่ควร ยกทัพ เช่น กอดอกยกเมฆดูนิมิต ก็วิปริตเป็นรูปคนหัวหาย จะยกต่อ คอแขนไม่ติดกาย เถนสำคัญมั่นหมายไม่คืนมา. (ขุนช้างขุนแผน); (สำ) เดาเอา, นึกคาดเอาเอง, กุเรื่องขึ้น.
ยุคทอง : น. ช่วงเวลาที่เจริญรุ่งเรือง เช่น สมัยสมเด็จพระนารายณ์ มหาราชเป็นยุคทองแห่งวรรณคดีไทยยุคหนึ่ง.
ลักษมี : [ลักสะหฺมี] น. โชคลาภ, ความเจริญ, ทรัพย์; ความงาม, เสน่ห์, สิริ; ชื่อเจ้าแม่แห่งลาภและความงาม เป็นชายาพระนารายณ์. (ส.).
วามนาวตาร : น. อวตารปางที่ ๕ ของพระนารายณ์. (ส. วามน + อวตาร).
วาสุเทพ : น. ชื่อพระนารายณ์ปางพระกฤษณะ. (ส.).
วิษณุ : [วิดสะนุ] น. พระนารายณ์. (ส.).
วิษณุมนตร์ : น. มนตร์สรรเสริญพระนารายณ์, วิษณุเวท ก็ว่า.
วิษณุโลก : น. สวรรค์ของพระนารายณ์ผู้เป็นเจ้า. (ส.).
วิษณุเวท : น. มนตร์สรรเสริญพระนารายณ์, วิษณุมนตร์ ก็ว่า. (ส.).
ไวกูณฐ์ : น. ที่ประทับพระนารายณ์ เช่น ผู้สิง ณ ไวกูณฐ์. (มัทนะ). (ส.); (โบ) พระนารายณ์ ที่แบ่งภาคลงมา เช่นซึ่งจะให้นารายณ์ลงไป ก็ต้องในไวกูณฐ์อวตาร. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
ไวษณพ : [ไวสะนบ] น. ชื่อนิกายหนึ่งในศาสนาฮินดู นับถือพระวิษณุหรือ พระนารายณ์ว่าเป็นใหญ่กว่าเทพใด ๆ ในกลุ่มตรีมูรติ.(ส. ไวษฺณว).
สังขกร : [สังขะกอน] น. ผู้มีสังข์อยู่ในมือคือ พระนารายณ์. (ป.).
หริ : [หะริ] น. ชื่อพระนารายณ์. ว. สีขมิ้น, สีเหลืองอมแดง, สีเขียว. (ป., ส.).
หริรักษ์ : [หะริรัก] น. พระนารายณ์.
หริวงศ์ : [หะริวง] น. วงศ์หรือเชื้อพระนารายณ์คือพระรามเป็นต้น (ส.).'';.
อวตาร : [อะวะตาน] ก. แบ่งภาคมาเกิดในโลก (ใช้แก่พระนารายณ์) เช่น พระนารายณ์อวตารเป็นปลา. (ส.).