นา ๑ : น. พื้นที่ราบทําเป็นคันกั้นนํ้าเป็นแปลง ๆ สําหรับปลูกข้าวเป็นต้น, พื้นที่มีลักษณะคล้ายนาสําหรับทําประโยชน์อื่น ๆ เรียกตามสิ่งที่ทํา เช่น นาเกลือ นากุ้ง นาผักกระเฉด, ใช้ประกอบกับคําอื่นที่เกิดหรือ เกี่ยวข้องกับนา เช่น เต่านา ปูนา.
นา ๓ : (โบ; เลิก) น. ตำแหน่งเจ้ากระทรวงปกครองครั้งโบราณ มีหน้าที่ดูแล รักษานาหลวงจัดหาและรักษาเสบียงอาหารสำหรับพระนคร ดูแล ทุกข์สุขของชาวไร่ชาวนา.
นา ๒ : (แบบ) คําบทบูรณ์ มักใช้ประกอบท้ายคําบทร้อยกรองให้มีความกระชับ หรือสละสลวยขึ้น เช่น แลนา.
นาโครคินทระ : [นาโคระคินทฺระ] (แบบ) น. พญานาค เช่น อันว่าพระญานาโครคินทรก คํานึง. (นันโท). (ส. นาค + อุรค + อินฺทฺร).
นานัครส : [นานักคะรด] น. รสเลิศต่าง ๆ เช่น นานัครสโภชชาหาร. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์). (ป. นานา + อคฺค + รส).
นาขอบเหล็ก : น. นาชนิดที่ไม่มีทางจะบุกเบิกออกไปได้อีก, นาเชิงทรง ก็ว่า.
นาคู่โค : น. นาที่ได้ทํามาแล้วนาน เป็นนาดี ทําแล้วไม่ใคร่เสีย.
นาเชิงทรง : น. นาชนิดที่ไม่มีทางจะบุกเบิกออกไปได้อีก, นาขอบเหล็ก ก็ว่า.
นาฟางลอย : น. นาที่ปลูกข้าวชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ''ข้าวขึ้นน้ำ'' เนื่องจาก มีรากยาวสามารถหนีน้ำที่บ่ามาท่วมได้รวดเร็ว สามารถแตกแขนงตามข้อ และที่ข้อจะมีรากงอกออกมาสำหรับดูดหาอาหาร นิยมปลูกในท้องที่ซึ่งมี ระดับน้ำสูงตั้งแต่ ๑-๔ เมตร,นาเมือง ก็เรียก.
นาเมือง : น. นาฟางลอย; เรียกข้าวเปลือกที่มีเมล็ดสั้นเนื้อฟ่ามว่า ข้าวนาเมือง.
นาหว่าน : น. นาชนิดที่หว่านเมล็ดข้าวลงในนา.
นามานุศาสตร์ : น. อภิธานคําชื่อ. (ส.).
นาลิวัน : น. พราหมณ์พวกหนึ่งผู้โล้ชิงช้าและรําเขนงในพระราชพิธีตรียัมปวาย.
นานาเนก : ว. ต่าง ๆ กันมากมาย, ใช้ย่อว่า นาเนก ก็มี. (ป. นานา + อเนก).
นามานุศาสตร์ :
ดู นาม, นาม.
อานาปาน, อานาปานะ : [นะ] น. ลมหายใจเข้าออก ในคําว่า อานาปานัสสติ. (ป., ส.).
เกษตร : [กะเสด] น. ที่ดิน, ทุ่ง, นา, ไร่; (โบ) แดน เช่น พุทธเกษตร. (ส. เกฺษตฺร; ป. เขตฺต).
เขษตร : [ขะเสด] (โบ) น. เกษตร, ทุ่ง, นา, ไร่.
เนื้อนาบุญ : น. แหล่งที่ควรแก่การทำบุญ เช่น พระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญ.
ประสันนาการ : น. อาการเลื่อมใส. (ป. ปสนฺนาการ).
ทัสนานุตริยะ : [ทัดสะนานุดตะริยะ] น. สิ่งที่เห็นอันประเสริฐ, การเห็นอัน ประเสริฐ เช่นการเห็นธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นต้น. (ป. ทสฺสนานุตฺตริย).
บ้านนอกขอกนา : (สํา) น. เรียกคนที่เป็นชาวไร่ชาวนาอยู่นอกกรุง หรือเมืองหลวงว่า คนบ้านนอกขอกนา, บ้านนอก หรือ บ้านนอก คอกนา ก็ว่า.
บ้านนอกคอกนา : (สำ) น. บ้านนอกขอกนา.
อนุปัสนา : [อะนุปัดสะนา] น. การพิจารณา. (ป. อนุปสฺสนา).
ทะนะ, ทะนา : (โบ; กลอน) ว. คําละมาจากคําว่า เทอญนะ เทอญนา เถิดนะ หรือ เถิดนา, มักใช้ในความชักชวน เช่น ไปทะนะ.
รีดนาทาเน้น, รีดนาทาเร้น : ก. ขูดรีดเอาทรัพย์สินจนแทบหมดเนื้อหมดตัว; เคี่ยวเข็ญให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกินกำลังความสามารถ เช่น รีดนาทาเน้นเด็ก ให้ทำงานหนัก.
อานาปานัสสติ :
ดู อานาปาน, อานาปานะ.
นยนะ, นยนา : [นะยะ] น. ดวงตา. (ป., ส.).
กบนา : น. ชื่อกบชนิด Rana tigerina ในวงศ์ Ranidae ตัวสีเขียว มีลาย สีเข้ม มักอาศัยในรูตามคันนา นิยมนำมาทำเป็นอาหาร.
รัตนาภรณ์ : น. เหรียญบำเหน็จส่วนพระองค์ที่สร้างขึ้นสำหรับพระราชทาน แก่ผู้จงรักภักดีและทรงคุ้นเคยรู้จัก เพื่อเป็นเครื่องหมายในพระมหากรุณาธิคุณ มี ๕ ชั้น, เดิมเรียกว่า รจนาภรณ์.
ละหมาดญานาซะฮ์ : น. พิธีอ้อนวอนพระเป็นเจ้าในศาสนาอิสลาม เพื่อขอให้รับผู้ตาย (ระบุชื่อ) ไว้ในที่อันบริสุทธิ์.
อทินนาทายี : น. ผู้ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้, ขโมย. (ป.).
นาคินทร์, นาเคนทร์, นาเคศ, นาเคศวร : [นาคิน, เคน, เคด, เคสวน] น. พญาช้าง, พญางู.
อานาปานัสสติ : [นัดสะติ] น. สติที่กําหนดลมหายใจเข้าและ ลมหายใจออก.
อาวัชนาการ : [วัดชะ] น. ความรําพึง; การรําลึก. (ป. อาวชฺชน + อาการ).
กระทุ่มขี้หมู, กระทุ่มนา, กระทุ่มหมู : ดู กระท่อมขี้หมู.
ชั่วนาตาปี : ว. ตลอดปี.
ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ, ซื้องัวหน้านา ซื้อผ้าหน้าหนาว : (สํา) ก. ซื้อของไม่คํานึงถึงกาลเวลา ย่อมได้ของแพง, ทําอะไรไม่เหมาะ กับกาลเวลา ย่อมได้รับความเดือดร้อน.
ทำนาบนหลังคน : (สํา) ก. หาผลประโยชน์ใส่ตนโดยขูดรีดผู้อื่น.
ทำนาออมกล้า ทำปลาออมเกลือ : (สํา) ก. ทําการสิ่งใดถ้ากลัว หมดเปลืองย่อมไม่ได้ผลสมบูรณ์.
น่า ๑ : ว. คําประกอบหน้ากริยา หมายความว่า ควร เช่น น่าจะทําอย่างนั้น น่าจะเป็นอย่างนี้; ชวนให้, ทําให้อยากจะ, เช่น น่ากิน น่ารัก.
น่า ๒ : ว. คําประกอบท้ายความ หมายความไปในทางชักชวนหรือให้ทําตาม เช่น กินเถิดน่า ไปเถิดน่า.
เน่า : ว. เสียและมีกลิ่นเหม็น เช่น ปลาเน่า เนื้อเน่า.
อุดากัน, อุนากัน : ว. เล็บยาว. (ช.).
อุนากัน, อุดากัน : ว. เล็บยาว. (ช.).
เอาหูไปนา เอาตาไปไร่ : (สํา) ก. แสร้งทําเป็นไม่รู้ไม่เห็นไม่สนใจ.
ธัญเขต : น. นา. (ป. ธ?ฺ?เขตฺต; ส. ธานฺยเกฺษตฺร).
สมุหประธาน : (โบ) น. เสนาบดีชั้นจตุสดมภ์ คือ เวียง วัง คลัง นา.
สร้อย ๓ : [ส้อย] น. คำหรือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทร้อยกรอง เพื่อให้ครบตามจำนวน เพื่อความไพเราะของเสียงและความหมาย หรือเพื่อแสดงว่าจบตอน เช่น นา เฮย ฤๅ บารนี แก่แม่นา โสตถิ์เทอญ, คำสร้อย ก็ว่า; คำที่เติมหรือประกอบคำอื่นเพื่อให้ไพเราะหรือเต็มความ เช่น เสื้อแสง หนังสือหนังหา, คำต่อท้ายราชทินนาม เช่น พระราชปัญญา สุธี ศรีปริยัติธาดา มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี เจ้าพระยาอภัย ราชาสยามานุกูลกิจ สกลนิติธรรมศาสตราจารย์มหิบาลมหาสวามิภักดิ์ ปรมัคราชมนตรีอภัยพิริยปรากรมพาหุ.