นิพพาน : [นิบพาน] น. ความดับสนิทแห่งกิเลสและกองทุกข์. ก. ดับกิเลสและ กองทุกข์, ตาย (ใช้แก่พระอรหันต์). (ป.; ส. นิรฺวาณ), โบราณใช้ว่า นิรพาณ ก็มี. (จารึกสยาม).
นิโรธ, นิโรธ : [นิโรด, นิโรดทะ] (แบบ) น. ความดับ; นิพพาน. (ป.).
ปาร- : [ปาระ-] น. ฝั่ง, ฝั่งตรงข้าม; ที่สุด; นิพพาน. (ป., ส.).
ภวกษัย : [พะวะกะไส] น. ความสิ้นภพ, นิพพาน. (ส.).
ภวปาระ : น. ฝั่งแห่งภพ คือ นิพพาน. (ป.).
โมกข-, โมกข์ ๑ : [โมกขะ-] น. ความหลุดพ้น, นิพพาน. (ป.; ส. โมกฺษ).
โมกษ-, โมกษะ : [โมกสะ-] น. ความหลุดพ้น, นิพพาน. (ส.; ป. โมกฺข).
คามี : ใช้ประกอบท้ายคําอื่น แปลว่า ผู้ไป, ผู้ถึง, เช่น นิพพานคามี ว่า ผู้ถึงนิพพาน, วัฏคามี ว่า ผู้ไปในวัฏฏะ. (ป.).
ทุกขักษัย : [ทุกขักไส] (แบบ) น. การหมดทุกข์, พระนิพพาน. (ส. ทุะข + กฺษย; ป. ทุกฺขกฺขย).
พิโมกข์ : น. ความพ้น, ความเปลื้องออก, ชื่อพระนิพพาน. ก. เปลื้อง, พ้น. (ป. วิโมกฺข; ส. วิโมกฺษ).
โลกุตรธรรม : [โลกุดตะระทํา] น. ธรรมที่พ้นวิสัยของโลก มี ๙ คือ มรรค ๔ (คือ โสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค) ผล ๔ (คือ โสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล) และนิพพาน ๑. (ส.; ป. โลก + อุตฺตร + ธมฺม).
วิมุตติ : [วิมุด, วิมุดติ] น. ความหลุดพ้น; ชื่อหนึ่งของพระนิพพาน. (ป.; ส. วิมุกฺติ).
วิโมกข์ : น. ความหลุดพ้น, การขาดจากความพัวพันแห่งโลก; พระนิพพาน. (ป.; ส. วิโมกฺษ).
วิราคะ : น. ความปราศจากราคะ, ความหน่าย, ความไม่ไยดี; พระนิพพาน. (ป., ส.).
วิวัฏ : น. พระนิพพาน. (ป. วิวฏฺฏ).
ศิวโมกข์ : น. พระนิพพาน.
ศิว, ศิวะ : [สิวะ] น. พระอิศวร; พระนิพพาน. (ส.; ป. สิว).
ศูนยวาท : น. ปรัชญาฝ่ายมหายานที่ถือว่า (๑) โลกเป็นศูนยะ คือ ไม่ใช่สิ่งจริงแท้ถาวร (๒) นิพพานก็เป็นศูนยะ คือ ไม่มีวาทะ หรือลัทธิใด ๆ สามารถบรรยายได้ถูกต้องครบถ้วน, มาธยมิกะ ก็เรียก. (ส.).
โศลก : [สะโหฺลก] น. คําประพันธ์ในวรรณคดีสันสกฤต ๔ บาท เป็น ๑ บท ตามปรกติมีบาทละ ๘ พยางค์ เรียกว่า โศลกหนึ่ง เช่น กามโกฺรธวิยุกฺตานามฺ ยตีนำ ยตเจตสามฺ อภิโต พฺรหฺมนิรฺวาณมฺ วรฺตเต วิทิตาตฺมนามฺ ผู้บำเพ็ญพรต พรากจากกามและโกรธ ข่มใจได้ รู้แจ้งอาตมัน ย่อมมีนิพพานคือ พรหมโดยทั่วไป. (ศรีมัทภควัทคีตา), บทสรรเสริญยกย่อง; ชื่อเสียง, เกียรติยศ.
อนาลัย : น. การไม่มีที่อยู่; การหมดความอยาก, การหมดความพัวพัน; ชื่อหนึ่งของพระนิพพาน. (ป.).
อมตบท : น. ทางพระนิพพาน. (ป. อมตปท; ส. อมฺฤตปท).
อมต, อมตะ : [อะมะตะ, อะมะตะ] ว. ไม่ตาย เช่น อมตธรรม, เป็นที่นิยมยั่งยืน เช่น เพลงอมตะ. น. พระนิพพาน. (ป.; ส. อมฺฤต).
อมฤตบท : [อะมะรึดตะ] น. ทางพระนิพพาน.
อาบัน : ก. ต้อง เช่น อาบัติอาบัน ว่า ต้องอาบัติ; ถึง, ลุ, เช่น โสดาบัน ว่า ถึงโสตธรรม คือ กระแสพระนิพพาน. (ป., ส. อาปนฺน).
อุตมัตถ์ : [อุดตะมัด] น. ผลอันยอดเยี่ยม หมายถึง พระนิพพาน. (ป. อุตฺตมตฺถ).
นฤพาน. : (พงศ. กรุงเก่า). (ส. นิรฺวาณ; ป. นิพฺพาน).