นิยาย : น. เรื่องที่เล่ากันมา.
นิยมนิยาย : (ปาก) น. ความแน่นอน, ใช้ในความปฏิเสธว่า เอานิยมนิยาย ไม่ได้หมายความว่า หาความแน่นอนจริงจังอะไรไม่ได้.
หัสนิยาย : น. เรื่องชวนหัว, เรื่องราวที่เต็มไปด้วยความตลกขบขัน.
กินนร : [-นอน] น. อมนุษย์ในนิยาย มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งเป็นครึ่งคนครึ่งนก ท่อนบนเป็นคน ท่อนล่างเป็นนก อีกชนิดหนึ่งมีรูปร่างเหมือนคน เมื่อจะไปไหนมาไหน ก็ใส่ปีกใส่หางบินไป.
กิเลน : น. ชื่อสัตว์ในนิยายจีน, ตามตําราของจีนว่า หัวเป็นมังกร มีเขาอ่อน ๑ เขา ตัวเป็นกวาง ตีนมีกีบเหมือนม้า หางเป็นพวง.
คชสีห์ : น. สัตว์ในนิยายมีรูปเหมือนราชสีห์ แต่มีงวงเหมือนช้าง.
เงือก ๒ : น. สัตว์นํ้าในนิยาย เล่ากันว่าท่อนบนเป็นคน ท่อนล่างเป็นปลา.
จักร, จักร- : [จัก, จักกฺระ-] น. อาวุธในนิยาย รูปเป็นวงกลมและมีแฉก ๆ โดยรอบ เช่น พระนารายณ์ทรงจักร, สิ่งที่มีลักษณะเป็นวงกลมอย่างล้อรถ เช่น จักรที่ใช้ ขว้างในการกีฬา, สิ่งที่มีรูปเป็นวงกลมมีฟันเฟืองหมุนด้วยพลังงานต่าง ๆ เช่น จักรนาฬิกา, เรียกเครื่องกลบางชนิด เช่น เครื่องจักร รถจักร, เรียก เครื่องเย็บผ้าที่ใช้เดินด้วยพลังงานหรือใช้เท้าถีบหรือใช้มือหมุนว่า จักร หรือ จักรเย็บผ้า; บรรจบรอบแห่งปีหรือแห่งฤดู เช่น พฤหัสบดีจักร.(ส., ป. จกฺก).
จักรวาล : [-วาน] น. ปริมณฑล; ประชุม, หมู่; เทือกเขาในนิยาย เป็นกําแพง ล้อมรอบโลกและเป็นเขตกั้นแสงสว่างกับความมืด, บริเวณโดยรอบของ โลก, ทั่วโลก. (ส.; ป. จกฺกวาล).
จันทน์ : น. ชื่อพรรณไม้บางชนิดที่มีเนื้อไม้ ดอก หรือผลหอม ใช้ทํายาและ [จันทฺระ- ในกลอนบางทีอ่านเป็น จันทอน, จัน] น. ดวงเดือน, เรียกเทวดา องค์หนึ่งในนิยายว่า พระจันทร์, ในตำราโหราศาสตร์เป็นชื่อดาว พระเคราะห์ที่ ๒; ชื่อวันที่ ๒ ของสัปดาห์. (ส.).
ช้างน้ำ : น. สัตว์ในนิยาย มีรูปร่างเหมือนช้าง มีงวงและ งาคล้ายช้าง หางเป็นปลา.
ทานพ : [-นบ] น. อสูรจําพวกหนึ่งในนิยาย. (ป., ส.).
นาค ๑, นาค : [นาก, นากคะ] น. งูใหญ่มีหงอน เป็นสัตว์ในนิยาย. (ป., ส.).
เบื้อ ๒ : น. สัตว์ในนิยายเล่ากันว่ามีรูปร่างคล้ายคน แต่ไม่มีสะบ้าหัวเข่า พูดไม่ได้, โดยปริยายเรียกผู้ที่นิ่งเฉยไม่พูดไม่จาเหมือนตัวเบื้อว่า เป็นเบื้อ เช่น นั่งเป็นเบื้อ.
ประโลมโลก : ว. เกี่ยวกับเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ เช่น หนังสือประโลมโลก นิยายประโลมโลก.
มอม ๒ : น. เรียกรูปสัตว์ในนิยายที่มักสักตามร่างกาย ส่วนใหญ่เป็นรูปสิงห์.
มักกะลีผล : (โบ) น. ชื่อต้นไม้ในนิยาย ว่ามีอยู่ที่ป่าหิมพานต์ ออกผลเป็นรูปหญิง สาวงดงามห้อยย้อยเป็นระย้า ผลเมื่อครบ ๗ วันก็เน่า, นารีผล ก็เรียก.
มังกร ๑ : น. สัตว์ในนิยายจีน รูปร่างคล้ายงู แต่มีตีน มีเขา; ชื่อกลุ่มดาวรูปมังกร เรียกว่า ราศีมังกร เป็นราศีที่ ๙ ในจักรราศี.
ราชสีห์ : น. พญาสิงโต, สิงหราช หรือ สีหราช ก็เรียก; สัตว์ในนิยาย ถือว่ามีความ ดุร้ายและมีกําลังมาก, สิงห์ ก็เรียก. (ป. ราช + สีห; ส. ราช + สึห).
ลูกทุ่ง : น. ลูกป่า; ผู้ที่ทำมาหากินอยู่ตามท้องทุ่ง; ลูกสัตว์ที่เกิดใน ท้องทุ่ง; เรียกเหล้าเถื่อนว่า เหล้าลูกทุ่ง, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มี ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น นิยายลูกทุ่ง ภาษาลูกทุ่ง. ว. เรียก เพลงชนิดที่คนในชนบทนิยมว่า เพลงลูกทุ่ง.
ศรภะ : [สะระพะ] น. สัตว์ในนิยาย ว่ากันว่ามี ๘ เท้า มีแรงมากกว่าช้าง และสิงโต. (ส.).
สรภะ : [สะระ] น. สัตว์ในนิยายว่ามี ๘ ขา มีกําลังยิ่งกว่าราชสีห์. (ป.; ส. ศรภ).
สาง ๒ : น. สัตว์ในนิยาย เข้าใจกันว่ามีรูปร่างอย่างเสือ.
หงส-, หงส์ ๑ : [หงสะ-, หง] น. นกในนิยายถือว่าเป็นนกในตระกูลสูง มีเสียงไพเราะ เป็นพาหนะของพระพรหม; ในวรรณคดีหมายถึงบุคคลที่มีชาติตระกูล สูงและเปรียบการเดินที่งดงามอ่อนช้อยและเป็นสง่าเทียบด้วยการเดิน ของหงส์. (ป., ส. หํส).
หัส, หัส- : [หัด, หัดสะ-] น. การหัวเราะ; การรื่นเริง, ใช้เป็นส่วนหน้าของคำสมาส เช่น หัสดนตรี หัสนาฏกรรม หัสนิยาย. (ป. หสฺส; ส. หรฺษ).
เหรา ๒ : [เห-รา] น. สัตว์ในนิยายมีรูปครึ่งนาคครึ่งมังกร.
อรหัน : [ออระ] น. ชื่อสัตว์ในนิยาย มี ๒ เท้า มีปีกคล้ายนก หัวคล้าย หัวคน; ผู้วิเศษ.
อาทิตย, อาทิตย์ : [ทิดตะยะ, ทิด] น. ''เชื้ออทิติ'' คือ เทวดาพวกหนึ่งซึ่งเป็นลูกนาง อทิติผู้เป็นชายาพระกัศยปประชาบดี เทวดาพวกนี้มีจํานวนกล่าวไว้ ต่างกัน บ้างว่ามี ๕ องค์ บ้างว่ามี ๗ องค์ บ้างว่ามี ๑๒ องค์ ได้แก่ อินทราทิตย์ (พระอินทร์) วรุณาทิตย์ (พระพิรุณ) ฯลฯ สูรยาทิตย์ (พระอาทิตย์ที่ส่องโลก); ชื่อเทวดาพระเคราะห์ คือ สูรยาทิตย์; ดวงตะวัน (ชื่อเทวดาองค์หนึ่งในนิยาย), ในตํารานพเคราะห์นับ เอาเป็นดาวพระเคราะห์ที่ ๑; ชื่อวันที่ ๑ ของสัปดาห์; รอบ ๗ วัน เช่น ไม่ว่างตลอดอาทิตย์. (ส.; ป. อาทิจฺจ).