Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: นิสัย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : นิสัย, 60 found, display 1-50
  1. นิสัย : น. ความประพฤติที่เคยชิน เช่น ทําจนเป็นนิสัย; ที่พึ่ง, ที่พักพิง, ที่อาศัย, เช่น ขอนิสัยในการอุปสมบท. (ป. นิสฺสย).
  2. นิสัยใจคอ : น. อัธยาศัย, นิสัยที่เกิดจากใจจริง เช่น นิสัยใจคอมีเมตตา กรุณา นิสัยใจคอโหดเหี้ยมทารุณ.
  3. บ่มนิสัย : ก. อบรมให้มีการประพฤติปฏิบัติในทางที่ดีจนเป็นนิสัย.
  4. ขอนิสัย : ก. ขอฝากตัวอยู่ในความปกครองของพระอุปัชฌาย์ (ใช้แก่ กุลบุตรในเวลาอุปสมบท).
  5. กรรมพันธุ์ : [กำมะพัน] ว. มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ คือ เกี่ยวเนื่องด้วย กรรมของตนเอง. น. ลักษณะ นิสัย ตลอดจนโรคหรือความวิกล วิการบางอย่างที่ลูกหลานสืบมาจากบรรพบุรุษ ปู่ย่าตายาย หรือ พ่อแม่, พันธุกรรม ก็ว่า. (ส. กรฺม + พนฺธุ; ป. กมฺมพนฺธุ = ''มีกรรม เป็นเผ่าพันธุ์'' เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง).
  6. พันธุกรรม : น. ลักษณะ นิสัย ตลอดจนโรคหรือความวิกลวิการ บางอย่างที่ลูกหลานสืบมาจากบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย หรือพ่อแม่, กรรมพันธุ์ ก็ว่า.
  7. กล่อมเกลา : [-เกฺลา] ก. ทําให้เรียบร้อย, ทําให้ดี, โดยปริยายหมายความว่า อบรมให้มีนิสัยไปในทางดี.
  8. กล่อมเกลี้ยง : ก. อบรมเลี้ยงดูให้มีนิสัยดี.
  9. กักกัน : ก. กําหนดเขตให้อยู่, กัก ก็ว่า. (กฎ) น. วิธีการเพื่อ ความปลอดภัยอย่างหนึ่งที่ศาลใช้ในกรณีที่ให้ควบคุมผู้กระทํา ความผิดติดนิสัยไว้ภายในเขตกําหนด เพื่อป้องกันการกระทําความผิด เพื่อดัดนิสัย และเพื่อฝึกหัดอาชีพ.
  10. เกเร : ว. เกกมะเหรก, มีนิสัยเป็นพาล ชอบแกล้งชอบรังแกและเอาเปรียบเขา, มักใช้เข้าคู่กับคํา พาล เป็น พาลเกเร.
  11. เกลา : [เกฺลา] ก. ทําสิ่งที่ยังขรุขระอยู่ให้เกลี้ยงหรือได้รูปทรงดีขึ้น เช่น เกลาไม้ไผ่, ทำให้ดีขึ้นหรือเรียบร้อยขึ้น เช่น เกลาสํานวน หนังสือ เกลานิสัย.
  12. ขัดเกลา : ก. ทําให้เกลี้ยงเกลา, ทําให้เรียบร้อย, อบรมพรํ่าสอน, เช่น ขัดเกลานิสัย.
  13. เขียวหางไหม้ : น. ชื่องูเขียวหลายชนิดในวงศ์ Viperidae ลําตัวอ้วนสั้น หัวโต คอเล็ก หลายชนิดปลายหางสีแดงหรือสีน้ำตาล ทุกชนิดออกหากิน เวลากลางคืน มักมีนิสัยดุมีพิษอ่อนแต่เป็นอันตราย เช่น เขียวหางไหม้ ท้องเขียว (Trimeresurus popeorum).
  14. ความรู้สึกเขื่อง, ความรู้สึกเด่น : (จิตวิทยา) น. ความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถเหนือกว่าหรือดีเด่น กว่าผู้อื่น ความรู้สึกนี้ไม่จําเป็นจะต้องอยู่ในจิตใต้สํานึก แต่ถ้าเกิดขึ้น เสมอ ๆ และมิได้แก้ไขหรือได้รับการสนับสนุน เช่นในการอบรม เลี้ยงดูเด็ก ก็อาจเก็บสะสมไว้เกิดเป็นนิสัยของบุคคลนั้นได้. (อ. superiority feeling); ความเชื่อหรือความมั่นใจว่าตนเองมีฐานะหรือความสามารถ เหนือกว่าผู้อื่น.
  15. เคยตัว : ก. ติดเป็นนิสัยประจําตัว.
  16. เคยปาก : ก. พูดอย่างนั้นเสมอ ๆ, พูดจนเป็นนิสัย.
  17. เคยมือ : ก. ทําอย่างนั้นเสมอ ๆ, ทําจนเป็นนิสัย.
  18. เจ้าเรือน : น. นิสัยซึ่งประจําอยู่ในจิตใจ เช่น มีโทสะเป็นเจ้าเรือน; (โหร) ดาวเจ้าของราศี.
  19. ช่าง ๑ : น. ผู้ชํานาญในการฝีมือหรือศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ช่างตัดเสื้อช่างไม้ ช่างไฟ. ว. มีนิสัยชอบในทางใดทางหนึ่ง เช่น ช่างคิด ช่างพูด ช่างประดิษฐ์, มีลักษณะนิสัยโน้มไป ในทางนั้น ๆ เช่น ช่างโง่จริง ๆ ช่าง เก่งจริง ๆ.
  20. ดัด ๑ : ก. ทําให้คดหรือตรงตามประสงค์ เช่น ดัดไม้ ดัดนิสัย; ทําให้เที่ยงตรง เช่น พระดัดคดีดล โดยเยี่ยง ยุกดิ์นา. (ตะเลงพ่าย); ปลุก เช่น เคยดัดฤดีตาตื่นตรับ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). ว. ที่ทําให้คดหรือตรงตามประสงค์ เช่น ไม้ดัด ตะโกดัด.
  21. ดัดสันดาน : ก. แก้นิสัยให้ดี.
  22. ถ่ายแบบ : ก. เอาแบบอย่าง; ถอดแบบ, ถอดลักษณะหรือนิสัยใจคอ มา, เช่น ถ่ายแบบพ่อ ถ่ายแบบแม่.
  23. ถูก ๑ : ก. โดน, แตะต้อง, สัมผัส, เช่น ถูกเนื้อถูกตัว; เหมาะกัน, เข้ากัน, เช่น ถูกนิสัย; ตรงกันกับ เช่น ถูกกฎหมาย ถูกลอตเตอรี่; เป็นกริยาช่วย แสดงว่าประธานของประโยคเป็นผู้ถูกทํา (มักใช้ในข้อความที่ทําให้ ผู้ถูกทําเดือดร้อนหรือไม่พอใจ) เช่น ถูกเฆี่ยน ถูกลงโทษ.
  24. น้ำใจ : น. ใจแท้ ๆ, ใจจริง, ความจริงใจ, เช่น เห็นนํ้าใจ, นิสัยใจคอ เช่น นํ้าใจพ่อ นํ้าใจแม่ นํ้าใจชาย นํ้าใจหญิง, ความเอื้อเฟื้อ เช่น เขาไม่มีนํ้าใจ แล้งนํ้าใจ.
  25. เนตรนารี : น. เด็กหญิงที่ได้รับการฝึกให้เป็นผู้นำในทางความประพฤติ, สมาชิกแห่งองค์การที่มีวัตถุประสงค์ในการฝึกหัดอบรมบ่มนิสัยเด็กหญิง ให้เป็นพลเมืองดีตามจารีตประเพณี มีอุดมคติ และความรับผิดชอบตัวเอง และต่อผู้อื่นเป็นต้น.
  26. บ่ม : ก. ทําให้สุกหรือให้แห้งด้วยความอบอุ่น เช่น บ่มผลไม้ บ่มใบยา; โดยปริยายหมายความว่า สั่งสมอบรมให้สมบูรณ์ ในคำว่า บ่มบารมี บ่มนิสัย.
  27. บอกยี่ห้อ : (ปาก) ก. แสดงกิริยาท่าทีหรือคําพูดให้รู้ว่ามีลักษณะนิสัย ใจคอหรือชาติตระกูลเป็นอย่างไรเป็นต้น.
  28. ปมจิต : น. อารมณ์และความรู้สึกของบุคคลที่เก็บกดสะสมไว้ใน จิตใต้สํานึกมาตั้งแต่ในวัยเด็ก ปมจิตนี้จะทําให้บุคคลผู้นั้นแสดง ออกในด้านความคิดความรู้สึก และการกระทําในลักษณะที่ซํ้ากัน จนเกิดเป็นอุปนิสัยประจําตัว.
  29. เพาะ : ก. ทําให้งอก, ทําให้เกิด, เช่น เพาะถั่วงอก, โดยปริยายหมายถึง อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เพาะนิสัย.
  30. มักง่าย : ก. มีนิสัยชอบเอาแต่ความสะดวกเข้าว่า.
  31. มุทะลุ : ก. หุนหันพลันแล่น, โกรธแล้วทําลงไปอย่างไม่คํานึงถึงเหตุผลหรือ ไม่ยับยั้ง. ว. มีนิสัยดุดัน ชอบทำอะไรอย่างหุนหันพลันแล่นหรือ โดยขาดสติปราศจากความยั้งคิด.
  32. ไม่ถูกโรคกัน : (ปาก) ก. เข้ากันไม่ได้, ไม่ถูกนิสัยกัน.
  33. รากษส : [รากสด] น. ยักษ์ร้าย, ผีเสื้อนํ้า, ชื่อพวกอสูรชั้นต่ำ มีนิสัยดุร้าย ในคัมภีร์ โลกทีปกสารว่า เป็นบริวารของพญายม, ในคัมภีร์โลกบัญญัติว่า เป็น บริวารของพระวรุณ, ใช้ รากโษส ก็มี. (ส.; ป. รกฺขส).
  34. รู้เช่นเห็นชาติ : (สํา) ก. รู้กําพืด, รู้นิสัยสันดาน, เช่น เขาชอบหักหลังคนอื่น เพื่อน ๆ รู้เช่นเห็นชาติมานานแล้ว.
  35. ลูกเสือ : น. สมาชิกแห่งองค์การที่มีวัตถุประสงค์ในการฝึกหัดอบรม บ่มนิสัยเด็กชายให้เป็นพลเมืองดีตามจารีตประเพณี มีอุดมคติและ ความรับผิดชอบตัวเองและต่อผู้อื่นเป็นต้น.
  36. โลเล : ว. ไม่แน่นอน (มักใช้แก่นิสัยใจคอ) เช่น มีจิตใจโลเล, ไม่อยู่กับ ร่องกับรอย (มักใช้แก่กริยาพูด) เช่นพูดจาโลเล.
  37. วิตกจริต : [วิตกกะจะหฺริด, วิตกจะหฺริด] ว. มีนิสัยคิดไปในทางร้าย ทางเสีย. (ป.).
  38. วิภัชพยากรณ์ : น. การพยากรณ์หรืออธิบาย โดยจําแนกธรรมแต่ละ หัวข้อตามเหตุและผลแห่งธรรมนั้น ซึ่งคํานึงถึงนิสัยของผู้ฟังเป็นที่ตั้ง.
  39. วิภัชวาที : น. ผู้จําแนกธรรมแต่ละหัวข้อตามเหตุและผลแห่งธรรมนั้น โดยคํานึงถึงนิสัยของผู้ฟังเป็นที่ตั้ง.
  40. สวมหน้ากาก : (สำ) ก. แสดงทีท่าหรือกิริยาอาการที่มิได้เกิดจากนิสัย ใจจริง, แสดงกิริยาท่าทีลวงให้เข้าใจผิด, เช่น ต่างคนต่างสวมหน้ากาก เข้าหากัน, ใส่หน้ากาก ก็ว่า.
  41. สัทธาจริต : ว. มีความเชื่อเป็นเจ้าเรือน, มีนิสัยเชื่อง่าย, เช่น เขาเป็นคน สัทธาจริตเชื่ออะไรง่าย. (ป.).
  42. หน้าซื่อใจคด : (สํา) ว. มีสีหน้าดูซื่อ ๆ แต่มีนิสัยคดโกง.
  43. หมอตาล : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Helostoma temminckii ในวงศ์ Anabantidae ลําตัวแบนข้างและกว้างมากกว่าปลาหมอ ปากยืดหดได้ และมีนิสัยเอาปาก ชนกับตัวอื่น จึงเรียกกันว่า ปลาจูบ พื้นลําตัวและครีบสีนํ้าตาลอ่อนหรือ ขาวนวล พบในเขตที่ลุ่ม ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร, ใบตาล อีตาล อีโก๊ะ หรือ วี ก็เรียก.
  44. หมาป่า : น. ชื่อหมาหลายชนิดในวงศ์ Canidae มีถิ่นกําเนิดเกือบทั่วทุก ภูมิภาคของโลก ขนลําตัวมีสีต่าง ๆ เช่น นํ้าตาลเทา เทาปนแดง ฟันและ เขี้ยวคมมาก นิสัยดุร้าย ส่วนใหญ่หากินเป็นฝูง กินเนื้อสัตว์ เช่น ชนิด Canis vulpes พบในทวีปอเมริกาเหนือ, ชนิด Chrysocyon brachyurus พบในทวีปอเมริกาใต้, ชนิด Canis lupus พบในทวีปยุโรป, ชนิด Fennecus zerda พบในทวีปแอฟริกา, หมาจิ้งจอก (Canis aureus) และหมาใน (Cuon alpinus) พบในทวีปเอเชีย.
  45. หลอม : [หฺลอม] ก. ทําให้ละลายด้วยความร้อน เช่น เขาหลอมทองคำด้วยไฟพ่น จากเป่าแล่น, โดยปริยายหมายถึงอบรมบ่มนิสัยให้มีจิตใจโน้มน้าวไป ทางใดทางหนึ่ง เช่น หลอมความคิด หลอมจิตใจ, หล่อหลอม ก็ว่า.
  46. หล่อหลอม : ก. อบรมบ่มนิสัยให้จิตใจโน้มน้าวไปในทางใดทางหนึ่ง เช่น หล่อหลอมจิตใจให้เป็นคนดี, หลอม ก็ว่า.
  47. หางเสียง : น. กระแสเสียงที่ลงท้ายซึ่งแสดงนิสัย ความรู้สึก หรืออารมณ์ ของผู้พูดเป็นต้น เช่นโกรธ อ่อนโยน.
  48. ห่าม : ว. จวนสุก (ใช้แก่ผลไม้); มีนิสัยมุทะลุ ห้าวหาญบ้าบิ่น ผิดปรกติวิสัย.
  49. เหมือนกัน : ว. อย่างเดียวกัน, ไม่แปลกกัน, เช่น พี่น้องคู่นี้มีนิสัยเหมือนกัน.
  50. เหลาะแหละ : [-แหฺละ] ว. เหลวไหล, ไม่จริงจัง, มีนิสัยไม่แน่นอน.
  51. [1-50] | 51-60

(0.0197 sec)