บัณฑิต : [บันดิด] น. ผู้ทรงความรู้, ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์, ผู้สําเร็จการศึกษาขั้น ปริญญาซึ่งมี ๓ ขั้น คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก เรียกว่า บัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต, ผู้มีความสามารถเป็นพิเศษโดย กําเนิด เช่น คนนี้เป็นบัณฑิตในทางเล่นดนตรี. (ป., ส. ปณฺฑิต).
นิเทศ : (แบบ) น. คําแสดง, คําจําแนกออก. ก. ชี้แจง, แสดง, จําแนก. (ป. นิทฺเทส; ส. นิรฺเทศ).
ศาสตร, ศาสตร์ : [สาดตฺระ, สาดสะตฺระ, สาด] น. ระบบวิชาความรู้, มักใช้ ประกอบหลังคําอื่น เช่น วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มนุษยศาสตร์. (ส.).
เนติบัณฑิต : น. ผู้ได้รับประกาศนียบัตรทางวิชากฎหมายของโรงเรียน กฎหมาย กระทรวงยุติธรรม, ผู้สอบได้ตามหลักสูตรของสํานักศึกษา อบรมกฎหมายของเนติบัณฑิตยสภา.
ดุษฎีบัณฑิต : น. ปริญญาเอก; ผู้ได้รับปริญญาเอก.
ไปรษณียนิเทศ : [ไปฺรสะนียะนิเทด, ไปฺรสะนีนิเทด] (กฎ) น. สมุดกฎข้อบังคับ คําสั่ง หรือประกาศว่าด้วยการไปรษณีย์ทั่วไป.
มหาบัณฑิต : น. ปริญญาโท; ผู้ได้รับปริญญาโท.
ณ ๑ : พยัญชนะตัวที่ ๑๙ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น คุณ บัณฑิต.
กุนที : [กุนนะที] น. แม่น้ำน้อย ๆ, แม่น้ำเล็ก ๆ, เช่น แตกเป็นนิเทศกุนทีน้อย ๆ. (ม. ร่ายยาว กุมาร). (ป. กุนฺนที; ส. กุนที, กุ = น้อย + นที = แม่น้ำ).
เกษตรศาสตร์ : [กะเสดตฺระสาด] น. วิชาว่าด้วยเกษตรกรรม. (ส. เกฺษตฺร + ศาสฺตฺร = วิชา).
คณิตศาสตร์ : [คะนิดตะสาด] น. วิชาว่าด้วยการคํานวณ. (ส. คณิต + ศาสฺตฺร).
จอมปลอม : ว. ที่หลอกลวงให้คนเชื่อว่าเป็นเช่นนั้นจริง เช่น ของจอมปลอม ผู้ดีจอมปลอม บัณฑิตจอมปลอม.
ญาณศาสตร์ : [ยานะสาด, ยานนะสาด] น. ตําราพยากรณ์. (ป. ?าณ + ส. ศาสฺตฺร).
ตจปัญจกกรรมฐาน : [ตะจะปันจะกะกำมะถาน] น. กรรมฐานอัน บัณฑิตกําหนดด้วยอาการมีหนังเป็นที่ ๕ เป็นอารมณ์ คือ กรรมฐานที่ ท่านสอนให้พิจารณาส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตั้งแต่ผม ขน เล็บ ฟัน ไป ถึงหนังเป็น ๕ อย่าง. (ป.).
ตัตว- : [ตัดตะวะ-] (แบบ) น. ความเป็นอย่างนั้น, ความเป็นจริง. (ส. ตตฺตฺว). ตัตวศาสตร์ น. วิชาว่าด้วยความจริง. (ส. ตตฺตฺว + ศาสฺตฺร).
บัณฑิตย์ : [บันดิด] น. ความรอบรู้, การเรียน, ความเป็นบัณฑิต. (ส. ปาณฺฑิตฺย; ป. ปณฺฑิจฺจ).
ผลิต, ผลิต : [ผะหฺลิด, ผะหฺลิดตะ] ก. ทําให้เกิดมีขึ้นตามที่ต้องการด้วยอาศัย แรงงานหรือเครื่องจักรเป็นต้น เช่น ผลิตข้าว ผลิตรถยนต์ ผลิตครู ผลิตบัณฑิต. (ป.).
พระ : [พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลง โบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คําพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็น เดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่ คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบ หน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่ เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพ เมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศ เจ้านาย เช่น พระรามคําแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับ ผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
มหาวิทยาลัย : [มะหาวิดทะยาไล] น. สถาบันอุดมศึกษาที่มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ในด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงหลายสาขาวิชา หรือหลายกลุ่มสาขาวิชา เพื่อให้ประกาศนียบัตร อนุปริญญา ปริญญา และประกาศนียบัตรบัณฑิตแก่ ผู้สําเร็จการศึกษา รวมทั้งดําเนินการวิจัยและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ.
รุ่น : น. วัยของคนที่ถืออายุเป็นเครื่องกำหนด เช่น รุ่นเด็ก รุ่นหนุ่ม รุ่นสาว รุ่นน้อง, สมัยของคนที่ใช้หลักใดหลักหนึ่งเป็นต้นว่า ปีการศึกษา น้ำหนัก เป็นเครื่องกำหนด เช่น นิสิตรุ่นแรก บัณฑิตรุ่นที่ ๒ นักมวย รุ่นฟลายเวท, คราวหรือสมัยแห่งสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดหรือผลิตขึ้นเป็น ระยะ ๆ เช่น มะม่วงออกผลรุ่นแรก รถยนต์คันนี้เป็นรุ่นล่าสุด; กิ่งไม้ ที่แตกออกมาใหม่ อ้วน งาม เรียกว่า รุ่นไม้. ว. เพิ่งเป็นหนุ่มเป็นสาว, เพิ่งแตกเนื้อหนุ่มเนื้อสาว, เช่น วัยรุ่น.
ศาสตราจารย์ :
ดู ศาสตร, ศาสตร์.
สัตถ ๑ : [สัดถะ] (แบบ) น. คัมภีร์, ตํารา. (ป.; ส. ศาสฺตฺร).
อุทกศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยนํ้าบนพื้นโลกเกี่ยวกับการวัดหรือการ สํารวจแผนที่ทะเล โดยมีความมุ่งหมายเฉพาะเพื่อการเดินเรือ. (ป., ส. อุทก + ส. ศาสฺตฺร).