Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: น่อง , then นอง, น่อง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : น่อง, 215 found, display 1-50
  1. น่อง : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Antiaris toxicaria Leschen. ในวงศ์ Moraceae ยางมีพิษ ใช้ทำยางน่อง.
  2. น่อง : น. กล้ามเนื้อที่อยู่ด้านหลังหน้าแข้ง.
  3. น่องแน่ง : ว. ติดกันนุงนัง, เกี่ยวเนื่องกันยุ่ง.
  4. น่องสิงห์ : น. ชื่อลายชนิดหนึ่งมักประดับที่ส่วนหลังของขาโต๊ะ ตั่ง หรือตู้แบบขาสิงห์ หรือประดับริมหรือขอบ เช่นริมโต๊ะหรือกรอบรูป.
  5. กระน่อง : (ถิ่น-อีสาน) น. อวัยวะส่วนหลังของลำแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไป ถึงส้นเท้า, กระหน่อง ขะน่อง หรือ ขาน่อง ก็เรียก.
  6. ขะน่อง, ขาน่อง : (ถิ่น-อีสาน) น. อวัยวะส่วนหลังของลำแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไปถึงส้นเท้า เช่น ตัว ๑ ขบขะน่อง. (ม. สำนวนอีสาน ชูชก), กระน่อง หรือกระหน่อง ก็เรียก.
  7. นอง : ก. ค้างขังอยู่บนพื้น (ใช้แก่นํ้า) เช่น นํ้านองถนน นํ้านองบ้าน.
  8. ท้องน่อง : น. ส่วนของขาเบื้องหลัง มีลักษณะโค้งนูน ด้าน ตรงกันข้ามกับหน้าแข้ง.
  9. ทอดน่อง : ว. อาการที่เดินช้า ๆ ตามสบาย.
  10. กระหน่อง : (ถิ่น-อีสาน) น. อวัยวะส่วนหลังของลำแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไป ถึงส้นเท้า เช่น ตัวหนึ่งกัดเอ็นกระหน่อง. (ม. ภาคอีสาน ชูชก), กระน่อง ขะน่อง หรือ ขาน่อง ก็เรียก.
  11. ง่ำ, ง่ำ ๆ : ว. เสียงขู่ของหมาที่กำลังกินข้าว. ก. งับเบา ๆ เช่น หมางํ่าน่อง.
  12. ท้อง : น. ส่วนของร่างกายด้านหน้า ตั้งแต่ลิ้นปี่จนถึงบริเวณต้นขา มีสะดือ อยู่ตรงกลาง มีกระเพาะและไส้พุงอยู่ภายใน; ครรภ์ เช่น น้องร่วมท้อง; พื้นที่หรือบริเวณที่กว้างใหญ่ เช่น ท้องนํ้า ท้องฟ้า ท้องทุ่ง ท้องไร่ ท้องนา ท้องถนน; ส่วนที่มีลักษณะโค้ง เช่น ท้องแขน ท้องน่อง ท้องเรือ
  13. ปลี : [ปฺลี] น. ช่อดอกของกล้วยที่ยังมีกาบหุ้มอยู่; กล้ามเนื้อที่มีรูปลักษณะ อย่างหัวปลี เช่น ปลีน่อง; ยอดเจดีย์หรือยอดมณฑปเหนือปล้องไฉน หรือบัวกลุ่มขึ้นไป.
  14. ยางนอก : น. ยางชั้นนอกที่หุ้มล้อรถจักรยานหรือรถยนต์เป็นต้น มีดอก หล่อเป็นลวดลายต่าง ๆ เพื่อให้เกาะถนน ข้างในกลวงสำหรับใส่ยางใน. ยางน่อง น. ยางไม้ที่ได้จากพรรณไม้หลายชนิด เช่น ต้นน่อง (Antiaris toxicaria Leschen.) มีพิษมาก พวกชาวป่าใช้ทาลูกดอกหรือลูกหน้าไม้ ยิงสัตว์.
  15. สมุนไพร : [สะหฺมุนไพฺร] น. ผลิตผลธรรมชาติ ได้จาก พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามตํารับยา เพื่อบําบัดโรค บํารุง ร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ เช่น กระเทียม นํ้าผึ้ง รากดิน (ไส้เดือน) เขากวางอ่อน กํามะถัน ยางน่อง โล่ติ๊น.
  16. นองเนือง : ว. เนืองนอง.
  17. นองเลือด : ว. อย่างดุเดือดและต้องเสียเลือดเนื้อหรือล้มตายกันเป็น จํานวนมาก เช่น รบกันนองเลือด.
  18. นองหน้า : ว. อาบหน้า (ใช้แก่นํ้าตา).
  19. เนืองนอง : ก. หลั่งไหลไม่ขาดสาย, มีมากต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย เช่น ทรัพย์สินเนืองนอง, นองเนือง ก็ว่า.
  20. เนื่อง : ก. ติดต่อกัน, เกี่ยวข้องกัน, เช่น เรื่องนี้เนื่องกับเรื่องนั้น เรื่องมันเนื่อง ถึงกัน. น. แหวนทองเกลี้ยงมีหลายวงไขว้ติดกันรวมเป็นวงเดียวกันได้, เรียกวัตถุอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น ถ้วยเนื่อง คือ ถ้วยที่มีหลาย ชั้นติดกัน, เนื่องรอบวงในประดับเพชร, เนื่องเพชรลงยาราชาวดี. (ตํานานเครื่องราชอิสริยาภรณ์). เนื่องจาก, เนื่องด้วย, เนื่องแต่ สัน. เพราะเหตุที่ เช่น โรงเรียนปิด เนื่องจากนํ้าท่วม เนื่องด้วยเขาป่วย จึงมาไม่ได้ เนื่องแต่เหตุนั้นนั่นเอง.
  21. กฎหมายพาณิชย์ : (กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพัน ทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจํานอง การจํานํา ตั๋วเงิน หุ้นส่วนบริษัท. (อ. commercial law).
  22. กบเต้น : น. ชื่อเพลงไทยร้องรํา ๒ ชั้นสมัยกรุงศรีอยุธยา หน้าทับสองไม้ คือ ชั้นต้นมีทํานองช้าก่อนแล้วก็เร็วเข้ากํากับกันไป ใช้กับบทโศกหรือรัญจวน เช่นตอนรจนาคร่าครวญน้อยใจที่ สังข์ทองจะไม่ช่วยตีคลี. (ดึกดําบรรพ์).
  23. กระบี่ลีลา : น. ชื่อเพลงกลองแขก เดิมเป็นเพลงของมลายู ทํานองห่าง ๆ เช่นเพลงกระบี่กระบอง, แล้วแปลงมาใช้เป็น เพลงร้องรํา ๒ ชั้น ทํานองให้ถี่เข้าประสมเล่นรวมมโหรีและ กลองแขก สมัยปลายรัชกาลที่ ๔ หรือต้นรัชกาลที่ ๕ เช่น ตอนโหรทูลท้าวเสนากุฎในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. (ดึกดําบรรพ์).
  24. กราว ๓ : [กฺราว] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ ใช้ในเวลายกทัพหรือแสดงอาการร่าเริง, ครั้นมีเพลงกราวอื่น ๆ ด้วย เพลงนี้เรียกว่า กราวใน, ต่อนี้ทําบทเชิด, ถ้ามีการพากย์ เช่น พากย์รถก่อนยกทัพออก ทําเพลงกราวในหยุด หมายความว่าสุดเจรจาแล้วใช้กราวในพอหยุดป้องหน้าแล้วจึงพากย์, สําหรับบทของมนุษย์ ลิง หรือเทวดา เปลี่ยนเป็น กราวนอก ใช้เป็นเพลงประจํากัณฑ์มหาราชในเวลามีเทศน์มหาชาติ และเรียกว่า กราวเขน ก็ได้ เพราะเมื่อยกกองทัพ พวกเขนออกก่อน, ถ้าเกี่ยวกับการรําเยาะเย้ยใช้เพลง กราวรำ, อาณัติสัญญาณลาโรง ก็ใช้เพลงนี้, เมื่อประสมลูกฆ้องมอญเป็น กราวรำมอญ, นอกนี้ถ้าประสมลูกฆ้องใน ๑๒ ภาษา ก็มีชื่อตามภาษานั้น ๆ คือ กราวกระแซ เจือไปข้างเพลงลาว ๆ, กราวเขมร มีเนื้อร้อง เป็นเพลงเขมร, กราวจีน ทําในเวลาเข้าเฝ้าหรือเดินเล่นหรือ เล่นสนุกกัน ทํานองเป็นเพลงจีน ๒ ชั้น.
  25. กลอง ๒ : [กฺลอง] น. ชื่อเพลงชนิดหนึ่งเป็นเพลงแขก ใช้ปี่ชวาและกลองแขก ทํานองเล่นกระบี่กระบอง ที่เรียกว่า สะระหม่า, ทําตอนที่เล่นกีฬา ท่าต่าง ๆ มีรําดาบ รําง้าว เป็นต้น เรียกว่า เพลงกลองแขก ก็ได้, อีกอย่างหนึ่งเมื่อรําเป็นท่ามลายู ซึ่งเรียกว่า สะระหม่าแขก ใช้เพลง เรียกว่า กลองมลายูเครื่องและทํานองอย่างเดียวกับ เพลงกลองแขก แต่ในตอนนี้รํากริช.
  26. กลอนสวด : น. กลอนที่อ่านเป็นทํานองสวด แต่งเป็นกาพย์ยานี ๑๑ หรือ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ ข้อความที่แต่ง มักเป็นเรื่องในศาสนา.
  27. กล่อม ๓ : [กฺล่อม] น. ชื่อเพลงเครื่องปี่พาทย์ ทําตอนพระเข้าหานาง ซึ่งเรียกว่า โลม หรือตอนขับบําเรอ เรียกว่า กล่อมมโหรี อันใช้เป็นเครื่องสายประสมในภายหลัง และมีชื่อเป็นชนิดต่าง ๆ คือ กล่อมช้าง กล่อมพระยา กล่อมนารี และกล่อมในพิธีพราหมณ์ เรียกว่า ช้าหงส์ หรือ ช้าเจ้าหงส์, ชาวบ้านมักเรียกว่า กล่อมหงส์. ก. ร้องเป็นทํานองเพื่อเล้าโลมใจหรือให้เพลิน, โดยปริยายหมาย ความว่า พูดให้น้อมใจตาม หรือ ทําให้เพลิดเพลิน เช่น กล่อมใจ กล่อมอารมณ์.
  28. กวางทอง : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  29. กว้างใหญ่ : ก. แผ่ออกไปไกล. [กฺวาง-] (โบ) น. นกกางเขน เช่น บ่าวขุนกวางเขนเขจร. (สมุทรโฆษ). [กฺวาง-] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาว คล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป. ดู กว่าง. น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. ดู กว่าง.[กฺวาง-] น. ชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน, เรียกภาษาของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง. [กฺวาง-] น. ชื่อผักกาดชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผักกาดกวางตุ้ง. (ดู กาด๑). น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง มักอยู่ลำพังตัวเดียวยกเว้น ฤดูผสมพันธุ์, กวางม้า ก็เรียก. [กฺวาง-] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Naemorhedus goral ในวงศ์ Bovidae ลักษณะคล้ายแพะและเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า ขนสีเทาหรือน้ำตาลปนเทา มีแถบขนสีดำตลอดแนวสันหลัง ตัวผู้เขายาวกว่าตัวเมีย อาศัยอยู่บนภูเขาสูงชัน กินพืช เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย. ดู กวางป่า.[กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน, เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
  30. กะ ๑ : น. เครื่องหมายบอกทํานองสวด เช่น กะมหาชาติคําหลวง, ทํานองสวด เช่น สวดกะ; รอบการเข้าเวร, ระยะเวลาที่ ผลัดเปลี่ยนกันทํางาน, เช่น กะแรก กะที่ ๒. ก. กําหนด, หมาย, คะเน, ประมาณ.
  31. กังหัน : น. สิ่งที่ประกอบด้วยใบพัดหมุนได้ด้วยกําลังลม, จังหัน ก็ว่า, โดยปริยายเรียกเครื่องหมุนบางชนิดมีรูปทํานองกังหัน ทําให้เกิดกําลังงาน เช่น กังหันน้ำ คือเครื่องหมุนด้วยกําลังน้ำ, กังหันลม คือเครื่องหมุนด้วยกําลังลม, กังหันไอน้ำ คือเครื่องหมุน ด้วยกําลังไอน้ำ; (วิทยา) ใช้เรียกเครื่องจักรที่หมุนอย่างกังหัน; ชื่อดอกไม้ไฟชนิดที่จุดแล้วหมุนอย่างกังหัน, ลักษณนามว่าต้น. (ข. กงฺหาร).
  32. กัน ๑ : (ปาก) ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้เสมอกันหรือผู้น้อย ในทํานองกันเอง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  33. กัมพุช ๒ : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  34. กัลยาณมิตร : [กันละยานะมิด] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  35. กัลยาเยี่ยมห้อง : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  36. กำพืด : น. เทือกเถา, เผ่าพันธุ์, (มักใช้เป็นทํานองหยาม) เช่น รู้กําพืด.
  37. กำแพงเจ็ดชั้น ๒ : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Lithosanthes biflora Blume ในวงศ์ Rubiaceae ขึ้นตามป่าดิบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ดอกสีขาว เนื้อไม้เป็นชั้น ๆ ใช้ทํายาได้. (๒) ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Salacia chinensis L. ในวงศ์ Celastraceae ขึ้นตามป่าดิบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ขอบใบจัก ดอกสีเขียวอมเหลือง ใช้ทํายาได้, ตะลุ่มนก หรือ น้านอง ก็เรียก. (๓) ดู ขมิ้นเครือ.
  38. เกี่ยว : ก. อาการที่สิ่งงอเป็นขอเกาะติดหรือเหนี่ยวไว้ เช่น ทอดสมอให้เกี่ยวแง่หินไว้, เอาของที่มีลักษณะเช่นนั้น เกาะติดหรือเหนี่ยวไว้ เช่น เอาขอเกี่ยว, ติดต่อผูกพัน, แตะต้อง, ยุ่งเกี่ยว, ข้องแวะ, เช่น เรื่องนี้อันตรายมากอย่าเอาตัวเข้าไปเกี่ยวเลย, เกี่ยวข้อง ก็ว่า; อาการที่สิ่งแหลมคมขูดขีด สะกิด เป็นต้น เช่น หนามเกี่ยว ตะปูเกี่ยว, ตัดด้วยเคียว เช่น เกี่ยวข้าว เกี่ยวหญ้า เกี่ยวแฝก; โดยปริยายหมายความว่า เนื่อง เช่น เกี่ยวด้วยเรื่องนี้.
  39. เกี่ยวข้าว : น. เรียกเพลงร้องแก้กันในเวลาเกี่ยวข้าวทํานองเพลงเรือว่า เพลงเกี่ยวข้าว.
  40. ขนอง : [ขะหฺนอง] น. หลัง, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า พระขนอง, ปฤษฎางค์ ก็ว่า. (ข. ขฺนง).
  41. ขะแมซอ : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  42. ขะแมธม : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  43. ขัดตำนาน : ก. สวดบทนําเป็นทํานองก่อนสวดมนต์.
  44. ขับ ๒ : ก. ร้องเป็นทํานอง เช่น ขับกล่อม ขับเสภา. ขับซอ (ถิ่น) ก. ร้องเพลงโดยมีดนตรีประกอบ เช่น ขับซอยอยศอ้าง ฦๅลูกกษัตริย์เจ้าช้าง ชื่นแท้ใครเทียมเทียบนา. (ลอ).
  45. ขายชื่อ : ก. เอาชื่อเข้าแลกในทํานองขาย, ไม่รักชื่อ, ทําให้เสียชื่อเสียง, ถ้าเอาชื่อผู้อื่นไปแอบอ้างหาผลประโยชน์ เรียกว่า เอาชื่อไปขาย.
  46. ขุนนางใช่พ่อแม่ หินแง่ใช่ตายาย : (สำ) ถ้าไม่ใช่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ของตน ก็ไม่ควรไว้วางใจใคร, ทํานองเดียวกับภาษิตที่ว่า อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง.
  47. ครวญหา : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  48. ครัน : [คฺรัน] ว. ใช้ประกอบคําอื่นมีความหมายไปในทํานองว่า นัก, แท้, ยิ่ง, จริง, เช่น ครบครัน เสนาะครัน ดีครัน.
  49. ครุ่นคิด : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  50. คูเรียงคูราย : น. ทํานองคูขัน (ใช้แก่นกเขา).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-215

(0.0516 sec)