Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: น้องใหม่, ใหม่, น้อง , then นอง, น้อง, นองหม, น้องใหม่, หม, ใหม่ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : น้องใหม่, 556 found, display 1-50
  1. ใหม่ : ว. เพิ่งมี เช่น มาใหม่ รุ่นใหม่, มีอีกนอกจากที่เคยมีอยู่แล้ว เช่น มีเมียใหม่, ซํ้า เช่น พูดใหม่ ทำใหม่ อ่านใหม่, อีกครั้งหนึ่ง เช่น ตื่นมาแล้วกลับไป นอนใหม่, ยังไม่ได้ใช้ เช่น ของใหม่, ไม่เคยประสบมาก่อน เช่น ความรู้ ใหม่ เพลงใหม่, เริ่มแรก เช่น ข้าวใหม่ นักเรียนใหม่; ไม่ใช่เก่า เช่น บ้านสร้างใหม่.
  2. น้อง : น. ผู้ร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกันและเกิดทีหลัง, ลูกของอาหรือของน้า, เรียกคนที่มีอายุคราวน้อง เช่น น้องแดง น้องเขียว; ออกทีหลัง, มาทีหลัง, เช่น หมากทะลายน้อง มะพร้าวทะลายน้อง, คู่กับ ทะลายพี่; ลักษณนาม ใช้นับอายุไม้จําพวกไม้ไผ่ เช่น ไม้น้องเดียว คือ ไม้ที่มีอายุ ๒ ปี ไม้ ๒ น้อง คือ ไม้ที่มีอายุ ๓ ปี.
  3. น้อง : ว. จวนจะเป็น, ใกล้จะเป็น, เกือบจะเป็น, เช่น น้อง ๆ อธิบดีเข้าไปแล้ว.
  4. ใหม่ถอดด้าม, ใหม่เอี่ยม : ว. ใหม่ยังไม่มีใครใช้, ใหม่จริง ๆ.
  5. น้องเพล : น. เรียกเวลาก่อนเพล ระหว่าง ๑๐ นาฬิกา ถึง ๑๑ นาฬิกา.
  6. รุ่น : น. วัยของคนที่ถืออายุเป็นเครื่องกำหนด เช่น รุ่นเด็ก รุ่นหนุ่ม รุ่นสาว รุ่นน้อง, สมัยของคนที่ใช้หลักใดหลักหนึ่งเป็นต้นว่า ปีการศึกษา น้ำหนัก เป็นเครื่องกำหนด เช่น นิสิตรุ่นแรก บัณฑิตรุ่นที่ ๒ นักมวย รุ่นฟลายเวท, คราวหรือสมัยแห่งสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดหรือผลิตขึ้นเป็น ระยะ ๆ เช่น มะม่วงออกผลรุ่นแรก รถยนต์คันนี้เป็นรุ่นล่าสุด; กิ่งไม้ ที่แตกออกมาใหม่ อ้วน งาม เรียกว่า รุ่นไม้. ว. เพิ่งเป็นหนุ่มเป็นสาว, เพิ่งแตกเนื้อหนุ่มเนื้อสาว, เช่น วัยรุ่น.
  7. กลางเก่ากลางใหม่ : ว. ไม่เก่าไม่ใหม่.
  8. ข้าวใหม่ : น. ข้าวที่เก็บเกี่ยวใหม่ในปีนั้น ๆ; ชื่อหนึ่งของดอกชมนาด.
  9. ข้าวใหม่ปลามัน : (สํา) น. อะไรที่เป็นของใหม่ก็ถือว่าดี, นิยมเรียก ช่วงเวลาที่สามีภรรยาเพิ่งแต่งงานกันใหม่ ๆ ว่า ระยะข้าวใหม่ปลามัน.
  10. ข้าวใหม่ใหญ่ : น. ชื่อไข้ชนิดหนึ่ง มีอาการคล้ายไข้ข้าวใหม่น้อย.
  11. ขี้ใหม่หมาหอม : (ปาก) ก. เห่อของใหม่.
  12. ไม่เอาพี่เอาน้อง : ก. ไม่เอื้อเฟื้อจุนเจือญาติพี่น้อง.
  13. เรียงพี่เรียงน้อง : ว. เป็นลูกพี่ลูกน้องกันตามลำดับศักดิ์ คือผู้เป็นพี่มีบุตร บุตรนั้นเรียกว่าลูกผู้พี่ น้องมีบุตร บุตรนั้นเรียกว่าลูกผู้น้อง บุตรทั้งสอง ฝ่ายนั้นเรียกว่า เรียงพี่เรียงน้องกัน.
  14. สมัยใหม่ : น. สมัยปัจจุบัน เช่น ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ปรัชญาสมัยใหม่. ว. ทันสมัย เช่น แม้เขาจะอายุมาก แต่เขามีความคิดอย่างคนสมัยใหม่.
  15. หน้าใหม่ : ว. ที่เพิ่งเคยเห็นหรือรู้จักกัน เช่น นักร้องหน้าใหม่.
  16. หัวสมัยใหม่ : ว. นิยมของใหม่, นิยมตามแบบใหม่, ตรงข้ามกับ หัวเก่า; ทันสมัย ตรงข้ามกับ หัวโบราณ, หัวใหม่ ก็ว่า.
  17. หัวใหม่ : ว. นิยมของใหม่, นิยมตามแบบใหม่, ตรงข้ามกับ หัวเก่า; ทันสมัย, ตรงข้ามกับ หัวโบราณ, หัวสมัยใหม่ ก็ว่า.
  18. อะนะ, อะหนะ : น. ลูก, น้อง, (ใช้เป็นคำเรียกแสดงความรู้สึกรักและเอ็นดู) เช่น อันอะหนะบุษบาบังอร. (อิเหนา), อานะ ก็ว่า. [ช. anak ว่า ลูก (ใช้ได้ทั้งลูกคนและลูกสัตว์)].
  19. อานะ : น. ลูก, น้อง, (ใช้เป็นคำเรียกแสดงความรู้สึกรักและเอ็นดู), อะนะ หรือ อะหนะ ก็ว่า. [ช. anak ว่า ลูก (ใช้ได้ทั้งลูกคนและลูกสัตว์)].
  20. นอง : ก. ค้างขังอยู่บนพื้น (ใช้แก่นํ้า) เช่น นํ้านองถนน นํ้านองบ้าน.
  21. ดอกข้าวใหม่ : ดู ชมนาด.
  22. ปีหน้าฟ้าใหม่ : น. ปีหน้า, เวลาข้างหน้า.
  23. พี่น้อง : น. ผู้เกิดร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือร่วมบิดาเดียวกัน หรือร่วมมารดาเดียวกัน; คนในเชื้อสายวงศ์วาน.
  24. มือใหม่ : ว. ยังไม่มีความชํานาญ.
  25. รักพี่เสียดายน้อง : (สํา) ก. ลังเลใจ, ตัดสินใจไม่ถูกว่าจะเลือกอย่างไหนดี. รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ (สํา) ก. รักจะอยู่ด้วยกันนาน ๆ ให้ตัดความคิด อาฆาตพยาบาทออกไป รักจะอยู่กันสั้น ๆ ให้คิดอาฆาตพยาบาทเข้าไว้, ยาวบั่น สั้นต่อ ก็ว่า.
  26. ลูกน้อง : (ปาก) น. บริวาร, ผู้อยู่ในปกครองหรือใต้บังคับบัญชา, ผู้ใกล้ชิดเป็นกําลังสําคัญในการงาน.
  27. ลูกผู้น้อง : น. ญาติที่เป็นลูกของน้าหรืออา.
  28. ลูกพี่ลูกน้อง : น. ญาติที่เป็นลูกของลุง ป้า น้า หรืออา.
  29. สด ๆ, สด ๆ ร้อน ๆ : ว. หยก ๆ, ใหม่ ๆ, เร็ว ๆ นี้, ไว ๆ นี้, เช่น เขาเพิ่งจบการศึกษามาจากต่างประเทศสด ๆ ร้อน ๆ สินค้าเพิ่งผลิต ออกจากโรงงานสด ๆ ร้อน ๆ; ซึ่ง ๆ หน้า เช่น เจ้าข้าเอ่ยบุคคล ผู้ใดเลย ในโลกนี้ที่น่าจะเจรจาตลบเลี้ยวลดสด ๆ ร้อน ๆ เหมือน เจ้าพระยาเวสสันดรชีไพรเป็นว่าหามิได้นี้แล้วแล (เวสสันดร), โกหกสด ๆ ร้อน ๆ.
  30. นว ๑ : [นะวะ] ว. ใหม่ (ใช้เป็นคําหน้าสมาส). (ป., ส.).
  31. สด : ว. ใหม่ ใช้แก่ลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ที่ได้มาหรือผลิตขึ้นใหม่ ๆ ยัง ไม่ทันเสื่อมหรือเสียคุณภาพของสิ่งนั้น คือ ไม่เหี่ยวแห้ง ซีดจาง และอาจบริโภคหรือใช้ได้ดีในสภาพของขณะนั้น เช่น ไข่สด กุ้งสด ปลาสด, มีอยู่หรือได้มาใหม่ ๆ เช่น ข่าวสด, ดิบ คือ ยังไม่สุกด้วยไฟ ไม่แห้งหรือหมักดองเป็นต้น เช่น น้ำพริกผักสด ผลไม้สด น้ำตาลสด เบียร์สด ขนมจีนแป้งสด.
  32. ขนิษฐ, ขนิษฐา : [ขะนิด, ขะนิดถา] น. น้อง. (เลือนมาจาก กนิษฐ, กนิษฐา).
  33. นวชาต : ว. ใหม่. (ส.).
  34. นุช : (กลอน; ตัดมาจาก อนุช) น. น้อง (โดยมากใช้แก่ผู้หญิง).
  35. เนาว ๑ : [เนาวะ] (แบบ) ว. ใหม่. (ป. นว).
  36. ยา : น. สิ่งที่ใช้แก้หรือป้องกันโรค หรือบํารุงร่างกาย เรียกชื่อต่าง ๆ กัน คือ เรียกตามลักษณะก็มี เช่น ยาผง ยาเม็ด ยานํ้า เรียกตามสีก็มี เช่น ยาแดง ยาเขียว ยาเหลือง ยาดํา เรียกตามรสหรือกลิ่นก็มี เช่น ยาขม ยาหอม เรียก ตามวิธีทําก็มี เช่น ยาต้ม ยากลั่น ยาดอง เรียกตามกิริยาที่ใช้ก็มี เช่น ยา กวาด ยากิน ยาฉีด ยาดม ยาอม; เรียกยาฝิ่นว่า ยา ก็มี เช่น โรงยา; สารเคมี สําหรับเคลือบเงินทองให้มีสีต่าง ๆ; (กฎ) วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วย ของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่ง สำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือ การกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์. ก. ทําให้หายโรค, รักษาให้หาย, ในคําว่า เยียวยา; ทําให้หายรั่ว เช่น ยาเรือ. ว. ใช้ประกอบคํา พี่ น้อง ลูก ว่า พี่ยา น้องยา ลูกยา, ใช้ในราชาศัพท์หมายความว่า เพศชาย เช่น พระเจ้าลูกยาเธอ.
  37. รำคาญใจ : ก. ถูกรบกวนจุกจิกจนเบื่อหน่าย เช่น น้อง ๆ มาเซ้าซี้เขาให้ พาไปเที่ยวบ่อย ๆ จนเขารำคาญใจ.
  38. หม่อง : น. คํานําหน้าชื่อผู้ชายพม่า (พม่า หม่อง ว่า น้อง); เรียกยาขี้ผึ้งชนิดหนึ่ง ใช้ทา นวด เป็นต้น ว่า ยาหม่อง.
  39. อาเด๊ะ : น. น้อง. (ช.).
  40. นวก ๑, นวกะ : [นะวะกะ] น. ผู้ใหม่, ผู้อ่อน. (ป.). ว. ใหม่, อ่อน, เช่น พระนวกะ นวกภูมิ.
  41. ลูกคู่ : น. คนร้องรับต้นเสียง เช่น ลูกคู่ละครร้อง ลูกคู่ละครรำ, คนร้องรับพ่อเพลงแม่เพลง เช่น ลูกคู่เพลงฉ่อย ลูกคู่ระบำชาวไร่, โดยปริยายหมายถึงผู้สนับสนุน เช่น พอนายพูด ลูกน้องก็รับเป็นลูกคู่. ลูกฆ้อง น. ทํานองหลักของเพลงไทยที่โดยปรกติจะบรรเลงด้วย ฆ้องวงใหญ่.
  42. เห่อ ๒ : ก. แสดงอาการตื่นเต้นยินดีมากจนออกนอกหน้า เช่น เห่อรถ เห่อเสื้อผ้า ใหม่, ลำพองใจ เช่น เห่อยศ เห่ออำนาจ.
  43. อ่อง : ว. ใช้เข้าคู่กับคำ เอี่ยม เป็น เอี่ยมอ่อง หมายความว่า ใหม่, สดใส, ผุดผ่อง, เปล่งปลั่ง, ไม่หมองมัว.
  44. กติดท้อง : น. ลูกผัวเก่าที่ติดครรภ์มาก่อนจะได้กับผัวใหม่.
  45. กนิษฐ-,กนิษฐ์ : [กะนิดถะ-, กะนิด] ว. ''น้อยที่สุด''. (ส.; ป. กนิฏฺ?), (ราชา) ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐภคินี หมายถึง น้องสาว, ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐภาดา หมายถึง น้องชาย, ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐา หมายถึง น้องสาว.(ส.; ป. กนิฏฺ?).
  46. กนิษฐภคินี : น. น้องหญิง. (-ป., ส. ภคินี ว่า น้องหญิง).
  47. กนิษฐภาดา : น. น้องชาย. (-ป. ภาตา ว่า น้องชาย).
  48. กนิษฐา : (กลอน) น. น้องสาว, คู่กับ เชษฐา คือ พี่ชาย; (ราชา) นิ้วก้อย ใช้ว่า พระกนิษฐา. (ส.).
  49. กระจร ๒ : (กลอน) ก. ฟุ้งไป เช่น ให้กระจรกิจจาในนุสนธิ์. (พาลีสอนน้อง). (แผลงมาจาก ขจร).
  50. กระโฉม : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Limnophila rugosa Merr. ในวงศ์ Scrophulariaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ลําต้นและกิ่งอวบน้ำ สีม่วง ใบรูปไข่ ค่อนข้างหนา ด้านล่างมีขนขอบหยักห่าง ๆ ก้านใบแบน ๆ โคนก้านโอบกิ่งหรือลําต้น ดอกเล็ก ๆ สีม่วงแกม ชมพู กลางเหลือง ออกเป็นกระจุกที่ง่ามใบหรือปลายกิ่ง ทุกส่วน ของไม้นี้มีกลิ่นหอม ใช้เป็นอาหาร และใช้ทํายาได้, ผักโฉม ก็เรียก เช่น ผักโฉมชื่อเพราะพร้อง เป็นโฉมน้องฤๅโฉมไหน. (เห่เรือ).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-556

(0.1562 sec)