บรรณ, บรรณ- : [บัน, บันนะ-] น. ปีก; หนังสือ; ใบไม้. (ส. ปรฺณ; ป. ปณฺณ).
บรรณศาลา : น. ที่สํานักของฤๅษีหรือผู้บําเพ็ญพรตเป็นต้น ถือกันว่า มุงบังด้วยใบไม้. (ส. ปรฺณศาลา; ป. ปณฺณสาลา ว่า โรงที่มุงและบัง ด้วยใบไม้).
บรรณกุฎี : น. กระท่อมอันมุงบังด้วยใบไม้. (ส. ปรฺณ + กุฏิ).
บรรณพิภพ, บรรณโลก : (แบบ) น. วงการหนังสือ.
บรรณสาร : (โบ) น. หนังสือราชการ.
จรรยาบรรณ : [จันยาบัน] น. ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพ การงานแต่ละอย่างกําหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้.
ฉัตรบรรณ : [ฉัดตฺระบัน] น. ต้นสัตบรรณ.
บรรณาการ :
ดู บรรณ, บรรณ-.
บรรณาคม :
ดู บรรณ, บรรณ-.
บรรณาธิกร :
ดู บรรณ, บรรณ-.
บรรณาธิการ :
ดู บรรณ, บรรณ-.
บรรณานุกรม :
ดู บรรณ, บรรณ-.
บรรณารักษ์ :
ดู บรรณ, บรรณ-.
บรรณารักษศาสตร์ :
ดู บรรณ, บรรณ-.
ปัณณะ : (แบบ) น. บรรณ. (ป.).
บรรณาการ : [บันนากาน] น. สิ่งที่ส่งไปให้ด้วยความเคารพนับถือ หรือด้วยไมตรี. (ป. ปณฺณาการ; ส. ปรฺณาการ), ในบทประพันธ์ใช้ว่า บรรณา ก็มี.
บัณรส : [บันนะรด] ว. สิบห้า. (ป. ปณฺณรส).
บัณรสี : [บันนะระสี] ว. ที่ ๑๕, ใช้กับคําว่า ดิถี เช่น บัณรสีดิถี = วัน ๑๕ คํ่า. (ป. ปณฺณรสี).
ปัณรส- : [ปันนะระสะ-] ว. สิบห้า. (ป. ปณฺณรส).
ปัณรสี : [ปันนะระสี] ว. ที่ ๑๕. (ป. ปณฺณรสี).