บริพาร : [บอริพาน] น. ผู้แวดล้อม, ผู้รับใช้หรือผู้ห้อมล้อมติดตาม. (ป. ปริวาร).
บริวาร : [บอริวาน] น. ผู้แวดล้อมหรือผู้ติดตาม เช่น พระพุทธเจ้ามีภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปเป็นบริวาร, สิ่งที่เป็นส่วนประกอบหรือสมทบสิ่งอื่นที่เป็น ประธาน เช่น บริวารกฐิน. ว. ที่แวดล้อม เช่น ดาวบริวาร. (ป., ส. ปริวาร).
กระย่อน : ก. ขย้อน คือ อาการขยับขึ้นขยับลง, กระหย่อน ก็ใช้; ยวบยาบ, แกว่ง เช่น ลมไกวกิ่งกลฟ้อนก็กระย่อนอยู่ยานโยน. (สมุทรโฆษ); ขยับ เช่น ยกค้อนกระย่อนดูบริพาร. (สมุทรโฆษ).
เงินปี : (กฎ) น. เงินที่มีกําหนดจ่ายเป็นรายปีให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์หรือ ข้าราชบริพารจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินอุดหนุนของสํานัก พระราชวัง, โบราณเรียก เบี้ยหวัดหรือ เบี้ยหวัดเงินปี.
เบี้ยหวัด : น. (โบ) เงินที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายปีให้แก่พระบรม วงศานุวงศ์หรือข้าราชบริพารจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวด เงินอุดหนุนของสำนักพระราชวัง, เงินปี หรือ เบี้ยหวัดเงินปี ก็เรียก; เงินตอบแทนความชอบที่ให้แก่ทหารที่ออกจากประจํา การ ซึ่งจ่ายเป็นรายเดือนตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม.
หญิบ : [หฺยิบ] ว. ญิบ, สอง, เช่น ถ้วนหญิบหมื่นเป็นบริพาร. (ม. คําหลวง ทศพร).
บริษัทบริวาร : ( น. คนแวดล้อม เช่น เขามีบริษัทบริวารมาก.
บริชน : [บอริชน] (แบบ) น. คนผู้แวดล้อม, บริวาร. (ป., ส. ปริชน).
บริสชน : [บอริสะชน] น. บริวาร.
ปริวาร : [ปะริวาน] น. บริวาร. (ป.).
กฐิน, กฐิน- :
[กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบ กับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวาย ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐิน ไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ใน พระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอัน เป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวน แห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐิน ตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของ การทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
เกียรติมุข : [เกียดมุก] น. อมนุษย์บริวารพระศิวะ ทำเป็นรูปหน้ายักษ์ปนหน้าสิงห์ ตากลมถลน ไม่มีคาง ปากแสยะ ไม่มีขากรรไกรล่าง ไม่มีร่างกาย ไม่มีแขนขา เชื่อกันว่าเป็นเทพเจ้ารักษาธรณีประตู เป็นเครื่องป้องกัน บ้านเรือน ขับไล่เสนียดจัญไร และคอยคุ้มครองนับถือพระศิวะ มักทำเป็นลวดลายแกะสลักหรือปูนปั้น เช่นที่ทับหลังปราสาทหิน บางแห่ง ตามซุ้มปรางค์หรือเจดีย์ และที่ฐานพระพุทธรูป, กาฬมุข หรือ หน้ากาฬ ก็เรียก.
แขนขวา : น. บริวารหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง เปรียบเสมือนแขนข้างขวา.
แขนซ้ายแขนขวา : น. บริวารหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่เป็นหัวเรี่ยว หัวแรงเปรียบเสมือนแขนซ้ายแขนขวา.
คนธรรพ-, คนธรรพ์ : [คนทันพะ-, คนทับพะ-, คนทัน] น. ชาวสวรรค์พวกหนึ่ง เป็นบริวารท้าวธตรฐ มีความชํานาญในวิชาดนตรีและขับร้อง. (ส. คนฺธรฺว; ป. คนฺธพฺพ).
เคราะห์ ๒ : [เคฺราะ] (ดารา) น. เรียกดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ต้องได้รับ แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ และเป็นบริวารโคจรรอบดวงอาทิตย์ ว่า ดาวเคราะห์ มี ๙ ดวง เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ออกไป คือ พุธ (Mercury) ศุกร์ (Venus) โลก (Earth) อังคาร (Mars) พฤหัสบดี (Jupiter) เสาร์ (Saturn) มฤตยู (Uranus) สมุทร (Neptune) ยม (Pluto).
เจดีย์ทิศ : น. เจดีย์บริวารตั้งอยู่บนฐานไพทีหรือลานประทักษิณล้อมเจดีย์ ประธาน มี ๔ องค์ เหมือนดังประจำทิศต่าง ๆ ตามคตินิยมทางจักรวาล.
ดาวเคราะห์ : (ดารา) น. ดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ต้องได้รับแสงสว่าง จากดวงอาทิตย์ และเป็นบริวารโคจรรอบดวงอาทิตย์ มี ๙ ดวง คือ พุธ (Mercury) ศุกร์ (Venus) โลก (Earth) อังคาร (Mars) พฤหัสบดี (Jupiter) เสาร์ (Saturn) มฤตยู (Uranus) สมุทร (Neptune) ยม (Pluto) มองจากโลก จะเห็นได้ด้วยตาเปล่าเพียง ๕ ดวง คือ พุธ ศุกร์ อังคาร พฤหัสบดี และเสาร์.
ดาวเทียม : น. วัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นเลียนแบบดาวบริวารของดาวเคราะห์ เพื่อให้โคจรรอบโลกหรือรอบเทห์ฟากฟ้าอื่น มีอุปกรณ์สําหรับเก็บ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอวกาศและถ่ายทอดข้อมูลนั้นมายังโลก, วัตถุลักษณะ ดังกล่าวที่โคจรรอบโลก ใช้เป็นอุปกรณ์โทรคมนาคมด้วย เช่น ถ่ายทอด คลื่นวิทยุและโทรทัศน์ข้ามทวีป.
ดาวล้อมเดือน : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง. (สํา) ว. มีบริวารแวดล้อมมาก.
ตรีทศ : น. เทวดา ๓๓ องค์ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มิได้แยกว่าใครเป็นใคร หมายถึง พระอินทร์และบริวารพระอินทร์ ๓๒ องค์, ไตรทศ ก็เรียก. (ส. ตฺริทศ ว่า สามสิบ).
บริณายก : [บอรินายก] (แบบ) น. ปริณายก, ผู้นําบริวาร, หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่. (ส. ปริณายก; ป. ปรินายก).
บ่าวไพร่ : น. ข้าทาสบริวาร.
ปริณายก : [ปะ-] น. ผู้นําบริวาร, หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่. (ส.; ป. ปรินายก).
ผ้าป่า : น. ผ้า (พร้อมทั้งเครื่องบริวาร ถ้ามี) ที่นําเอาไปวางทอดไว้ เสมือนว่าเป็นผ้าที่ทิ้งอยู่ในป่า เพื่อให้พระชักเอาไป เป็นทํานอง ผ้าบังสุกุล มักทําเป็นปรกติต่อท้ายทอดกฐิน เรียกว่า ทอดผ้าป่า.
ยักษ์ : น. อมนุษย์พวกหนึ่ง ถือกันว่ามีรูปร่างใหญ่โตน่ากลัว มีเขี้ยวงอก ใจดํา อํามหิต ชอบกินมนุษย์ กินสัตว์ โดยมากมีฤทธิ์เหาะได้จําแลงตัวได้, บางทีใช้ปะปนกับคําว่า อสูร รากษส และมาร ก็มี; เทวดาพวกหนึ่งใน สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกและชั้นปรนิมมิตวสวัตดี; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ ศตภิษัช มี ๔ ดวง, ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวสตะภิสชะ ก็เรียก. ว. โดย ปริยายหมายความว่า มีลักษณะหรืออาการอย่างยักษ์ เช่น ใจยักษ์ หน้า ยักษ์, มีลักษณะใหญ่เป็นพิเศษในพวก เช่น ปลาหมึกยักษ์. (ส. ยกฺษ ว่า อมนุษย์พวกหนึ่ง บริวารท้าวเวสวัณ; ป. ยกฺข).
ระบบสุริยะ : น. ระบบที่ประกอบด้วยดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของ แรงดึงดูด รวมทั้งดาวเคราะห์ใหญ่น้อยและบริวารของดาวเคราะห์ ดาว เหล่านี้หมุนอยู่รอบ ๆ ดวงอาทิตย์ และมีวงโคจรอยู่ในแนวระนาบ ใกล้เคียงกัน.
รากษส : [รากสด] น. ยักษ์ร้าย, ผีเสื้อนํ้า, ชื่อพวกอสูรชั้นต่ำ มีนิสัยดุร้าย ในคัมภีร์ โลกทีปกสารว่า เป็นบริวารของพญายม, ในคัมภีร์โลกบัญญัติว่า เป็น บริวารของพระวรุณ, ใช้ รากโษส ก็มี. (ส.; ป. รกฺขส).
ลูกน้อง : (ปาก) น. บริวาร, ผู้อยู่ในปกครองหรือใต้บังคับบัญชา, ผู้ใกล้ชิดเป็นกําลังสําคัญในการงาน.
ลูกสมุน : (ปาก) น. บริวาร, คนอยู่ในบังคับ.
แล ๓ : สัน. และ, กับ, เช่น ให้ประกาศแก่พระราชวงศานุวงศ์แลข้าราชการ ผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายหน้าฝ่ายในและราษฎรในกรุงแลหัวเมืองให้ทราบ ทั่วกัน. (ประกาศ ร. ๔), ฝูงเทพยดาถือค้อนแลตระบองเทียรย่อม แก้วมณีรัตนะเป็นบริวาร. (ไตรภูมิ).
วสุ : น. ทรัพย์, สมบัติ; ชื่อเทวดาหมู่หนึ่งมี ๘ องค์ด้วยกัน เป็นบริวาร ของพระอินทร์. (ป., ส.).
แวดล้อม : ก. เฝ้าระวังรักษาอยู่โดยรอบ เช่น ตำรวจแวดล้อมบุคคล สำคัญ ผู้มีอำนาจไปไหนก็มีมือปืนแวดล้อม; ห้อมล้อม เช่น มีบริวารแวดล้อมพอร้องเพลงจบก็มีคนมาแวดล้อมขอลายเซ็น. ว. ที่ห้อมล้อม, ที่อยู่โดยรอบ, เช่น สิ่งแวดล้อม ภาวะแวดล้อม.
ศฤงคาร : [สิงคาน, สะหฺริงคาน] น. สิ่งให้เกิดความรัก, บริวารหญิงผู้บําเรอ ความรัก เช่น สาวศฤงคารคนใช้. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ส. ศฺฤงฺคาร ว่า ความใคร่).
ศุกร, ศุกร์ : [สุกกฺระ, สุก] น. ชื่อวันที่ ๖ ของสัปดาห์; ชื่อดาวเคราะห์ดวง ที่ ๒ ในระบบสุริยะ อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๑๐๘ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๒,๑๐๔ กิโลเมตร ไม่มีบริวาร เป็นดาวเคราะห์ ที่มีบรรยากาศหนาทึบด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และไอของ กรดกํามะถัน ปรากฏสว่างที่สุดบนฟ้า, ถ้าเห็นทางตะวันตกในเวลา หัวคํ่า เรียกว่า ดาวประจําเมือง, ถ้าเห็นทางตะวันออกในเวลาใกล้รุ่ง เรียกว่า ดาวรุ่ง หรือ ดาวประกายพรึก.ว. สว่าง. (ส.).
สมบูรณ์ : ก. บริบูรณ์ เช่น สมบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ สมบูรณ์ด้วยข้าทาสบริวาร, ครบถ้วน เช่น หลักฐานยังไม่สมบูรณ์; อ้วนท้วน, แข็งแรง, เช่น เขา สมบูรณ์ขึ้น เดี๋ยวนี้สุขภาพเขาสมบูรณ์ดีแล้ว. ว. มีคุณสมบัติหรือ คุณลักษณะครบถ้วน เช่น มีคุณสมบัติสมบูรณ์ตามกำหนด; อ้วนท้วน, แข็งแรง, เช่น มีร่างกายสมบูรณ์ สุขภาพสมบูรณ์. (ส.).
สมุน ๑ : [สะหฺมุน] น. บริวาร, คนอยู่ในบังคับ, มักเรียกว่า ลูกสมุน.
อังคาร : [คาน] น. ชื่อวันที่ ๓ ของสัปดาห์; ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๔ ใน ระบบสุริยะ มองเห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ ๒๒๘ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๖,๗๘๗ กิโลเมตร มีพื้น ผิวขรุขระ และมีบรรยากาศเบาบาง ส่วนใหญ่เป็นแก๊สคาร์บอน ไดออกไซด์ มีบริวาร ๒ ดวง; เถ้าถ่านของศพที่เผาแล้ว. (ป., ส.)
อัฐเคราะห์ : (โหร) น. เรียกดาวเฉพาะ ๘ ดวง คือ อาทิตย์ (ประจํา ทิศอีสาน ใช้เลข ๑ แทน) จันทร์ (ประจําทิศบูรพา ใช้เลข ๒ แทน) อังคาร (ประจําทิศอาคเนย์ใช้เลข ๓ แทน) พุธ (ประจําทิศทักษิณ ใช้เลข ๔ แทน) เสาร์ (ประจําทิศหรดี ใช้เลข ๗ แทน) พฤหัสบดี (ประจําทิศประจิม ใช้เลข ๕ แทน) ราหู (ประจําทิศพายัพ ใช้เลข ๘ แทน) และศุกร์ (ประจําทิศอุดร ใช้เลข ๖ แทน) เขียนเป็น แผนภูมิดังนี้ (รูปภาพ) ว่า ทักษา, ถ้าเกิดวันใด ก็ถือวันนั้นเป็นบริวาร แล้วนับเวียนขวาไป ตามทิศทั้ง ๘ เช่น เกิดวันอาทิตย์ อาทิตย์เป็นบริวาร จันทร์เป็นอายุ อังคารเป็นเดช พุธเป็นศรี เสาร์เป็นมูละ พฤหัสบดีเป็นอุตสาหะ ราหูเป็นมนตรีและศุกร์เป็นกาลกรรณี.