บร- : [บอระ-] (แบบ; กลอน) น. ฝ่ายอื่น เช่น บรเทศ, ข้าศึก เช่น บรปักษ์. (ป., ส. ปร).
บรรณาธิกร :
ดู บรรณ, บรรณ-.
บรรณาธิกร : [บันนา-] (โบ) ก. รวบรวมและจัดเลือกเฟ้นเรื่องลงพิมพ์.
บรรพตกีลา : (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. ปรฺวต + กีลา).
กุสุมวิจิตร : น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กําหนดด้วย ๔ คณะ คือ น คณะ ย คณะ น คณะ ย คณะ บาทละ ๑๒ คำ หรือ ๑๒ พยางค์ (ตามแบบว่า นยสหิตานฺยา กุสุมวิจิตฺตา) ตัวอย่างว่า จะรจิตรอรรถา ปิสุณวจีขวน พิปริตญาณยล บรชนทำลาย. (ชุมนุมตำรากลอน).
แขก ๓ : น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า แขก เช่น แขกสาหร่าย แขกบรเทศ แขกกุลิต.
คำคู่ความ : (กฎ) น. บรรดาคําฟ้อง คําให้การหรือคําร้องทั้งหลายที่ยื่น ต่อศาล เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ.
ทวาบร : [ทะวาบอน] น. ด้านของลูกสกาที่มี ๒ แต้ม. (ส. ทฺวาบร).
นาง ๑ : น. คําประกอบหน้าคําเพื่อแสดงว่าเป็นเพศหญิง เช่น นางฟ้า นางบําเรอ นางละคร นางพระกํานัล; คําแทนชื่อหญิง เช่น นางก็ร้อยพวงมาลัย; (กฎ) คํานําหน้าชื่อหญิงผู้มีสามีแล้ว, คํานําหน้าชื่อภรรยาที่เรียกตามราช ทินนามของสามีที่มีบรรดาศักดิ์ตํ่ากว่าพระยาลงมา; คำเรียกสัตว์ตัวเมีย โดยสุภาพ เช่น นางช้าง นางม้า; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์เรวดี มี ๑๖ ดวง, ดาวปลาตะเพียน ก็เรียก.
เนือง, เนือง ๆ : ว. เสมอ ๆ, บ่อย ๆ, เช่น แสนเสนางค์เนืองบร. (ตะเลงพ่าย), ไปมาหาสู่ อยู่เนือง ๆ.
บรรณาการ : [บันนากาน] น. สิ่งที่ส่งไปให้ด้วยความเคารพนับถือ หรือด้วยไมตรี. (ป. ปณฺณาการ; ส. ปรฺณาการ), ในบทประพันธ์ใช้ว่า บรรณา ก็มี.
บังคับเอก : น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์หรือ คําที่มีรูปวรรณยุกต์เอก และบรรดาคําตายทั้งสิ้นในโคลงและร่ายใช้ แทนเอกได้.
ประดิทิน : ว. ประจําวัน, ทุกวัน, เสมอไป, เช่น อนึ่งผู้อยู่ในราชการอัน บรรดาจําบําเรอประดิทิน. (กฎ. ราชบุรี).
เอ็มบริโอ : [บฺริ] น. ตัวอ่อนของสัตว์หรือต้นอ่อนของพืชที่ยังไม่เจริญเติบโต จนถึงขั้นที่มีอวัยวะครบบริบูรณ์. (อ. embryo).
ปร- : [ปะระ-, ปอระ-] ว. อื่น, ใช้เป็นบทหน้าสมาส เช่น ปรปักษ์ ปรโลก. (ป.).
ปร-ปักษ์ : [ปอระ-] น. ข้าศึก, ศัตรู, ฝ่ายตรงข้าม.
ปรนิมมิตวสวัตดี : [ปะระนิมมิตตะวะสะวัดดี, ปอระ-] น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๖ แห่ง สวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุ มหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าววสวัตดีมารเป็นผู้ครอง.
ปรหิตะ : [ปะระหิตะ, ปอระหิตะ] น. ประโยชน์ผู้อื่น, มักใช้ควบกับ ประโยชน์ เป็น ปรหิตประโยชน์ ว่า ประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น. (ป. ปรหิต).
ปรมาตมัน : ดู ปรม-.
ปรมาตมัน : [ปะระมาดตะมัน] (ปรัชญา) น. อาตมันสูงสุด เป็น ต้นกําเนิดและที่รวมของทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาล. (ส. ปรม + อาตฺมนฺ).
ปรมินทร์, ปรเมนทร์ : ดู ปรม-.
ปรมินทร์, ปรเมนทร์ : [ปะระมิน, ปอระมิน, ปะระเมน, ปอระเมน] น. ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง. (ส.).
ปรเมศวร์ : ดู ปรม-.
ปรเมศวร์ : [ปะระเมด] น. ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง คือ พระอิศวร. (ส.).
ปรี่ : [ปฺรี่] ก. รี่ เช่น ปรี่เข้าใส่. ว. เกือบล้น ในลักษณะเช่นนํ้าเต็มจนเกือบล้น มิล้นแหล่, ริน ๆ เช่น ไหลปรี่.
กระปรอก ๑, กระปอก ๑ : น. ชื่อไต้ชนิดหนึ่ง ห่อด้วยใบพลวงหลายชั้น ลูกยาวใหญ่ เหมือนไต้หาง แต่ไม่มีหาง ชาวทะเลและชาวชนบทชอบใช้ สําหรับหาหอย กุ้ง ปลา เพราะดวงไฟใหญ่ไม่ใคร่ดับ.
กระปรอก ๒, กระปอก ๒ : น. นุ่น. (เทียบมลายู กระป๊อก ว่า ต้นนุ่น).
กระปรอก ๓ : (ถิ่น-ตะวันออก, ปักษ์ใต้) น. ชื่อเรียกเฟินอิงอาศัยหลายชนิด ในสกุล Drynaria และ Platycerium วงศ์ Polypodiaceae.
กโบร : [กะโบน] (แบบ) น. ศอก, ข้อศอก. (พจน.). (ป. กปฺปร; ส. กูรฺปร).
กระแตไต่ไม้ ๒ : น. ชื่อเฟินอิงอาศัยชนิด Drynaria quercifolia (L.) J. Smith ในวงศ์ Polypodiaceae ขึ้นเกาะตามต้นไม้ใหญ่ในป่าที่ชุ่มชื้น เหง้ามีขนเป็นปุยสีน้ำตาลแก่คล้ายกระแต ใบมี ๒ ชนิด คือใบสร้างอับสปอร์ ยาวประมาณ ๑ เมตร เว้าเป็นแฉกลึก เกือบถึงเส้นกลางใบ และมีอับสปอร์เป็นจุด ๆ สีน้ำตาล เข้มใต้ใบ ใบไม่สร้างอับสปอร์ ขนาดประมาณฝ่ามือ ขอบจักหยาบ ๆ สีน้ำตาล แข็งติดอยู่กับเหง้าจนผุ ไม่หล่นเหมือนใบสร้างอับสปอร์ ทําหน้าที่กักปุ๋ย, กระปรอกว่าว ใบหูช้าง สไบนาง สะโมง หรือ หัวว่าว ก็เรียก.
กามภพ : น. ที่เกิดของผู้ที่ยังเกี่ยวด้วยกาม, โลกเป็นที่อยู่อาศัยของ ผู้เสพกาม ได้แก่ อบายภูมิ ๔ (นรกภูมิ ติรัจฉานภูมิ เปรตวิสัยภูมิ อสุรกายภูมิ) มนุษยโลก ๑ และสวรรค์ ๖ ชั้น (จาตุมหาราชิกหรือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานนรดี ปรนิมมิตวสวัตดี) รวมเป็น ๑๑, กามภูมิ ก็ว่า. (ป.).
จาตุมหาราช : น. ชื่อสวรรค์ชั้นแรกแห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือ จาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี มีท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ ร่วมกันปกครอง, จาตุมหาราชิก หรือ จาตุมหาราชิกา ก็ว่า; เรียกหัวหน้าเทวดา ผู้มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ ว่า ท้าวจาตุมหาราช คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูต หรือจอมคนธรรพ รักษาโลกด้านทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก์ จอมเทวดาหรือจอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ, จตุโลกบาล หรือ จัตุโลกบาล ก็ว่า.
จาตุมหาราชิก, จาตุมหาราชิกา : น. ชื่อสวรรค์ชั้นแรกแห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดีและปรนิมมิตวสวัตดี มีท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลกในทิศ ทั้ง ๔ ร่วมกันปกครอง, จาตุมหาราช ก็ว่า.
ฉกามาพจร, ฉกามาวจร : [ฉะกามาพะจอน, ฉะกามาวะจอน] น. สวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ ๑. จาตุมหาราช หรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ๒. ดาวดึงส์ ๓. ยามา ๔. ดุสิต ๕. นิมมานรดี ๖. ปรนิมมิตวสวัตดี. (ป. ฉ + กาม + อวจร).
ดาวดึงส์ : [ดาววะ-] น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๒ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือ จาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และ ปรนิมมิตวสวัตดี มีพระอินทร์เป็นผู้ครอง. (ป. ตาวต??ส; ส. ตฺรยสฺตฺร??ศตฺ).
ดิเรกคุณาภรณ์ : น. ชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช.
ดุษิต, ดุสิต : น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๔ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหา ราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตว สวัตดี, มีท้าวสันดุสิตเป็นผู้ครอง. (ส. ตุษิต; ป. ตุสิต).
ตรง, ตรง ๆ : [ตฺรง] ว. ไม่คดโค้ง เช่น ทางตรง, ไม่งอ เช่น นั่งตัวตรง, ไม่เอียง เช่น ตั้งเสา ให้ตรง ยืนตรง ๆ; ซื่อ, ไม่โกง, เช่น เขาเป็นคนตรง; เที่ยงตามกําหนด เช่น เวลา ๓ โมงตรง นาฬิกาเดินตรงเวลา; เปิดเผยไม่มีลับลมคมใน, ไม่ปิดบัง อําพราง, ไม่อ้อมค้อม, เช่น พูดตรงไปตรงมา บอกมาตรง ๆ; รี่, ปรี่, เช่น ตรง เข้าใส่; ถูกต้องตาม เช่น ตรงเป้าหมาย. บ. ที่แห่งใดแห่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ตรงนี้ ตรงนั้น.
นิมมานรดี : [นิมมานะระดี, นิมมานอระดี] น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๕ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าวสุนิมมิตเป็นผู้ครอง, ในบทกลอนใช้ว่า นิมมานรดีต ก็มี เช่น ช่อชั้นนิมมานรดีต. (อิเหนา). (ป.; ส. นิรฺมาณ + รติ).
บนบก. : ว. แห้ง, พร่อง, ลดลง, เช่น นมบกอกพร่อง; ย่อยยับหมด กําลัง เช่น โจมปรปักษบกบาง. (ตะเลงพ่าย).
ปรมาณู : [ปะระ-, ปอระ-] น. ส่วนของสารที่มีขนาดเล็กที่สุดจน ไม่สามารถจะแยกย่อยได้อีกด้วยวิธีเคมี. (ป., ส. ปรมาณุ).
ปรมาภิไธย : [ปะระมาพิไท, ปอระมาพิไท] น. ชื่อ (ใช้เฉพาะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) เช่น ในพระปรมาภิไธย ทรงลง พระปรมาภิไธย. (ป. ปรมาภิเธยฺย).
ประ- ๑ : [ปฺระ] ใช้เติมหน้าคําอื่นเพื่อให้คําหนักแน่นขึ้น เช่น ชิด เป็น ประชิด, ท้วง เป็น ประท้วง; คําที่แผลงมาจาก ผ เช่น ผทม เป็น ประทม แล้วแผลง ประ เป็น บรร เช่น ประทม เป็น บรรทม.
ประ ๒ : [ปฺระ] ก. ปะทะ เช่น ประหมัด, กระทบ, ระ, เช่น ผมประบ่า.
ประ ๓ : [ปฺระ] ก. ทำให้เป็นจุด ๆ เช่น ประไข่ปลา, ทำให้เป็นจุด ๆ หรือ เม็ด ๆ ทั่วไปอย่างประแป้ง.
ประ ๔ :
[ปฺระ] (ถิ่น-ปักษ์ใต้, มลายู) น. ลูกกระ. (ดู กระ๒).
ปริ ๒ : [ปฺริ] ก. แย้ม, ผลิ, แตกแต่น้อย.
ปรีดิ, ปรีดิ์, ปรีดี : [ปฺรี-, ปฺรี] น. ความอิ่มใจ, ความปลื้มใจ, ความยินดี. (ส. ปฺรีติ; ป. ปีติ).