บ่อย, บ่อย ๆ : ว. หลายครั้งหลายหนในระยะเวลาไม่สู้นาน.
ปอย ๑ : น. กลุ่มก้อนหรือกระจุกเล็ก ๆ ของสิ่งที่เป็นเส้นเป็นฝอยอย่างเส้นด้าย หญ้า ผม หรือขน เช่น ปอยผม, ลักษณนามเรียกกระจุกหรือกลุ่มก้อน ของสิ่งเช่นนั้น เช่น ผมปอยหนึ่ง ผม ๒ ปอย.
ขวัญอ่อน ๑ : น. เรียกผู้ตกใจง่ายคือเด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหาย บ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน.
ครุ่น : [คฺรุ่น] ว. บ่อย ๆ เช่น เจ็บปวดครุ่นไปไข้ชราถอยกำลังวังชาลงทุกปี. (สังข์ทอง), ซ้ำ ๆ, รํ่าไป, เช่น ครุ่นแค้น.
ค้อยค้อย : (กลอน) ว. เนือง ๆ, บ่อย ๆ, เช่น เจ้าแม่แต่จงกรมค้อยค้อย ด้วยบราทุกราพร้อยพราย. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).
คุ้น : ก. รู้จักชอบพอกันมานาน เช่น เป็นคนคุ้นกัน, เคยผ่านหูหรือผ่านตา บ่อย ๆ เช่น คุ้นหน้า คุ้นตา คุ้นหู.
จะไจ้ : ว. บ่อย ๆ, เนือง ๆ.
จำเจ : ว. เนือง ๆ, บ่อย ๆ, ซํ้าซาก.
ไจ้ ๆ : (กลอน) ว. เนือง ๆ, บ่อย ๆ, เป็นอยู่อย่างนั้น, จะไจ้ ก็ว่า.
ช้ำ : ว. น่วมระบมเพราะถูกกระทบกระแทกอย่างแรงหรือ บ่อย ๆ เช่น, มะม่วงชํ้า, เป็นรอยจํ้า ๆ อย่างรอย ฟกชํ้าดําเขียว.
เนือง, เนือง ๆ : ว. เสมอ ๆ, บ่อย ๆ, เช่น แสนเสนางค์เนืองบร. (ตะเลงพ่าย), ไปมาหาสู่ อยู่เนือง ๆ.
ปอย ๒ : (ถิ่น-พายัพ) น. งานพิธีต่าง ๆ, ถ้างานใหญ่ เช่นประเพณีฉลองการ สร้างถาวรวัตถุของวัด เรียกว่า ปอยหลวง, ถ้างานเล็ก เช่นงานบวช เรียกว่า ปอยน้อย.
ผลก : [ผะหฺลก] (โบ) ว. บ่อย ๆ, เนือง ๆ.
เฝือ ๒ : ว. รก, ยุ่ง, เรื้อ; เคลือบคลุม, ไม่แจ่มแจ้ง, เช่น ข้อความยังเฝืออยู่, หมดความสำคัญ เช่น มากเสียจนเฝือ, บ่อย ๆ หรือซ้ำ ๆ ซาก ๆ จนทำให้หมดความสำคัญหรือหมดความสนใจ เช่น เรื่องนี้พูดกัน จนเฝือ.
พร่ำ : [พฺรํ่า] ว. รํ่าไป, ซํ้า ๆ ซาก ๆ, บ่อย ๆ, เช่น พร่ำบ่น พร่ำเพ้อรำพัน พร่ำสาธยายมนตร์.
พร่ำเพรื่อ : ว. เกินขอบเขต, บ่อย ๆ ไม่เป็นกิจจะลักษณะ, เช่น พูด พร่ำเพรื่อ, เพรื่อ ก็ว่า.
เพรื่อ : [เพฺรื่อ] ว. เรี่ยราด เช่น น้ำหกเพรื่อ, เกินขอบเขต, บ่อย ๆ ไม่เป็น กิจจะลักษณะ, เช่น พูดเพรื่อ, พร่ำเพรื่อ ก็ว่า.
ยิก, ยิก ๆ : ว. อาการที่ทำติดต่อกันถี่ ๆ บ่อย ๆ เช่น ท้ายิกเลย เกาหัวยิก ๆ ชวนยิก ๆ, ขยิก ก็ใช้.
ร่ำไป : ว. พรํ่าเพรื่อไป, บ่อย ๆ, เช่น เขาไปดูภาพยนตร์บ่อย ทำให้เสีย เงินร่ำไป.
รุ่ม : ว. ร้อนผ่าว ๆ; (ปาก) เรื่อย, บ่อย, เช่น เรียกใช้เสียรุ่ม, มาก เช่น รวยรุ่ม.
เรียกเนื้อ : ก. ทําให้เนื้อดีงอกขึ้นมาในที่ที่เป็นแผล เช่น ยานี้เรียกเนื้อ ได้ดี; ทำให้อ้วน, ทำให้สมบูรณ์, เช่น เชื่อกันว่าอาบน้ำให้เด็กอ่อน บ่อย ๆ เรียกเนื้อได้ดี.
หนาหู : ว. ได้ยินพูดกันมาก, บ่อย (ใช้แก่การได้ยิน), เช่น มีข่าวหนาหู ว่าจะตัดถนนสายใหม่, บางทีก็ใช้ว่า หนาหูหนาตา โดยมี หนาตา เป็น คำสร้อย เช่น ได้ยินข่าวหนาหูหนาตาว่ารัฐบาลจะเลิกเก็บภาษีบางอย่าง.
หย่อย, หย่อย ๆ : ว. เรื่อย ๆ, บ่อย ๆ, เช่น มากันหย่อย ๆ ไม่ขาดสาย, น้อย ๆ เช่น ให้เงิน ทีละหย่อย.
เหมื่อย, เหมื่อย ๆ : (โบ) ว. เนือง ๆ, บ่อย ๆ, เรื่อย ๆ.
เปื่อย : ว. ที่ขาดง่าย เช่น ด้ายเปื่อย, ที่หลุดจากกันง่าย เช่น ผ้าเปื่อย, ยุ่ยง่าย เช่น เนื้อเปื่อย, ที่มีน้ำเหลืองเยิ้ม เช่น แผลเปื่อย.
ซีป่าย : น. ชื่อทหารกองหนึ่ง ในรัชกาลที่ ๔ เอาแบบมาจากทหารซีปอย.
แวนดา : น. ชื่อกล้วยไม้ในสกุล Vanda วงศ์ Orchidaceae เช่น เอื้องสามปอย (V. denisoniana Bens. et Rchb.f.).
หางเต่า : น. ปอยผมในร่องเล็กที่ท้ายทอย มีรูปแหลม, หีเต่า ก็เรียก.
หีเต่า : น. ปอยผมในร่องเล็กที่ท้ายทอย มีรูปแหลม, หางเต่า ก็เรียก.
แหยม : [แหฺยม] น. ปอยผมที่เอาไว้เป็นกระจุก, ส่วนของจุกที่แยกออกเป็นปอย ๆ ก่อนประกอบพิธีโกนจุก, เรียกหนวดที่เอาไว้แต่ ๒ ข้างริมฝีปากว่า หนวดแหยม.