Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: บะ , then , บะ, บา, , ปะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : บะ, 5456 found, display 1-50
  1. : พยัญชนะตัวที่ ๒๗ เป็นพวกอักษรกลาง เป็นตัวสะกดในแม่กบ ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น บาป เนปจูน, ตัว ป ตัว ป ที่ขึ้นต้นของคําหรือพยางค์ในภาษาบาลีและสันสกฤต มักแผลงมาเป็นตัว บ ในภาษาไทย เช่น ปท ปิตา เป็น บท บิดา.
  2. ปะ : ก. มาเจอกัน, มาประเชิญหน้ากัน; เอาวัตถุเช่นผ้าหรือไม้เป็นต้นปิดทับ ส่วนที่ชํารุดเป็นช่องเป็นรู เช่น ปะผ้า ปะว่าว, ปิดทับ เช่น ปะหน้า. ปะว่า สัน. ถ้าว่าเจอ.
  3. บา : น. ครู, อาจารย์; ชายหนุ่ม.
  4. บทามพุช : [บะทามะพุด] (แบบ) น. บัวบาท, เท้า, เช่น ทูลพระ บทามพุช. (ยวนพ่าย). (ป. ปท + อมฺพุช).
  5. บรากรม : [บะรากฺรม] (แบบ) น. ความเพียร, ความบากบั่น, ความพยายาม, ความแข็งขัน, ความก้าวไปเพื่อคุณในเบื้องหน้า. (ส. ปฺรากรฺม; ป. ปรกฺกม).
  6. บราทุกรา : [บะราทุกฺรา] (โบ; กลอน) น. รองเท้า. (ป., ส. ปาทุกา).
  7. คณาธิปไตย : [คะนาทิปะไต, คะนาทิบปะไต] น. ระบอบการปกครอง แบบหนึ่ง ซึ่งปกครองโดยคณะบุคคลจํานวนน้อยของสังคม มักได้แก่ กลุ่มผู้อาวุโส กลุ่มทหาร หรือ กลุ่มปฏิวัติ. (ป. คณ + อธิปเตยฺย).
  8. ธรรมาธิปไตย : [ทํามาทิปะไต, ทํามาทิบปะไต] น. การถือธรรมเป็นใหญ่, การถือความถูกต้องเป็นหลัก. (ป. ธมฺมาธิปเตยฺย; ส. ธรฺมาธิปตฺย).
  9. อธิป, อธิป : [อะทิบ, อะทิปะ, อะทิบปะ] น. พระเจ้าแผ่นดิน, นาย, หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่, มักใช้พ่วงท้ายศัพท์ เช่น นราธิป ชนาธิป, แต่เมื่อนําหน้า คําที่ขึ้นต้นด้วยสระ มักใช้ อธิบ เช่น นราธิเบศร์ นราธิเบนทร์. (ป., ส.).
  10. บราลี : [บะรา-] น. ยอดเล็ก ๆ มีสัณฐานดุจยอดพระทราย ใช้เสียบราย ๆ ไปตามอกไก่หลังคา หรือเสียบหลังบันแถลงบนหลังคาเครื่องยอด.
  11. เบรียน : [บะเรียน] (โบ) ก. ให้เรียน, สอน, เช่น อาจเบรียนภิกษุสงฆ์ ทั้งหลาย. (จารึกสยาม).
  12. แบรก : [บะแหฺรก] (กลอน) น. แปรก, เครื่องเกวียนหรือรถชนิดหนึ่ง สําหรับประกบหัวเพลากับคานกันลูกล้อไม่ให้เลื่อนหลุด.
  13. บ ๒, บ่ : [บอ, บ่อ] ว. ไม่, มักใช้ในหนังสือเก่าหรือกวีนิพนธ์ หรือบางท้องถิ่น, ในที่ใช้ บ เมื่อใช้ว่า บ่ ก็มีความเช่นเดียวกัน.
  14. บาทบ : [บา-ทบ] (แบบ) น. ต้นไม้ เช่น บรรดาที่เป็นบาทบชักตรลบเอารส วารี. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์). (ป., ส. ปาทป).
  15. บาพก : [บา-พก] (แบบ) น. ไฟ, (โบ) ใช้ว่า บ่าพก ก็มี. (ป., ส. ปาวก).
  16. ปณิธาน : [ปะ-] น. ประณิธาน. (ป.; ส. ปฺรณิธาน).
  17. ปณิธิ : [ปะ-] น. ประณิธิ. (ป.; ส. ปฺรณิธิ).
  18. ปณีต : [ปะ-] ว. ประณีต. (ป.; ส. ปฺรณีต).
  19. ปริขา : [ปะ-] น. คู; สนามเพลาะ. (ป., ส.).
  20. ปริจาริกา : [ปะ-] น. บริจาริกา. (ป.).
  21. ปริชน : [ปะ-] น. บริชน. (ป.).
  22. ปริณาม : [ปะ-] น. การผันแปร, การเปลี่ยนแปลง, การย่อยไป. (ป.).
  23. ปริณายก : [ปะ-] น. ผู้นําบริวาร, หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่. (ส.; ป. ปรินายก).
  24. ปเวณี : [ปะ-] น. ขนบธรรมเนียม, แบบแผน; เชื้อสาย, การเป็นสามีภรรยากัน ตามธรรมเนียม. (ป.; ส. ปฺรเวณิ).
  25. ปสาท : [ปะ-] น. ประสาท. (ป.; ส. ปฺรสาท).
  26. ปสาสน์ : [ปะ-] น. ประศาสน์. (ป.; ส. ปฺรศาสน).
  27. ปสุต : [ปะ-] ก. ประสูต. (ป.; ส. ปฺรสูต).
  28. ปหาน : [ปะ-] ก. ละทิ้ง. (ป.; ส. ปฺรหาณ).
  29. ปหาร : [ปะ-] น. ประหาร. (ป.; ส. ปฺรหาร).
  30. ปหาส : [ปะ-] น. ประหาส. (ป.; ส. ปฺรหาส).
  31. กบ ๑ : น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกด ว่า แม่กบ หรือ มาตรากบ.
  32. โฆษะ : ว. ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียงสั่น ในภาษาไทยได้แก่เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง ง น ม ย ร ล ว และเสียงสระทุกเสียง, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและ สันสกฤตที่มีเสียงก้องว่า พยัญชนะโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๓, ๔, ๕ ของวรรค และ ย ร ล ว ห ฬ. (ส.; ป. โฆส).
  33. มาตรา : [มาดตฺรา] น. หลักกําหนดการวัดขนาด จํานวน เวลา และมุม เช่น มาตราชั่ง ตวง วัด มาตราเมตริก; แม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระ โดยไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา หรือ มาตรา ก กา, หลักเกณฑ์ที่ วางไว้เพื่อให้กำหนดได้ว่าคำที่มีพยัญชนะตัวใดบ้างเป็นตัวสะกด อยู่ในมาตราใดหรือแม่ใด คือ ถ้ามีตัว ก ข ค ฆ สะกด จัดอยู่ใน มาตรากกหรือแม่กก, ถ้ามีตัว ง สะกด จัดอยู่ในมาตรากงหรือ แม่กง, ถ้ามีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด จัดอยู่ในมาตรากดหรือแม่กด, ถ้ามีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด จัดอยู่ในมาตรากนหรือแม่กน, ถ้ามีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกด จัดอยู่ ในมาตรากบหรือแม่กบ, ถ้ามีตัว ม สะกด จัดอยู่ในมาตรากม หรือแม่กม, ถ้ามีตัว ย สะกด จัดอยู่ในมาตราเกยหรือแม่เกย, ถ้ามีตัว ว สะกด จัดอยู่ในแม่เกอว; (กฎ) บทบัญญัติใน กฎหมายที่แบ่งออกเป็นข้อ ๆ โดยมีเลขกํากับเรียงตามลําดับ; (ฉันทลักษณ์) ระยะเวลาการออกเสียงสระสั้นยาว สระสั้น ๑ มาตรา สระยาว ๒ มาตรา.
  34. อโฆษะ : ว. ไม่ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียง ไม่สั่น ในภาษาไทยได้แก่เสียง อ เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะสะกด และเสียง ก ค จ ช ซ ต ท ป พ ฟ ฮ เสียงสระ ในภาษาไทยไม่เป็นอโฆษะ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและ สันสกฤตที่มีเสียงไม่ก้องว่า พยัญชนะอโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๑, ๒ ของวรรค และ ศ ษ ส. (ส.; ป. อโฆส).
  35. อักษรกลาง : [อักสอน] น. พยัญชนะที่คําเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียง สามัญ ผันได้ครบ ๔ รูป ๕ เสียง มีรูปวรรณยุกต์กับเสียงวรรณยุกต์ ตรงกัน เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า คําตายมีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันได้ ๔ เสียง มี ๓ รูป คือ พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ ?เป็น เสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียง จัตวา เช่น จะ จ้ะ จ๊ะ จ๋ะ มี ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ.
  36. ทีป, ทีปะ : [ทีบ, ทีปะ] (แบบ) น. เกาะ; แสงไฟ. (ป., ส.).
  37. รุบาการ : (กลอน) น. อาการแห่งรูป, รูป, เช่น เทพยดาก็กําบงงรุบาการอันตรธาน ไป. (ม. คําหลวง มหาราช). (ป., ส. รูป + อาการ).
  38. สัมผัปลาป, สัมผัปลาปะ : [สําผับปะลาบ, ปะลาปะ] น. คําพูดเพ้อเจ้อ. (ป. สมฺผปฺปลาป; ส. สมฺปฺรลาป).
  39. อุปะ : [อุปะ, อุบปะ] คําประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและ สันสกฤต แปลว่า เข้าไป, ใกล้, รอง, เช่น อุปราช อุปนายก. (ป., ส.).
  40. บ ๑ : พยัญชนะตัวที่ ๒๖ เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กบ.
  41. บาปกรรม : [บาบกํา] น. บาป. (ส. ปาปกรฺม; ป. ปาปกมฺม).
  42. ปกติ : [ปะกะติ, ปกกะติ] ว. ธรรมดา, เป็นไปตามเคย, ไม่แปลกไปจาก ธรรมดา, ปรกติ ก็ว่า. (ป.; ส. ปฺรกฺฤติ).
  43. ปกรณ์ : [ปะกอน] น. คัมภีร์, ตํารา, หนังสือ. (ป. ปกรณ; ส. ปฺรกรณ).
  44. ปกรณัม : [ปะกะระนำ] น. ปกรณ์, เรื่อง, เช่น ปักษีปกรณัม. (ส. ปฺรกรณ; ป. ปกรณ).
  45. ปการ : [ปะกาน] น. อย่าง, ชนิด. (ป.; ส. ปฺรการ).
  46. ปกิณกะ : [ปะกินนะกะ] ว. เรี่ยราย, เบ็ดเตล็ด, กระจาย, ระคนกัน, คละกัน, (มักใช้ประกอบหน้าศัพท์) เช่น ปกิณกคดี. (ป. ปกิณฺณก; ส. ปฺรกีรฺณก).
  47. ปโกฏิ : [ปะโกด] น. ชื่อสังขยาจํานวนสูง = ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ (เท่ากับสิบล้านโกฏิ). (ป.).
  48. ปฏิการ-, ปฏิการะ : [ปะติการะ-] น. การสนองคุณ, การตอบแทนคุณ, คู่กับ อุปการะ; การซ่อมแซม. (ป.).
  49. ปฏิคคหิต, ปฏิคหิต- : [ปะติกคะหิด, ปะติกคะหิตะ-] (แบบ) ก. รับเอา เช่น เราก็ปฏิคคหิต ด้วยศรัทธา. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). ว. อันรับเอาแล้ว. (ป. ปฏิคฺ-คหิต).
  50. ปฏิญญา : [ปะตินยา] น. การให้คํามั่นสัญญาหรือการแสดงยืนยันโดยถือเอา สิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือความสุจริตใจเป็นที่ตั้ง. (ป.). ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน น. การให้คํามั่นสัญญาหรือการ แสดงยืนยันถึงสิทธิหรืออํานาจอันชอบธรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นที่ยอมรับ กันทั่วไป.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5456

(0.2761 sec)