Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: บำรุงบำเรอ, บำเรอ, บำรุง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : บำรุงบำเรอ, 22 found, display 1-22
  1. บำรุง : ก. ทําให้งอกงาม, ทําให้เจริญ, เช่น บํารุงต้นไม้ บํารุงบ้านเมือง; รักษาให้อยู่ในสภาพที่ดี เช่น บํารุงสุขภาพ บํารุงร่างกาย เงินค่า บํารุง.
  2. บำเรอ : ก. ปรนนิบัติให้เป็นที่ชอบใจ, เรียกหญิงที่ปรนนิบัติเช่นนั้นว่า นางบําเรอ; บูชา เช่น บําเรอไฟ.
  3. บำรุงขวัญ : ก. ทําพิธีเช่นรดนํ้ามนต์ให้ เสกเป่าให้ หรือทําการ อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นกล่าวปลุกใจเพื่อให้ขวัญดี มีใจกล้าหาญ.
  4. บำเรอเชอภักดิ์ : ก. ตั้งใจรับใช้.
  5. ยาบำรุงเลือด : น. ยาบำรุงให้เลือดงาม.
  6. ทำนุบำรุง : ก. เอาใจใส่ดูแลเลี้ยงดู เช่น ทํานุบํารุงบิดามารดา ทํานุบํารุงบุตรธิดา, ซ่อมแซมรักษา, อุดหนุนให้เจริญขึ้น, เช่น ทํานุบํารุงวัด, ธํารงรักษาไว้ เช่น ทํานุบํารุงศาสนา ทํานุบํารุง บ้านเมือง, ทะนุบํารุง ก็ว่า.
  7. นางบำเรอ : น. หญิงที่ปรนเปรอเฉพาะชายคนใดคนหนึ่งในทางกามารมณ์ โดยมิได้อยู่ในฐานะภรรยา.
  8. ฝากบำเรอ : (โบ) น. ประเพณีที่หญิงชายได้เสียกันเองในเวลาที่ผู้ชาย ยังอยู่ในระหว่างฝากตัวรับใช้พ่อแม่ผู้หญิง. ฝากประจำ
  9. ภาษีบำรุงท้องที่ : (กฎ) น. ภาษีซึ่งบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งมี กรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของ เอกชน มีหน้าที่ต้องเสียเป็นรายปีจากราคาปานกลางของที่ดินตามที่ ทางราชการได้ประกาศกําหนดไว้ เพื่อให้เป็นรายได้ขององค์การบริหาร ส่วนท้องถิ่น ซึ่งที่ดินนั้นอยู่ในเขต.
  10. ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
  11. จรรโลง : [จัน-] (แบบ) ก. พยุงไว้ไม่ให้เซหรือไม่ให้ล้มลง, ผดุง, ค้ำชู, เช่น จรรโลงประเทศ, บำรุงรักษาและเชิดชูไว้ไม่ให้เสื่อม เช่น จรรโลงศาสนา.
  12. จังกอบ : (โบ) น. ภาษีผ่านด่าน, ภาษีปากเรือ, ภาษีที่เก็บเพื่อใช้บำรุงท้องถิ่น. ก. ผูก, มัด, เชิงกอบ ก็เรียก.
  13. โป๊ : ก. ส่งเสริมสิ่งที่บกพร่อง เช่น ยาโป๊, ทําสิ่งยังบกพร่องอยู่ให้สมบูรณ์ เช่น เอาสีโป๊ตรงที่เป็นช่องเป็นรู ก่อนทาสีเอาปูนโป๊รอยที่ชํารุด. (จ. โป้ว ว่า ปะชุนเสื้อผ้า, ซ่อมแซม, บำรุงร่างกาย). (ปาก) ว. เปลือย หรือค่อนข้างเปลือย เช่น รูปโป๊, มีเจตนาเปิดเผยอวัยวะบางส่วนที่ ควรปกปิด เช่น แต่งตัวโป๊.
  14. พ่อเล้า : (ปาก) น. ผู้ชายผู้เป็นหัวหน้าเลี้ยงหญิงสาวไว้บำเรอชาย.
  15. เพาะปลูก : น. กรรมวิธีในการปลูกและเลี้ยงดูต้นไม้ตั้งแต่เพาะ เมล็ดหรือนำต้นที่โตแล้ว หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของต้น เช่น หัว กิ่ง ใบ ไปปลูกแล้วบำรุงให้เจริญเติบโต.
  16. ยาดอง : น. ยาที่ใช้เครื่องสมุนไพรห่อแช่เหล้าเป็นต้น กินบำรุงร่างกาย หรือแก้โรค.
  17. ยาประสะน้ำนม : น. ยาบำรุงแม่ลูกอ่อนให้มีน้ำนมมาก.
  18. เลี้ยงลูกเสือลูกจระเข้ : (สำ) ก. บำรุงเลี้ยงดูลูกศัตรูหรือลูกคนพาล จะได้รับความเดือดร้อนในภายหลัง.
  19. สถานบริการ : (กฎ) น. สถานที่ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการโดยหวังประโยชน์ ในการค้า ดังต่อไปนี้ (๑) สถานเต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง ประเภทที่มีและ ประเภทที่ไม่มีหญิงพาตเนอร์บริการ (๒) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่ายและบริการ โดยมีหญิงบำเรอสำหรับ ปรนนิบัติลูกค้า หรือโดยมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอนหรือมีบริการ นวดให้แก่ลูกค้า (๓) สถานอาบน้ำ นวด หรืออบตัว ซึ่งมีผู้บริการให้แก่ ลูกค้า (๔) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรี หรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง.
  20. สถานภาพ : น. ฐานะ เช่น ราชบัณฑิตยสถานมีสถานภาพเป็นแหล่ง ค้นคว้าและบำรุงสรรพวิชา; ตําแหน่งหรือเกียรติยศของบุคคลที่ ปรากฏในสังคม เช่น เขามีสถานภาพเป็นผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดี; สิทธิหน้าที่ตามบทบาทของบุคคล เช่น เขามีสถานภาพทางครอบครัว เป็นบิดา.
  21. สถานี : [สะถานี] น. หน่วยที่ตั้งเป็นที่พักหรือที่ทําการ เช่น สถานีตํารวจ สถานีรถไฟ สถานีตรวจอากาศ สถานีขนส่ง; ฐานส่งกำลังบำรุง ของกองทัพเรือที่ประจำอยู่บนบก มีฐานใหญ่ ๆ ๓ แห่ง เรียกว่า สถานีทหารเรือ คือ สถานีทหารเรือกรุงเทพ สถานีทหารเรือสงขลา สถานีทหารเรือพังงา, ฐานส่งกำลังบำรุงหน่วยย่อยสำหรับการ ปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง เรียกว่า สถานีเรือ เช่น สถานีเรือ อำเภอเชียงคาน สถานีเรืออำเภอโขงเจียม สถานีเรืออำเภอธาตุพนม; ตำแหน่งของเรือขณะอยู่ในรูปกระบวน เช่น เรือ ก รักษาสถานีทาง ขวาของเรือ ข ระยะ ๕๐๐ หลา; ที่ที่กำหนดให้ทหารเรือประจำเพื่อ ปฏิบัติการตามภารกิจต่าง ๆ เช่น สถานีรบ สถานีจอดเรือ สถานี ออกเรือ สถานีช่วยคนตกน้ำ สถานีรับส่งสิ่งของทางทะเล; ที่ที่มี หน่วยปฏิบัติการเฉพาะ เช่น สถานีสื่อสารดาวเทียม สถานีสมุทรศาสตร์ สถานีตรวจอากาศ.
  22. สัตตาหกรณียะ : [สัดตาหะกะระนียะ, สัดตาหะกอระนียะ] น. กิจที่ พึงทำเป็นเหตุให้ภิกษุออกจากวัดไปพักแรมในที่อื่นในระหว่างพรรษา ได้ไม่เกิน ๗ วัน เช่นเพื่อไปพยาบาลภิกษุสามเณรหรือบิดามารดาที่ ป่วยไข้หรือเพื่อบำรุงศรัทธาของทายก.
  23. [1-22]

(0.0159 sec)