บีบ : ก. ใช้มือเป็นต้นกดด้านทั้ง ๒ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าหากัน เช่น บีบมะนาว, โดยปริยายหมายถึงกดดัน เช่น ถูกบีบ.
บีบขนมจีน : ก. บีบแป้งขนมจีนที่อยู่ในห่อผ้าที่เย็บติดกับหน้าแว่น แล้วโรยให้เป็นเส้นลงในนํ้าเดือด, โรยขนมจีน ก็ว่า.
บีบคั้น : ก. บีบบังคับให้ได้รับความลำบาก.
บีบขมับ : ก. เอาไม้คาบเข้าที่ขมับทั้ง ๒ ข้าง แล้วผูกรวบรัดหัวท้าย ไม้คาบนั้นเข้าด้วยกัน เป็นวิธีลงโทษในสมัยโบราณ แบบหนึ่ง.
บีบน้ำตา : ก. แกล้งร้องไห้, ร้องไห้.
บีบบังคับ : ก. กดขี่.
ปริมัท : [ปะริมัด] ก. นวด, บีบ, ขยํา. (ป.; ส. ปริมรฺทน, ปริมรฺท).
อัด ๑ : ก. ดันลมเข้าไป เช่น อัดลูกโป่ง, ยัดให้แน่น เช่น อัดดินปืน, ประกับ ให้แน่น เช่น อัดพื้นให้ชิด, ทำให้แน่น เช่น อัดกันอยู่ในรถ, บีบ เช่น อัดใบลาน; กลั้น, กลั้นหายใจ, เช่น อัดลมหายใจ.
รีด : ก. บีบ รูด หรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้แผ่ กว้าง ยาว หรือเรียบ เป็นต้น ตาม ที่ต้องการ, กดแรง ๆและไถเพื่อทำให้เรียบ เช่น รีดผ้า รีดใบตอง รีดกลีบ บัว, บีบทำให้เป็นแผ่นหรือเป็นเส้นยาวเช่น รีดทอง รีดยาง, บีบรูดด้วย อาการเค้นเพื่อให้สิ่งที่อยู่ภายในออกมา เช่น รีดนมวัว รีดไส้หมู รีดหนอง; (ปาก) ใช้กำลังหรืออิทธิพลบังคับเอาทรัพย์สินของผู้อื่น เช่น รีดเอาเงิน รีดเอาทรัพย์, ใช้ว่า รีดไถ ก็มี.
กฎหมู่ : น. อํานาจกดดันที่บุคคลจํานวนมากนํามาใช้บีบบังคับให้อีก ฝ่ายหนึ่งกระทําหรือเว้นกระทําสิ่งที่บุคคลจำนวนนั้นต้องการ (มักไม่เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย).
กดดัน : ก. บีบคั้น.
กระเด้ง : ก. ดีดหรือดันขึ้นเมื่อถูกกดหรือถูกบีบเป็นต้น, กระดอนขึ้น, เด้ง ก็ว่า.
กะชะ : น. ภาชนะสานชนิดหนึ่ง ตั้งได้คล้ายตะกร้า รูปร่างสูงตรงขึ้นไป สําหรับบรรจุเครื่องเดินทาง เช่น ผ้าและอาหาร ปากไม่มีขอบ เพื่อบีบให้ติดกันแล้วร้อยเชือกแขวนไปบนหลังสัตว์บรรทุก เป็นต้น; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ตะกร้าชนิดหนึ่ง.
ขบ ๑ : ก. เอาฟันเน้นเพื่อให้แตก เช่น ขบเมล็ดแตงโม, เอาฟันเน้นกัน เช่น ขบฟัน; กัด เช่น หมาใดตัวร้ายขบบาทา. (โลกนิติ); อาการที่เมื่อยปวด เหมือนมีอะไรบีบหรือกดอยู่ที่ตรงนั้น เรียกว่า เมื่อยขบ, ลักษณะของสิ่ง ที่ยังเข้ากันได้ไม่สนิท ยังปีนหรือเกยกันอยู่ เช่น บานประตูขบกัน; อาการที่เล็บมือเล็บเท้ายาวจนกดเนื้อข้างเล็บ เรียกว่า เล็บขบ.
ขมิบ : [ขะหฺมิบ] ก. กระหมิบ, บีบเข้าหรือเม้มเข้าซ้ำ ๆ กัน (มักใช้แก่ปาก ช่องทวารหนักและทวารเบา).
ขยำ : [ขะหฺยํา] ก. กํายํ้า ๆ, บีบยํ้า ๆ, คลุก.
ขูดรีด : ก. แสวงหาประโยชน์โดยวิธีบีบบังคับเอา, แสวงหาประโยชน์ โดยวิธีบีบบังคับให้จํายอม.
คลึงเคล้น : ก. ลูบคลําและบีบเน้นไปมา.
คั้น : ก. บีบขยําโดยแรงเพื่อให้ของเหลวที่มีอยู่ออกมา เช่น คั้นกะทิ คั้นส้ม.
คับแค้น : ว. ลําบาก, ยากไร้, ฝืดเคือง, ลําบากเพราะถูกบีบคั้นทางใจ หรือความเป็นอยู่.
เค้น : ก. บีบเน้นลงไปโดยแรง เช่น เค้นผลไม้ให้น่วม เค้นฝีให้หนองออก เค้นคอให้ยอมหรือให้ตาย, โดยปริยายหมายถึงบีบบังคับหรือฝืนทำ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เค้นเอาความลับออกมา เค้นหัวเราะ.
เคล้น : [เคฺล้น] ก. บีบเน้นไปมา.
เคี่ยวเข็ญ : ก. บีบบังคับ, บีบคั้นให้ได้รับความลําบาก เช่น เคี่ยวเข็ญ เย็นค่ำกรำไปตามวิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย. (พระราชนิพนธ์ ร. ๖); บังคับ ให้ทำงานให้มากขึ้น เช่น เคี่ยวเข็ญให้ขยันหมั่นเพียรในการเล่าเรียน.
จับเส้น : ก. บีบนวดเพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว; โดยปริยายหมายถึงรู้จักเอาใจ ผู้ที่จะให้ผลประโยชน์แก่ตน.
เด้ง : ก. ดีดหรือดันขึ้นเมื่อถูกกดหรือถูกบีบเป็นต้น, กระดอนขึ้น, กระเด้ง ก็ว่า.
นวด : ก. ใช้มือบีบหรือกดเพื่อให้คลายจากความปวดเมื่อยหรือเมื่อยขบ.
นวดฟั้น : ก. บีบขยําให้หายปวดเมื่อยหรือเมื่อยขบ.
น่วม : ว. อ่อนนุ่มจนเกือบเหลว เช่น บีบเสียจนน่วม.
บิด ๑ : ก. หมุนให้เป็นเกลียวอย่างบิดผ้า, หมุนไปทางใดทางหนึ่ง เช่น บิดลูกบิด; เผล้ไปจากสภาพปรกติ เช่น ล้อรถบิด, ทําให้ผิดไป จาก สภาพความจริง เช่น บิดข้อความ; หลีกเลี่ยงเพราะความ เกียจคร้านเป็นต้น เช่น บิดงาน บิดการ, เอานิ้วมือบีบเนื้ออย่าง แรงทํานองแหนบแล้วหมุน เช่น บิดเนื้อ บิดหู; กิริยาที่ปลากัด ปลาเข็มเอาปากต่อปากกัดกันจนติดแล้วกลับตัวไปมา. น. ลักษณนามเรียกอาการที่ปลากัดปลาเข็มเอาปากต่อปาก กัดกันแล้วกลับตัวไปมาเช่นนั้นแต่ละยกว่า บิดหนึ่ง ๒ บิด.
บี้ ๑ : ก. กดหรือบีบให้แบนหรือผิดจากรูปเดิม. ว. แฟบผิดปรกติ เช่น จมูกบี้.
บีฑา : [-ทา] (แบบ) ก. เบียดเบียน, บีบคั้น, รบกวน, เจ็บปวด. (ส. ปีฑา).
บีบรัด : ก. ทําให้รู้สึกอึดอัดใจเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งคล้าย ถูกบีบถูกรัด.
ปอดเหล็ก : น. เครื่องกลไกสร้างด้วยโลหะ ใช้ทําให้เกิดการบีบและ ขยายของทรวงอกในการหายใจแทนการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ ในเมื่อมีอัมพาตของกล้ามเนื้อ เช่นในโรคโปลิโอ. (ปาก) ก. อดทน แข็งแรง (ใช้แก่นักกีฬาประเภทวิ่ง).
แป๊ด : ว. เสียงดังอย่างเสียงบีบแตร, แป๊น ก็ว่า.
แป๊น : ว. เสียงดังอย่างเสียงบีบแตร, แป๊ด ก็ว่า.
ไพ่ตาย : น. ไพ่ในมือที่รอเข้าตองเข้าเศียรอยู่แต่ไม่มีใครทิ้งให้หรือ เขาทิ้งให้คนอื่นซึ่งตนไม่มีสิทธิ์เก็บมาใช้ได้ เช่น ไพ่ตายคามือ, โดยปริยายหมายถึงเรื่องสำคัญที่สามารถให้คุณให้โทษได้ซึ่งอีกฝ่าย หนึ่งกำเป็นความลับไว้ เช่น เขากำไพ่ตายของคนนั้นไว้ จะบีบก็ตาย จะคลายก็รอด.
เฟ้น ๒ : ก. บีบนวด, นวดเฟ้น ก็ว่า.
เมื่อยขบ : ก. อาการที่เมื่อยปวดเหมือนมีอะไรขบบีบ หรือกดอยู่ที่ตรงนั้น.
ไม้คาบ : น. ไม้สำหรับบีบนวดงวงตาล.
ย่ำยี : ก. เบียดเบียน เช่น ย่ำยีศาสนา, บีบคั้น, ข่มเหง, เช่น ย่ำยีจิตใจ, บดขยี้ เช่น ยกกองทัพไปย่ำยีประเทศอื่น.
รีดเลือดกับปู : (สำ) ก. เคี่ยวเข็ญหรือบีบบังคับเอากับผู้ที่ไม่มีจะให้, หาเลือดกับปู หรือ เอาเลือดกับปู ก็ว่า.
โรยขนมจีน : ก. บีบแป้งขนมจีนที่อยู่ในห่อผ้าที่เย็บติดกับหน้าแว่น แล้วโรยให้เป็นเส้นลงในน้ำเดือด, บีบขนมจีน ก็ว่า.
เลือดเข้าตา : (สำ) ก. ฮึดสู้โดยไม่เกรงกลัวเพราะไม่มีทางเลือกหรือ เจ็บช้ำน้ำใจเป็นต้น, กล้าทำในสิ่งที่ไม่เคยทำเพราะทนถูกบีบคั้น ไม่ไหว.
แล่เนื้อเถือหนัง : ก. บีบบังคับเอาทรัพย์สินจนอีกฝ่ายหนึ่งยากแค้น.
สวน ๒ : อาการที่เคลื่อนไปตรงข้ามในเส้นทางเดียวกัน เช่น เดินสวนกัน มีรถสวนมา; เทียบสอบขนาดหรือปริมาณเครื่องตวง เช่น สวนสัด สวนทะนาน; เอาสายสวนใส่ทางช่องปัสสาวะให้เข้าไปในกระเพาะ ปัสสาวะเพื่อให้ปัสสาวะออก, เอาลูกสวนใส่ทวารหนักแล้วบีบนํ้ายา หรือนํ้าสบู่ให้เข้าไปในลําไส้ใหญ่เพื่อกระตุ้นให้ลําไส้ใหญ่บีบตัวให้ อุจจาระออก.
หน้าเขียว : ว. มีสีหน้าแสดงอาการโกรธจัด เช่น เขาโกรธจนหน้าเขียว; หน้าซึ่งแสดงอาการเจ็บปวดมากเพราะถูกบีบเป็นต้น, โดยปริยาย หมายความว่า ถูกบีบหรือบังคับหนัก.
หนีบ : ก. คีบหรือบีบให้แรงให้แน่นด้วยของที่เป็นง่ามเช่นง่ามนิ้วมือหรือตะไกร เป็นต้น.
หาเลือดกับปู : (สํา) ก. เคี่ยวเข็ญหรือบีบบังคับเอากับผู้ที่ไม่มีจะให้, รีด เลือดกับปู หรือ เอาเลือดกับปู ก็ว่า.
หีบ ๒ : ก. บีบเค้นให้ส่วนที่ต้องการออกมา เช่น หีบอ้อย หีบฝ้าย.
หีบฝ้าย : ก. บีบเค้นเมล็ดออกจากปุยฝ้าย. น. เรียกเครื่องมือบีบเค้นเมล็ด ออกจากปุยฝ้ายว่า เครื่องหีบฝ้าย.