Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: บุญ , then บญ, บุญ, ปุญ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : บุญ, 118 found, display 1-50
  1. บุญ, บุญ- : [บุน, บุนยะ-] น. การกระทําดีตามหลักคําสอนในศาสนา; ความดี, คุณงามความดี. ว. ดี เช่น คนใจบุญ, มีคุณงามความดี เช่น คนมีบุญ. (ป. ปุญฺ?; ส. ปุณฺย).
  2. บุญญาธิการ : น. บุญที่ได้กระทำไว้มากยิ่ง.
  3. บุญญาธิสมภาร : น. บุญที่ได้สั่งสมไว้มากยิ่ง.
  4. บุญทำกรรมแต่ง : (สํา) บุญหรือบาปที่ทําไว้ในชาติก่อนเป็นเหตุทํา ให้รูปร่างหน้าตาหรือชีวิตของคนเราในชาตินี้สวยงาม ดี ชั่ว เป็นต้น.
  5. บุญนิธิ : [บุนยะ-] น. ขุมทรัพย์คือบุญ. (ป.). บุญมาวาสนาส่ง
  6. บุญราศี : [บุนยะ-, บุน-] น. กองบุญ.
  7. บุญฤทธิ์ : [บุนยะ-] น. ความสําเร็จด้วยบุญ.
  8. บุญหนักศักดิ์ใหญ่ : ว. มีฐานันดรศักดิ์สูงและอํานาจวาสนายิ่งใหญ่ เช่น น้อยหรือนางบุญหนักศักดิ์ใหญ่. (สังข์ทอง).
  9. กินบุญ : (ถิ่น-อีสาน, ชาวไทยอิสลาม) ก. กินเลี้ยงในงานทําบุญ.
  10. เจ้าบุญนายคุณ : น. ผู้มีบุญคุณ.
  11. เนื้อนาบุญ : น. แหล่งที่ควรแก่การทำบุญ เช่น พระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญ.
  12. ส่วนบุญ : น. ส่วนที่เป็นบุญกุศล เช่น แผ่ส่วนบุญ เปรตขอส่วนบุญ.
  13. เอาบุญเอาคุณ : ว. หวังให้เขาตอบแทนบุญคุณ.
  14. กินบุญเก่า : (สํา) ก. ได้รับผลแห่งความดีที่ทําไว้แต่ปางก่อน (มักใช้เป็นสํานวนอุปมาแก่คนที่นอนกินนั่งกินสมบัติเก่า).
  15. แข่งเรือแข่งแพแข่งได้ แข่งบุญแข่งวาสนาแข่งไม่ได้ : (สำ) ก. รู้ประมาณ ความสามารถของตนไม่อาจเอื้อมเกินตัว.
  16. กุศล : [-สน] น. สิ่งที่ดีที่ชอบ, บุญ. ว. ฉลาด. (ส.; ป. กุสล).
  17. บันดาล : ก. ให้เกิดมีขึ้นเป็นขึ้นด้วยแรงอํานาจของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น บุญ บันดาล บันดาลโทสะ.
  18. บุณย์ : น. บุญ. (ส. ปุณฺย; ป. ปุญฺ?).
  19. วาสนา : [วาดสะหฺนา] น. บุญบารมี, กุศลที่ทําให้ได้รับลาภยศ, เช่น เด็กคนนี้ มีวาสนาดี เกิดในกองเงินกองทอง, มักใช้เข้าคู่กับคำ บุญ หรือ บารมี เป็น บุญวาสนา หรือ วาสนาบารมี เช่น เป็นบุญวาสนาของเขา เขาเป็นคนมีวาสนาบารมีมาก. (ป., ส.).
  20. บุญเขต : [บุนยะ-] น. เนื้อนาบุญ. (ป. ปุญ?กฺเขตฺต).
  21. กงเต๊ก : น. การทําบุญให้แก่ผู้ตายตามพิธีของนักบวชนิกายจีนและญวน มีการสวดและเผากระดาษที่ทําเป็นรูปต่าง ๆ มีบ้านเรือน คนใช้ เป็นต้น. (จ.).
  22. กตาภินิหาร : [กะตาพินิหาน] (แบบ) น. อภินิหาร (บุญอันยิ่ง) ที่ทําไว้. ว. มีอภินิหารที่ทําไว้. (ป. กต ว่า อันเขาทําแล้ว + อภินิหาร).
  23. กรวดน้ำ : ก. แผ่ส่วนบุญด้วยวิธีหลั่งน้ำ; (ปาก) โดยปริยาย หมายความว่า ตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย, มักใช้ว่า กรวดน้ำ คว่ำกะลา หรือ กรวดน้ำคว่ำขัน.
  24. กฤดา, กฤดาการ : [กฺริดา, กฺริดากาน] (โบ; กลอน) น. บารมีอันยิ่งที่ทำไว้ (กร่อนมาจาก กฤดาธิการ) เช่น ทรงพระกฤดาเดชานุภาพยิ่งทวีขึ้น. (พงศ. อยุธยา), ผู้ใดมีบุญญากฤดาการ. (เสภาสุนทรภู่).
  25. กฤดาภินิหาร : [กฺริดาพินิหาน] น. อภินิหาร (บุญอันยิ่ง) ที่ทําไว้. ว. มีอภินิหารที่ทําไว้, (ส.; ป. กตาภินิหาร), ในบทกลอนใช้แผลง เป็น กฤษฎา หรือ กฤษฎาภินิหาร ก็มี.
  26. กลิ้งเกลือก : ก. พยายามกระเสือกกระสนไปตามมีตามได้ เช่น ยากจนก็กลิ้งเกลือกไปตามบุญตามกรรมไม่ขอพึ่งใคร, เกลือกกลิ้ง ก็ใช้.
  27. กัลปนา : [กันละปะนา] ก. เจาะจงให้. น. ที่ดินหรือสิ่งอื่นเช่นอาคารซึ่งเจ้าของ อุทิศผลประโยชน์ให้แก่วัดหรือศาสนา; ส่วนบุญที่ผู้ทําอุทิศให้แก่ผู้ตาย. (ส.; ป. กปฺปนา).
  28. ขนทรายเข้าวัด : ก. ทําบุญกุศลโดยวิธีนําหรือขนทรายไปก่อพระเจดีย์ ทรายเป็นต้นที่วัด, (สำ) หาประโยชน์ให้ส่วนรวม.
  29. ของเลื่อน : น. สํารับคาวหวานที่เจ้าภาพในงานทําบุญนําไปให้ผู้ที่ นับถือด้วยไมตรีจิต.
  30. ขอบคุณ, ขอบพระคุณ : คํากล่าวแสดงความรู้สึกบุญคุณ (เป็นคําที่ใช้แก่บุคคลที่เสมอกัน หรือผู้น้อยใช้แก่ผู้ใหญ่).
  31. ข้าวแจก : (ถิ่น-อีสาน) น. ข้าวที่ทําบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย.
  32. ข้าวแดงแกงร้อน : (สํา) น. บุญคุณ.
  33. คู่บารมี : น. ผู้ที่เคยร่วมสร้างบุญบารมีกันมาก่อน และมาสนับสนุน เกื้อกูลกันในปัจจุบัน, สิ่งประดับบารมี.
  34. คู่บุญ : น. ผู้ที่เคยสร้างบุญกุศลร่วมกันมาในชาติก่อน.
  35. คู่บุญบารมี : น. ผู้ที่เคยร่วมสร้างบุญกุศลกันมาในชาติก่อนและมา สนับสนุนเกื้อกูลกันในปัจจุบัน เช่น พระนางมัทรีเป็นคู่บุญบารมี ของพระเวสสันดร.
  36. จัตวาทัณฑี : น. ชื่อโคลง ๔ ชนิดหนึ่ง ซึ่งบาท ๒ ใช้พยางค์ที่ ๔ สัมผัส เช่น ท้าวไทยนฤเทศข้า ขับหนี ลูกราชสีพีกลัว ไพร่ฟ้า พลเมืองบดูดี ดาลเดียด กระเหลียดลับลี้หน้า อยู่สร้างแสวงบุญ. (ชุมนุมตำรากลอน). จัตวาศก น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๔ เช่น ปีจอ จัตวาศก จุลศักราช ๑๓๔๔.
  37. จาริก, จารึก ๑ : น. ผู้ท่องเที่ยวไปเพื่อสั่งสอนหรือแสวงบุญเป็นต้น. ก. ท่องเที่ยวไป เพื่อสั่งสอนหรือแสวงบุญเป็นต้น.
  38. จำหุด : ก. แม่น, ปรากฏ, เที่ยง, แข็งแรง, เปรื่องปราด, ศักดิ์สิทธิ์, สําคัญ, เช่น อันหนึ่งให้จำหุดให้กระทำบุญ. (ไตรภูมิ). (ข. จํหุต ว่า ความถูกต้อง, ความเที่ยงตรง).
  39. เจ้าข้าวแดงแกงร้อน : น. ผู้มีบุญคุณที่เคยอุปการะเลี้ยงดูมา.
  40. เจ้าประคุณ : น. (โบ) คำเรียกผู้ที่นับถือ และท่านที่เป็นเจ้าบุญนายคุณ. ส. คำที่ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ใช้เรียกสมเด็จพระราชาคณะ, ใช้ เต็มว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. (เพี้ยนมา จาก เจ้าพระคุณ).
  41. เจ้าพระเดชนายพระคุณ : น. ผู้มีบุญคุณมาก.
  42. ใจบุญ : ว. มีใจฝักใฝ่ในการบุญ.
  43. ฉลอง ๑ : [ฉะหฺลอง] ก. ทําบุญหรือบูชาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นงานเอิกเกริกเพื่อแสดง ความปีติยินดี เช่น ฉลองพระ ฉลองหนังสือ ฉลองอายุ, จัดงานเอิกเกริก เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสต่าง ๆ เช่น ฉลองปริญญา, บางทีใช้เข้าคู่ กับคำ เฉลิม เป็น เฉลิมฉลอง.
  44. ชักแม่น้ำทั้งห้า : (สํา) ก.พูดจาหว่านล้อมยกยอบุญคุณเพื่อ ขอสิ่งที่ประสงค์ เช่น เถ้าก็พูดจาหว่านล้อมด้วยคํายอ ชักเอาแม่นํ้าทั้งห้าเข้ามาล่อ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  45. ชิงเปรต : (ถิ่นปักษ์ใต้) ก. แย่งเครื่องเซ่นสรวงวิญญาณ บรรพบุรุษหรือผู้ที่ตายไปแล้ว ซึ่งเรียกว่า ''เปรต'' ในงาน ทําบุญวันสารท เมื่อเสร็จพิธีเซ่นแล้ว ถือว่าสิ่งเหล่านั้น เป็นมงคล. น. เรียกงานพิธีทําบุญวันสารทว่า พิธีชิงเปรต.
  46. ชี้ตาไม่กระพริบ : (สำ) ก. ดื้อมาก, สู้สายตาไม่ยอมแพ้, เช่น เหม่! ออนี่หนักหนา ชี้ตาไม่กระพริบเลย ว่าแล้วซิ ยังเฉยดื้อถือบุญ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  47. แซยิด : น. วันที่มีอายุครบ ๕ รอบนักษัตร คือ ๖๐ ปีบริบูรณ์ตามคติของจีน, เรียกการทําบุญในวันเช่นนั้นว่า ทําบุญแซยิด. (จ.).
  48. ฎีกา : น. คําอธิบายขยายความ เช่น ฎีกาพาหุง; ชื่อคัมภีร์หนังสือที่แก้หรือ อธิบายคัมภีร์อรรถกถา; หนังสือที่เขียนนิมนต์พระสงฆ์; ใบแจ้ง การขอเบิกเงินจากคลัง; ใบบอกบุญเรี่ยไร; (กฎ) คําร้องทุกข์ที่ ราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระมหากษัตริย์; ชื่อศาลยุติธรรมสูงสุด ของประเทศไทย ซึ่งเรียกว่าศาลฎีกา; การคัดค้านคําพิพากษาหรือ คําสั่งศาลอุทธรณ์ที่คู่ความยื่นต่อศาลชั้นต้น เพื่อเสนอให้ศาลฎีกา พิจารณาพิพากษาหรือวินิจฉัยชี้ขาด; (โบ) ใบเรียกเก็บเงิน. (ปาก) ก.ยื่นคําร้องขอหรือคําคัดค้านต่อศาลฎีกา เช่น คดีนี้จะฎีกาหรือไม่. (ป. ฏีกา).
  49. เด็ดดอกไม้ร่วมต้น : (สํา) ก. เคยทําบุญกุศลร่วมกันมาแต่ชาติก่อน จึงมาอยู่ ร่วมกันในชาตินี้, เก็บดอกไม้ร่วมต้น ก็ว่า.
  50. ตอบแทน : ก. ทําทดแทนแก่ผู้ทําก่อน, ให้ทดแทนแก่ผู้ให้ก่อน, เช่น ตอบแทนบุญคุณ, บางทีใช้สั้น ๆ ว่า ตอบ เช่น เลี้ยงตอบ.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-118

(0.0614 sec)