บุษย-, บุษย์, บุษยะ, ปุษยะ, ปุสสะ : [บุดสะยะ-, บุด, บุดสะยะ, ปุดสะยะ, ปุดสะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๘ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปปุยฝ้าย พวงดอกไม้ ดอกบัว หรือ โลง, ดาว ปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวปู ดาวสมอ สําเภา หรือ ดาวสิธยะ ก็เรียก. (ส. ปุษฺย; ป. ปุสฺส); แก้วสีขาว; บัว.
ปุษยะ, ปุสสะ, บุษย์, บุษยะ : [ปุดสะยะ, ปุดสะ, บุด, บุดสะยะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๘ มี ๕ ดวง เห็น เป็นรูปปุยฝ้าย พวงดอกไม้ ดอกบัว หรือโลง, ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวปู ดาวสมอสําเภา หรือ ดาวสิธยะ ก็เรียก. (ส. ปุษฺย; ป. ปุสฺส).
บูด : ว. มีรสเปรี้ยวและมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวแสดงว่าเสีย (ใช้แก่อาหาร) เช่น ข้าวบูด แกงบูด; ทําหน้าแสดงอาการไม่พอใจ เรียกว่า ทํา หน้าบูด.
โคบุตร : [-บุด] น. ชื่อช้างหมู่ ๑ ในอัฏฐคช ตระกูลวิษณุพงศ์ มีสีผิว เหลือง หางเหมือนหางโค งางอน เวลาร้องมีเสียงเหมือนเสียงโคป่า เช่น ลางคือโคบุตรพรายพรรณ ลางสารสำคัญ คือสีหชงฆาควร. (สมุทรโฆษ).
บุตรบุญธรรม : [บุดบุนทํา] (กฎ) น. บุตรของผู้อื่นที่บุคคลได้จด ทะเบียนรับเป็นบุตรของตน.
บุตร, บุตร- : [บุด, บุดตฺระ-] น. ลูก, ลูกชาย. (ส. ปุตฺร; ป. ปุตฺต).
บุทคล : [บุดคน] น. บุคคล, คน. (ส. ปุทฺคล; ป. ปุคฺคล).
บุษกร : [บุดสะกอน] น. ดอกบัวสีนํ้าเงิน, บัว; ชื่อช้างตระกูลปทุมหัตถี ในพรหมพงศ์. (ส. ปุษฺกร).
บุษบ- : [บุดสะบะ-] น. ดอกไม้. (ส. ปุษฺป; ป. ปุปฺผ).
บุษบก : [บุดสะบก] น. มณฑปขนาดเล็กแต่ด้านข้างโปร่ง เป็นที่ประทับ ของพระมหากษัตริย์ในพระราชพิธี หรือประดิษฐานปูชนียวัตถุ เช่นพระพุทธรูปเป็นต้น.
บุษบง : [บุดสะ-] (กลอน) น. ดอกไม้.
บุษบัน : [บุดสะ-] (กลอน) น. ดอกไม้, ดอกบัวเผื่อน.
บุษบา : [บุดสะ-] (กลอน) น. ดอกไม้.
บุษบามินตรา : [บุดสะบามินตฺรา] น. พุทธรักษา. (ช.).
บุษป-, บุษปะ : [บุดสะปะ] น. ดอกไม้. (ส.).
บุษปราค : [บุดสะปะราก] น. บุษย์นํ้าทอง.
บุษราคัม : [บุดสะราคํา] น. พลอยสีเหลือง.
เจ้าเซ็น : น. อิหม่ามฮูเซ็นผู้เป็นหลานตาของพระมะหะหมัด, คนพวกหนึ่ง ที่ถือศาสนาอิสลาม ซึ่งนับถืออิหม่ามฮูเซ็น; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. เจ้าเซ็นเต้นต้ำบุด น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง มีตัวอย่างว่า สุดแค้นแสนคม สมเขาสรวล คําสอนข้อนสั่งข้างสิ่งควร ซํ้าข้อส่วนเข้าแซงแข่งซน.
ชาตบุษย์ : [ชาดตะบุด] น. ชื่อบัวชนิดหนึ่ง.
ชินบุตร : [ชินนะบุด] น. พระสงฆ์. (ส. ชินปุตะ; ป. ชินปุตฺต).
เทพบุตร : [เทบพะบุด] น. เทวดาผู้ชาย. (ส.).
บด ๑ : ก. ทําให้เปลือกแตก เช่น บดข้าวเปลือก, ทําให้แหลก เช่น บดข้าวสุก, ทําให้เป็นผง เช่น บดยานัตถุ์, ทําให้เรียบและแน่น เช่น บดถนน.
บด ๒ : น. ชื่อเรือต่อชนิดหนึ่งรูปเพรียว หัวท้ายเรียว, ถ้าใช้กรรเชียงมักท้ายตัด อย่างเรือบดทหารเรือ.
ปุด ๑ : น. เรียกการเย็บผ้าทีหนึ่งว่าปุดหนึ่ง. ก. อาการที่นํ้าหรือของเหลว ผุดขึ้นน้อย ๆ. ว. เสียงดังเช่นนั้น.
สัตตบุษย์ :
[สัดตะบุด] น. (๑) ชื่อบัวหลวงพันธุ์หนึ่ง. (ดู บัว). (๒) เทียนสัตตบุษย์. (ดู เทียนสัตตบุษย์ ที่ เทียน๓).
ปุด ๒ : น. ชื่อไม้ล้มลุกมีเหง้าชนิด Etlingera megalocheilos Griff. ในวงศ์ Zingiberaceae ลําต้นกินได้.
บดเอื้อง : ก. อาการที่สัตว์บางจำพวกเช่นวัวควายสํารอกอาหารออก มาเคี้ยวอีกให้ละเอียด, โดยปริยายหมายความว่า ทำอะไรช้า ๆ, เคี้ยวเอื้อง ก็ว่า.
บูดบึ้ง : ว. ทําหน้าบึ้งแสดงอาการไม่พอใจ.
บูดเบี้ยว : ว. ทําหน้านิ่วแสดงอาการเจ็บปวดหรือไม่พอใจ.
ปุดกะลา :
(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นกะลา. (ดู กะลา๒).
แม่หินบด : น. แท่งหินสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีร่องด้านข้างโดยรอบ สำหรับบดยา, คู่กับ ลูกหินบด.
รถบดถนน : น. รถสำหรับบดดินให้เรียบหรือบดถนนให้ราบ มีลูกกลิ้ง ขนาดใหญ่สำหรับบดอยู่ข้างหน้า และมีล้อเหล็กขนาดใหญ่ ๒ ล้ออยู่ ข้างหลัง.
รางบดยา : น. เครื่องบดยาไทยและยาจีนให้เป็นผง ทำด้วยโลหะรูปร่าง คล้ายรางระนาดแต่ก้นสอบ มีลูกบด.
ลูกหินบด : น. หินแท่งกลมยาวสําหรับบดยา, คู่กับ แม่หินบด.
หน้าบูด : ว. มีสีหน้าแสดงอาการเบื่อหน่ายหรือไม่พอใจ เช่น เขาทำหน้าบูด เพราะเจอเรื่องที่ไม่สบอารมณ์, หน้าบูดหน้าเบี้ยว หรือ หน้าเบี้ยวหน้าบูด ก็ว่า.
บึ้งบูด : ว. อาการที่หน้าเง้าแสดงอาการไม่พอใจ.
เรือบด : น. เรือต่อชนิดหนึ่งรูปร่างเพรียว หัวท้ายเรียว มี ๓ ขนาด คือ เล็ก กลาง ใหญ่ ใช้ได้ทั้งพายและกรรเชียง.
กระบถ : [-บด] (โบ; เพี้ยนมาจาก กบฏ) น. การประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ความทรยศ, ขบถ.
ดาบส : [-บด] น. ผู้บําเพ็ญตบะคือการเผากิเลส, ฤษี. (ป., ส. ตาปส), เพศหญิงใช้ว่า ดาบสินี. (ป. ตาปสินี), ในบทกลอนใช้ว่า ดาวบส ก็มี เช่น ไปแต่งองค์ทรง ไม้เท้าของดาวบส. (อภัย).
เบี้ยว ๑ : ว. มีรูปบิดเบ้ไปจากเดิมซึ่งมักจะมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น หัวเบี้ยว ปากเบี้ยว. เบี้ยว ๆ บูด ๆ ว. บิด ๆ เบ้ ๆ.
สเต๊ก : [สะ] น. ชื่ออาหารคาวชนิดหนึ่งตามแบบตะวันตก ทำด้วยเนื้อสัน หรือปลาเป็นต้น หั่นชิ้นใหญ่ ๆ มักปรุงรส แล้วนำไปย่างหรือทอด กินกับมันฝรั่งทอด บด หรือต้ม และผักบางชนิด ใส่เครื่องปรุงรส ตามชอบ. (อ. steak).
บท ๑, บท- ๑ : [บด, บดทะ-] น. ข้อความเรื่องหนึ่ง ๆ หรือตอนหนึ่ง ๆ เช่น บทที่ ๑ บทที่ ๒; กําหนดคําประพันธ์ที่ลงความตอนหนึ่ง ๆ เช่น โคลง ๔ สุภาพ ๔ บาท เป็น ๑ บท; คําที่ตัวละครพูด เช่น บอกบท; คําประพันธ์ ที่เขียนขึ้นสําหรับเล่นละคร มีทั้งบทร้องและบทเจรจา เช่น บอกบท เขียนบท; คราว, ตอน, ในคําเช่น บทจะทําก็ทํากันใหญ่ บทจะไป ก็ไปเฉย ๆ บทจะตายก็ตายง่ายเหลือเกิน. (ป. ปท).
บทจร : [บดทะ-] (กลอน) ก. เดินไป. (ป.).
บทบงกช : [บดทะ-] (กลอน) น. บัวบาท, เท้า. (ส. ปทปงฺกช).
บทบงสุ์ : [บดทะ-] น. ละอองเท้า. (ป.).
บทบาท : [บดบาด] น. การทําท่าตามบท, การรําตามบท, โดยปริยาย หมายความว่า การทําตามหน้าที่ที่กําหนดไว้ เช่น บทบาทของพ่อแม่ บทบาทของครู.
บทบูรณ์ : [บดทะ-] น. คําที่ทําให้บทประพันธ์ครบพยางค์ตาม ฉันทลักษณ์ ไม่สู้มีความหมายอะไร เช่น แต่งอเนกนุประการ คํา ''นุ'' เป็นบทบูรณ์. (ป. ปทปูรณ).
บทภาชน์ : [บดทะ-] น. บทไขความ. (ป.).
บทภาชนีย์ : [บดทะ-] น. บทที่ตั้งไว้เพื่อไขความ, บทที่ต้องอธิบาย. (ป.).
บทมาลย์ : [บดทะ-] (แบบ) น. เท้าผู้มีบุญ เช่นกษัตริย์.